เชฟรอน-สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง-สจล. ผนึกภาคีทุกภาคส่วน ถือฤกษ์วันดินโลก แถลงความสำเร็จโครงการ “รวมพลังตามรอยพ่อฯ” ปี 6
บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมกับ สถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) พร้อมพันธมิตรทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ภาคศาสนา และสื่อมวลชน ถือฤกษ์วันดินโลก ประกาศความสำเร็จโครงการ ’พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน’ ปี 6 จบเฟสที่ 2 “แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี” ด้วยชุมชนต้นแบบใน 4 จังหวัดทั่วประเทศ เตรียมเปิดเฟส 3 ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย ยกระดับสู่การแข่งขัน วางรากฐานการพัฒนามนุษย์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติเชื่อมโยง 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศ
นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า เนื่องในวันดินโลก พ.ศ.2561 ที่จะมาถึงในวันที่ 5 ธันวาคมนี้ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การสหประชาชาติ (UN) มีมติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานวันดินโลก เพื่อสืบสานศาสตร์พระราชา และน้อมสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระอัจฉริยภาพด้านการพัฒนาดิน รวมทั้งสร้างความตระหนักด้านการจัดการทรัพยากรดินเพื่อความมั่นคงทางอาหารโลกอย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิด ‘Be the solution to soil pollution’ เน้นเรื่องมลพิษทางดินซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหาร
“โครงการ ‘พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน’ เองมุ่งเน้นในการเผยแพร่ศาสตร์พระราชาในการจัดการดิน น้ำ ป่า ตลอด 6 ปีเต็มที่ผ่านมาและประสบความสำเร็จในการส่งเสริมให้ชุมชนทั้งในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำอื่นๆ ร่วมกันฟื้นฟูดิน ด้วยการสร้างหลุมขนมครกเพื่อกักเก็บน้ำ การปลูกหญ้าแฝกเพื่อฟื้นฟูดินและป้องกันดินพังทลาย ส่งเสริมการทำกสิกรรมธรรมชาติ ขับเคลื่อนการทำเกษตรอินทรีย์โดยให้ความรู้ในเรื่องการใช้สารชีวภาพทดแทนสารเคมีในการป้องกันแมลงที่เป็นศัตรูพืช การทำปุ๋ยชีวภาพ และการล้างพิษสารเคมีในดินด้วยน้ำหมักชีวภาพ เพิ่มความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เป็นการสร้างความยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร จึงนับว่าเป็นโครงการที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของวันดินโลกในปีนี้โดยตรง”
โครงการฯ ปีนี้ นับเป็นการสิ้นสุดการดำเนินงานในเฟสที่ 2 คือ ระยะของการแตกตัว ซึ่งในปีถัดไปโครงการฯ จะก้าวต่อไปสู่เฟสที่ 3 คือ การขยายผลเชื่อมโยงทั้งระบบ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย ยกระดับสู่การแข่งขัน วางรากฐานการพัฒนามนุษย์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติเชื่อมโยง 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศต่อไป
นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า โครงการฯ นี้ตอบโจทย์เรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายด้านสังคมขององค์กรที่มุ่งเน้นการสร้างคน องค์ความรู้ และจิตสำนึกที่ดี จึงทำงานร่วมกันมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังเห็นว่าศาสตร์พระราชานั้นพิสูจน์แล้วว่าแก้ปัญหาได้ในทุกพื้นที่หากลงมือทำจริง และสามารถสร้างต้นแบบและแรงบันดาลใจให้เกิดการขยายผลต่อไป
