ADS


Breaking News

สสว. ยกระดับผู้ประกอบการใหม่ ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโตสู่มึออาชีพ พัฒนา SME 10,000 ราย สร้างรายได้กว่า 1, 300 ล้านบาท

     สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สสว. จัดงานแถลงความสำเร็จโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่  SME Start up Early Stage และโครงการยกระดับธุรกิจเริ่มต้น Boost up New Entrepreneurs  สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจกว่า 1, 300 ล้านบาท ผ่านการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทยกว่า 10,000 ราย ให้สามารถต่อยอดและเติบโตต่อเนื่อง จากการส่งเสริมด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมและวิจัยพัฒนาเพื่อสร้างรากฐานเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน


     นายสุวรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สสว. เปิดเผยว่า โครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ SME Start Up Early Stage เป็นโครงการที่เน้นพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายย่อยส่วนใหญ่ของประเทศ ประกอบไปด้วย นักศึกษา ผู้เริ่มต้นธุรกิจ พ่อค้าแม่ค้า ที่ต้องการพัฒนากิจการของตนอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของตน ผ่านการใช้เทคโนโลยี แอพพลิเคชั่น หรือกระทั่งมาตรฐานทางอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น โดยคัดเลือกผู้สมัครเพื่อฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ยกระดับทักษะความรู้ ความเชี่ยวชาญ ผ่านที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ จากสถาบันการศึกษา อุตสาหกรรม และหน่วยงานชั้นนำของประเทศ พร้อมต่อยอดเข้าสู่ โครงการยกระดับธุรกิจเริ่มต้น Boost up New Entrepreneurs เน้นสนับสนุน และส่งเสริมเทคโนโลยี นวัตกรรมและงานวิจัยโดยทั้ง 2 โครงการสามารถบรรลุเป้าหมายในปี 2562 เป็นอย่างดี โดยมีผู้ประกอบการวิสาหกิจรายย่อย วิสาหกิจชุมชนระดับฐานราก ในภาคการเกษตรกว่า 5,152 ราย และภาคทั่วไปอีก 5,058 ราย สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจกว่า 1,300 ล้านบาทให้สามารถต่อยอดและเติบโตต่อเนื่อง เพื่อสร้างรากฐานเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน

ผู้ประกอบการรายที่ 1 พูดถึงความสำเร็จที่ได้ร่วมมือกับ สสว.
     ผู้อำนวยการ สสว. ยังได้กล่าวเสริมว่า ด้วยการพัฒนาโครงการที่ไม่หยุดยั้ง ทำให้การดำเนินงานในปี 2562 ยกระดับการบ่มเพาะเชิงลึกให้มีความเฉพาะเจาะจง ตามความเหมาะสมกับบริบททางการตลาด เทคโลยี และสังคม พร้อมปรับรูปแบบการดูแลให้คำปรึกษา (coaching) ให้เข้ากับผู้ประกอบการแต่ละกลุ่มมากขึ้น ให้สามารถเริ่มต้นธุรกิจและเติบโตต่อไปได้อย่างก้าวกระโดด โดยเน้นใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อน ภายใต้ความร่วมมือกับ 10 หน่วยงานได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยขยายสู่ผู้ประกอบการกลุ่มผู้สูงอายุ (Born@ 50+) กลุ่มผู้หญิง (Women Entrepreneur) กลุ่มดิจิทัล (Digital) กลุ่มสิ่งทอ (Textile) พร้อมต่อยอดผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม ในโครงการยกระดับธุรกิจเริ่มต้น (Boost Up New Entrepreneur) ที่จะเชื่อมโยงงานวิจัยและเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือพัฒนาโมเดลการดำเนินธุรกิจรูปแบบใหม่  พร้อมยกระดับ สู่มาตรฐานสามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ

ผู้ประกอบการรายที่ 2 พูดถึงความสำเร็จที่ได้ร่วมมือกับ สสว.


ผู้ประกอบการรายที่ 3 พูดถึงความสำเร็จที่ได้ร่วมมือกับ สสว.

ผู้ประกอบการรายที่ 4 พูดถึงความสำเร็จที่ได้ร่วมมือกับ สสว.

     ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการที่น่าสนใจ คือ มีสัดส่วนของผู้ประกอบการอายุน้อยเพิ่มขึ้น มีการทำธุรกิจที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ และสามารถออกแบบการบริการที่เข้าถึงได้ง่าย ผ่านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม นอกจากนี้พบว่า กลุ่มผู้หญิงจะมีความพยายามในการเริ่มและพัฒนาธุรกิจเป็นอย่างมาก แต่ทัศนคติ เชิงบวกน้อยกว่าผู้ประกอบการชาย สสว. จึงได้จัดรูปแบบการอบรมที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้ประกอบการหญิงเฉพาะขึ้นอีกหนึ่งโมดูล ซึ่งเน้นการบ่มเพาะที่เสริมสร้างทัศนคติเชิงบวกรวมถึงเสริมสร้างระบบการจัดการต่างๆ ที่เหมาะสม ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประกอบการสูงวัย (Born @50+) ก็มีเอกลักษณ์ที่แตกต่าง คือ มีทักษะความเชี่ยวชาญจากประสบการณ์ที่สั่งสม ผนวกกับความมั่นคงทั้งด้านอารมณ์และจิตใจ จึงควรเน้นเสริมทักษะด้านเทคโนโลยี ให้สามารถเข้าใจและประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานของตนได้ 
     “ทั้งนี้จากความสำเร็จทั้ง 2 โครงการ นับเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการใหม่และผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสามารถพัฒนาและเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ภายใต้การแข่งขันของธุรกิจในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  จากการเพิ่มองค์ความรู้ เสริมทักษะในการประกอบธุรกิจให้สามารถสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพให้ได้มาตรฐาน มีมูลค่าสูง แข่งขันได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ผลักดันผู้ประกอบการไทยก้าวสู่เวทีสากล” นายสุวรรณชัย กล่าว 

     ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวดำเนินมาอย่างต่อเนื่องดังนั้น ในระยะถัดไป สสว.เตรียมเดินหน้าโครงการต่อเนื่อง โดยวางกลยุทธ์การพัฒนาทั้งระบบที่มีผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจ เช่น การสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ การปรับปรุงสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบ เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการที่พึ่งเริ่มดำเนินธุรกิจสามารถเข้าสู่ระบบและเข้าสู่แหล่งทุนอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถผ่านการยกระดับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม นับเป็นการเชื่อมโยงผู้ประกอบการไทยให้เข้ากับบริทบทางเศรษฐกิจให้เติบโตไปพร้อมกัน