ADS


Breaking News

ซีพีเอฟ ยกย่อง “คู่ค้าธุรกิจดีเด่น” ร่วมพัฒนาห่วงโซ่อุปทานตามมาตรฐานสากลสู่การผลิตอาหารอย่างยั่งยืน

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มอบเกียรติบัตร แก่ 12 “คู่ค้าธุรกิจดีเด่น” ที่ร่วมสร้างคุณค่าในห่วงโซ่อุปทาน (Value Chain) พร้อมพัฒนาคู่ค้ากว่า 200 ราย ใน 13 ธุรกิจหลัก ตามแนวทางความยั่งยืนสากลให้เติบโตไปด้วยกัน ด้านกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน แนะอุตสาหกรรมอาหารต้องดูแลทุกขั้นตอนของการผลิตที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพิ่มความสามารถการแข่งขันในเวทีโลก
นายพิสิฐ โอมพรนุวัฒน์ ประธานคณะทำงานบริหารความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน ซีพีเอฟ กล่าวว่า ปัจจุบันทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมหลายประการ ซีพีเอฟจึงมุ่งมั่นร่วมมือกับคู่ค้าธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นทางร่วมพัฒนาการดำเนินงานอย่างยั่งยืนและเติบโตไปด้วยกัน ภายใต้นโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืน ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้ง ระบบตรวจประเมินเพื่อให้คู่ค้าธุรกิจประเมินตนเองด้านความยั่งยืนแบบออนไลน์ (Online Supplier Sustainability Self-Assessment) เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาและจัดการรองรับความท้าทายต่างๆ

จากความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง ซีพีเอฟได้มอบเกียรติบัตร “คู่ค้าธุรกิจดีเด่น” แก่ 12 องค์กร เพื่อยกย่องและแสดงความขอบคุณคู่ค้าธุรกิจที่ร่วมมือสร้างคุณค่าในห่วงโซ่อุปทานสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ช่วยให้ซีพีเอฟบรรลุเป้าหมายการจัดหาอย่างยั่งยืน ยกตัวอย่างเช่น บริษัท ทะเลไทย ขนส่ง 2 ที่ทำธุรกิจให้บริการขนส่งทางทะเล ที่ร่วมดูแลชุมชนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บริษัท ท่าฉางสวนปาล์มน้ำมันอุตสาหกรรม เป็นผู้จัดหาน้ำมันปาล์มที่มาจากแหล่งปลูกถูกต้อง และส่งเสริมเกษตรกรปลูกปาล์มอย่างยั่งยืน บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง เป็นผู้จัดหาเครื่องปรุงที่มีความโดดเด่นด้านการดูแลบุคลากร มีการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และดูแลเกษตรกรเติบโตร่วมกัน เป็นต้น 

ซีพีเอฟร่วมมือกับคู่ค้าธุรกิจ ดำเนินการพัฒนาที่ยั่งยืนใน 4 ด้านหลัก (4 Ps) ซึ่งประกอบด้วย Product การส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ People การปฏิบัติต่อบุคลากรอย่างเป็นธรรมตามสิทธิมนุษยชน Process การใช้กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และสุดท้าย คือ Performance เป็นการดำเนินงานอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ และซีพีเอฟจัดทำ บรรลุเป้าหมายการจัดหาที่ยั่งยืน และสอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาท่ียั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals)
“12 คู่ค้าธุรกิจซีพีเอฟ เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่คู่ค้าธุรกิจกว่า 200 องค์กรใน 13 กลุ่มธุรกิจหลักได้นำไปปรับใช้ และร่วมกันคิดและพัฒนาการดำเนินงานของตนเองสู่ความยั่งยืน และเติบโตไปด้วยกันกับซีพีเอฟ” นายพิสิฐกล่าว

นายพิสิฐเพิ่มเติมว่า ปัจจัยสำคัญของก้าวสู่การเป็น “ครัวของโลก” ซีพีเอฟต้องอาศัยพลังความร่วมมือจากคู่ค้าธุรกิจและการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ สร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคทั่วโลกด้านการผลิตอาหารบนพื้นฐานของความรับผิดชอบ นำไปสู่ความยั่งยืนของสังคมและ

นายมโนชญ์ แสงแก้ว ผู้ตรวจราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า การค้าในปัจจุบัน ผู้บริโภคทั่วโลกคาดหวังภาคธุรกิจผลิตอาหารทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำกด้วยความรับผิดชอบ ร่วมดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะด้านสิทธิมนุษยชนและแรงงาน เป็นประเด็นที่ถูกใช้เป็นข้อกำหนดและเงื่อนไขสำคัญในการเจรจาและการตกลงทางการค้าในเวทีการค้าโลก รวมถึงความคาดหวังของผู้บริโภคทั่วโลก กระทรวงแรงงานมีนโยบายส่งเสริมให้ภาคเอกชน ร่วมกันยกระดับผู้ประกอบการที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน มีความพร้อมในการดำเนินงานสอดคล้องตามมาตรฐานสากล รวมถึงปฎิบัติต่อแรงงานตามมาตรฐานภายใต้กรอบขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้า และรับมือกับความท้าทายในอนาคตได้
“ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนจะช่วยขับเคลื่อนผู้ประกอบการในห่วงโซ่การผลิตของซีพีเอฟมีความเป็นธรรม โปร่งใส และก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกคนในสังคมได้อย่างครอบคลุมและเท่าเทียมกัน ตอบโจทย์การเติบโตอย่างยั่งยืน และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์อาหารไทยในเวทีโลก” นายมโนชญ์กล่าว