HP จัดเสวนาผลสำรวจ New Asian Learning Experience
เผยสถิติและหัวข้อความสนใจของครอบครัวยุคใหม่
ต่อการเรียนรู้ของลูก
เพื่อวางรากฐานสู่อนาคต
ต่อการเรียนรู้ของลูก
เพื่อวางรากฐานสู่อนาคต
ไฮไลท์ข่าว
- ผลสำรวจชี้อนาคตของลูกเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองทุกคนกังวลมากที่สุด โดยพบว่ากังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพ อาชีพที่มั่นคง และการมีทักษะที่พร้อมสำหรับอนาคต
- ผู้ปกครองไทย 90% ระบุเหตุผลที่เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ของลูก เพราะต้องการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และเพิ่มประสบการณ์ใหม่ๆ
- ผู้ปกครองไทยใช้การเรียนรู้แบบผสมผสาน ระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์กับอุปกรณ์ดิจิตอล เพื่อการเรียนรู้ในด้านศิลปะ 57% ด้านภาษา 56 ℅ และดนตรี 41 ℅
- เอชพีชี้ว่าการเรียนรู้บนสิ่งพิมพ์กับแพลตฟอร์มดิจิตอล ให้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน สื่อการเรียนการสอนจากสิ่งพิมพ์ยังส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กในเชิงบวกมากกว่าการเรียนรู้กับสื่อดิจิตอลเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามครอบครัวในเอเชียยังต้องการการเรียนรู้แบบผสมผสาน
กรุงเทพ, 30 กรกฎาคม 2562 — เอชพี อิงค์ ประเทศไทย จัดเสวนา “HP New Asian Learning Experience เปิดประสบการณ์การเรียนรู้ของครอบครัวยุคใหม่” นำโดย ปวิณ วรพฤกษ์ กรรมการผู้จัดการ เอชพี อิงค์ ประเทศไทย ร่วมเสวนากับ ศาสตราจารย์ ดร. สมพงษ์ จิตระดับ นักวิชาการด้านการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคนหนึ่งของไทย และครอบครัวนักแสดง ชาตโยดม หิรัญยัษฐิติ พร้อมภรรยา สุนิสา เจทท์ ร่วมแสดงวิสัยทัศน์เปิดมุมมองเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กยุคเทคโนโลยี ตลอดจนแนวทางและบทบาทของผู้ปกครองในการตรียมความพร้อมสำหรับลูกหลานสู่อนาคตที่มั่นคง
“ในฐานะพ่อแม่การให้การศึกษากับลูกหลานอย่างรอบด้านเป็นสิ่งสำคัญ เอชพีตระหนักในข้อกังวลนี้จึงพัฒนาเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่มารองรับสื่อดิจิทัลและสิ่งพิมพ์ที่จะช่วยให้สนับสนุนการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้แน่ใจว่าลูกหลาน ได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในแต่ละช่วงวัย” ปวิณ วรพฤกษ์ กรรมการผู้จัดการ เอชพี อิงค์ ประเทศไทย กล่าว
ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนบทบาทของพ่อแม่ผู้ปกครองต่อการเรียนรู้ของเด็ก และนำเทคโนโลยีมาผสมผสานในการเรียนรู้ เอชพี ได้แสดงผลวิจัยโครงการ New Asian Learning Experience ซึ่งเป็นการสำรวจทัศนคติและบุคลิกลักษณะของ พ่อแม่ยุคใหม่ที่มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์ปัจจัยรอบด้านของผู้ปกครองกลุ่มมิลเลนเนียล จำนวน 3,177 คน จาก 7 ประเทศในเอเชีย ได้แก่ สิงคโปร์ อินเดีย จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย
พบว่าความเชื่อและความคาดหวังที่แตกต่างกันไปนั้น ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้ปกครองในการกำหนดการเรียนรู้ของลูก การเข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยเด็กเรียนรู้ ตลอดจนการเสียสละต่างๆ เพื่ออนาคตของลูก
ผลสำรวจชี้ให้เห็นถึงความมุ่งหวังของผู้ปกครองในการเตรียมลูกหลานสู่อนาคต
ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดจากผลของเทคโนโลยี ผู้ปกครองกังวลว่าลูกๆ จะไม่สามารถ ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง และไม่พร้อมสำหรับการแข่งขันในอนาคตได้ ซึ่งการสำรวจพบข้อมูลเชิงลึกดังนี้ :
อนาคตที่มั่นคงของเด็กคือความกังวลสูงสุดของผู้ปกครอง
- ผลสำรวจโดยรวมชี้ให้เห็นว่า อนาคตที่มั่นคงของเด็ก คือความกังวลสูงสุดของผู้ปกครองทุกคน 66% กังวลเรื่องค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น 42% กังวลเรื่องความมั่นคงในการทำงาน 54% กังวลเรื่องทักษะที่ถูกต้องต่อบทบาทชีวิตในอนาคต
- สำหรับผู้ปกครองยุคใหม่ของประเทศไทย 65% กังวลเรื่องค่าครองชีพมากที่สุด และรองลงมา 54% เป็นห่วงเรื่องการสร้างทักษะที่ถูกต้องให้กับเด็กในอนาคต
- ผู้ปกครองชาวเอเชียยุคใหม่ต้องการให้ลูกหลานพัฒนาทักษะทางสังคมควบคู่กับการมีความสุข โดย 83% ผู้ปกครองต้องการให้ลูกหลานมีความสุขเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในขณะที่ผู้ปกครองไทย 68% ต้องการให้ลูก สามารถทำได้ดีที่สุดในสิ่งที่พวกเขาทำ และ 66% ของผู้ปกครองไทย ระบุความมั่นคงของงานเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งสูงกว่าประเทศอื่นๆ
- ครอบครัวไทย 61% ยังเน้นเรื่องการพัฒนาทักษะและรูปแบบการเรียนการสอนที่รองรับการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเรียนรู้ของลูกเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต และ 57% ของผู้ปกครองไทยยุคใหม่ต้องการพัฒนาลูกให้ด้านสติปัญญาซึ่งถือว่าเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุด
- การเรียนรู้แบบผสมผสานระหว่างสิ่งพิมพ์และดิจิทัลนั้นมีผลเชิงบวกมากกว่าการเรียนรู้บนสิ่งพิมพ์และบน
ดิจิทัลเพียงเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง การเรียนรู้บนสิ่งพิมพ์กับบนดิจิทัลให้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน และผู้ปกครองเชื่อว่าสิ่งพิมพ์ให้ผลที่ดีกว่าสำหรับการอ่านเพื่อความเข้าใจ การใช้เวลาในการอ่าน การเรียนคำศัพท์และการจดจำ ในขณะที่แพลตฟอร์มดิจิทัลช่วยเรื่องการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการสร้างวิจารณญาณ
- ผู้ปกครองไทย 57% ใช้การเรียนรู้แบบผสมผสานสำหรับการเรียนรู้ด้านศิลปะ รองลงมาคือการเรียนรู้ด้านภาษา 56% และทักษะดนตรี 41%
- ผู้ปกครองช่วยลูกในการเรียนรู้เพราะเป็นโอกาสสร้างความผูกพัน
- จากผลสำรวจพบว่า ผู้ปกครองชอบใช้เวลาเรียนรู้กับลูกเพราะเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างความผูกพันและพัฒนาทักษะด้านปฏิสัมพันธ์
- การสำรวจยังพบว่า ประเทศไทยมีสัดส่วนผู้ปกครองสูงสุดถึง 89% ที่ระบุว่า เหตุผลที่ผู้ปกครองเข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของเด็ก คือต้องการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และเพิ่มประสบการณ์ใหม่ๆ ผู้ปกครองเห็นว่าการใช้เวลาเรียนรู้ร่วมกับเด็กเป็นการพัฒนาทักษะในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
- ผู้ปกครองยอมเสียสละเพื่อการศึกษาของเด็กๆ โดยการส่งเสริมให้ลูกเรียนพิเศษ
- ผู้ปกครองชาวเอเชีย 60% ยอมใช้จ่ายไปกับค่าเรียนพิเศษ นอกเหนือจากการเรียนในเวลาปกติ
- ผู้ปกครองไทย 64% ใช้จ่ายไปกับค่าเรียนพิเศษและสถาบันกวดวิชา 35% ยอมย้ายบ้านเพื่อให้ลูกได้เรียนในโรงเรียนที่ดี และ 45% ยอมกู้เงินเพื่อการศึกษาของลูก
