ADS


Breaking News

ทีม RMUTP RACING คว้าชัยการแข่งขัน เชลล์อีโค-มาราธอน

ทีม RMUTP RACING สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย คว้าชัยชนะการแข่งขันประเภท รถต้นแบบแห่งอนาคต จากการแข่งขัน เชลล์อีโค-มาราธอน ในโครงการ
Shell Make the Future Live ณ ประเทศมาเลเซีย
ทีม RMUTP RACING จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ประเทศไทยคว้ารางวัลชนะเลิศประเภทรถต้นแบบแห่งอนาคตจากการแข่งขัน เชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย ประจำปี 2019 ณ ประเทศมาเลเซีย


กรุงเทพฯ ประเทศไทย 7 พฤษภาคม 2562 – การแข่งขัน เชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย ประจำปี 2019 ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของงาน Make the Future Live ณ สนามแข่งรถเซปัง อินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต ประเทศมาเลเซีย ได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยทีมเยาวชนจากประเทศไทยได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทรถต้นแบบแห่งอนาคต ด้วยสถิติการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในการแข่งขัน นอกจากนี้ยังคว้ารางวัลด้านสื่อสารยอดเยี่ยมไปครอง โดยการแข่งขันในปีนี้มีทีมนักเรียนและนักศึกษาร่วมเข้าแข่งขันกว่า 100 ทีม จาก 18 ประเทศ


ผู้ชนะการแข่งขันประเภทรถต้นแบบแห่งอนาคต
ทีม RMUTP RACING จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ประเทศไทย ได้คิดค้นและพัฒนารถต้นแบบแห่งอนาคต โดยใช้เชื้อเพลิงเอทานอลและสามารถคว้าชัยทีมที่ทำสถิติที่ดีที่สุดในการแข่งขันครั้งนี้ ด้วยระยะทาง 1,546.9  กิโลเมตรเทียบเท่าการใช้เชื้อเพลิงเอทานอล 1 ลิตร หรือคำนวนเป็นระยะการเดินทางระหว่างกรุงกัวลาลัมเปอร์และกรุงเทพมหานคร
“พวกเราดีใจมากที่สามารถคว้าชัยชนะมาได้ในครั้งนี้ เราเก็บเกี่ยวประสบการณ์ และ การเรียนรู้จากการเข้าร่วมแข่งขันตลอด 3 ปี และครั้งนี้พวกเราทำได้  สิ่งที่เรายึดถือจนทำให้คว้าชัยชนะมาได้คือการทำงานเป็นทีมครับ” นายพีรพล บุญช่วย ผู้จัดการทีม กล่าว


ผู้ชนะทีมอื่นๆ ในรอบการแข่งขันประเภทรถต้นแบบแห่งอนาคต ได้แก่ ทีม HuaQi-EV จากจีน ในรอบการแข่งขันประเภทแบตเตอรี่ไฟฟ้า ด้วยสถิติ 501.6 กิโลเมตร/กิโลวัตต์ชั่วโมง และทีม TP ECO FLASH จากสิงคโปร์ ในรอบการแข่งขันประเภทไฮโดรเจน ด้วยสถิติ 403.3 กิโลเมตร/ลูกบาศก์เมตร


ผู้เข้ารอบการแข่งขันค้นหาสุดยอดนักขับรถประหยัดน้ำมันจากรถยนต์ประเภทเสมือนจริง
การแข่งขันเป็นไปด้วยความตื่นเต้น ทีมที่ทำสถิติเป็นอันดับที่ 1 อันดับที่ 2 และอันดับที่ 3 ของรถรูปแบบที่ใช้งานจริงในปัจจุบัน ทั้งหมด 9 เข้าร่วมแข่งขันเพื่อค้นหาสุดยอดนักขับรถประหยัดน้ำมัน และในที่สุด ทีม Nanyang E Drive จากมหาวิทยาลัย Nanyang Technological University จากสิงคโปร์ วิ่งเข้าเส้นชัยเป็นทีมแรกในการแข่งขันอันน่าตื่นเต้น สามารถเอาชนะรถยนต์ UrbanConcept หรือรถยนต์ประเภทเสมือนจริงของทีมอื่นได้โดยใช้พลังงานที่มีอยู่อย่างจำกัดไปได้


“พวกเราดีใจมาก เพราะเราไม่คิดว่าทีมเราจะชนะและพวกเราก็ยังเข้ารอบแบบเฉียดฉิวในเกือบทุกครั้งด้วย เคล็ดลับสู่ความสำเร็จของเราคือการทำงานเป็นทีมที่ดี โดยทีมจะตรวจสอบรถในทุกรายละเอียด ทำให้รู้ว่าต้องใช้พลังงานเท่าไหร่และต้องใช้ในส่วนไหน” นายโคลิน โล ผู้ขับจากทีม Nanyang E Drive กล่าว


