ชาวขอนแก่นพร้อมใจร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 โครงการโรงไฟฟ้าน้ำพองทดแทน จ.ขอนแก่น
บริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด และ กฟผ. ขอขอบคุณชาวขอนแก่นที่พร้อมใจ เ ข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็ นของประชาชน ครั้งที่ 2โครงการโรงไฟฟ้าน้ำพองทดแทน อย่างเนืองแน่นแสดงพลังการมีส่วนร่ วมของประชาชนต่อการดำเนิ นโครงการฯ เพื่อนำความคิดเห็นที่ได้ไปจั ดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่ งแวดล้อม (EIA) ให้ครบถ้วนครอบคลุมทุกมิติ เกิดประโยชน์สูงสุดกับชาวขอนแก่ นและทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย
ระหว่างวันที่ 11 – 12 กรกฎาคม 2563 บริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ งประเทศไทย (กฟผ.) จัดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็ นของประชาชน ครั้งที่ 2ต่อการจัดทำร่ างรายงานและมาตรการป้องกั นและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้ อมและมาตรการติ ดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในรายงาน EIA (Environmental Impact Assessment) โครงการโรงไฟฟ้าน้ำพองทดแทน โดยมี นายปานทอง สระคูพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น นายศุภชัย ลีเขาสูง นายอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น รวมถึงประชาชนในพื้นที่ หน่วยงานราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้ องถิ่น ผู้นำชุมชน สถานศึกษา ผู้นำศาสนา องค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม สื่อมวลชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป สนใจเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็ นในวันที่ 11 กรกฎาคม 2563ณ หอประชุม 50 ปี โรงเรียนน้ำพองศึกษา อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น และวันที่ 12 กรกฎาคม 2563ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภออุบลรั ตน์ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น รวมทั้งหมดจำนวน 708คน มีผู้แสดงความคิดเห็นด้วยวาจา จำนวน 30 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจากประชาชนในพื้ นที่ อ.น้ำพอง 4 ตำบล ได้แก่ ต.ม่วงหวาน ต.กุดน้ำใส ต.สะอาด ต.น้ำพอง และชาว อ.อุบลรัตน์ 2 ตำบล ได้แก่ ต.โคกสูง ต.บ้านดง รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงและประชา ชนทั่วไป
นายปานทอง สระคูพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ปัจจุบันไฟฟ้าเป็นพลังงานที่ สำคัญกับชีวิตของมนุษย์ หากไม่มีไฟฟ้าใช้จะทำให้มนุษย์ ขาดแสงสว่าง รวมถึงไม่สามารถใช้ เครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ได้ โรงไฟฟ้าน้ำพองเดิมจะหมดอายุ การใช้งานจึงต้องถู กปลดออกจากระบบในปี 2568 กฟผ. จึงได้เตรียมก่อสร้างโครงการเพื่ อทดแทนโรงไฟฟ้าน้ำพองเดิม ในพื้นที่โรงไฟฟ้าปัจจุบัน ซึ่งใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยยิ่ งขึ้น ทำให้ประชาชนได้มีไฟฟ้าใช้เพื่ อประโยชน์ในด้านต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาประเทศ ช่วยลดการนำเข้าพลังงานไฟฟ้ าจากต่างประเทศ ทั้งนี้ ขอขอบคุณ กฟผ. ที่ได้เปิดเวทีรับฟังเสี ยงประชาชนในพื้นที่และประชาชนที่ สนใจได้มาร่วมแสดงความคิดเห็น และข้อห่วงกังวลต่อผลกระทบที่ อาจเกิดขึ้น หวังว่าประชาชนที่เข้ารับฟังการ ประชุมในครั้งนี้จะร่วมกันสะท้ อนความคิดเห็นให้ครบถ้วนทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสิ่งแวดล้อม และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อชาวขอนแก่ นมากที่สุด
