ผมบางศีรษะล้านจากพันธุกรรม
โดย รศ.ดร.พญ.รัชต์ธร ปัญจประทีป
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผม
เรื่องของพันธุกรรม มีส่วนสำคัญกับความสัมพันธ์ในการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่งเรื่องของเส้นผมนั้นเป็นเรื่องของบุคลิกภาพทางสังคมและความรู้สึกทางอารมณ์ของตนเองและคนรอบข้าง ดังนั้นจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่เราไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาด เนื่องจากสามารถสร้างความวิตกจริต ความกังวล ความไม่มั่นใจในตนเองจนถึงขั้นเกิดภาวะความเครียดได้
รศ.ดร.พญ.รัชต์ธร ปัญจประทีป แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผม กล่าวว่า โรคผมบาง ศีรษะล้านแบบพันธุกรรม(Androgenetic alopecia) เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและบั่นทอนบุคลิกภาพ รวมทั้งความมั่นใจของผู้ที่ประสบปัญหาเป็นอย่างยิ่ง โรคนี้มักพบรุนแรงในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ในอดีตภาวะผมบาง ศีรษะล้านแบบพันธุกรรม เป็นปัญหาของชาวตะวันตกมากกว่าคนไทย ปัจจุบันปัญหาศีรษะล้านในชายไทยเพิ่มขึ้นมาก โดยที่หลายท่านผมบางก่อนวัย โดยไม่มีประวัติศีรษะล้านในครอบครัว
ปัญหาผมบางศีรษะล้านจากพันธุกรรมเกิดจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่
1.ฮอร์โมนเพศชายที่เพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น โดยมีการสร้างฮอร์โมนชาย (testosterone) เพิ่มขึ้น ฮอร์โมนนี้จะเร่งให้เส้นผมบริเวณขมับและกลางกระหม่อมบางลง และมีอายุสั้นลง เส้นผมจะผลัดก่อนกำหนดบ่อยครั้ง
2.พันธุกรรมซึ่งถ่ายทอดเป็นยีนเด่น ซึ่งพันธุกรรมอาจเป็นตัวกำหนดลักษณะของต่อมผม โดยพบว่าเซลล์รากผมบริเวณขมับและกลางกระหม่อมจะมีจำนวนตัวรับสำหรับฮอร์โมนชาย (androgen receptor) สูงกว่าผมบริเวณท้ายทอยถึง 1.5 เท่า ทำให้เส้นผมเกิดการหลุดร่วงและบางลงตามลำดับ และ
3.อายุที่เพิ่มมากขึ้นและปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ จะร่วมกับภาวะที่มีการอักเสบของหนังศีรษะอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้มีผมร่วงมากขึ้นได้ เช่น ภาวะหนังศีรษะอักเสบจากเชื้อยีสต์ หรือแม้กระทั่งแสงแดดและความเครียด
1.ฮอร์โมนเพศชายที่เพิ่มขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น โดยมีการสร้างฮอร์โมนชาย (testosterone) เพิ่มขึ้น ฮอร์โมนนี้จะเร่งให้เส้นผมบริเวณขมับและกลางกระหม่อมบางลง และมีอายุสั้นลง เส้นผมจะผลัดก่อนกำหนดบ่อยครั้ง
2.พันธุกรรมซึ่งถ่ายทอดเป็นยีนเด่น ซึ่งพันธุกรรมอาจเป็นตัวกำหนดลักษณะของต่อมผม โดยพบว่าเซลล์รากผมบริเวณขมับและกลางกระหม่อมจะมีจำนวนตัวรับสำหรับฮอร์โมนชาย (androgen receptor) สูงกว่าผมบริเวณท้ายทอยถึง 1.5 เท่า ทำให้เส้นผมเกิดการหลุดร่วงและบางลงตามลำดับ และ
3.อายุที่เพิ่มมากขึ้นและปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ จะร่วมกับภาวะที่มีการอักเสบของหนังศีรษะอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้มีผมร่วงมากขึ้นได้ เช่น ภาวะหนังศีรษะอักเสบจากเชื้อยีสต์ หรือแม้กระทั่งแสงแดดและความเครียด
โรคผมบางศีรษะล้านจากพันธุกรรมในผู้ชายผมร่วงจากพันธุกรรมนี้ จะมีลักษณะเริ่มจากมีการร่นของแนวผมด้านหน้าบริเวณขมับ 2 ข้าง ต่อมาจะลามไปยังบริเวณกลางกระหม่อม ถ้าโรคดำเนินต่อไป ผมจะบางทั่ว ๆ ศีรษะ ยกเว้นบริเวณชายผมด้านหลังและด้านข้าง โดยในโรคนี้ผมจะร่วงโดยเฉลี่ยประมาณ 5% ต่อปี
