PwC Global เปิดตัวบริการตรวจสอบบัญชีธุรกรรมสกุลเงินดิจิทัลให้แก่ลูกค้า
PwC Global ระบุในเอกสารเผยแพร่ว่า ฟังก์ชันใหม่ของโปรแกรมฮาโล มีคุณสมบัติในการช่วยหาหลักฐานสำคัญและมีความเป็นกลางในการยืนยันรหัสกุญแจที่ใช้แสดงความเป็นเจ้าของสกุลเงินดิจิทัล และสามารถตรวจสอบบล็อกเชนให้มีความเป็นอิสระ รวมถึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมและยอดคงค้างที่ปรากฏบนบล็อกเชนได้อย่างมีความน่าเชื่อถือ
ทั้งนี้ PwC Global ได้นำฟังก์ชันใหม่ของโปรแกรมฮาโลเข้ามาเสริมบริการตรวจสอบบัญชีให้แก่ลูกค้าที่มีการทำธุรกรรม สกุลเงินดิจิทัล นอกจากนี้ ยังได้ทำงานร่วมกับบริษัทที่ PwC Global ไม่ได้เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีด้วย เพื่อช่วยระบุถึงโอกาส และความท้าทายใหม่ๆ จากเทคโนโลยีบล็อกเชนและสกุลเงินดิจิทัล รวมถึงช่วยลูกค้าวางขั้นตอนและควบคุมดูแลระบบเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานรายงานทางการเงินที่ผู้ตรวจสอบบัญชีจะแสดงความเชื่อมั่น
อย่างไรก็ดี ความสามารถในการตรวจสอบบัญชีที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ของสกุลเงินดิจิทัลของ PwC Global ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ได้รับการดูแลควบคุมของลูกค้า รวมไปถึงเงินสกุลที่ซอฟต์แวร์ฮาโลต้องรองรับ ซึ่งนี่ถือเป็นกุญแจสำคัญในการพิจารณาว่า PwC Global จะยอมรับเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีธุรกรรมสกุลเงินดิจิทัลให้แก่ลูกค้ารายนั้นๆ หรือไม่
ปัจจุบัน PwC Global สามารถใช้เครื่องมือนี้ในการให้บริการตรวจสอบบัญชีแก่ลูกค้าที่ใช้สกุลเงินดิจิทัลประเภท Bitcoin, Bitcoin Cash, Bitcoin Gold, Bitcoin Diamond, LiteCoin, Ethereum, ERC20 - OAX token และ Ripple (XRP)
นาย เจมส์ ชาลเมอร์ส หัวหน้าสายงานตรวจสอบบัญชีของ PwC Global กล่าวว่า “ในขณะที่องค์กรต่างๆ กำลังเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล จึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่ PwC ในฐานะผู้ตรวจสอบบัญชี จะต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในตลาด รวมถึงต้องพัฒนาเครื่องมือที่ตอบโจทย์การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเกิดใหม่ และตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มี การหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา”
ด้านนายชาญชัย ชัยประสิทธิ์ หัวหน้าสายงานตรวจสอบบัญชีและหุ้นส่วน บริษัท PwC ประเทศไทย กล่าวว่า “ฟังก์ชันใหม่ของโปรแกรมฮาโลที่กล่าวมาข้างต้น ถูกพัฒนาและเริ่มนำมาใช้ในระดับเน็ตเวิร์ก
สำหรับ PwC ประเทศไทย นั้น ปัจจุบันยังไม่ได้เปิดให้บริการตรวจสอบบัญชีธุรกรรมสกุลเงินดิจิทัลให้แก่ลูกค้า เนื่องจากความไม่ชัดเจนของกฎระเบียบในการกำกับดูแลสกุลเงินดิจิทัล แต่อย่างไรก็ดี เราได้ให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าบางรายที่ต้องการทำธุรกรรม หรือถือครองสกุลเงินดิจิทัล โดยขอคำแนะนำจากเครือข่ายในต่างประเทศที่เชี่ยวชาญด้านการดำเนินการ ดูแลควบคุมระบบ รวมถึงการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยมองว่า ในระยะข้างหน้า จะยิ่งมีบริษัทจดทะเบียนของไทยหันมาระดมทุนผ่านการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน หรือ ไอซีโอ กันมากขึ้น ซึ่งเมื่อเวลานั้นมาถึง PwC ประเทศไทย ก็พร้อมที่จะให้บริการตรวจสอบบัญชีธุรกรรมสกุลเงินดิจิทัลแก่ลูกค้าอย่างแน่นอน”
สำหรับ PwC ประเทศไทย นั้น ปัจจุบันยังไม่ได้เปิดให้บริการตรวจสอบบัญชีธุรกรรมสกุลเงินดิจิทัลให้แก่ลูกค้า เนื่องจากความไม่ชัดเจนของกฎระเบียบในการกำกับดูแลสกุลเงินดิจิทัล แต่อย่างไรก็ดี เราได้ให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าบางรายที่ต้องการทำธุรกรรม หรือถือครองสกุลเงินดิจิทัล โดยขอคำแนะนำจากเครือข่ายในต่างประเทศที่เชี่ยวชาญด้านการดำเนินการ ดูแลควบคุมระบบ รวมถึงการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยมองว่า ในระยะข้างหน้า จะยิ่งมีบริษัทจดทะเบียนของไทยหันมาระดมทุนผ่านการเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน หรือ ไอซีโอ กันมากขึ้น ซึ่งเมื่อเวลานั้นมาถึง PwC ประเทศไทย ก็พร้อมที่จะให้บริการตรวจสอบบัญชีธุรกรรมสกุลเงินดิจิทัลแก่ลูกค้าอย่างแน่นอน”
//จบ//
เกี่ยวกับ PwC
ที่ PwC เป้าประสงค์ของเรา คือ การสร้างความไว้วางใจในสังคมและช่วยแก้ปัญหาสำคัญให้กับลูกค้า เราเป็นหนึ่งในบริษัทเครือข่าย 158 ประเทศทั่วโลก และมีพนักงานมากกว่า 250,000 คนที่ยึดมั่นในการส่งมอบบริการคุณภาพด้านการตรวจสอบบัญชี ที่ปรึกษาทางธุรกิจ กฎหมายและภาษี หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราได้ที่ www.pwc.com/th
เกี่ยวกับ PwC ประเทศไทย
PwC ประเทศไทย ถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2502 โดยมีบทบาทในการช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจไทยมานานกว่า 60 ปี PwC ผสมผสานประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถในการทำงานกับลูกค้าข้ามชาติ ผนวกกับความเข้าใจตลาดภายในประเทศเป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ชื่อเสียงของ PwC เป็นที่ยอมรับและได้รับความไว้วางใจจากภาคธุรกิจต่างๆ โดยปัจจุบัน มีบุคลากรมากกว่า 2,000 คนในประเทศ
PwC refers to the Thailand member firm, and may sometimes refer to the PwC network. Each member firm is a separate legal entity. Please see www.pwc.com/structure for further details.
© 2019 PwC. All rights reserved