สมาคมสตรีแห่งฮ่องกง จัดการแสดงงิ้วกวางตุ้งการกุศล สานต่อวัฒนธรรม หารายได้ให้เด็กกำพร้า
5 กันยายน 2562 เวลา 18.00 น. : สมาคมสตรีแห่งฮ่องกง จัดการแสดงอุปรากรจีนการกุศลแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทยและงิ้วกวางตุ้ง จากชมรมศิลปะงิ้วกวางตุ้ง (ประเทศไทย) ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เพื่อสืบสานและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมจีนในประเทศไทย โดยมี มาดาม พัน เผิง ภริยา ฯพณฯ เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย คณะภริยาเอกอัครราชทูตจีน เอกอัครราชทูตและภริยาเอกอัครราชทูตจากสถานทูตต่าง ๆ ครอบครัวจงเช่อ (Zhongce Family) โรงแรม Swissotel Bangkok Ratchada และนักธุรกิจในประเทศไทยร่วมงาน โดยมี มาดาม Kathleen Pokrud นายกสมาคมสตรีแห่งฮ่องกง ให้การต้อนรับ ณ ศูนย์วัฒนธรรมจีน ถ.รัชดาภิเษก ซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งมอบให้กับสมาคมสงเคราะห์เด็กกำพร้าแห่งประเทศไทยและมูลนิธิชัยพฤกษ์
มาดาม Kathleen Pokrud นายกสมาคมสตรีแห่งฮ่องกง เปิดเผยว่า การจัดการแสดงศิลปะการแสดงงิ้วกวางตุ้งในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากชมรมศิลปะงิ้วกวางตุ้ง (ประเทศไทย) ได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมรดกวัฒนธรรมของมนุษยชาติที่จับต้องไม่ได้จากยูเนสโกในปี 2552 และ มาดาม พัน เผิง ภริยา ฯพณฯ เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ต้องการสนับสนุนส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมของจีนเพื่อแบ่งปันกับชุมชนท้องถิ่นและนานาชาติในประเทศไทย
นอกจากนี้วัตถุประสงค์อีกประการหนึ่งคือ เพื่อนำรายได้ไปสนับสนุนการดำเนินงานของสมาคมสงเคราะห์เด็กกำพร้าแห่งประเทศไทยและมูลนิธิชัยพฤกษ์
มาดาม Kathleen Pokrud นายกสมาคมสตรีแห่งฮ่องกง เผยต่อว่า ภายในระยะเวลาเพียงแปดเดือน สมาคมสตรีแห่งฮ่องกงได้มีความร่วมมือกับชมรมศิลปะงิ้วกวางตุ้ง (ประเทศไทย) และทำงานเพื่อกิจกรรมนี้ โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยแม้ว่านักแสดงท้องถิ่นได้ชื่อว่าเป็นมือสมัครเล่น แต่ก็มีความกระตือรือร้นและสนับสนุนงิ้วกวางตุ้งเป็นอย่างมาก จากความร่วมมือกับนักแสดงชาวจีนแผ่นดินใหญ่และนักแสดงฮ่องกงครั้งนี้ เราหวังว่าจะทำให้เห็นความหลากหลายและความลุ่มลึกของวัฒนธรรมจีนได้ แม้ว่านักแสดงอาจจะไม่ได้อยู่ในระดับมืออาชีพ
วัฒนธรรมงิ้วกวางตุ้งถือเป็นมรดกอันล้ำค่าทางวัฒนธรรมของจีน ได้รับการส่งเสริมเผยแพร่จากมณฑลกวางตุ้งไปสู่สถานที่ต่าง ๆ ของโลก การแสดงงิ้วกวางตุ้งได้กลายเป็นวิธีหนึ่งที่ชาวต่างชาติสัมผัสและเข้าใจวัฒนธรรมจีน
