ADS


Breaking News

เดลล์ เทคโนโลยีส์ เผยผลวิจัย ทำนายอันดับท็อปเทคโนโลยีเกิดใหม่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตคนภายในปี 2030

เดลล์ เทคโนโลยีส์ ฟอรัม กรุงเทพฯ ประเทศไทย – วันที่ 12 พฤศจิกายน 2562


เนื้อหาสำคัญโดยสรุป
  • เราจะได้รับประสบการณ์การเป็นพันธมิตรในแบบที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นกว่าเดิมกับเครื่องจักรทั้งหลาย (machines) ซึ่งถูกขับเคลื่อนโดยการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีที่เกิดใหม่ (emerging technologies) อาทิ 5G ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยี Extended Reality หรือ XR) และอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT)
  • ชีวิตของเราจะถูกเปลี่ยนรูปแบบไปอย่างสิ้นเชิงด้วยการปรับเปลี่ยนต่างๆ ที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวนำ อาทิ เมืองที่มีความรู้สึก หรือ sentient cities ระบบขนส่งที่เชื่อมต่อเข้าหากัน (connected mobility) และหุ่นยนต์ที่กำลังจะกลายเป็นกระแสหลัก (mainstream)
  • ผู้นำธุรกิจจำนวน 1,100 คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและประเทศญี่ปุ่น (APJ) รวมทั้งประเทศไทย ได้พิจารณาและให้ความเห็นในการวิจัยในหัวข้อของ Future of Connected Living หรือรูปแบบชีวิตในอนาคตที่ทุกสิ่งเชื่อมโยงเข้าหากัน โดย 80 เปอร์เซ็นของทั้งภูมิภาค (89 เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทย) คาดหวังว่าพวกเขาจะสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้เวลาในการทำงานผ่านระบบอัตโนมัติ; 63 เปอร์เซ็นต์ (78 เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทย) พร้อมตอบรับการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงทั้ง VR (virtual reality) และ AR (augmented reality) ในทุกวัน
  • องค์กรและรัฐบาลต้องเข้ามามีบทบาทในการเอาชนะความท้าทายต่างๆ อีกทั้งต้องเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตดิจิทัลที่กำลังจะมาถึง
     เดลล์ เทคโนโลยีส์ เผย อนาคตของการใช้ชีวิตที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน หรือ Future of Connected Living งานวิจัยใหม่ที่สำรวจว่าเทคโนโลยีที่เกิดใหม่จะเปลี่ยนแปลงรูปหรือปฏิรูปรูปแบบการใช้ชีวิตของเราในปี 2030 ไปอย่างไร โดยการวิจัยนี้จัดทำขึ้นผ่านความร่วมมือกับ สถาบันแห่งอนาคต (Institute for the Future หรือ IFTF) และแวนสัน บอร์น (Vanson Bourne)ในการดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของผู้นำทางธุรกิจ1,100 คนใน 10 ประเทศภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและประเทศญี่ปุ่น (APJ) ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ทั้งนี้ ผลการสำรวจให้ข้อมูลและมุมมองของโลกอนาคตที่เปี่ยมล้นไปด้วยโอกาสอันเนื่องมาจากความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีส์ที่มอบศักยภาพในการที่จะขับเคลื่อนความก้าวหน้าของมนุษย์ทั่วทั้งโลก


