รมว.พม. นำประกาศเจตนารมณ์ “คน พม. ไร้ความรุนแรง” รับปีใหม่ 2562
ในวันที่ 3 มกราคม 2562 เวลา 09.30 น. ณ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สะพานขาว กรุงเทพฯ พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ประกาศเจตนารมณ์ “คน พม. ไร้ความรุนแรง” โดยขอให้คน พม. เปลี่ยนแปลง “Change” 3 ประการ ดังนี้ 1) “คน พม. Non-domestic violence” จะไม่กระทำความรุนแรงต่อเด็ก สตรี บุคคลในครอบครัว และต่อเพื่อนร่วมงาน ทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ ทางเพศ และการทอดทิ้ง 2) “คน พม. Non-sexual harassment” จะไม่แสดงพฤติกรรมเสี่ยงอันเป็นการแสดงออก ซึ่งการคุกคามทางเพศ เช่น การไม่แสดงกริยา ท่าทาง และสายตาที่ล่อแหลม คำพูดที่ไม่ให้เกียรติและไม่สุภาพ และ 3) “คน พม. Non-discrimination” จะไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ เช่น ไม่ตัดสินบุคคลจากรูปลักษณ์ภายนอก โดยอยู่บนพื้นฐานในการเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน (Respect) อันจะนำมาซึ่งการลดความรุนแรงในสังคมทุกรูปแบบ โดยมี นายปรเมธี วิมลศิริ ปลัดกระทรวง พม. นำคน พม. เปลี่ยนแปลง “Change” และมีผู้บริหารระดับกรมของทุกหน่วยงานในสังกัดของ พม. ร่วมประกาศเจตนารมย์ด้วยดังกล่าว
พลเอก อนันตพร กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้ความสำคัญกับการรณรงค์และป้องกันความรุนแรงในทุกรูปแบบ ภายใต้ชื่อ “สังคมไทยไร้ความรุนแรง” โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 กำหนดให้เรื่องดังกล่าวเป็น 1 ใน 13 โครงการสำคัญ (Flagship) ของกระทรวง ที่ทุกส่วนราชการในสังกัด พม. จะต้องร่วมกันบูรณาการและขับเคลื่อนงานเพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมไร้ความรุนแรง โดยระดับพื้นที่ผลักดันให้เกิดตำบลต้นแบบไร้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ จังหวัดละ 1 ตำบล รวม 76 ตำบล และระดับบุคลากรสังกัดกระทรวง พม. ขอให้ร่วมกันเป็นต้นแบบ และประกาศเจตนารมณ์ว่า “คน พม. ไร้ความรุนแรง” จึงขอให้เปลี่ยนแปลง “Change” 3 ประการ โดยอยู่บนพื้นฐานในการเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน (Respect) ได้แก่ 1) “คน พม.จะไม่กระทำความรุนแรงต่อเด็ก สตรี บุคคลในครอบครัว และต่อเพื่อนร่วมงาน ทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ ทางเพศ และการทอดทิ้ง” 2) “คน พม.จะไม่แสดงพฤติกรรมเสี่ยงอันเป็นการแสดงออก ซึ่งการคุกคามทางเพศ” และ 3) “คน พม. จะไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ” พร้อมประกาศเจตนารมณ์ว่า “คน พม. จะเป็นคนต้นแบบในการไม่ใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ” เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคมต่อไป
ทางด้าน นายปรเมธี ได้กล่าว “ขอเชิญชวนบุคลากร พม. ร่วมเป็น คน พม. ไร้ความรุนแรง ชวน กด 1 เสียง ยุติความรุนแรง” พร้อมทั้งกล่าวถึงผู้บริหารของแต่ละหน่วยงานที่ตั้งมั่นร่วมกันเปลี่ยนแปลง ภายใต้แนวคิดที่นำไปสู่ “คน พม. ไร้ความรุนแรง” ได้แก่ 1) นางนภา เศรษฐกร อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ “ยิ้มกันวันละนิด ลดความรุนแรงในครอบครัว” 2) นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว “คนในสังคมไทยเสมือนครอบครัวเดียวกัน ต้องให้เกียรติและดูแลซึ่งกันและกัน” 3) นายสมคิด สมศรี อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน “ลุงคิดพิชิตความเท่าเทียม” 4) นางธนาภรณ์ พรมสุวรรณ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ “เปิดใจ ปรับพฤติกรรม เปลี่ยนแปลงสังคม” 5) นางไพรวรรณ พลวัน อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ “สร้างสุขทุกวัยไม่ใช้ความรุนแรง” 6) นายธัชพล กาญจนกูล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ “ร่วมต่อต้านความรุนแรง สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัว” 7) นายสมชาติ ภาระสุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน “ร่วมสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อนำสู่สังคมไทยไร้ความรุนแรงบนพื้นฐานการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และ 8) นายบุญเลิศ พัฒนารุ่งอโนทัย ผู้อำนวยการสำนักงานธนานุเคราะห์ “ช่วยกันสร้างสังคมให้น่าอยู่ ถ้าทุกคนร่วมมือกัน”
