Tech war คือสงครามที่แท้จริง
บทสรุปผู้บริหาร โดย ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยการลงทุน สายงานวิจัย บล.ไทยพาณิชย์
· สหรัฐฯ เริ่มทำสงครามการค้าระลอกถั ดไปกับจีนโดยสั่งคว่ำบาตร “หัวเว่ย” ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ สุดของจีน และผู้ให้บริการ 5G ชั้นนำของโลก เราเชื่อว่าสหรัฐฯ ต้องการใช้การคว่ำบาตรครั้งนี้ มางัดข้อกับจีนเพื่อให้ สงครามการค้ายุติอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันก็มีความต้องการที่ จะควบคุมหัวเว่ยในระยะยาวด้วย
· ในขณะเดียวกันจีนก็ใช้กระแสข่ าวเป็นกลยุทธ์ในการต่อสู้ เช่น ขู่ว่าจะคว่ำบาตรการส่งออกแร่ ธาตุหายาก (Rare earth) รวมถึงปลุกกระแสชาตินิยม โดยจีนหวังว่าจะส่งผลทำให้นั กลงทุนขาดความเชื่อมั่น และเทขายสินทรัพย์ทางการเงิ นในสหรัฐฯ โดยเฉพาะหุ้น อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันผลตอบแทนตลาดหุ้นจี นยังคงต่ำกว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ
· ปัจจุบันเราเชื่อว่าการที่ สงครามการค้าแปรเปลี่ยนมาเป็ นสงครามด้านเทคโนโลยี ในขณะที่จีนก็หันมาปลุ กกระแสชาตินิยม ทำให้มีโอกาสสูงมากที่สหรัฐฯ จะยังคงเก็บภาษีนำเข้าสินค้ามู ลค่า 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ จากจีนไว้ที่ระดับ 25% หลังการประชุม G-20 ที่จะมีขึ้นตอนปลายเดือน มิ.ย. ทั้งนี้เป็นเพราะทั้งสองฝ่ายมี จุดยืนที่แตกต่างกันมาก อย่างไรก็ตาม เรายังคงเชื่อว่าทั้งสองฝ่ ายจะลดภาษีนำเข้าลงในอีก 3-6 เดือนข้างหน้า และสหรัฐฯ อาจจะระงับการคว่ำบาตรหัวเว่ ยเป็นการชั่วคราวเหมือนกับที่ เคยทำกับกรณี ZTE ในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ในระยะยาว เราเชื่อว่าสหรัฐฯ จะใช้การขู่คว่ำบาตรบริษั ทเทคโนโลยีของจีนเพื่องัดข้อกั บจีน ซึ่งจะส่งผลกระทบด้านลบต่ อแนวโน้มของกลุ่มเทคโนโลยีทั่ วโลกในระยะกลาง
บทนำ
ผ่านไป 1 ปีแล้วกับความพยายามของสหรัฐฯ ในการสกัดกั้นการเติ บโตทางเศรษฐกิจและความล้ำหน้ าทางเทคโนโลยี และในที่สุด สหรัฐฯ ก็ทำได้สำเร็จขั้นแรก ด้วยการขึ้นภาษีสินค้านำเข้ าจากจีน มูลค่า 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งส่งผลกระทบด้านลบอย่างรุ นแรงต่อเศรษฐกิจจีนในแง่การส่ งออกและการลงทุน เมื่อรวมกับความอ่ อนแอของเศรษฐกิจในเชิงโครงสร้าง เช่น หนี้สินสูง และภาวะฟองสบู่ของตลาดอสังหาริ มทรัพย์ เศรษฐกิจจีนจึงเผชิญกับความเสี่ ยงที่จะดิ่งลงอย่างรุนแรง หรือ hard landing ทำให้รัฐบาลจีนออกมาตรการกระตุ้ นเศรษฐกิจ วงเงินสูงถึง 6.3 ล้านล้านหยวน
ในมุมมองของรัฐบาลสหรัฐฯ การใช้ภาษีนำเข้าเป็นอาวุธก็ เหมือนกับการ “ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว” เพราะจะทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ สามารถกดดันจีนในแง่ของสิทธิ ในทรัพย์สินทางปัญญา และการบังคับถ่ายโอนเทคโนโลยี อี กทั้งยังทำให้มีรายได้จากภาษี นำเข้าด้วย
อย่างไรก็ตาม ในเดือน พ.ค. จีนได้แก้เกมโดยปรับเปลี่ยนข้ อตกลงบางประการที่ได้ตกลงกันไว้ ก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นประเด็นที่เป็นข้อพิ พาทหลักๆ กับสหรัฐ เช่น การขโมยทรัพย์สินทางปัญญา ความลับทางการค้า การบังคับถ่ายโอนเทคโนโลยี นโยบ ายการแข่งขัน และการเข้าถึงบริการทางการเงิน ทำให้สหรัฐฯ จึงตอบโต้ด้วยแผนการขั้นต่อไป ด้วยการเริ่มทำสงครามด้ านเทคโนโลยี โดยเน้นไปที่การคว่ำบาตรหัวเว่ย ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ สุดของจีน และผู้ให้บริการ 5G ชั้นนำของโลก
เราเชื่อว่าหลังจากสงครามการค้ าแปรเปลี่ยนมาเป็นสงครามด้ านเทคโนโลยี ในขณะที่จีนก็เปลี่ยนกลยุทธ์ โดยหันมาปลุกกระแสชาตินิยม ทำให้มีแนวโน้มสูงมากที่สหรัฐฯ จะคงเก็บอัตราภาษีสินค้านำเข้ าจากจีนมูลค่า 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ไว้ที่ 25% หลังจากผู้นำของทั้ งสองประเทศพบกันนอกรอบการประชุม G-20 ที่จะมีขึ้นตอนปลายเดือน มิ.ย. นี้ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายมีจุดยืนที่ แตกต่างกันอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม เรายังคงเชื่อว่าในที่สุดแล้วทั้ งสองฝ่ายจะยอมลดภาษีนำเข้าลง ในขณะที่สหรัฐฯ อาจจะระงับการคว่ำบาตรหัวเว่ ยเป็นการชั่วคราวเหมือนกับที่ เคยทำกับกรณี ZTE ในปีที่ผ่านมา กระนั้นก็ตาม เราเชื่อว่าสหรัฐฯ จะใช้การขู่คว่ำบาตรบริษั ทเทคโนโลยีของจีนในเวลาใดก็ได้ เพื่องัดข้อกับจีน ซึ่งจะส่งผลกระทบด้านลบต่ อแนวโน้มของกลุ่มเทคโนโลยีทั่ วโลกในระยะต่อไป