ADS


Breaking News

วช. วิจัยมุ่งเป้า แก้ ภาวะแล้ง 2020 ระดมทุกมิติจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

วช. ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมมนา ภาวะแล้ง 2020 และแนวมาตรการบริหารจัดการ เพื่อป้องกันในอนาคต
ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
กล่าวเปิดงาน
ณ ห้องประชุมแมนดาริน ซี
โรงแรมแมนดาริน สามย่าน กรุงเทพฯ
ท่านปานเทพ  กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมาธิการวุฒิสภา
กล่าวนำ แนวทางการจัดการน้ำและที่ดิน
วช. สานพลังนักวิจัยไทยสู้ ภัยแล้ง 2020 สนับสนุนงานวิจัยด้านการบริหารจัดการน้ำ
เร่งแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เพิ่มมาตรการบริหารจัดการน้ำระดับชาติอย่างยั่งยืน
ผู้บริหาร ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
     ในวันนี้ วันทึ่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ วช. ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดสัมมนาวิชาการ “ภาวะแล้ง 2020 และ แนวทาง มาตรการ บริหารจัดการเพื่อป้องกันในอนาคต” ณ ห้องประชุมแมนดาริน ซี โรงแรมแมนดาริน สามย่าน กรุงเทพฯ การจัดงานครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการรวมตัวของนักวิจัยด้านน้ำระดับประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำของประเทศ มากกว่า 200 คนมารวมกันเพื่อจุดประสงค์สำคัญสร้างความร่วมมือกันบริหารจัดการน้ำ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญเรื่องหนึ่งของประเทศ ที่ประเทศต้องเผชิญกันอยู่ทุกปี พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการดำเนินงานวิจัย ส่งต่อข้อมูลการวิจัยสู่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายบริหารของประเทศพร้อมผลักดันการวิจัยสู่การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
      ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดงานสัมมนากล่าวว่า วช. ให้ความสำคัญของงานวิจัยกับการบริหารจัดการน้ำของประเทศ โดยประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษา ได้เสนอแนะ การแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้าง ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและที่ดิน โดยท่านปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมาธิการวุฒิสภา ให้เกียรติเข้าร่วมรับฟังปัญหาเพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอและแนวทางแก้ไขต่อภาวะแล้งที่เกิดขึ้น
กล่าวรายงาน

     ดำเนินการและส่งผ่านคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อเสนอวุฒิสภาต่อไป
         นโยบาย การบริหารจัดการ และการปฏิบัติ เพื่อเป็นข้อเสนอและแนวทางแก้ไขต่อภาวะแล้งที่เกิดขึ้น ในระยะสั้น การแก้ไขปัญหาน้ำอุปโภคบริโภคจะพึ่งแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่จัดสรรรองรับไว้ ซึ่งต้องมีระบบกระจายน้ำที่ดี จึงต้องพึ่งแหล่งน้ำขนาดเล็ก รวมทั้งบ่อน้ำบาดาล เป็นหลัก ผลการทบทวนมาตรการที่มียังพบช่องว่างที่ควรปรับปรุงในหลายประเด็นนอกจากนั้น ด้วยภาวะการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและสังคม วิกฤติการณ์ด้านน้ำยังคงมีความเสี่ยง ในระยะยาวประเทศจำเป็นต้องปรับโครงสร้างการใช้น้ำในแต่ละพื้นที่ให้สมดุล เพื่อสร้างความมั่นคงทางน้ำ และเพิ่มผลิตผลการใช้น้ำไปด้วยกัน โดยใช้มาตรการด้านผู้ใช้ ไปพร้อมกับการจัดหาน้ำเพิ่มเติม และการบริหารจัดการการใช้น้ำอย่างเป็นระบบด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนพื้นที่ เช่น การวางแผนกำหนดโควตาการใช้น้ำ ตามพื้นที่และปีน้ำ พร้อมตารางการลดน้ำตามภาวะน้ำในแต่ละรูปแบบ โดยเป็นการตกลงของชุมชน พร้อมกับการปรับโครงสร้างและแผนการใช้น้ำในอนาคต ๑๐ ปี แต่ละลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำย่อย และพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้าใจ และมีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งการเสวนาครั้งนี้มีตัวแทนทั้งจากหน่วยงานหลัก จังหวัด อบจ. และตัวแทนชุมชนที่มีความสำเร็จในการจัดการแก้ไข ป้องกันปัญหาภัยแล้งได้ดี เป็นตัวอย่างของการขยายผลสู่พื้นที่อื่นได้อีกต่อไป
ช่วงถามตอบ
#ภาวะแล้ง2020
#วช
#จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
#NRCT