เทคโนโลยีเกิดใหม่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสำคัญ
สถาบันแห่งอนาคต (IFTF) และฟอรัมการประชุมของผู้เชี่ยวชาญระดับโลกได้คาดการณ์ว่าเทคโนโลยีต่างๆ อาทิ เอดจ์ คอมพิวติ้ง (edge computing) 5G ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยีด้าน reality ทั้งหมด อย่าง Extended Reality (XR) และ IoT จะผสานรวมเข้าด้วยกันเพื่อสร้าง “การเปลี่ยนแปลง” ครั้งสำคัญห้าประการในทศวรรษใหม่ที่กำลังจะมาถึง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะมีพลังในการที่จะเปลี่ยนแปลงสรรพชีวิตต่างๆ ที่อยู่ทั่วโลก
สถาบันแห่งอนาคต (IFTF) ทำนายการเปลี่ยนแปลงที่จะตามมาในช่วงระหว่างปัจจุบัน จนถึงปี 2030 ดังนี้
  1.  เครือข่ายของระบบเสมือนจริง (Networked Reality): ในอีกสิบปีข้างหน้า ไซเบอร์สเปซจะกลายเป็นภาพซ้อนทับ (overlay) บนความเป็นจริงที่มีอยู่ของเราจากการที่สภาพแวดล้อมทางดิจิทัลของเราขยายออกไปเกินกว่าโทรทัศน์ สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์ในการแสดงผลอื่นๆ
  1. ยานยนต์ที่เชื่อมต่อเข้าหากัน (connected mobility) และความสำคัญของเครือข่ายที่รวมเข้าด้วยกัน  (Networked Matter)สามารถในการเชื่อมต่อและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง - ยานพาหนะในอนาคตจะกลายเป็นคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ได้ เราจะไว้วางใจให้พาหนะเหล่านี้เดินทางไปในทุกที่บนโลกที่สามารถจับต้องได้ใบนี้ในขณะที่ติดต่อปฏิสัมพันธ์กับโลกเสมือนที่พร้อมให้เราเข้าถึงได้ในทุกที่ที่เราอยู่
  1. จาก ดิจิทัล ซิตี้ (Digital Cities) ไปสู่ เซนเทียน ซิตี้ (Sentient Cities) หรือเมืองที่มีความรู้สึก - เมืองต่างๆ จะลุกขึ้นมามีชีวิตผ่านทางเครือข่ายต่างๆ ทั้งของโครงสร้างพื้นฐานของทั้งวัตถุอัจฉริยะ (smart objects) ระบบการรายงานผลด้วยตัวเอง (self-reporting systems) และการวิเคราะห์ด้วยพลังของ AI ที่รวมเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกัน
  1. ผู้ช่วยและระบบกฏเกณฑ์ขั้นตอนวิธีต่างๆ (Agents and Algorithms): พวกเราแต่ละคนจะได้รับการดูแลสนับสนุนจาก "ระบบปฏิบัติการเพื่อการดำรงชีวิต" (operating system for living) ที่เป็นส่วนตัว ที่สามารถคาดเดาได้ถึงความต้องการของเรา และให้การสนับสนุนภาระกิจต่างๆของเราในแต่ละวันในแบบเชิงรุกเพื่อทำให้มีเวลาว่างเพิ่มมากยิ่งขึ้น

  1. โซเชียลไลฟ์ของหุ่นยนต์ (Robot with Social Lives): หุ่นยนต์จะกลายมาเป็นเป็นหุ้นส่วนในชีวิตของเรา ช่วยเพิ่มทักษะและขยายขีดความสามารถของเราในด้านต่างๆ  หุ่นยนต์จะแบ่งปันความรู้ที่ได้รับใหม่ไปยังเครือข่ายโซเชียลหุ่นยนต์ (social robot network) ไปยังนวัตกรรม crowdsource และกระตุ้นให้เกิดความก้าวหน้าในแบบเรียลไทม์
“การเชื่อมต่อและความสัมพันธ์ของเรากับเทคโนโลยีจะมีความแตกต่างออกไปอย่างมหาศาลในปี 2030 และเราเชื่อว่าความสัมพันธ์ที่จะประสบความสำเร็จมากที่สุดระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรคือความสัมพันธ์ในระยะยาวของเผ่าพันธ์ที่แตกต่าง (symbiotic) และใช้ประโยชน์จากจุดแข็งต่างๆ ที่เกื้อกูลกัน” ปัง ยี เบ็ง รองประธานอาวุโส ภูมิภาคเอเชียใต้ เดลล์ เทคโนโลยีส์
คุณ ปัง ยี เบ็ง รองประธานอาวุโส ภูมิภาคเอเชียใต้ เดลล์ เทคโนโลยีส์

“เจ็ดสิบห้าเปอร์เซ็นต์ของผู้นำธุรกิจทั่วทั้งเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่นที่ร่วมในการสำรวจ ต่างยินดีที่จะเป็นพันธมิตรกับเครื่องจักรและหุ่นยนต์เพื่อสามารถก้าวข้ามขีดจำกัดในด้านต่างๆ ของมนุษย์ เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์รูปแบบใหม่ของการดำรงชีวิต เพิ่มประสิทธิภาพในด้านการผลิต และสร้างความสมดุลย์ของการทำงานและการใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ในขณะที่ช่วยให้เมืองของเรามีความยั่งยืน มีประสิทธิภาพ และมีความน่าอยู่มากยิ่งขึ้น”
     นายนพดล ปัญญาธิปัตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์

