“Mitsubishi Electric - Factory Automation Forum 2019” “มิตซูบิชิ อีเล็คทริค” จัดงานสัมมนาครั้งยิ่งใหญ่ ด้านเทคโนโลยี และระบบอัตโนมัติ เพื่อพัฒนาบุคลากรและกำลังคนรองรับอุตสาหกรรม “Smart Factory หรือ โรงงานอัจฉริยะ”
e-F@ctory โซลูชั่นที่มุ่งเน้นการเชื่อมต่อของข้อมูลในทุกระดับ เป็นตัวช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้ทรัพยากร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึง supply chain ตลอดจนเป็นการช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายผู้ประกอบการ และช่วยยกระดับมาตรฐานการศึกษาและความรู้ของบุคลากรด้านเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนสู่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตทั้งในปัจจุบันและอนาคต
บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด จัดงานสัมมนา Mitsubishi Electric - Factory Automation Forum 2019 ภายใต้หัวข้อ e-Factory – Connect Everything โดยมี ดร. คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ให้เกียรติเป็นประธาน
โดยการจัดงานในครั้งนี้ เพื่อนำเสนอโซลูชั่น “e-F@ctory” และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งภายในงาน ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Sign MOU) ภายใต้กรอบความร่วมมือ ในการพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ระหว่าง มหาวิทยาลัยบูรพา โดย รศ.ดร.สมนึก ธีระกุลพิศุทธิ์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา และบริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด โดย นายยูทากะ คาวาซากิ กรรมการผู้จัดการบริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมลงนามความร่วมมือฯ (Sign MOU) โดยมี ดร. คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ให้เกียรติเป็นพยานกิตติมศักดิ์ พร้อมทั้ง ดร.อภิชาต ทองอยู่ ประธานคณะทำงาน EEC-HDC, ผศ.ดร. ณยศ คุรุกิจโกศล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา และ นายวิเชียร งามสุขเกษมศรีกรรมการบริหารบริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมเป็นสักขีพยาน นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงบูธนิทรรศการที่น่าสนใจ ณ ห้องฉัตราบอลรูม ชั้น 2 โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพฯ
โดยการจัดงานในครั้งนี้ เพื่อนำเสนอโซลูชั่น “e-F@ctory” และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งภายในงาน ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Sign MOU) ภายใต้กรอบความร่วมมือ ในการพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ระหว่าง มหาวิทยาลัยบูรพา โดย รศ.ดร.สมนึก ธีระกุลพิศุทธิ์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา และบริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด โดย นายยูทากะ คาวาซากิ กรรมการผู้จัดการบริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมลงนามความร่วมมือฯ (Sign MOU) โดยมี ดร. คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ให้เกียรติเป็นพยานกิตติมศักดิ์ พร้อมทั้ง ดร.อภิชาต ทองอยู่ ประธานคณะทำงาน EEC-HDC, ผศ.ดร. ณยศ คุรุกิจโกศล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา และ นายวิเชียร งามสุขเกษมศรีกรรมการบริหารบริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมเป็นสักขีพยาน นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงบูธนิทรรศการที่น่าสนใจ ณ ห้องฉัตราบอลรูม ชั้น 2 โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพฯ
บริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริคแฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (MELFT) เป็นบริษัทหนึ่งในกลุ่ม Mitsubishi Electric ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2013 (2556) จากการผนึกกำลังกันของ Mitsubishi Electric และ บริษัท FA Tech จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการนำเข้าและจำหน่ายอุปกรณ์ Factory Automation หรือระบบโรงงานอัตโนมัติ ให้แก่ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย พร้อมบริการและฝึกอบรมความรู้ทางเทคนิคและการใช้งาน Factory Automation ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยทีมงานที่ผ่านการฝึกฝนมาแล้วอย่างดีจากประเทศญี่ปุ่น สนับสนุนและยกระดับโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตของไทย ให้มีความทันสมัยเป็นอัตโนมัติ ลดการใช้พลังงานและลดต้นทุนการผลิตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมของไทย สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
