วช. ขับเคลื่อนประด็นท้าทายไทย กำจัดไวรัสตับอักเสบ ให้หมดจากไทยภายใน 10 ปี นำร่องจังหวัดเพชรบูรณ์
วช. จัดการประชุมวิชาการและแถลงข่าว แผนงาน "การกำจัดไวรัสตับอักเสบจากประเทศไทย (Hepatitis Elimination)" โดย วช. ร่วมกับ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย
ศ.ดร.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้สัมภาษณ์
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับกรมควบคุมโรค สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย แถลงการทำงานร่วมกัน ขับเคลื่อนโครงการวิจัยท้าทายไทย "กำจัดไวรัสตับอักเสบจากประเทศไทย" มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาสำคัญระดับชาติ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
HCV : from molecular virology to viral eradication โดย Professor Dr. Ralf F.W.Bartenschlager
ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี พ.ศ.2562
ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี พ.ศ.2562
โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัส เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญด้านสุขภาพของประชากรโลกและไทย โดยเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรโลกมากกว่าการเสียชีวิตจากการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) วัณโรค และมาลาเรีย ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เรื้อรังทั่วโลกประมาณ 257 ล้านคนและติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง ประมาณ 71 ล้านคน สำหรับประเทศไทย มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ประมาณ 2.2 ล้านคน และมีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ประมาณ 7.5 แสนคน ซึ่งการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง ส่งผลให้ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งเกิดโรคตับแข็งและมะเร็งตับตามมา
องค์การอนามัยโลก (WHO) ตั้งเป้ากำจัดไวรัสตับอักเสบให้หมดไปภายในปี 2573 หรืออีก 10 ปีข้างหน้าโดยมีเป้าหมายหลัก 4 ประการ คือ
1) ลดการติดเชื้อรายใหม่ของไวรัสตับอักเสบ บี และซี ให้ได้อย่างน้อย ร้อยละ 90
2) ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี จะต้องได้รับการวินิจฉัยให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 90
3) ผู้ที่รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อแบบเรื้อรัง จะต้องเข้าสู่กระบวนการรักษาให้ได้ อย่างน้อยร้อยละ 80
4) ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคตับแข็ง และมะเร็งตับให้ได้อย่างน้อย ร้อยละ 65
ช่วงแถลงข่าว
ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า “วช. ซึ่งเป็นหน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยหลักของประเทศ และเป็นหน่วยงานกลางในการประสานเชื่อมโยงทุกภาคส่วนในการทำงานร่วมกันบนพื้นฐานงานวิจัยเพื่อให้เกิดผล เป็นรูปธรรม ผ่านกลไกการให้ทุนสนับสนุนการวิจัยประเด็นท้าทาย เพื่อมุ่งเน้นกำจัดไวรัสตับอักเสบให้หมดไปจากประเทศไทยในปี 2573 เป็นหนึ่งในประเทศที่จะขับเคลื่อนให้ได้ผล โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันสนับสนุนมี ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินการในส่วนของการวิจัยเพื่อให้เกิดผล (Implementation Research) โดยมีโครงการนำร่องที่จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นจังหวัดต้นแบบ และจะนำมาขยายผลไปทั่วประเทศ เพื่อให้ไวรัสตับอักเสบหมดไปจากประเทศไทย ภายใน 10 ปี สอดคล้องกับเป้าหมายองค์การอนามัยโลก
วช. และภาคีเครือข่ายเชื่อมั่นว่าความร่วมมือที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถกำจัดไวรัสตับอักเสบให้หมดไปได้ และบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่องค์การอนามัยโลกตั้งไว้
#NRCT
#กำจัดไวรัสตับอักเสบจากประเทศไทย
#HepatitisElimination
#วิจัยท้าทายไทย
#HCV