ส่วนโรคผมบางจากพันธุกรรมในผู้หญิงจะแตกต่างกับผู้ชาย คือผู้หญิงผมจะบางอยู่ที่กลางกระหม่อม หรือบริเวณแสกของผมกลางของศีรษะ ในผู้หญิงบางรายอาจพบลักษณะของผมบางบริเวณด้านหน้า อย่างไรก็ตามความรุนแรงของโรคในผู้หญิงจะน้อยกว่า ผมอาจบางลงแต่ไม่ถึงกับมีภาวะศีรษะล้าน
ในปัจจุบันการรักษาโรคนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1.การรักษาด้วยยา โดยการรักษาด้วยยาจะมียา 2 ชนิด คือยาทา และยารับประทานที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกาให้นำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคผมบางศีรษะล้านแบบพันธุกรรมในเพศชาย โดยยาทาจะเป็นยาในกลุ่ม hair growth stimulators (*) จะทาครั้งละประมาณ 1 มิลลิลิตรลงบนหนังศีรษะบริเวณที่มีผมบาง วันละ 2 ครั้ง พบว่าหลังทานาน 4-6 เดือน (ยาจะออกฤทธิ์กระตุ้นเส้นผมเดิมซึ่งมีขนาดเล็กให้มีความหนา ดำ และยาวขึ้น) และทำให้ผมมีชิวิตอยู่ยาวนานขึ้น ผลข้างเคียงพบได้น้อย อาจพบมีอาการแดงคัน หรือระคายเคืองที่หนังศีรษะได้ อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยบางรายอาจมีผมร่วงมาขึ้นใน 4-6 สัปดาห์แรกหลังเริ่มใช้ได้ ซึ่งจะดีขึ้นเองเมื่อใช้ยาต่อไปเรื่อย ๆ ถ้าได้ผลดีจำเป็นต้องใช้ยาทารักษาไปตลอดชีวิต ส่วนยารับประทาน เป็นยาในกลุ่มยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งปัจจุบันเป็นยาที่ใช้รักษาโรคต่อมลูกหมากโต แต่ได้ผลดีในการรักษาโรคผมบางจากพันธุกรรมด้วย โดยยารับประทานชนิดนี้ จะทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ 5a-reductase ชนิดที่ 2 ทำให้ฮอร์โมนเพศชาย dihydrotestosterone (DHT) บริเวณหนังศีรษะและต่อมขนมีปริมาณลดลง ขนาดยาที่แนะนำให้ใช้ในผู้ชาย คือ 1 มิลลิกรัมต่อวัน ได้ผลดี สามารถลดการหลุดร่วง และเพิ่มจำนวนเส้นผมได้ โดยผมเพิ่มขึ้นชัดเจนหลังการรักษาใน 12 เดือน ผลข้างเคียงของยาพบได้น้อย พบมีความรู้สึกทางเพศลดลง พบร้อยละ 0.3-3 แต่ไม่มีผลต่อการสร้างสเปิร์มและยาไม่ผ่านไปยังน้ำเชื้อ ดังนั้นผู้ที่รับประทานยาจึงสามารถมีบุตรได้ เป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัยมาก ไม่มีผลต่อต้านกับยาอื่นไม่มีผลต่อการทำงานของตับ ไต ไขกระดูก
1.การรักษาด้วยยา โดยการรักษาด้วยยาจะมียา 2 ชนิด คือยาทา และยารับประทานที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกาให้นำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคผมบางศีรษะล้านแบบพันธุกรรมในเพศชาย โดยยาทาจะเป็นยาในกลุ่ม hair growth stimulators (*) จะทาครั้งละประมาณ 1 มิลลิลิตรลงบนหนังศีรษะบริเวณที่มีผมบาง วันละ 2 ครั้ง พบว่าหลังทานาน 4-6 เดือน (ยาจะออกฤทธิ์กระตุ้นเส้นผมเดิมซึ่งมีขนาดเล็กให้มีความหนา ดำ และยาวขึ้น) และทำให้ผมมีชิวิตอยู่ยาวนานขึ้น ผลข้างเคียงพบได้น้อย อาจพบมีอาการแดงคัน หรือระคายเคืองที่หนังศีรษะได้ อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยบางรายอาจมีผมร่วงมาขึ้นใน 4-6 สัปดาห์แรกหลังเริ่มใช้ได้ ซึ่งจะดีขึ้นเองเมื่อใช้ยาต่อไปเรื่อย ๆ ถ้าได้ผลดีจำเป็นต้องใช้ยาทารักษาไปตลอดชีวิต ส่วนยารับประทาน เป็นยาในกลุ่มยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งปัจจุบันเป็นยาที่ใช้รักษาโรคต่อมลูกหมากโต