นอกจากนี้ ทีม ITS Team 5 จากมหาวิทยาลัย Institut Teknologi Sepuluh Nopember อินโดนีเซีย คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 2 และทีม LH – EST จากมหาวิทยาลัย Lac Hong University จากวียดนาม คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 3 ไปครอง


ทีมชนะเลิศ 3 อันดับแรกจากรอบคัดเลือกในภูมิภาคเอเชียจะได้เป็นตัวแทนไปแข่งขันการค้นหาสุดยอดนักขับรถประหยัดน้ำมันกับตัวแทนจากภูมิภาคอเมริกาและยุโรป ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างเทศกาล Make the Future Live ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร วันที่ 5 กรกฎาคม 2562 นี้ โดยทีมชนะเลิศจะได้รับเชิญไปเยี่ยมชมสำนักงานใหญ่ สคูเดอเรีย เฟอร์รารี่ ประเทศอิตาลี และได้เข้าร่วมการสัมมนาและเรียนรู้จากเฟอร์รารี่อีกด้วย


นายนอร์แมน คอช ผู้จัดการทั่วไป โครงการ Make the Future Live กล่าวว่า “การแข่งขันค้นหาสุดยอดนักขับรถประหยัดน้ำมัน เป็นการแข่งขันที่ผสานการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพของรถ เทคนิค และทักษะของผู้ขับ โดยการแข่งขันครั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้กลยุทธ์ในการควบคุมจัดการรถขณะที่บริหารการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เรียกได้ว่าเราเห็นผลงานอันน่าทึ่งจาการแข่งขันครั้งนี้ และผมขอแสดงความยินดีกับทุกทีมครับ”


การแข่งขัน เชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย ประจำปี 2019 จบลงด้วยงานมอบรางวัลในพิธีมอบรางวัลฉลองความสำเร็จของกลุ่มนักเรียนนักศึกษาจากหลากหลายภูมิภาคกว่า 18 ประเทศ ทั่วเอเซียและภูมิภาคตะวันออกกลาง


รางวัลหลากหลายเหนือขีดจำกัด
การแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน เป็นมากกว่าชัยชนะบนสนามแข่ง โดยนักเรียนนักศึกษายังได้รับการยอมรับทั้งในด้านการสื่อสาร นวัตกรรม การออกแบบ ความปลอดภัย และความอุตสาหะ


รางวัลประเภทแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Award) เป็นรางวัลสาขาใหม่ของปีนี้ เพื่อฉลองความสำเร็จของทีมที่สาธิตแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนทั้งในรูปแบบกรอบความคิด การออกแบบ และระบบการทำงานรถของทีม และกระตุ้นให้นักเรียนนักศึกษานำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาผสานกับการคิดค้นวัตถุ ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆ สำหรับภาคอุตสาหกรรมในชีวิตจริงและการแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภค


ทีม MMU Grüne Welt จากมหาวิทยาลัย Multimedia University Melaka Campus จากมาเลเซีย สามารถคว้ารางวัลประเภทแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนไปได้ด้วยการออกแบบรถ ความเป็นไปได้ของการหมุนเวียนของส่วนประกอบที่ใช้ในการผลิตรถ และการผสานวิธีการประเมินเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยได้รับรางวัลมูลค่า 3,000 ดอลลาห์สหรัฐ ไปครอง


ผลการแข่งขัน เชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย 2019


การแข่งขันประเภทรถต้นแบบแห่งอนาคต
หมวด
ทีมชนะ
ผล
เครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน
Internal Combustion Engine
RMUTP Racing
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
(ประเทศไทย)
1546.9 (กม./ล.)
แบตเตอร์รีไฟฟ้า
Battery Electric
HuaQi-EV
Guangzhou College of South China University of Technology (ประเทศจีน)
501.6
(กม./กิโลวัตต์ชั่วโมง)
เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน
Hydrogen Fuel Cell
TP ECO FLASH
Temasek Polytechnic (ประเทศสิงคโปร์)
403.3 (กม./ม3)