- ผู้ปกครองมีความคาดหวังกับสิ่งที่ปฏิบัติจริงไม่ตรงกัน
- ในขณะที่ผู้ปกครองมองเห็นคุณค่าของการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ การท่องเที่ยวและการเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้เรียนรู้เทคโนโลยีสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ แต่พวกเขายังคงให้ลูกๆ เรียนรู้ในกิจกรรมแบบเดิม
- ผู้ปกครองเชื่อว่าการเรียนรู้จากประสบการณ์เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการเผชิญกับโลกแห่งความจริง ที่เสริมการพัฒนาความสามารถเชิงสร้างสรรค์และวิจารณญาณ ในขณะที่การเรียนรู้แบบท่องจำนั้นเหมาะสำหรับความรู้ที่อาศัยความจริง อันเป็นฐานในการต่อยอดการพัฒนาทักษะอื่นที่สูงขึ้น
- ผู้ปกครองไทย 88% ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้จากประสบการณ์ มากกว่าการเรียนรู้แบบท่องจำที่ 73% เชื่อว่าการเรียนรู้ทั้งสองประเภทจะมีอิทธิพลต่อความสามารถของเด็กในการเลือกทักษะที่จำเป็นเมื่อเข้าสู่วัยทำงาน
ศาสตราจารย์ ดร. สมพงษ์ จิตระดับ
นักวิชาการด้านการศึกษา คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นักวิชาการด้านการศึกษา คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กระบวนความคิดของผู้ปกครองต่อการเรียนรู้ของเด็ก แบ่งได้ 5 ลักษณะ
ผลของการสำรวจสรุปกระบวนความคิดของผู้ปกครองในภูมิภาคเอเชียแบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ ได้แก่ The Concerned, The Realist, The Typical, The Overachiever และ The Detached ซึ่งสะท้อนลักษณะวิธีการที่ผู้ปกครองให้ความหมายต่อการเรียนรู้ การให้คุณค่าของการเรียนรู้จากประสบการณ์ของพวกเขา บทบาทการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเด็กในการเรียนรู้ รวมถึงความห่วงใยต่ออนาคตของลูก
- กระบวนความคิดแบบกังวล (The Concerned)
ผู้ปกครองกลุ่มนี้สนใจและกังวลอย่างมากเกี่ยวกับอุปกรณ์ดิจิทัลต่อการศึกษาของบุตรหลาน พวกเขากังวลไม่เฉพาะที่ลูกๆ ต้องเผชิญกับความหลากหลายของเทคโนโลยี แต่รวมถึงผลกระทบที่เทคโนโลยีมีอต่อการเรียนรู้และ ต่อการพัฒนาทักษะในด้านสังคมและการเข้าสังคม ผู้ปกครองกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับวิธีการศึกษาแบบดั้งเดิม มากกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยเชื่อว่าเด็กๆ จะเสียสมาธิได้ง่าย เมื่อต้องอ่านบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเด็กน่าจะได้เรียนรู้มากขึ้นจากสิ่งพิมพ์หรือตำรา
- กระบวนความคิดแบบสัจนิยม (The Realist)
ผู้ปกครองในกลุ่มนี้ให้คุณค่ากับการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ การเล่น และการเรียนรู้สิ่งใหม่ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย พวกเขาพร้อมที่จะเปิดรับ เน้นเรื่องการปฏิบัติ ต้องการให้ลูกได้สัมผัสโลกแห่งความเป็นจริง พวกเขาอยากให้ลูกๆ พัฒนาทักษะที่สามารถนำไปปรับใช้นอกเหนือจากในห้องเรียนและจะช่วยให้พวกเขาเป็นเลิศ กลุ่มพ่อแม่ลักษณะนี้จะชื่นชอบอุปกรณ์ดิจิทัล เนื่องจากสามารถช่วยให้ลูกๆ ได้เรียนรู้ไอเดียใหม่ๆ
- กระบวนความคิดตามขนบ (The Typical)
ผู้ปกครองในกลุ่มนี้ให้คุณค่ากับการพัฒนาทักษะที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงและการเรียนรู้จากประสบการณ์ ผู้ปกครองลักษณะนี้มีแนวโน้มที่จะยอมรับว่า การเรียนรู้ทั้งทางดิจิทัลและจากสิ่งพิมพ์เหมาะสมและให้ผลการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การพัฒนาทักษะและสติปัญญาด้านคำศัพท์และความเข้าใจ