“เราทำโครงการนี้แบบค่อยเป็นค่อยไป คาดว่าใช้เวลาอย่างน้อย 9 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 ที่เป็นปีแรกที่เชฟรอนน้อมนำแนวพระราชดำริเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ในการจัดการดิน-น้ำ-ป่า-คน สู่การปฏิบัติ เพื่อหยุดท่วม หยุดแล้งอย่างยั่งยืน และขยายผลจากลุ่มน้ำป่าสักที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้ทรงริเริ่มไว้ ไปสู่ลุ่มน้ำอื่นๆ ทั่วประเทศ ในปีแรกๆ สิ่งที่เราทำเป็นเรื่องแปลกในสังคม วันนี้เราเห็นชุมชนที่พึ่งพาตนเองได้กระจายตัวทั่วประเทศ และมีคนสนใจแนวคิดนี้มากขึ้น เราจะยังทำงานร่วมกับพันธมิตร ลงมือและเรียนรู้ระหว่างทางไปตลอดว่าแบบไหนทำแล้วสำเร็จ หรือไม่สำเร็จ พอไปถึงจุดหนึ่งเราจะมองหาคอขวดตัวต่อๆ ไป” นายอาทิตย์กล่าว
และเพื่อเผยแพร่ตัวอย่างความสำเร็จและความรู้เกี่ยวกับศาสตร์พระราชา เชฟรอนได้รวบรวมข้อมูลในรูปแบบสปอต คลิปวิดีโอ และภาพอินโฟกราฟฟิกต่างๆ มาเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ครบทุกช่องทาง เฟซบุ๊ก:พลังคนสร้างสรรค์โลกรวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน, เว็บไซต์ https://ajourneyinspiredbytheking.org, Instagram: ajourneyinspiredbytheking, Line@ ID: @inspiredbytheking, YouTube: inspiredbytheking
สำหรับปีนี้ โครงการฯ ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานตามแนวคิด “แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี” โดยมีผู้ให้ความสนใจร่วมกิจกรรมรวมทั้งสิ้นถึง 2,510 คน เข้าร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมใน 4 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จันทบุรี สระบุรี และน่าน โดยแต่ละพื้นที่มีสภาพภูมิสังคมที่แตกต่างกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง “คนต้นแบบ” ที่หลากหลายให้ผู้คนมาเรียนรู้และส่งต่อแรงบันดาลใจต่อไป
ในปีนี้ กิจกรรมเอามื้อสามัคคีเริ่มต้นขึ้นที่ ฐานธรรมธุรกิจ พระราม 9 กรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนเมษายน 2561 มีผู้เข้าร่วมงานเกือบ 300 คน นำโดย นายพิเชษฐ โตนิติวงศ์ ผู้จัดการธรรมธุรกิจ หนึ่งในผู้จัดตั้งฐานธรรมธุรกิจ กล่าวว่า “เราตั้งใจให้ที่นี่ เป็นตลาดกลางกระจายสินค้าของเครือข่ายจากทั่วประเทศ ในราคาเป็นธรรมต่อผู้ซื้อและผู้ผลิต และมีเป้าหมายในการสร้างให้เป็นศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชากลางเมืองหลวง โดยวางแผนจะขยายงานไปที่เชียงใหม่ และบ้านศรีฐาน ยโสธรในอนาคตด้วย”
ส่วนกิจกรรมครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่ บ้านสวนอิสรีย์เกษตรอินทรีย์และฟาร์มม้าเมืองจันท์ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ของนางแววศิริ ฤทธิโยธี เมื่อเดือนมิถุนายน 2561 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 500 คน โดยมุ่งให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์เพื่อความปลอดภัยของทั้งผู้ปลูกและผู้บริโภค พร้อมแนะแนวทางการรับรองมาตรฐาน PGS (Participatory Guarantee System) หรือ การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมคือเกษตรกรด้วยกันเองเป็นผู้ร่วมตรวจสอบ โดยอิงระบบการรับรองตามมาตรฐาน IFOAM : International Federation of Organic Agriculture Movements ซึ่งมีความซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า โดยได้รับเกียรติจาก นายธีระ วงษ์เจริญ ที่ปรึกษา รมช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานสภาเกษตรกร จ.จันทบุรี เข้าร่วมงาน ครั้งที่ 3 จัดขึ้นบนพื้นที่ 47 ไร่ ที่บ้านโคกสมอ อ.หนองแซง จ.สระบุรี เมื่อเดือนสิงหาคม 2561 มีเป้าหมายเพื่อสร้างชุมชนกสิกรรมวิถีในพื้นที่ของกลุ่มคนหลากหลายอาชีพที่มีแนวคิดเดียวกัน มาร่วมกันพัฒนาพื้นที่เกษตรตามแนวทางศาสตร์พระราชา
