ADS


Breaking News

ดาว ประกาศเดินหน้าแนวทางสนับสนุนการแก้ปัญหาขยะพลาสติก

ดาว ร่วมกับ เซอร์คูเลท แคปปิตอล และ องค์กรอนุรักษ์ท้องทะเล ดำเนินโครงการจัดการขยะพลาสติกที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
มิดแลนด์ มิชิแกน – 6 ธันวาคม 2561 - ดาว ประกาศเจตนารมณ์ในการลงทุนและพัฒนาโครงการแก้ไขปัญหาระดับโลก เพื่อการบริหารจัดการขยะพลาสติกที่ส่งผลกระทบมหาศาลต่อสิ่งแวดล้อม

ในการประชุม Our Ocean Conference ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ที่ผ่านมา ดาว ได้ประกาศโครงการความร่วมมือร่วมกับบรรดาแบรนด์ชั้นนำระดับโลกในการเป็นผู้ร่วมลงทุนก่อตั้งกองทุนขนาด 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ของ เซอร์คูเลท แคปปิตอล (Circulate Capital) บริษัทจัดการการลงทุนชั้นนำด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนด้านเงินทุนแก่บริษัท โครงการ และโครงสร้างพื้นฐานที่มีเป้าหมายเพื่อป้องกันปัญหาขยะพลาสติกในทะเล ในที่ประชุม ดาว ยังได้ประกาศเจตนารมณ์ของบริษัทฯ ในการบริจาคทุนทรัพย์เพิ่มเติมเป็นจำนวนหนึ่งล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้แก่องค์กรอนุรักษ์ท้องทะเล (Ocean Conservancy) ซึ่งเป็นองค์กรเครือข่ายอาสาสมัคร เพื่อช่วยกันทำความสะอาดทะเล ชายหาด และชายฝั่งทะเลต่าง ๆ ทั่วโลกเป็นระยะเวลาสองปี เพื่อใช้ในการสนับสนุนโครงการเก็บและรีไซเคิลขยะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เงินทุนเหล่านี้ยังจะนำไปใช้ในโครงการเสริมสร้างศักยภาพให้กับหน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไรและการสร้างความร่วมมือกับผู้นำชุมชนเมืองต่าง ๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานบริหารจัดการขยะที่ใช้ได้จริง

จิม ฟิทเทอร์ลิง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวว่า “ดาว ต้องการปูทางให้กับอุตสาหกรรมของเราในการนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ รวมถึงการสร้างความร่วมมือกันตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน การสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับสินค้าใหม่ ตลอดจนการผนึกกำลังของพนักงานและลูกค้า เพื่อหยุดปัญหาขยะพลาสติกที่หมุนเวียนอยู่ในสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ เราจะยังหาโอกาสในการทำงานร่วมกับพันธมิตรในอุตสาหกรรม เจ้าของแบรนด์ หน่วยงานราชการในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ รวมถึงหน่วยงานรัฐในระดับนานาชาติ หน่วยงานไม่แสวงผลกำไร และผู้บริโภค เพื่อให้แน่ใจว่าเราจะสามารถพัฒนาโซลูชั่นเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับพลาสติกได้อย่างแท้จริง”

เซอร์คูเลท แคปปิตอล
พันธกิจของเซอร์คูเลท แคปปิตอล คือการแสดงให้นักลงทุนสถาบันมองเห็นถึงคุณค่าของการลงทุนด้านการบริหารจัดการขยะและการรีไซเคิล เนื่องจากเงินทุนเหล่านี้เป็นที่ต้องการสำหรับการจัดตั้งบริษัทรีไซเคิลและการบริหารจัดการของเสีย รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่มีเป้าหมายเพื่อป้องกันปัญหาขยะตลอดทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากภูมิภาคเหล่านี้กำลังประสบปัญหาเรื่องขยะทางทะเลเป็นอย่างมาก อันมีสาเหตุหลักมาจากความขาดแคลนระบบโครงสร้างการจัดการขยะ โครงสร้างการลงทุนของเซอร์คูเลท แคปปิตอล จึงเป็นการหาแหล่งเงินทุนจากนักลงทุนสถาบันผ่านโครงสร้างทางการเงินที่ผสมผสานระหว่างกองทุนเพื่อสังคมและกองทุนเพื่อสาธารณกุศล โดยเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนตามอัตราตลาด เพื่อที่จะขจัดความเสี่ยงและแสดงให้นักลงทุนเห็นว่าการลงทุนในภาคการฟื้นฟูทรัพยากรสามารถสร้างผลกำไรที่ดีได้ โดยเซอร์คูเลท แคปปิตอล คาดว่าจะมีเงินทุนรวมราว 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากบริษัทด้านสินค้าผู้บริโภคและบริษัทเคมีภัณฑ์ระดับโลก