การแข่งขันประเภทรถยนต์เสมือนจริง
หมวด
ทีมชนะ
ผล
เครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน
Internal Combustion Engine
ITS Team Sapuangin
Institut Teknologi Sepuluh Nopember
(ประเทศอินโดนีเซีย)
395.1 (กม./ล.)
แบตเตอรี่ไฟฟ้า
Battery Electric
LH-EST
Lac Hong University (ประเทศเวียดนาม)
170.1
(กม./กิโลวัตต์ชั่วโมง)
เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน
Hydrogen Fuel Cell
Nanyang E Drive
Nanyang Technological University
(ประเทศสิงคโปร์)
93.9 (กม./ม3)

แข่งขันรอบชิงชนะเลิศของการค้นหาสุดยอดนักขับรถประหยัดน้ำมัน
อันดับ
ทีม
ประเทศ
1
Nanyang E Drive
Nanyang Technological University
สิงคโปร์
2
ITS Team 5
Institut Teknologi Sepuluh Nopember
อินโดนีเซีย
3
LH – EST
Lac Hong University
เวียดนาม

รางวัลอื่นๆ จากการแข่งขัน เชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย 2019
รางวัลด้านสื่อสารยอดเยี่ยม (Communications Award)
ทีม KMUTT E-Drive Revolution จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สามารถคว้ารางวัลด้านการสื่อสารยอดเยี่ยมจากการนำเสนอโปรโมททีมผ่าน social media ต่าง ในระหว่างการแข่งขัน เชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย 2019 และได้รับรางวัลมูลค่า 3,000 ดอลลาห์สหรัฐ


รางวัลด้านนวัตกรรม (Technical Innovation Award)
ทีม GUC Innovators จากมหาวิทยาลัย German University วิทยาเขตกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ได้คิดค้นระบบสำหรับผู้ขับรถที่มีข้อจำกัดทางกายภาพ (เช่น ไม่มีแขนหรือขา) โดยใช้ระบบที่ควบคุมโดยเซ็นเซอร์คลื่นสมองและเซ็นเซอร์หน้า ซึ่งนำมาใช้ได้จริง โดยได้รับรางวัลมูลค่า 3,000 ดอลลาห์สหรัฐ
รางวัลการออกแบบรถต้นแบบแห่งอนาคต (Vehicle Design Prototype Award)
ทีม AVERERA จากมหาวิทยาลัย Institute of Technology - Banaras Hindu University ประเทศอินเดีย ได้รับรางวัลมูลค่า 3,000 ดอลลาห์สหรัฐ สำหรับนวัตกรรมการออกแบบและการลงมือปฏิบัติ ซึ่งทีมได้พบอุปสรรคและวิเคราะห์หาสาเหตุด้วยการจำลองเหตุการณ์ และสามารถพบวิธีการแก้ไขจากการคัดเลือกวัสดุและการปรับปรุงการออกแบบ


รางวัลการออกแบบรถที่ใกล้เคียงกับรถยนต์ในปัจจุบัน (Vehicle Design UrbanConcept Award)
ทีม Nanyang E Drive จากมหาวิทยาลัย Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์ ได้รับรางวัลมูลค่า 3,000 ดอลลาห์สหรัฐ จากการออกแบบรถล้ำสมัย น้ำหนักเบา 1 ที่นั่ง ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากลำตัวและปีกของด้วงสายพันธุ์ Green Dock


รางวัลด้านความปลอดภัย (Safety Award)
ทีม CUT Eco-Racing UC จากสถาบัน Cairo University ประเทศอียิปต์ คว้าเงินรางวัลจำนวน 3,000 ดอลลาห์สหรัฐ สำหรับวีถีปฏิบัติด้านความปลอดภัยของทีม โดยระหว่างที่ร่วมการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอนเอเชียนั้น ทีมนักศึกษาได้แสดงถึงวีธีการปฏิบัติงานที่มีความรอบคอบ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของทั้งทีมตนเอง และผู้อื่น ทั้งในภายในสนามแข่งและพื้นที่รอบนอก


รางวัลสำหรับทีมหน้าใหม่ที่ประดิษฐ์รถประเภทไฮโดรเจน (Hydrogen Newcomer Award)
ไฮโดรเจน นับเป็นตัวการสำคัญที่จะพาเราไปสู่อนาคตของพลังงานที่สะอาด โดยทีม ITS Team 5 จากสถาบัน Institut Teknologi Sepuluh Nopember ประเทศอินโดนีเซีย ได้รับเงินรางวัล 3,000 ดอลลาห์สหรัฐ จากการนำเสนอรถประเภทไฮโดนเจนที่ยอดเยี่ยมทั้งด้านดีไซน์ การประหยัดพลังงาน และนวัตกรรม