โดย บอย-พิษณุ นิ่มสกุล หนึ่งในเจ้าของพื้นที่ พร้อมด้วย นายบุญล้อม เต้าแก้ว คณะทำงาน มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ให้ข้อมูลว่า การออกแบบพื้นที่เป็นไปตามหลักภูมิสังคม คือตามวัตถุประสงค์และความต้องการของสมาชิก ซึ่งทำให้ได้พบกับบทพิสูจน์ว่า ศาสตร์พระราชาของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นหนทางรอดที่แท้จริง จากเหตุการณ์ฝนตกหนักก่อนหน้าวันจัดกิจกรรมเพียง 2 วัน ทำให้พื้นที่โดยรอบโดนน้ำท่วมกันหมด เหลือแต่พื้นที่กิจกรรมที่สามารถรองรับผู้เข้าร่วมงานได้เกือบ 1,000 คน และทำกิจกรรมร่วมกันให้สำเร็จลุล่วงไปได้
และครั้งล่าสุดที่จัดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2561 ณ พื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีน่าน จ.น่าน บนพื้นที่ของนางสาววริศรา จันธี (กานต์) ผู้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่อุทยาน โดยมีนายบัณฑิต ฉิมชาติ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติศรีน่านเป็นแกนนำ ทำกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายจำนวน 329 คน เพื่อสร้างต้นแบบหลุมขนมครกบนพื้นที่สูง เป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ว่าคนกับป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
“เดิมทีชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ไม่ถูกกัน ผมจึงใช้แนวทางปลูกป่าในใจคน ตามพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยลงพื้นที่เข้าหาอย่างเป็นมิตร และทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ชวนให้ชาวบ้านปลูกข้าวแทนการกู้เงินมาซื้อข้าวกิน ซึ่งตอนนี้มีชาวบ้านเข้าอบรมและลงมือทำตามแล้ว 9 คน ยังมีชาวบ้านอีกส่วนหนึ่งสมัครใจลงชื่อเข้าอบรมและสนใจพร้อมลงมือทำตามหลายร้อยคน เพราะถ้าทุกคนทำตามศาสตร์พระราชาแล้ว ชาวบ้านก็สามารถพึ่งพาตนเองได้ ไม่ต้องบุกรุกป่า อุทยานก็จะได้พื้นที่ป่าเพิ่ม” นายบัณฑิต กล่าวทิ้งท้าย
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดโครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” เพิ่มเติมได้หลายช่องทาง อาทิ เฟซบุ๊ก: พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน, เว็บไซต์ https://ajourneyinspiredbytheking.org, Instagram: ajourneyinspiredbytheking, Line ID: @inspiredbytheking, YouTube: inspiredbytheking
นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า เนื่องในวันดินโลก พ.ศ.2561 ที่จะมาถึงในวันที่ 5 ธันวาคมนี้ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การสหประชาชาติ (UN) มีมติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานวันดินโลก เพื่อสืบสานศาสตร์พระราชา และน้อมสำนึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระอัจฉริยภาพด้านการพัฒนาดิน รวมทั้งสร้างความตระหนักด้านการจัดการทรัพยากรดินเพื่อความมั่นคงทางอาหารโลกอย่างยั่งยืน ด้วยแนวคิด ‘Be the solution to soil pollution’ เน้นเรื่องมลพิษทางดินซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหาร
“โครงการ ‘พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน’ เองมุ่งเน้นในการเผยแพร่ศาสตร์พระราชาในการจัดการดิน น้ำ ป่า ตลอด 6 ปีเต็มที่ผ่านมาและประสบความสำเร็จในการส่งเสริมให้ชุมชนทั้งในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำอื่นๆ ร่วมกันฟื้นฟูดิน ด้วยการสร้างหลุมขนมครกเพื่อกักเก็บน้ำ การปลูกหญ้าแฝกเพื่อฟื้นฟูดินและป้องกันดินพังทลาย ส่งเสริมการทำกสิกรรมธรรมชาติ ขับเคลื่อนการทำเกษตรอินทรีย์โดยให้ความรู้ในเรื่องการใช้สารชีวภาพทดแทนสารเคมีในการป้องกันแมลงที่เป็นศัตรูพืช การทำปุ๋ยชีวภาพ และการล้างพิษสารเคมีในดินด้วยน้ำหมักชีวภาพ เพิ่มความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เป็นการสร้างความยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร จึงนับว่าเป็นโครงการที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของวันดินโลกในปีนี้โดยตรง”