นางสาวดวงกมล พรหมสุวรรณ ผู้จัดการโครงการ บริษัท คอลซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด บริษัทที่ปรึกษา กล่าวว่า การจัดรับฟังความคิดเห็นในครั้ งนี้ บริษัทฯ ได้ให้ข้อมูลกับประชาชนและหน่ วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับรายละเอียดการศึ กษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ รวมถึงมาตรการป้องกันและแก้ ไขผลกระทบสิ่งแวดล้ อมและมาตรการติ ดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมเปิดให้ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่น องค์กรเอกชน สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไป ได้ร่ วมแสดงความคิดเห็นและข้ อเสนอแนะในการพัฒนาโครงการให้ ครอบคลุมครบถ้วน เพิ่มเติมจากการจัดประชุม รับฟังความคิดเห็ นในการกำหนดขอบเขตและแนวทางการป ระเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2562 สำหรับสิ่งที่ประชาชนยังมี ความกังวล อาทิ การควบคุมผลกระทบด้านสิ่งแวดล้ อม ในการดูแลแหล่งน้ำ การใช้เชื้อเพลิง การให้ประชาชนได้มีส่วนร่ วมในการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้ อม การจ้างงานท้องถิ่น การพัฒนาด้านสาธารณสุขและการศึ กษาในชุมชน และการบริหารงบประมาณกองทุนพั ฒนารอบโรงไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้ ง2 เวทีนี้ จะเป็นประโยชน์ในการพิจารณาจั ดทำรายงานการประเมินผลกระทบด้ านสิ่งแวดล้อม (EIA)โครงการโรงไฟฟ้าน้ำพองทดแทนฉบั บสมบูรณ์ เพื่อนำเสนอสำนั กงานนโยบายและแผนทรั พยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณาต่อไป
ด้าน นางศรีวรรณ บูรณโชคไพศาล ผู้ช่วยผู้ว่าการแผนงานโรงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่ านที่สละเวลาอันมีค่ามาร่ วมประชุมและร่วมให้ข้อเสนอแนะ รวมถึงข้อคิดเห็นต่างๆ ในวันนี้ ซึ่ง กฟผ. และบริษัทที่ปรึ กษาจะรวบรวมความเห็นของทุกท่าน ไปพิจารณาปรับปรุงร่ างรายงานการประเมินผลกระทบสิ่ งแวดล้อม และมาตรการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้มีความสมบูรณ์ และครอบคลุมเหมาะสมกั บประชาชนในพื้นที่ให้มากที่สุด
สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าน้ำ พองทดแทน มีขนาดกำลังผลิตติดตั้งสูงสุด 830 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่โรงไฟฟ้ าน้ำพองปัจจุบัน ต.กุดน้ำใส อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความพร้ อมทั้งด้านระบบส่งไฟฟ้าและเชื้ อเพลิง ก่อสร้างทดแทนโรงไฟฟ้าน้ำพอง ชุดที่ 1 - 2 ในปัจจุบัน ซึ่งจะถูกปลดออกจากระบบในปี 2568 เนื่องจากหมดอายุการใช้งาน เพื่อรักษาความมั่ นคงของระบบไฟฟ้าภาคตะวันออกเฉี ยงเหนือที่ขาดหายไป และรักษาเสถียรภาพระบบไฟฟ้ าในภาพรวมของประเทศ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิ งหลัก ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้ าของประเทศ พ.ศ. 2561-2580 (PDP2018) โดยโรงไฟฟ้าน้ำพองทดแทน มี กำหนดจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในปี 2568
ทั้งนี้ ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็ นเพิ่มเติมต่อร่างรายงานฉบับนี้ โดยส่งข้อคิดเห็นหรือข้ อเสนอแนะได้ที่ คุณจีรภัทร ประเสริฐสุวรรณ มือถือ 091-4359154 โทรศัพท์ 0-2934-3233-47 ต่อ 513 โทรสาร 0-2934-3248 หรือ บริษัท คอลซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด เลขที่ 39 ซ.ลาดพร้าว 124 ถ.ลาดพร้าว แขวงพลับพลาชัย เขตวังทองหลาง กทม. 10310 หรือ เว็บไซต์ www.cot.co.th