รางวัลความมุ่งมั่นและทีมสปิริตเป็นเลิศ (Perseverance & Spirit of the Event Award)
ทีม S.U. Racing จากสถาบัน Satbayev Kazakh National Technical University ประเทศคาซัคสถาน ได้แสดงถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองและการก้าวข้ามอุปสรรคในการแข่งขันอย่างไม่ย่อท้อ โดยทีม S.U. Racing ได้เรียนรู้จากรายการเชลล์ อีโค-มาราธอนปีที่แล้ว และมีพัฒนาการที่สูงขึ้นในปีนี้อย่างเห็นได้ชัด พวกเขาสามารถตรวจสภาพรถได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว นอกจากนี้ยังได้เตรียมตัวมาอย่างดี และมีความมานะอุตสาหะในการทำงาน ด้วยเหตุนี้ ทีมนักศึกษาจึงได้รับเงินรางวัลมูลค่า 3,000 ดอลลาห์สหรัฐ


###
ภาพบรรยากาศการแข่งขันและการรับรางวัล
เกี่ยวกับโครงการ Make the Future
โครงการ Make the Future Live คือโครงการระดับโลกของเชลล์ที่นำผู้คนและไอเดียมารวมตัวกัน และขับเคลื่อนวงการพลังงานที่ปล่อยคาร์บอนน้อยลงในอนาคต ในปี 2562 เชลล์ ได้จัดโครงการขึ้น ณ ประเทศมาเลเซีย โดยมีผู้เข้าร่วมจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลก


หัวใจสำคัญของโครงการ Make the Future Live คือ เชลล์ อีโค-มาราธอน ในช่วง 3 ทศวรรษ ที่ผ่านมา มีนักเรียนนักศึกษาเข้าร่วมโครงการมาแล้วหลายพันคนจากทั่วทุกมุมโลก สร้างรถที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีการออกแบบและใช้พลังงานที่หลากหลาย


นอกจากนี้ เรื่องราวด้านความมานะอุตสาหะและความเป็นเลิศทางเทคนิคยังได้รับการกล่าวขานในทุกๆ ปี ของการแข่งขัน เนื่องจากทุกทีมได้ก้าวข้ามผลักขีดจำกัดของสิ่งที่เป็นไปได้ โดยการแข่งขัน เชลล์ อีโค-มาราธอน เอเซีย ประจำปี 2019 ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับภูมิภาคภายใต้โครงการ Make the Future Live ได้ถูกจัดขึ้น ณ ประเทศมาเลเซีย


เกี่ยวกับการแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2562 การแข่งขันเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย ได้กลับมาจัดขึ้น ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เช่นเดียวกับการแข่งขันในปีแรกเมื่อ พ.ศ. 2553 โดยตลอดเวลา 9 ปีที่ผ่านมา รายการเชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชียได้เติบโตขึ้น ทั้งจำนวนทีมผู้เข้าแข่งขันและจำนวนรถที่ถูกส่งเข้าร่วมรายการ ในปีนี้ มีนักเรียนนักศึกษากว่า 100 ทีม จาก 18 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและตะวันออกกลางเข้าร่วมแข่งขัน โดยเยาวชนเหล่านี้ ได้ใช้ทักษะความเป็นเลิศในด้านวิศวกรรม และเวลาร่วมปีเพื่อออกแบบ และสร้างสรรค์รถที่ใช้พลังงานอย่างพอเพียง เพื่อร่วมทดลองขับ ณ สนามเซปังอินเตอร์เนชั่นแนลเซอร์กิต


การแข่งขัน อีโค-มาราธอนเอเชีย มีการแข่งขันหลักสองรายการ โดยการแข่งขันประเภท Mileage Challenge เป็นการทดสอบว่ารถของทีมใดจะวิ่งได้ไกลที่สุด โดยใช้พลังงานที่น้อยที่สุด ซึ่งในการแข่งขันปีที่แล้ว ทีมผู้ชนะได้ประดิษฐ์รถที่วิ่งได้ไกลถึง 2,341 กิโลเมตร หรือเท่ากับระยะทางจากประเทศมาเลเซีย ถึงสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า โดยใช้น้ำมันเพียง 1 ลิตรเท่านั้น


นอกจากนี้แล้ว ทีมผู้เข้าแข่งขันที่ชนะการแข่งขัน เชลล์ อีโค-มาราธอน เอเชีย จะได้มีโอกาสเข้าร่วมรายการ Drivers’ World Championship ซึ่งเป็นรายการที่ใช้ทั้งกลยุทธ์ ทักษะ และความเร็ว เพื่อแข่งขันกันว่ารถของทีมใดจะเข้าเส้นชัยเป็นคันแรกโดยใช้พลังงานไม่เกินที่กำหนด  โดยการแข่งขัน Drivers’ World Championship ในปีนี้จะจัดขึ้นที่กรุงลอนดอน สหราชอณาจักร