ดิเอโก โดโนโซ ประธานฝ่ายธุรกิจของ Dow Packaging and Specialty Plastics กล่าวว่า “ความร่วมมือของ ดาว ในครั้งนี้มีนัยสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการทำงานร่วมกับพันธมิตรที่มีเป้าหมายในการหาแนวทางการแก้ไขประเด็นปัญหาของโลกเฉกเช่นเดียวกับเรา การทำงานของเซอร์คูเลท แคปปิตอล มีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากจะทำให้ผู้คนในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากความขาดแคลนระบบโครงสร้างการจัดการขยะสามารถสร้างโซลูชั่นที่สามารถใช้งานและแก้ปัญหาได้จริงให้กับชุมชนของตน ซึ่งมีผู้คนมากมายที่มีความคิดที่ดีรวมถึงมีแรงขับเคลื่อนในการแก้ปัญหาขยะ และดาวก็รู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้”
องค์กรอนุรักษ์ท้องทะเล
องค์กรอนุรักษ์ท้องทะเลได้มีการทำงานเพื่อปกป้องท้องทะเลจากปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างในปัจจุบัน โดยทำงานร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรเพื่อสร้างโซลูชั่นทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยฟื้นฟูผืนทะเลให้กลับมาดีดังเดิม เพราะสัตว์ต่าง ๆ รวมถึงชุมชนจำเป็นต้องพึ่งสิ่งแวดล้อมที่ดี เงินทุนบริจาคจำนวนหนึ่งล้านเหรียญสหรัฐฯ ของดาว มีรากฐานมาจากการทำงนร่วมกันมากว่า 20 ปี ในโครงการทำความสะอาดชายหาดสากล (International Coastal Cleanup) โดย ดาว ร่วมกับองค์กรอนุรักษ์ท้องทะเลก่อตั้งกลุ่ม Trash Free Seas Alliance® (TFSA) ในปีพ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นการผนึกกำลังกันของภาคธุรกิจ ภาควิชาการ และหน่วยงานไม่แสวงผลกำไร เพื่อวิเคราะห์หาต้นตอของปัญหาที่สร้างมลภาวะด้านขยะพลาสติกที่กำลังคุกคามท้องทะเล