“ ขอเชิญชวนประชาชนชาวไทยต้อนรับปีใหม่ 2562 นี้ โดยร่วมแสดงพลังเป็นคนหนึ่งที่จะ “ไม่ยอมรับ ไม่นิ่งเฉย และไม่กระทำความรุนแรงในสังคมทุกรูปแบบ” ด้วยการลงชื่อผ่าน QR Code หรือเว็บไซต์แบบออนไลน์ร่วมกัน http://plan.dwf.go.th/public/campaign.do ”
พลเอก อนันตพร กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้ความสำคัญกับการรณรงค์และป้องกันความรุนแรงในทุกรูปแบบ ภายใต้ชื่อ “สังคมไทยไร้ความรุนแรง” โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 กำหนดให้เรื่องดังกล่าวเป็น 1 ใน 13 โครงการสำคัญ (Flagship) ของกระทรวง ที่ทุกส่วนราชการในสังกัด พม. จะต้องร่วมกันบูรณาการและขับเคลื่อนงานเพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมไร้ความรุนแรง โดยระดับพื้นที่ผลักดันให้เกิดตำบลต้นแบบไร้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ จังหวัดละ 1 ตำบล รวม 76 ตำบล และระดับบุคลากรสังกัดกระทรวง พม. ขอให้ร่วมกันเป็นต้นแบบ และประกาศเจตนารมณ์ว่า “คน พม. ไร้ความรุนแรง” จึงขอให้เปลี่ยนแปลง “Change” 3 ประการ โดยอยู่บนพื้นฐานในการเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน (Respect) ได้แก่ 1) “คน พม.จะไม่กระทำความรุนแรงต่อเด็ก สตรี บุคคลในครอบครัว และต่อเพื่อนร่วมงาน ทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ ทางเพศ และการทอดทิ้ง” 2) “คน พม.จะไม่แสดงพฤติกรรมเสี่ยงอันเป็นการแสดงออก ซึ่งการคุกคามทางเพศ” และ 3) “คน พม. จะไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ” พร้อมประกาศเจตนารมณ์ว่า “คน พม. จะเป็นคนต้นแบบในการไม่ใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ” เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคมต่อไป
ทางด้าน นายปรเมธี ได้กล่าว “ขอเชิญชวนบุคลากร พม. ร่วมเป็น คน พม. ไร้ความรุนแรง ชวน กด 1 เสียง ยุติความรุนแรง” พร้อมทั้งกล่าวถึงผู้บริหารของแต่ละหน่วยงานที่ตั้งมั่นร่วมกันเปลี่ยนแปลง ภายใต้แนวคิดที่นำไปสู่ “คน พม. ไร้ความรุนแรง” ได้แก่ 1) นางนภา เศรษฐกร อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ “ยิ้มกันวันละนิด ลดความรุนแรงในครอบครัว” 2) นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว “คนในสังคมไทยเสมือนครอบครัวเดียวกัน ต้องให้เกียรติและดูแลซึ่งกันและกัน” 3) นายสมคิด สมศรี อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน “ลุงคิดพิชิตความเท่าเทียม” 4) นางธนาภรณ์ พรมสุวรรณ อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ “เปิดใจ ปรับพฤติกรรม เปลี่ยนแปลงสังคม” 5) นางไพรวรรณ พลวัน อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ “สร้างสุขทุกวัยไม่ใช้ความรุนแรง” 6) นายธัชพล กาญจนกูล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ “ร่วมต่อต้านความรุนแรง สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัว” 7) นายสมชาติ ภาระสุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน “ร่วมสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อนำสู่สังคมไทยไร้ความรุนแรงบนพื้นฐานการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” และ 8) นายบุญเลิศ พัฒนารุ่งอโนทัย ผู้อำนวยการสำนักงานธนานุเคราะห์ “ช่วยกันสร้างสังคมให้น่าอยู่ ถ้าทุกคนร่วมมือกัน”
“ ขอเชิญชวนประชาชนชาวไทยต้อนรับปีใหม่ 2562 นี้ โดยร่วมแสดงพลังเป็นคนหนึ่งที่จะ “ไม่ยอมรับ ไม่นิ่งเฉย และไม่กระทำความรุนแรงในสังคมทุกรูปแบบ” ด้วยการลงชื่อผ่าน QR Code หรือเว็บไซต์แบบออนไลน์ร่วมกัน http://plan.dwf.go.th/public/campaign.do ”