ADS


Breaking News

วช. มุ่งบ่มเพาะเยาวชนสายอุดมศึกษา สร้างนักวิจัยและนักประดิษฐ์เพื่อขับเคลื่อน BCG โมเดล

     การเพิ่มศักยภาพและมาตรฐานบุคลากรอุดมศึกษา : บ่มเพาะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม เป็นกิจกรรมที่อยู่ภายใต้การพัฒนาศักยภาพนักวิจัยและนักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม ให้กับเยาวชนและบุคลากรระดับอุดมศึกษา ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญในการทำให้เกิดงานวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ที่รองรับการเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคม เศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และฉับพลัน การพัฒนาประเทศ พัฒนาเศรษฐกิจ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ธุรกิจ สินค้าและการบริการ จำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพ กำลังคน บนพื้นฐานความรู้ ด้านการวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งจะเป็นหัวใจสำคัญในการนำพาประเทศไปสู่ความก้าวหน้าและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
     ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า 
     วช. ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม โดยการออกแบบระบบพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม เป็นลำดับขั้นบันได เริ่มตั้งแต่ นักวิจัยรุ่นเยาว์ ระดับอาชีวศึกษา โครงการสนับสนุนทุนส่งเสริมการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ผ่านโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ซึ่งเป็นทุนที่เน้นผลิตนักวิจัยใหม่ 
     ให้ผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และทุนโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ที่ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาประเทศไปสู่ระบบเศรษฐกิจความรู้ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ในอนาคต ตามเป้าประสงค์ของการพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ นักวิจัยรุ่นใหม่ โดยการสนับสนุนทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่ ทุนพัฒนาศักยภาพ ในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ และทุนนักวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) นักวิจัยรุ่นกลาง โดยกการสนับสนุนทุนพัฒนานักวิจัยรุ่นกลาง (เมธีวิจัย) ทุนส่งเริมสร้างงานวิจัยภาคอุตสาหกรรม (พวอ.) ทุนวิจัยและนวัตกรรมเพื่อกิจการขนาดเล็กและขนาดย่อม (พวอ.)และ นักวิจัยอาวุโส โดยการสนับสนุนทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น และทุนส่งเสริมกลุ่มนักวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส) ทั้งนี้ การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ในประเด็นที่สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ “Thailand 4.0” และนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาประเทศ จึงเป็นทิศทางที่ภาคการวิจัยร่วมมือกันผลักดันขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นเพื่อการพัฒนาประเทศโดยองค์รวม โดยเฉพาะนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ 
     ที่รัฐบาลมุ่งหวังแก้ปัญหาเศรษฐกิจระดับฐานรากที่เรียกว่า “BCG Economy Model” ซึ่งระบบเศรษฐกิจ BCG จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน ที่เดิมจะพึ่งพาภาคเกษตรเป็นหลัก แต่รายได้กลับสวนทาง ทำให้แรงงานด้านนี้ลดน้อยลง ขณะเดียวกันในอนาคตที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ  กลุ่มแรงงานมีแนวโน้นลดลง การเตรียมรับมือถือเป็นเรื่องสำคัญ รัฐบาลจึงพยายามผลักดันเศรษฐกิจแบบใหม่ ภายใต้โมเดล BCG ที่ครอบคลุมอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เป็น S-Curve ทั้งหมด 4 อุตสาหกรรม ได้แก่ 1) อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร 2) อุตสากรรมพลังงานและเคมีชีวภาพ 3) อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ และ 4) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โมเดลดังกล่าว วช. มีความพร้อมที่จะสนับสนุนด้านต่าง ๆ ในการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรมและส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ตาม BCG โมเดล ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ ชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน ปัจจุบันได้มีการใช้ BCG โมเดล ที่เป็นรูปธรรมหลายโครงการ อาทิ การนำความรู้และเทคโนโลยีมาพัฒนามะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง โดยดูแลการบริหารจัดการวัตถุดิบครบวงจร พัฒนากระบวนการก่อน ระหว่าง และหลังการฉายรังสี จนได้คุณภาพดีสามารถส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จในรอบ 12 ปี เป็นผลงานการวิจัยของ วช. ที่สร้างมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรของไทย
     การพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ เป็นความท้าทายที่ต้องพัฒนา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ร่วมเป็นกลไกสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรม และการสร้างเครือข่ายการวิจัย จึงได้จัดกิจกรรมการเพิ่มศักยภาพและมาตรฐานบุคลากรอุดมศึกษา : บ่มเพาะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายอุดมศึกษาให้ได้รับการพัฒนาสู่มาตรฐานด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติตามความต้องการของสังคม ชุมชน ภาครัฐและเอกชน รวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิต การสร้างมูลค่าเพิ่ม และขีดความสามารถของประเทศในการแข่งขันระดับนานาชาติ โดยในปี 2563 วช. ได้กำหนดกลุ่มเรื่องผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ให้มีความสอดคล้องกับกลุ่มเรื่องของ Thailand 4.0 และ BCG โมเดล เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ การเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร, การสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์, การพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ พลังงานและสิ่งแวดล้อม, และการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 
     นอกจากนี้ วช. ยังได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของสายอุดมศึกษาในหลากหลายรูปแบบ อาทิ งานวันนักประดิษฐ์ มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ และการประกวดในเวทีระดับนานาชาติ 
     การจัดกิจกรรมของ วช. ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานและผู้ประกอบการ อีกทั้งยังได้รับรางวัล และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติอีกด้วย
     การจัดกิจกรรมการเพิ่มศักยภาพและมาตรฐานบุคลากรอุดมศึกษา : บ่มเพาะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
     เพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม ในครั้งนี้ คาดว่า สามารถจะพัฒนาทักษะและเทคนิคด้านการประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมของอาจารย์และบุคลากร ผู้รับผิดชอบในการพัฒนาผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอุดมศึกษาให้สามารถร่วมกันพัฒนางานประดิษฐ์ที่รองรับความต้องการของชุมชน สังคม และประเทศในอนาคตได้อย่างเต็มภาคภูมิต่อไป