โครงการฯ ปีนี้ นับเป็นการสิ้นสุดการดำเนินงานในเฟสที่ 2 คือ ระยะของการแตกตัว ซึ่งในปีถัดไปโครงการฯ จะก้าวต่อไปสู่เฟสที่ 3 คือ การขยายผลเชื่อมโยงทั้งระบบ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย ยกระดับสู่การแข่งขัน วางรากฐานการพัฒนามนุษย์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติเชื่อมโยง 25 ลุ่มน้ำทั่วประเทศต่อไป
นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า โครงการฯ นี้ตอบโจทย์เรื่องของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายด้านสังคมขององค์กรที่มุ่งเน้นการสร้างคน องค์ความรู้ และจิตสำนึกที่ดี จึงทำงานร่วมกันมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังเห็นว่าศาสตร์พระราชานั้นพิสูจน์แล้วว่าแก้ปัญหาได้ในทุกพื้นที่หากลงมือทำจริง และสามารถสร้างต้นแบบและแรงบันดาลใจให้เกิดการขยายผลต่อไป
“เราทำโครงการนี้แบบค่อยเป็นค่อยไป คาดว่าใช้เวลาอย่างน้อย 9 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 ที่เป็นปีแรกที่เชฟรอนน้อมนำแนวพระราชดำริเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ในการจัดการดิน-น้ำ-ป่า-คน สู่การปฏิบัติ เพื่อหยุดท่วม หยุดแล้งอย่างยั่งยืน และขยายผลจากลุ่มน้ำป่าสักที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้ทรงริเริ่มไว้ ไปสู่ลุ่มน้ำอื่นๆ ทั่วประเทศ ในปีแรกๆ สิ่งที่เราทำเป็นเรื่องแปลกในสังคม วันนี้เราเห็นชุมชนที่พึ่งพาตนเองได้กระจายตัวทั่วประเทศ และมีคนสนใจแนวคิดนี้มากขึ้น เราจะยังทำงานร่วมกับพันธมิตร ลงมือและเรียนรู้ระหว่างทางไปตลอดว่าแบบไหนทำแล้วสำเร็จ หรือไม่สำเร็จ พอไปถึงจุดหนึ่งเราจะมองหาคอขวดตัวต่อๆ ไป” นายอาทิตย์กล่าว
และเพื่อเผยแพร่ตัวอย่างความสำเร็จและความรู้เกี่ยวกับศาสตร์พระราชา เชฟรอนได้รวบรวมข้อมูลในรูปแบบสปอต คลิปวิดีโอ และภาพอินโฟกราฟฟิกต่างๆ มาเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ครบทุกช่องทาง เฟซบุ๊ก:พลังคนสร้างสรรค์โลกรวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน, เว็บไซต์ https://ajourneyinspiredbytheking.org, Instagram: ajourneyinspiredbytheking, Line@ ID: @inspiredbytheking, YouTube: inspiredbytheking
สำหรับปีนี้ โครงการฯ ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานตามแนวคิด “แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี” โดยมีผู้ให้ความสนใจร่วมกิจกรรมรวมทั้งสิ้นถึง 2,510 คน เข้าร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมใน 4 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จันทบุรี สระบุรี และน่าน โดยแต่ละพื้นที่มีสภาพภูมิสังคมที่แตกต่างกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง “คนต้นแบบ” ที่หลากหลายให้ผู้คนมาเรียนรู้และส่งต่อแรงบันดาลใจต่อไป
ในปีนี้ กิจกรรมเอามื้อสามัคคีเริ่มต้นขึ้นที่ ฐานธรรมธุรกิจ พระราม 9 กรุงเทพมหานคร เมื่อเดือนเมษายน 2561 มีผู้เข้าร่วมงานเกือบ 300 คน นำโดย นายพิเชษฐ โตนิติวงศ์ ผู้จัดการธรรมธุรกิจ หนึ่งในผู้จัดตั้งฐานธรรมธุรกิจ กล่าวว่า “เราตั้งใจให้ที่นี่ เป็นตลาดกลางกระจายสินค้าของเครือข่ายจากทั่วประเทศ ในราคาเป็นธรรมต่อผู้ซื้อและผู้ผลิต และมีเป้าหมายในการสร้างให้เป็นศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชากลางเมืองหลวง โดยวางแผนจะขยายงานไปที่เชียงใหม่ และบ้านศรีฐาน ยโสธรในอนาคตด้วย”
