ADS


Breaking News

RAIL Asia Expo 2019 มาร่วมติดตามแผนอนาคตระบบขนส่งทางรางไทย

     RAIL Asia Expo 2019  จัดขึ้น 28-29 มี.ค. นี้ที่ สถานีรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต  เรล ลิงก์  มักกะสัน  คาดพีคสุดๆ บริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลกแห่โชว์นวัตกรรมระบบรางจากทั้งยุโรป เอเชียและ อเมริกา ตลอดจนผู้ประกอบการจากประเทศไทย ทั้งภาครัฐและเอกชน ตอบรับร่วมงานอย่างคึกคัก เตรียมพบโซลูชั่นสุดล้ำด้านงานระบบกลศาสตร์และไฟฟ้า สำหรับระบบรางในเอเชีย ในงานจัดปาฐกถาพิเศษจากรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงคมนาคม โดยคาดมีผู้ร่วมงานกว่ามากว่าพันราย RAIL Asia Expo 2019  จับตางานครั้งนี้ โอกาสทองรวม ผู้ผลิต ผู้ให้บริการ และคู่ค้าจากทั่วทุกภูมิภาคเจาะตลาดรถไฟฟ้าเอเชีย และปรับกลยุทธ์ ตอบรับนโยบายรัฐบาล ปี 2020 – 2021 จัดตั้งโรงงานผลิต+ประกอบรถไฟ รถไฟฟ้า ในประเทศ ลดต้นทุนนำเข้า 10 เท่าจาก 70,000 ล้าน ตั้งเป้า3โรงงานผลิตสูงกว่า 900 ตู้/ปีส่งออกสู่ประเทศ CLMV
        นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบราง เพื่อพัฒนาและขยายขีดความสามารถของประเทศ รวมถึงให้ระบบรางเป็นตัวเชื่อมการเดินทางแบบไร้รอยต่อในประเทศไทย และระหว่างประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน  ดังนั้นงาน RAIL Asia  Expo 2019 ที่จะจัดขึ้น เป็นแหล่งรวมเทคโนโลยีใหม่ ผู้ผลิต ผู้ให้บริการ และคู่ค้าจากทั่วทุกภูมิภาค เสมือนเป็นเวทีระหว่างประเทศสำหรับธุรกิจ การพัฒนา และเครือข่ายในเครือข่ายในอุตสาหกรรมระบบราง ตลอดจน โปรแกรมสัมมนา จากผู้เชียวชาญและตัวแทนผู้ประกอบการที่มืชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอย่างวงกว้าง รวมหารือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อตอบรับกับ ปรับโฉม การขนส่งระบบรางอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
     กระทรวงคมนาคมมีแนวคิดนโยบายว่า ประเทศไทยถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนให้ภาคเอกชน “จัดตั้งโรงงานผลิต ประกอบรถไฟในประเทศ” จากปัจจุบันผู้ประกอบการเดินรถไฟฟ้าเอกชนที่ให้บริการรถไฟฟ้าในกรุงเทพ ที่รับสัมปทานได้มีการนำเข้ารถไฟฟ้ามาจาก 5 ประเทศทั่วโลก คือ เยอรมัน , ตุรกี,จีน,ออสเตรีย,ญี่ปุ่น เป็นต้น โดยแต่ละผู้ประกอบการ ก็มีซัพพลายเออร์ และมาตรฐานที่หลากหลาย
 จากการศึกษามีการคาดการณ์ว่า หากจะมีการตั้งโรงงานผลิต ประกอบ ติดตั้งรถไฟ 1 โรงงานในไทย จะต้องมีการสั่งผลิตตู้รถไฟใหม่กว่า 300 ตู้/ปี ถึงจะถึงจุดคุ้มทุน ดังนั้น จึงเป็นที่มาที่กระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน  (บีโอไอ) ได้มีการหารือร่วมกันในการส่งเสริมให้มีการตั้งโรงงานผลิตรถไฟในประเทศไทยจะเริ่มในปี 2020-2021 ซึ่งนอกจากจะมีการผลิต ประกอบรถไฟในประเทศแล้ว ในอนาคตโรงงานผลิตในไทยก็สามารถส่งออกรถไฟฟ้าไปสู่ประเทศในกลุ่ม CLMV ได้ เพราะปัจจุบันไทยก็มีการผลิตรถบัส ให้กับกลุ่มประเทศเหล่านี้อยู่  คาดการณ์มีความเป็นไปได้ที่ประเทศไทยสามารถจะจัดตั้งโรงงานผลิตรถไฟ รถไฟฟ้าได้สูงถึง 3 โรงงาน มียอดการผลิตรวมสูงกว่า 900ตู้/ปีในปี 2027 ส่วนพื้นที่ทีมีความเหมาะสมในการจัดตั้งโรงงานผลิตรถไฟ ประกอบรถไฟนั้นมองว่า พื้นที่ที่เหมาะสมควรอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ    เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นศูนย์กลางการประกอบรถโดยสารสาธารณะอยู่แล้ว และการขนส่งรถไฟก็สามารถส่งทางระบบรางได้