นายยูทากะ คาวาซากิ กรรมการผู้จัดการบริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึง วัตถุประสงค์ในการจัดงาน Factory Automation Forum 2019 “e-Factory Connect Everything” ในครั้งนี้ว่า เพื่อต้องการสื่อสารข้อมูลและนำเสนอคอนเซ็ปต์ e-Factory Solution ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ Smart Factory โรงงานอัจฉริยะ ที่กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตทั้งในปัจจุบันและ ในอนาคต รวมถึงจัดแสดงและสาธิตการทำงานร่วมกัน ระหว่าง e-Factory Solution กับเทคโนโลยีAI ซึ่งในการจัดแสดงมีพันธมิตรทางธุรกิจถึง 16 บริษัท ได้นำเทคโนโลยีด้าน Smart Factory ของแต่ละบริษัทมาร่วมจัดแสดงพร้อมกันในงานนี้ โดย “Factory Automation Forum 2019 “E-Factory Connect Everything” จะบอกเล่าเรื่องราวและบทบาทที่สำคัญของ Mitsubishi Electric และพันธมิตรทางธุรกิจ ที่มีต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทย จากอดีตจนถึงปัจจุบัน และแนวโน้มของเทคโนโลยีที่จะถูกนำมาใช้กับภาคอุตสาหกรรมของไทยในอนาคต รวมถึงความร่วมมือกับภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการความร่วมมือในการสร้างศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรม เพื่อพัฒนาขีดความสามารถบุคลากรและกำลังคนเพื่ออุตสาหกรรม “Smart Factory หรือ โรงงานอัจฉริยะ”
นอกจากนี้บริษัทฯ ได้มีความตกลงและลงนามความร่วมมือ ที่จะพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการศึกษา ถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ โดยจะเป็นความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยบูรพา ในฐานะมหาวิทยาลัยหลักใน EEC ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานด้านการพัฒนากำลังคนในเขต EEC และบริษัทฯ โดยบริษัทฯ จะให้การสนับสนุนทั้งอุปกรณ์แบบจำลองระบบโรงงานอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (Robot) ที่ใช้ในอุตสาหกรรม (Smart Factory – Model Line ) ติดตั้งในศูนย์การเรียนรู้และอบรม ที่จะจัดสร้างขึ้นในบริเวณพื้นที่ของมหาวิทยาลัยบูรพา อีกทั้งยังจะช่วยทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้ทางเทคโนโลยีให้แก่นักศึกษา ทีมงานและบุคลากรทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยบูรพา ให้เกิดความรู้ด้าน Factory Automation อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ คาดว่าโครงการนี้จะแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการได้อย่างสมบูรณ์ประมาณกลางปี2563 ซึ่งจะช่วยผลิตบุคลากรที่มีขีดความสามารถด้านระบบโรงงานอัจฉริยะ พร้อมป้อนเข้าสู่ภาคธุรกิจที่จะเข้ามาลงทุนด้านอุตสาหกรรม ในเขตเศรษฐกิจพิเศษของ EEC ทั้งจากในประเทศและจากต่างประเทศ
“สำหรับ Smart Factory หรือ โรงงานอัจฉริยะ ของบริษัทฯ ประกอบด้วยระบบการทำงาน 3 ส่วน ที่เชื่อมต่อกันและทำงานร่วมกันแบบReal Time ควบคุมการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ระบบ IT จะทำหน้าเก็บรวบรวมข้อมูล ในทุกมิติของกระบวนการผลิต การปฏิบัติจัดการ การบริหารการผลิต วิเคราะห์และประมวลผล การป้อนคำสั่งการทำงาน ระบบ Edge Computing จะทำหน้าที่ส่งผ่านข้อมูลคำสั่งไปยังหน้างาน และเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากหน้างานนำกลับมาสู่การประมวลผลใหม่ ระบบหน้างาน (Shop Floor) เมื่อได้รับคำสั่งจะเกิดกระบวนการทำงานบนหน้างาน มีระบบการควบคลุมที่สามารถปรับตั้งได้ ซึ่งทั้ง 3 ระบบ จะทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบโดยอัตโนมัติ เทคโนโลยี AI และ Robotเสริมให้การทำงานมีความถูกต้องไม่มีความผิดพลาด ซึ่งผลที่ได้จะช่วยในการเพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพ สร้างความยั่งยืน มันคงและปลอดภัย ประหยัดพลังงาน และส่งผลให้ลดต้นทุนการผลิต นอกจากนี้ยังมีตัวSensor ที่สามารถตรวจจับ ความผิดปกติของกระบวนการผลิตและแจ้งเตือนตลอดเวลาแก้ปัญหาทั้งปวงที่เคยมี” นายยูทากะ คาวาซากิ กล่าวทิ้งท้าย
Mitsubishi Electric Factory Automation สามารถให้ความมั่นใจต่อผู้ประกอบการ ว่าบริษัทฯ มีทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคอย่างเพียงพอ ผ่านประสบการณ์การทำงานระบบโรงงานอัตโนมัติมาแล้วในหลายประเทศทั่วโลก ที่พร้อมให้ปรึกษาและฝึกอบรมบุคลากรของผู้ประกอบการให้สามารถทำงานระบบ Factory Automation ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ รวมถึงการให้บริการด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างครอบคลุม นอกจากนี้บริษัทยังมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาหลายแห่งทั่วประเทศมาแล้วกว่า 3 ปี ที่จะผลิตบุคลากรด้าน Factory Automation เข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างต่อเนื่อง ที่ผู้ประกอบการสามารถวางใจได้ว่า บุคลากรด้าน Factory Automation ในประเทศไทยจะไม่ขาดแคลนอย่างแน่นอน
สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด02-682-6522-31 www.mitsubishifa.co.th
สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทมิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด02-682-6522-31 www.mitsubishifa.co.th