การแข่งขัน เชลล์ อีโค-มาราธอน นับเป็นการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นของเชลล์ ในการคิดค้นนวัตกรรมพลังงานเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรโลก โดยเราได้ร่วมมือกับทั้งนักเรียน นักศึกษา พันธมิตร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
Cautionary Note
The companies in which Royal Dutch Shell plc directly and indirectly owns investments are separate legal entities. In this press release “Shell”, “Shell group” and “Royal Dutch Shell” are sometimes used for convenience where references are made to Royal Dutch Shell plc and its subsidiaries in general. Likewise, the words “we”, “us” and “our” are also used to refer to Royal Dutch Shell plc and subsidiaries in general or to those who work for them. These terms are also used where no useful purpose is served by identifying the particular entity or entities. ‘‘Subsidiaries’’, “Shell subsidiaries” and “Shell companies” as used in this press release refer to entities over which Royal Dutch Shell plc either directly or indirectly has control. Entities and unincorporated arrangements over which Shell has joint control are generally referred to as “joint ventures” and “joint operations”, respectively. Entities over which Shell has significant influence but neither control nor joint control are referred to as “associates”. The term “Shell interest” is used for convenience to indicate the direct and/or indirect ownership interest held by Shell in an entity or unincorporated joint arrangement, after exclusion of all third-party interest.
This press release contains forward-looking statements (within the meaning of the U.S. Private Securities Litigation Reform Act of 1995) concerning the financial condition, results of operations and businesses of Royal Dutch Shell. All statements other than statements of historical fact are, or may be deemed to be, forward-looking statements. Forward-looking statements are statements of future expectations that are based on management’s current expectations and assumptions and involve known and unknown risks and uncertainties that could cause actual results, performance or events to differ materially from those expressed or implied in these statements. Forward-looking statements include, among other things, statements concerning the potential exposure of Royal Dutch Shell to market risks and statements expressing management’s expectations, beliefs, estimates, forecasts, projections and assumptions. These forward-looking statements are identified by their use of terms and phrases such as “aim”, “ambition’, ‘‘anticipate’’, ‘‘believe’’, ‘‘could’’, ‘‘estimate’’, ‘‘expect’’, ‘‘goals’’, ‘‘intend’’, ‘‘may’’, ‘‘objectives’’, ‘‘outlook’’, ‘‘plan’’, ‘‘probably’’, ‘‘project’’, ‘‘risks’’, “schedule”, ‘‘seek’’, ‘‘should’’, ‘‘target’’, ‘‘will’’ and similar terms and phrases. There are a number of factors that could affect the future operations of Royal Dutch Shell and could cause those results to differ materially from those expressed in the forward-looking statements included in this press release, including (without limitation): (a) price fluctuations in crude oil and natural gas; (b) changes in demand for Shell’s products; (c) currency fluctuations; (d) drilling and production results; (e) reserves estimates; (f) loss of market share and industry competition; (g) environmental and physical risks; (h) risks associated with the identification of suitable potential acquisition properties and targets, and successful negotiation and completion of such transactions; (i) the risk of doing business in developing countries and countries subject to international sanctions; (j) legislative, fiscal and regulatory developments including regulatory measures addressing climate change; (k) economic and financial market conditions in various countries and regions; (l) political risks, including the risks of expropriation and renegotiation of the terms of contracts with governmental entities, delays or advancements in the approval of projects and delays in the reimbursement for shared costs; and (m) changes in trading conditions. No assurance is provided that future dividend payments will match or exceed previous dividend payments. All forward-looking statements contained in this press release are expressly qualified in their entirety by the cautionary statements contained or referred to in this section. Readers should not place undue reliance on forward-looking statements. Additional risk factors that may affect future results are contained in Royal Dutch Shell’s 20-F for the year ended December 31, 2018 (available at www.shell.com/investor and www.sec.gov). These risk factors also expressly qualify all forward looking statements contained in this press release and should be considered by the reader. Each forward-looking statement speaks only as of the date of this press release, 2 May 2019. Neither Royal Dutch Shell plc nor any of its subsidiaries undertake any obligation to publicly update or revise any forward-looking statement as a result of new information, future events or other information. In light of these risks, results could differ materially from those stated, implied or inferred from the forward-looking statements contained in this press release. We may have used certain terms, such as resources, in this press release that United States Securities and Exchange Commission (SEC) strictly prohibits us from including in our filings with the SEC. U.S. Investors are urged to consider closely the disclosure in our Form 20-F, File No 1-32575, available on the SEC website www.sec.gov.