แต่ได้ผลดีในการรักษาโรคผมบางจากพันธุกรรมด้วย โดยยารับประทานชนิดนี้ จะทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ 5a-reductase ชนิดที่ 2 ทำให้ฮอร์โมนเพศชาย dihydrotestosterone (DHT) บริเวณหนังศีรษะและต่อมขนมีปริมาณลดลง ขนาดยาที่แนะนำให้ใช้ในผู้ชาย คือ 1 มิลลิกรัมต่อวัน ได้ผลดี สามารถลดการหลุดร่วง และเพิ่มจำนวนเส้นผมได้ โดยผมเพิ่มขึ้นชัดเจนหลังการรักษาใน 12 เดือน ผลข้างเคียงของยาพบได้น้อย พบมีความรู้สึกทางเพศลดลง พบร้อยละ 0.3-3 แต่ไม่มีผลต่อการสร้างสเปิร์มและยาไม่ผ่านไปยังน้ำเชื้อ ดังนั้นผู้ที่รับประทานยาจึงสามารถมีบุตรได้ เป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัยมาก ไม่มีผลต่อต้านกับยาอื่นไม่มีผลต่อการทำงานของตับ ไต ไขกระดูก
สำหรับการรักษาในผู้หญิง สำหรับการรักษาในผู้หญิงมีเฉพาะยาเฉพาะทางเท่านั้นที่ได้รับการรับรองให้ใช้รักษาโรค ส่วนยาอื่น ๆ ที่มีการนำมาใช้กัน ได้แก่ กลุ่มต่อต้านฮอร์โมนเพศชาย (antiandrogen) ยาคุมกำเนิดบางชนิด และการให้ฮอร์โมนทดแทน
2.การรักษาด้วยการผ่าตัดปลูกย้ายเส้นผมหรือการผ่าตัดปลูกผม (hair transplantation) เป็นการผ่าตัดย้ายเซลล์รากผมจากบริเวณท้ายทอยและด้านข้าง ซึ่งเป็นรากผมที่แข็งแรงมายังตำแหน่งที่มีปัญหาผมบาง ศีรษะล้าน การผ่าตัดปลูกผมในปัจจุบันนี้ได้ผลดีและปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากเป็นการผ่าตัดเล็ก ผลของการรักษาผมที่ปลูกอยู่ถาวร และเป็นธรรมชาติ เนื่องจากเป็นผมของตัวเองไม่มีปฏิกิริยาต่อต้านสามารถสระ โกรก ย้อม หรือดัดผมได้ตามปกติ
สำหรับขั้นตอนในการผ่าตัดประกอบด้วย แพทย์จะทำการวาดแนวผม วัดพื้นที่ที่จะปลูกผมให้เหมาะสมกับรูปหน้าของคนไข้ การนำผมออกมาจากทางด้านหลังมี 2 วิธีหลัก คือ การผ่าตัดหนังศีรษะพร้อมรากผม ที่เราเรียกว่า Strip Technique หรือการเจาะรูเส้นผมทีละรู (follicular unit extraction, FUE) หลังจากได้รากผมจากศีรษะบริเวณท้ายทอยด้านหลังแล้ว จะนำมาแยกเป็นกอเล็ก ๆ เลียนแบบธรรมชาติ โดยผม 1 กอ หรือ 1 กราฟท์จะประกอบด้วยผมตั้งแต่ 1-4 เส้น ต่อมากราฟท์เล็ก ๆ เหล่านี้จะถูกปลูกลงบริเวณที่ต้องการด้วยความระมัดระวังไม่ให้ทำอันตรายต่อรากผมเดิมที่อยู่เคียงข้าง และคำนึงถึงมุม และองศาของผมที่มีอยู่ จึงทำให้ผลที่ได้ออกมาดูธรรมชาติ ผมที่ปลูกไปจะเริ่มงอกใหม่หลังผ่าตัด 3-4 เดือน จากนั้นจะยาวขึ้นเรื่อย ๆ และผมที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ถาวร แต่อาจจะบางลงได้ตามวัย จำนวนกราฟท์ที่ใช้และจำนวนครั้งในการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับว่าบริเวณที่ผมบางว่ามีมากน้อยเพียงไร และขึ้นอยู่กับคุณภาพและปริมาณผมที่เหลือบริเวณท้ายทอยด้วย อาจต้องทำการผ่าตัด 1-3 ครั้งในรายที่เป็นมาก
ส่วนแนวทางการรักษาใหม่ ๆ นั้นได้แก่ การใช้แสงเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำ หรือการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น ได้ผลดีในคนไข้ที่ผมบางจากพันธุกรรมไม่รุนแรงมากนัก และผลการรักษามีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ปัจจุบันมีคนไข้ทั้งเพศชายและเพศหญิง เริ่มหันมาใส่ใจในการดูแลตนเองในเรื่องของผมบาง ศีรษะล้านมากขึ้น หากต้องการปรึกษาหรือรักษาแนะนำให้ไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านเส้นผมจะดีที่สุด