- กระบวนความคิดที่เน้นประสบความสำเร็จ (The Overachiever)
ผู้ปกครองลักษณะนี้เรียกอีกอย่างว่า Tiger Parents มีลักษณะ แสดงความต้องการเข้าไปช่วยผลักดันให้เด็กเรียนรู้และควบคุมเนื้อหาและเส้นทางของการเรียนรู้ ให้ลูกได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ พวกเขาเชื่อว่าอุปกรณ์ดิจิทัลจะช่วยให้เด็กๆ ได้สัมผัสกับวัฒนธรรมและไอเดียต่างๆ ในขณะที่สื่อการเรียนรู้ที่เป็นสิ่งพิมพ์และกิจกรรมทางกายภาพช่วยส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
- กระบวนความคิดแบบปลีกตัว (The Detached)
ผู้ปกครองกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่เงียบและเก็บตัวมากที่สุดเมื่อเทียบกับทุกกลุ่ม แม้พวกเขาใช้เวลาเรียนรู้กับลูกน้อยที่สุด แต่พวกเขากระตือรือร้นที่จะพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสังคม ซึ่งอาจเป็นเพราะพวกเขามีแนวโน้มที่เป็นคนที่เก็บตัว จึงให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เประเภทท่องจำ การติวเสริม และร่วมกิจกรรมทางสังคม นอกจากนี้ ในด้านการสร้างความผูกพัน พวกเขาต้องการควบคุมเนื้อหาและเส้นทางการเรียนรู้ของลูกๆ โดยแม่จะมีบทบาทในการเรียนรู้ของลูกมากกว่าฝ่ายพ่อ
กระบวนความคิดของผู้ปกครองไทยอยู่ในกลุ่มสัจนิยมมากที่สุด 31% รองลงมาคือกลุ่มกังวล 22% และพบว่า กลุ่มปลีกตัวและกลุ่มตามขนบเท่ากันที่ 17% ส่วนกลุ่มเน้นประสบความสำเร็จมีเพียง 15%
ผลการศึกษา New Asian Learning Experience โดยเอชพีช่วยให้ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคตของเด็กในโลกที่กำลังถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เอชพีมุ่งสร้างการเรียนรู้ใหม่สำหรับเด็กวัยเรียน ด้วยนวัตกรรมอุปกรณ์และโซลูชั่นที่จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง เสริมความคิดสร้างสรรค์ สร้างทักษะควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะข้ามวัฒนธรรมและการเรียนรู้ที่เปิดกว้างขึ้น
การส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกให้สนุกเป็นเคล็ดลับที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครอง ให้การเรียนรู้เป็นเรื่องสนุกในครอบครัว เครื่องพิมพ์ HP DeskJet Ink Advantage จะสร้างรอยยิ้มแห่งความสุขให้ลูกๆ เมื่อได้สร้างผลงานสวยแจ่ม สีสันสดใส สั่งงานไร้สายผ่านแอพ HP Smart แม้ผู้ใช้งานจะเป็นเด็กก็สามารถสั่งพิมพ์สื่อการเรียน การเล่นที่ต้องการด้วยตนเองผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้อย่างง่ายดาย เครื่องพิมพ์ HP DeskJet Ink Advantage มาพร้อมขนาดเล็กกะทัดรัด ดีไซน์สวย ราคาประหยัด ครบทุกฟังก์ชั่นแบบออลอินวัน พร้อมบริการถึงที่บ้าน
พบกับเคล็ดลับง่ายๆที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กๆ ได้ที่เว็บไซต์ เอชพี ประเทศไทย
ข้อมูลเกี่ยวกับ HP Inc.
HP Inc. มุ่งมั่นสร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อประโยชน์ต่อผู้บริโภค ภาคธุรกิจ ภาครัฐ และสังคมอย่างแท้จริง ด้วยพอร์ทโฟลิโอด้านเทคโนโลยี ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ โซลูชั่นการพิมพ์ 3 มิติ เอชพีส่งมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอชพี สามารถเข้าชมได้ที่ hp.com.