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภาษาที่แตกต่างและการขาดแคลนของคำอธิบาย งิ้วกวางตุ้งจึงยากที่จะสร้างความสนใจและความเข้าใจของผู้ชมในประเทศไทย ครั้งนี้ถือว่าเป็นความโชคดีที่ได้รับการสนับสนุนและความช่วยเหลือจากท่านภริยาเอกอัครราชทูตจีนและอาจารย์หลินเจียเหวิน ซึ่งเป็นอาจารย์ของ Winnie Lo ประธานชมรมศิลปะงิ้วกวางตุ้ง (ประเทศไทย) ที่แสดงในคืนนี้ ได้เขียนเรื่องราวการแสดงงิ้วโดยแปลเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งหวังว่าจะสามารถช่วยให้เกิดความเข้าใจและก่อให้เกิดการสืบสานและส่งเสริมงิ้วกวางตุ้งของจีนในประเทศไทยได้มากขึ้น และคงอยู่ตลอดไป
มาดาม Kathleen Pokrud นายกสมาคมสตรีแห่งฮ่องกง เปิดเผยว่า การจัดการแสดงศิลปะการแสดงงิ้วกวางตุ้งในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากชมรมศิลปะงิ้วกวางตุ้ง (ประเทศไทย) ได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมรดกวัฒนธรรมของมนุษยชาติที่จับต้องไม่ได้จากยูเนสโกในปี 2552 และ มาดาม พัน เผิง ภริยา ฯพณฯ เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ต้องการสนับสนุนส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมของจีนเพื่อแบ่งปันกับชุมชนท้องถิ่นและนานาชาติในประเทศไทย
นอกจากนี้วัตถุประสงค์อีกประการหนึ่งคือ เพื่อนำรายได้ไปสนับสนุนการดำเนินงานของสมาคมสงเคราะห์เด็กกำพร้าแห่งประเทศไทยและมูลนิธิชัยพฤกษ์
มาดาม Kathleen Pokrud นายกสมาคมสตรีแห่งฮ่องกง เผยต่อว่า ภายในระยะเวลาเพียงแปดเดือน สมาคมสตรีแห่งฮ่องกงได้มีความร่วมมือกับชมรมศิลปะงิ้วกวางตุ้ง (ประเทศไทย) และทำงานเพื่อกิจกรรมนี้ โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยแม้ว่านักแสดงท้องถิ่นได้ชื่อว่าเป็นมือสมัครเล่น แต่ก็มีความกระตือรือร้นและสนับสนุนงิ้วกวางตุ้งเป็นอย่างมาก จากความร่วมมือกับนักแสดงชาวจีนแผ่นดินใหญ่และนักแสดงฮ่องกงครั้งนี้ เราหวังว่าจะทำให้เห็นความหลากหลายและความลุ่มลึกของวัฒนธรรมจีนได้ แม้ว่านักแสดงอาจจะไม่ได้อยู่ในระดับมืออาชีพ
วัฒนธรรมงิ้วกวางตุ้งถือเป็นมรดกอันล้ำค่าทางวัฒนธรรมของจีน ได้รับการส่งเสริมเผยแพร่จากมณฑลกวางตุ้งไปสู่สถานที่ต่าง ๆ ของโลก การแสดงงิ้วกวางตุ้งได้กลายเป็นวิธีหนึ่งที่ชาวต่างชาติสัมผัสและเข้าใจวัฒนธรรมจีน
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภาษาที่แตกต่างและการขาดแคลนของคำอธิบาย งิ้วกวางตุ้งจึงยากที่จะสร้างความสนใจและความเข้าใจของผู้ชมในประเทศไทย ครั้งนี้ถือว่าเป็นความโชคดีที่ได้รับการสนับสนุนและความช่วยเหลือจากท่านภริยาเอกอัครราชทูตจีนและอาจารย์หลินเจียเหวิน ซึ่งเป็นอาจารย์ของ Winnie Lo ประธานชมรมศิลปะงิ้วกวางตุ้ง (ประเทศไทย) ที่แสดงในคืนนี้ ได้เขียนเรื่องราวการแสดงงิ้วโดยแปลเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งหวังว่าจะสามารถช่วยให้เกิดความเข้าใจและก่อให้เกิดการสืบสานและส่งเสริมงิ้วกวางตุ้งของจีนในประเทศไทยได้มากขึ้น และคงอยู่ตลอดไป