ส่วนกิจกรรมครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่ บ้านสวนอิสรีย์เกษตรอินทรีย์และฟาร์มม้าเมืองจันท์ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ของนางแววศิริ ฤทธิโยธี เมื่อเดือนมิถุนายน 2561 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 500 คน โดยมุ่งให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์เพื่อความปลอดภัยของทั้งผู้ปลูกและผู้บริโภค พร้อมแนะแนวทางการรับรองมาตรฐาน PGS (Participatory Guarantee System) หรือ การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมคือเกษตรกรด้วยกันเองเป็นผู้ร่วมตรวจสอบ โดยอิงระบบการรับรองตามมาตรฐาน IFOAM : International Federation of Organic Agriculture Movements ซึ่งมีความซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า โดยได้รับเกียรติจาก นายธีระ วงษ์เจริญ ที่ปรึกษา รมช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานสภาเกษตรกร จ.จันทบุรี เข้าร่วมงาน ครั้งที่ 3 จัดขึ้นบนพื้นที่ 47 ไร่ ที่บ้านโคกสมอ อ.หนองแซง จ.สระบุรี เมื่อเดือนสิงหาคม 2561 มีเป้าหมายเพื่อสร้างชุมชนกสิกรรมวิถีในพื้นที่ของกลุ่มคนหลากหลายอาชีพที่มีแนวคิดเดียวกัน มาร่วมกันพัฒนาพื้นที่เกษตรตามแนวทางศาสตร์พระราชา
โดย บอย-พิษณุ นิ่มสกุล หนึ่งในเจ้าของพื้นที่ พร้อมด้วย นายบุญล้อม เต้าแก้ว คณะทำงาน มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ให้ข้อมูลว่า การออกแบบพื้นที่เป็นไปตามหลักภูมิสังคม คือตามวัตถุประสงค์และความต้องการของสมาชิก ซึ่งทำให้ได้พบกับบทพิสูจน์ว่า ศาสตร์พระราชาของในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นหนทางรอดที่แท้จริง จากเหตุการณ์ฝนตกหนักก่อนหน้าวันจัดกิจกรรมเพียง 2 วัน ทำให้พื้นที่โดยรอบโดนน้ำท่วมกันหมด เหลือแต่พื้นที่กิจกรรมที่สามารถรองรับผู้เข้าร่วมงานได้เกือบ 1,000 คน และทำกิจกรรมร่วมกันให้สำเร็จลุล่วงไปได้
และครั้งล่าสุดที่จัดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2561 ณ พื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีน่าน จ.น่าน บนพื้นที่ของนางสาววริศรา จันธี (กานต์) ผู้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่อุทยาน โดยมีนายบัณฑิต ฉิมชาติ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติศรีน่านเป็นแกนนำ ทำกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายจำนวน 329 คน เพื่อสร้างต้นแบบหลุมขนมครกบนพื้นที่สูง เป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ว่าคนกับป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
“เดิมทีชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ไม่ถูกกัน ผมจึงใช้แนวทางปลูกป่าในใจคน ตามพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยลงพื้นที่เข้าหาอย่างเป็นมิตร และทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ชวนให้ชาวบ้านปลูกข้าวแทนการกู้เงินมาซื้อข้าวกิน ซึ่งตอนนี้มีชาวบ้านเข้าอบรมและลงมือทำตามแล้ว 9 คน ยังมีชาวบ้านอีกส่วนหนึ่งสมัครใจลงชื่อเข้าอบรมและสนใจพร้อมลงมือทำตามหลายร้อยคน เพราะถ้าทุกคนทำตามศาสตร์พระราชาแล้ว ชาวบ้านก็สามารถพึ่งพาตนเองได้ ไม่ต้องบุกรุกป่า อุทยานก็จะได้พื้นที่ป่าเพิ่ม” นายบัณฑิต กล่าวทิ้งท้าย
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดโครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” เพิ่มเติมได้หลายช่องทาง อาทิ เฟซบุ๊ก: พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน, เว็บไซต์ https://ajourneyinspiredbytheking.org, Instagram: ajourneyinspiredbytheking, Line ID: @inspiredbytheking, YouTube: inspiredbytheking