ไมค์ วิทท์ ผู้อำนวยการองค์กรด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับพลาสติกของดาว กล่าวว่า “ความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ อย่างเช่นองค์กรอนุรักษ์ท้องทะเล มีความสำคัญมากต่อพันธกิจของดาว ในการพัฒนาโซลูชั่นการจัดการพลาสติกครบวงจร โดยเราได้มีการเร่งสร้างนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนกระบวนการรีไซเคิล รวมถึงการสนับสนุนการนำกลับมาใช้ใหม่ และการใช้ทรัพยากรที่น้อยลง การลดปริมาณพลาสติกที่จำเป็นต้องใช้ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และการปรับปรุงการรีไซเคิลพลาสติก ขณะที่ยังคงคุณประโยชน์ที่จำเป็นของพลาสติก คือส่วนสำคัญของโซลูชั่นที่ ดาว ให้การสนับสนุนผ่านการค้นคว้าวิจัยและความร่วมมือดังกล่าว”
การประกาศความร่วมมือนี้ เป็นโครงการล่าสุดที่เพิ่มขึ้นจากโครงการต่าง ๆ ของดาว ที่ตอกย้ำเจตนารมณ์ในการสร้างความยั่งยืนให้พลาสติก ซึ่งโครงการอื่น ๆ ของดาว ประกอบด้วย
  • การทำงานร่วมกับภาครัฐ: เมื่อไม่นานมานี้ ดาว ได้ประกาศความร่วมมือกับเครือข่าย Global Plastic Action Partnership ซึ่งขับเคลื่อนโดยสภาเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจ ภาคประชาชน รัฐบาลระดับท้องถิ่นและระดับชาติ รวมไปถึงชุมชนต่าง ๆ และผู้เชี่ยวชาญระดับโลก เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก โดยเครือข่ายพันธมิตรนี้ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลแคนาดาและสหราชอาณาจักร รวมถึง ดาว และแบรนด์ชั้นนำอื่น ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโซลูชั่นที่แต่ละประเทศสามารถนำไปใช้ได้จริงภายในปี พ.ศ. 2563 โดยโครงการแรกจะเริ่มขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซีย
  • การเก็บขยะ: โครงการ #PullingOurWeight ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อฤดูใบไม้ร่วงที่ผ่านมา ได้รับความร่วมมือจากพนักงาน และครอบครัวกว่า 5,600 คน ทั่วโลกในกิจกรรมทำความสะอาดชายฝั่งและแม่น้ำลำคลองรวม 55 แห่ง ซึ่งสามารถเก็บขยะได้มากกว่า 52,000 ปอนด์  
  • เปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน: ดาว ริเริ่มโครงการ Hefty® EnergyBag® เมื่อหลายปีที่ผ่านมาเพื่อนำขยะพลาสติกที่รีไซเคิลได้ยากกลับมาใช้เป็นทรัพยากรที่คงคุณค่าต่อไป โดยนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี พ.ศ. 2561 โครงการ Hefty® EnergyBag® สามารถเก็บขยะมากกว่า 92 ล้านถุง หรือประมาณ 546 บาร์เรลของถังน้ำมันดีเซล โดยเมื่อไม่นานมานี้ ดาว ยังได้ประกาศมอบทุนทรัพย์จำนวนหนึ่งแสนเหรียญสหรัฐฯ ให้แก่องค์กรต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้พัฒนาโครงการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนต่อไป
  • การสร้างนวัตกรรมรีไซเคิล: นวัตกรรมผลิตภัณฑ์เป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญของความพยายามของดาวในการกำจัดขยะพลาสติกที่เล็ดลอดออกสู่สิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยี RecycleReady ของดาวทำให้ผู้ผลิตสามารถพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ได้คุณภาพตามข้อกำหนดของตรา “How2Recycle” ภายใต้โครงการของ Sustainable Packaging Coalition และเพื่อตอบโจทย์ความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลของตลาด โดยผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยี RecycleReady สามารถนำมารีไซเคิลในแบบเดียวกับการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ประเภทโพลีเอทิลีน เช่น การจัดให้มีจุดรับขยะพลาสติกในร้านขายของชำในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ดาว ยังดำเนินการค้นคว้าเทคโนโลยี compatibilizer ซึ่งจะช่วยให้สามารถรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ที่มีความหนาหลายชั้นให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ ดาว เพิ่งทำการสาธิตในโครงการ Virtuous Circle ที่แอฟริกาใต้ เป็นต้น
  • การลงทุนในโซลูชั่นด้านการรีไซเคิลและการบริหารจัดการขยะ: อีกหนึ่งโครงการที่ ดาว กำลังดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างธุรกิจรีไซเคิล และกลยุทธในการเติบโตทางธุรกิจเพื่อให้การรีไซเคิลพลาสติกสามารถสร้างผลกำไรได้อย่างยั่งยืน
  • ความร่วมมือกันตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน: ดาว เป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้ง Sustainable Packaging Coalition ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับเจ้าของแบรนด์และธุรกิจแปรสภาพบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มผลิตผลของพลาสติกที่สามารถนำมารีไซเคิลผ่านกระบวนการรีไซเคิลของฟิล์มโพลีเอทิลีนได้

###
เกี่ยวกับดาว
บริษัท ดาว เคมิคอล ผสานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาโซลูชั่นเกี่ยวกับวัสดุศาสตร์ชั้นนำ เพื่อความก้าวหน้าและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนในโลก ในฐานะที่เป็นผู้นำอุตสาหกรรม ดาว มีเครื่องมือที่ทันสมัย เทคโนโลยีประสิทธิภาพสูง เครือข่ายที่กว้างขวาง ความสามารถในการแข่งขันในหลากหลายแขนง เพื่อการตอบโจทย์ความท้าทายต่างๆ ของโลก กลุ่มผลิตภัณฑ์วัสดุขั้นสูงที่ใช้ในอุตสาหกรรมและธุรกิจพลาสติก ของ ดาว นำเสนอเทคโนโลยีและโซลูชั่นให้กับผู้บริโภคในตลาดที่มีการเติบโตสูง ได้แก่ ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ โครงสร้างพื้นฐาน และสินค้าอุปโภคบริโภค  ดาว เป็น บริษัทย่อยภายใต้การดำเนินกิจการในรูปแบบบริษัทผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (Holding Company) ดาวดูปองท์ (NYSE: DWDP) ประกอบด้วยบริษัท ดาว เคมิคอล และ ดูปองท์ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างบริษัทมหาชนที่เป็นผู้นำด้านเกษตรกรรม วัสดุศาสตร์และผลิตภัณท์พิเศษ ที่แข็งแกร่งและเป็นอิสระต่อกัน สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  www.dow.com