ในส่วนของการเติบโตในด้านการนำเทคโนโลยีเกิดใหม่เข้ามาใช้อย่างแพร่หลายในประเทศไทย นายนพดล ปัญญาธิปัตย์กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย เดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า “เทคโนโลยีเกิดใหม่ต่างๆ จะปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงชีวิตของเราไปในรูปแบบที่เราไม่เคยสัมผัสมาก่อน จากการที่ภาครัฐกำลังก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงด้วยแผนงาน Thailand 4.0 พร้อมเป้าหมาย Digital Thailand การลงทุนที่สำคัญจำเป็นต้องทำให้เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจดิจิทัล (digital economy) รวมทั้งการกำกับดูแลสำหรับระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI การชำระเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไปจนถึงการสร้างอัตลักษณ์ดิจิทัล (digital identities) สิ่งสำคัญสำหรับเราคือการพูดคุยและค้นหาแนวทางในการที่เราจะสามารถทำให้อนาคตนี้เป็นจริงด้วย ความร่วมมือของมนุษย์และเครื่องจักรที่ครบถ้วนสมบูรณ์”
การเปลี่ยนแปลงที่คาดไว้
องค์กรธุรกิจจำนวนมากในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศไทยกำลังเตรียมพร้อมในการรองรับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้แล้ว โดยการสำรวจส่วนหนึ่งเผยให้เห็นถึงมุมมองของผู้นำทางธุรกิจดังนี้ 
  • 80 เปอร์เซ็นต์ (89 เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทย) คาดหวังว่าพวกเขาจะปรับเปลี่ยนรูปแบบในการใช้เวลาด้วยการจัดการภาระการงานด้วยระบบอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น
  • 49 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำธุรกิจ (60 เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทย) พร้อมตอบรับเครื่องจักรที่กำลังจะกลายมาเป็นเครื่องจักรที่สามารถคิดและทำงานได้ด้วยตัวเอง (self-aware)
  • มากกว่าครึ่งของธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศไทยที่ ระบุว่าพวกเขาคาดว่า Networked Reality จะกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่สามารถเห็นได้ทั่วไปในอนาคต
    • 63 เปอร์เซ็นต์ (78 เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทย) กล่าวว่าพวกเขาพร้อมตอบรับการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงทั้ง VR (virtual reality) และ AR (augmented reality) ในทุกวัน
    • 62 เปอร์เซ็นต์ (79 เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทย) กล่าวว่าพวกเขายินดีต้อนรับผู้ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีที่สามารถควบคุมคอมพิวเตอร์ด้วยความคิด (brain computer interfaces)
มุ่งสู่ความท้าทาย
จากผลการวิจัย การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่สำคัญที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวนำเหล่านี้อาจก่อให้เกิดความท้าทายต่อผู้คนและองค์กรที่กำลังต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น องค์กรธุรกิจต่างๆ ที่ปรารถนาจะควบคุมพลังของเทคโนโลยีเกิดใหม่จำเป็นที่จะต้องเก็บรวบรวม ประมูลผล และนำข้อมูลมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทันกับนวัตกรรมที่มีเดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ ความกังวลเกี่ยวกับความเป็นธรรมของระบบกฏเกณฑ์ (algorithms) ที่มีแนวโน้มในการที่จะดำเนินการทำทุกสิ่งอย่าง ตั้งแต่การตัดสินใจว่าวิธีการที่บริษัทพิจารณาว่าจ้างบุคคล ไปจนถึงผู้ที่มีคุณสมบัติในการกู้ยืมเงินที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่นเดียวกับความกังวลที่มีเพิ่มขึ้นจากประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ รัฐบาลต่างจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้วิธีในการทำงานร่วมกันเพื่อให้สามารถแบ่งปันและนำข้อมูลมาปรับใช้ในกรณีที่เมืองต่างๆ จะเปลี่ยนรูปแบบจากดิจิทัลไปสู่เซนเทียน (sentient) หรือเมืองที่มีความรู้สึกได้
ผู้นำธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศไทย ต่างคาดการณ์ถึงความท้าทายต่างๆ รวมไปถึงความกังวลที่มีต่อ คาดการณ์ถึงความท้าทายและความกังวลเกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์เชิงสังคม (social lives):
  • ผลสำรวจ ระบุว่า78% (61% ในประเทศไทย) คาดว่าในปี 2030 ผู้นำทางธุรกิจจะมีความกังวลต่อความเป็นส่วนตัวมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
  • 74% ของผู้นำธุรกิจที่เข้าร่วมในการสำรวจ (69% ในประเทศไทย) ระบุว่าพวกเขาพิจารณาให้ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล (data privacy) อยู่ในของความอันดับต้นๆ (top) ของความท้าทายในระดับสังคมขนาดใหญ่ (societal-scale) ที่ต้องมีการแก้ไข
  • ผลการสำรวจชี้ว่า 49 เปอร์เซ็นต์ (60 เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทย) พร้อมตอบรับเครื่องจักรที่กำลังจะกลายมาเป็นเครื่องจักรที่สามารถคิดและทำงานได้ด้วยตัวเอง (self-aware)
ข้อกังวลและความท้าทายอื่นๆ ที่มีการระบุถึงยังรวมไปถึงการใช้ AI โดย 49 เปอร์เซ็นต์  (38 เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทย) เรียกร้องให้มีการออกระเบียบและความชัดเจนเกี่ยวกับการใช้ AI รวมถึงกรณีของผลกระทบที่มีจะมีต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลทางดิจิทัล (digital disruption) ด้วย 84 เปอร์เซ็นต์ (90 เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทย) ยอมรับว่าการปฏิรูปดิจิทัล (digital transformation) ควรที่จะขยายครอบคลุมไปให้ทั่วทั้งองค์กรของพวกเขามากกว่าเดิม
เพื่อการดำเนินการวิจัย ทางสถาบันแห่งอนาคต (IFTF) พึ่งพาข้อมูลการศึกษานับเป็นเวลาหลายทศวรรษของสถาบันเกี่ยวกับอนาคตของการทำงานและเทคโนโลยี ผนวกเข้ากับการวิจัยล่าสุดของเดลล์ เทคโนโลยีส์และผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก การวิจัย The Future of Connected Living ถือเป็นงานวิจัยชิ้นที่สาม และเป็นชิ้นสุดท้ายในซีรีย์การวิจัยที่มีทั้งหมดสามส่วนซึ่งรวมถึง The Future of the Economy และ The Future of Work ที่ได้รับการเปิดเผยก่ออนหน้านี้ภายในปี 2019 นี้