     “เมื่อมีความเป็นไปได้ในการจัดตั้งโรงงานผลิต ประกอบรถไฟในไทย ในอนาคต จะสามารถลดต้นทุนการนำเข้าจากต่างประเทศได้กว่า 10 เท่า จากเดิมมีการนำเข้ากว่า 70,000 ล้านบาท เมื่อมีโรงงานผลิต ประกอบในไทยจะลดการนำเข้าเหลือเพียง 6,000-7,000 ล้านบาทเท่านั้น
     นอกจากนั้นยังลดค่าใช้จ่ายการซ่อม-บำรุงรักษา ได้อีกกว่า ปีละ 1,000 ล้านบาท   ขณะเดียวกันยังเสริมให้คนไทยได้มีความรู้ในการผลิต เพิ่มการจ้างงานในระบบอุตสาหกรรมประกอบผลิตตัวรถได้อีกไม่น้อยกว่า 500 คน นอกจากนี้ยังช่วยลดการนำเข้าอะไหล่ ชิ้นส่วนอุปกรณ์รถไฟ รถไฟฟ้าได้อีกกว่า 3,000 รายการ จากเดิมต้องนำเข้ากว่า 7,000-10,000 รายการ รวมถึงจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถไฟในอาเซียนด้วย เหมือนเช่นครั้งหนึ่งไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ หรือดีทรอย์ของเอเชีย”
       ล่าสุดขณะนี้ได้มีนักลงทุนจากต่างชาติ ไม่ว่า ญี่ปุ่น เกาหลีและเยอรมัน ได้แสดงความสนใจที่จะเข้ามาขอจัดตั้งโรงงานผลิต ประกอบรถไฟในประเทศไทย  ส่วนขั้นตอนความคืบหน้าในการดำเนินการจัดตั้งโรงงานผลิต ประกอบรถไฟ ขณะนี้นั้น ในส่วนของกระทรวงคมนาคมคือ 1. เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการจัดตั้งกรมราง เพื่อให้เป็นมาตรฐานในการควบคุมระบบราง , 2.กระทรวงคมนาคมร่วมกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน( กกร.)ช่วยกันพิจารณาออก พ.ร.ฎ.จัดตั้งสถาบันวิจัยเทคโนโลยีระบบราง เพื่อเป็นคนกลางของการถ่ายทอดเทคโนโลยี  ซึ่งหากดำเนินการสำเร็จประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีระบบรางรถไฟในภูมิภาคอาเซียน
ด้านนายเดวิด เอ็ทคิ่น กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชีย เอ็กซิบิทชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด ผู้จัดงานแสดงเทคโนโลยีรถไฟ รถฟ้าความเร็วสูงและรถไฟใต้ดิน ถึงงาน RAIL Asia Expo 2019  ที่จะจัดขึ้นวันที่ 28-29 มีนาคมนี้ ที่ลานกิจกรรม สถานีรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต  เรล ลิงก์  มักกะสัน ที่จะถึงนี้เป็นจัดครั้งที่ 5 จะยิ่งใหญ่กว่าทุกๆปีเพราะมีบริษัทใหญ่ด้านเทคโนโลยีระบบรางทั่วโลกแห่มาโชว์นวัตกรรมที่มากกว่าปีที่ที่ผ่านมา  โดยมีบริษัทที่จัดแสดงกว่า120ราย, มีนักลงทุนต่างชาติร่วมงานกว่าพันคน  
งานแสดงในปี 2562 จะเป็นแหล่งชุมนุมความหลากหลายของ เทคโนโลยีใหม่ ผู้ผลิต ผู้ให้บริการ และคู่ค้าจากทั่วทุกภูมิภาค โดยล่าสุดนี้ มีบริษัทรายใหม่ยืนยันเข้าร่วมแสดงแล้ว อาทิ Bentley, TÜV SÜD, Caddy, Erico, Hoffman, Raychem, Schroff, Tracer, nVent, Damrongsilp, Siam Steel, Kangni Rail Equipment, Egis, Pt Len Industry, GMT, Duali Incorporation และ DB Schenker ขณะที่บริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมยังเข้าร่วมงานกันอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น Bombardier, CRRC, LSIS, Transdev, CRSC, Siemens, Voestalpine, Power Pusher, NuStar, Inoue Rubber, Anyang, Schneider Electric รวมถึงพาวิเลี่ยนประเทศไทย และองค์กร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเช่น ผู้ให้บริการเดินรถ ผู้รับเหมาก่อสร้าง ที่ปรึกษาโครงการ ยังมีการจัดแสดงจากพาวิเลียนสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านอุตสาหกรรมระบบรางของไทย ส่วนแสดงเทคโนโลยีใหม่ เตรียมพบโซลูชั่นสุดล้ำด้านงานระบบกลศาสตร์และไฟฟ้า สำหรับระบบรางในเอเชีย

     นอกจากนี้วันที่ 28 มีนาคม 2562 จะมีพิธีเปิดงาน ณ  ชั้น 2 สถานีรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มักกะสัน และมีการปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “Assembly Plant Initiatives for Thailand” โดย ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงคมนาคม  และเผยแผนอนาคตระบบขนส่งทางรางไทย “Future Projects of SRT” โดย คุณสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการ กลุ่มบริหารรถไฟฟ้า การผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย  อีกทั้งการสัมมนาที่น่าสนใจตลอดสองวันของการจัดงาน
งานนี้เข้าชมเทคโนโลยีชั้นนำใหม่ๆ อีกทั้งเพิ่มพูนความรู้ในเชิงสัมมนา และพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจและเครือข่าย ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สนใจรายละเอียด http://www.railasiaexpo.com/ ติดต่อผู้จัดงานได้ที่ rail@aesexhibitions.com โทร.+66 (0) 2207 2412