###


เกี่ยวกับการวิจัย
เดลล์ เทคโนโลยีส์ได้ร่วมมือกับสถาบันวิจัยแห่งอนาคต (IFTF) เพื่อสำรวจว่าเทคโนโลยีเกิดขึ้นใหม่จะเปลี่ยนแปลงรูปปแบบของชีวิตของเราในทศวรรษหน้าอย่างไร การวิจัยเกิดขึ้นบนความร่วมมือระหว่างองค์กรในปี 2017 เมื่อสถาบันวิจัยแห่งอนาคตกลั่นกรองแนวความคิดของผู้เชี่ยวชาญ 20 คนจากทั่วโลกและคาดการณ์ล่วงหน้าถึง “ยุคหน้าของการเป็นพันธมิตรของมนุษย์และเครื่องจักร” โดยในปีต่อมา ทางสถาบันวิจัยได้ทำนายึงรูปแบบอันทรงพลังใหม่ระหว่างมนุษย์และเครื่องจักรที่จะเปลี่ยนชีวิตของเราในปี 2030


เพื่อดำเนินการในด้านการวิจัย  สถาบันวิจัยแห่งอนาคตใช้ข้อมูลของการศึกษาที่ดำเนินมาเป็นเวลายาวนานหลายทศวรรษ เกี่ยวกับอนาคตของเทคโนโลยีและผลกระทบต่อมนุษยชาติควบคู่ไปกับการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่เกี่ยวข้องจากทั่วโลก


เกี่ยวกับสถาบันแห่งอนาคต
สถาบันแห่งอนาคต (IFTF) เป็นองค์กรความคิดสำหรับอนาคตชั้นนำของโลก ด้วยเวลามากว่า 50 ปีที่ธุรกิจภาครัฐและองค์กรผลกระทบทางสังคมได้พึ่งพาการคาดการณ์ระดับโลกของ IFTF การวิจัยตามความต้องการและการฝึกอบรมการมองการณ์ไกลเพื่อนำทางการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนและพัฒนากลยุทธ์ระดับโลก วิธีการและชุดเครื่องมือของ IFTF ให้มุมมองที่สอดคล้องกันของความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลงในทุกภาคส่วนที่สนับสนุนอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น สถาบันเพื่ออนาคตเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรที่จดทะเบียน 501 (c) (3) อยู่ใน Palo Alto, California สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเยี่ยมชมได้ที่  www.iftf.org


เกี่ยวกับ เดลล์ เทคโนโลยีส์
เดลล์ เทคโนโลยีส์ (NYSE:DELL) คือกลุ่มธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจและปัจเจกบุคคลสามารถสร้างอนาคตบนดิจิทัล พร้อมช่วยปฏิรูปทั้งรูปแบบการทำงาน การดำเนินชีวิต และการพักผ่อน เดลล์ เทคโนโลยีส์ให้การดูแลสนับสนุนลูกค้าด้วยการบริการ และเทคโนโลยีที่มีความเป็นนวัตกรรมอย่างสูงสุดที่สามารถครอบคลุมได้อย่างกว้างขวางที่สุดในอุตสาหกรรม ตั้งแต่อุปกรณ์ปลายทาง (edge) ไปถึงส่วนกลางในการประมวลผล (core) ตลอดจนถึงคลาวด์ (cloud)  


Copyright © 2019 Dell Inc. or its subsidiaries. All Rights Reserved. Dell Technologies, Dell, EMC and Dell EMC are trademarks of Dell Inc. or its subsidiaries. Other trademarks may be trademarks of their respective owners.