ATSI ให้วิสัยทัศน์ปักหมุดเป็น Change Agent ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้เติบโต แข็งแกร่ง
รองรับยุทธศาสตร์ชาติได้จริง พร้อมประกาศจัดงาน “Thailand Software Fair 2018”
ซึ่งจะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2561 เวลา 08.30 – 18.00 น. ณ C-Asean ชั้น 10 อาคาร CW
ซึ่งจะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2561 เวลา 08.30 – 18.00 น. ณ C-Asean ชั้น 10 อาคาร CW
สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย หรือ ATSI ย้ำถึงบทบาท ภารกิจ และยุทธศาสตร์ของสมาคมฯ ในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และนวัตกรรมดิจิทัล โดยพร้อมก้าวไปสู่ ATSI Change Agent ที่มุ่งเน้น Ecosystems, People Transformation, Digital Workforce ยกระดับการขับเคลื่อนบุคลากรในองค์กรธุรกิจ และภาคการศึกษา ในระดับชาติให้มากขึ้น เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติ ให้สัมฤทธิ์ผล โดยร่วมทำงานกับพันธมิตรอย่างใกล้ชิด พร้อมประกาศจัดงาน “Thailand Software Fair 2018” ซึ่งจะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2561 เวลา 08.30 – 18.00 น. ณ C-Asean ชั้น 10 อาคาร CW
นายทินกร เหล่าเราวิโรจน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย กล่าวถึงจุดประสงค์การจัดงาน “Thailand Software Fair 2018” ว่าเพื่อแสดงผลงานซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่นที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของภาครัฐและอุตสาหกรรมทั่วไป โดยเป็นการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ ให้มีข้อมูลเพื่อการใช้ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชั่นอย่างมีประสิทธิภาพและบูรณาการธุรกิจเพื่อเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ไทยได้มีเวทีนำเสนอผลงานแห่งความสำเร็จต่อกลุ่มเป้าหมาย และองค์กรพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน
ในวันจัดงานที่จะมีขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน 2561 โดยได้รับเกียรติจากท่านพลอากาศเอก ดร.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน และกล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “พลังซอฟต์แวร์ไทย ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล” ร่วมด้วยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ คุณมีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนและประธานโรงเรียนมีชัยพัฒนา กล่าวถึง “เส้นทางสายใหม่ของการศึกษาไทยในชนบท และความร่วมมือของ ATSI ด้านการส่งเสริมเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ประยุกต์”, คุณวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธานมูลนิธิอมตะ กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “วิสัยทัศน์ อมตะ คอร์ปอเรชั่น ต่ออุตสาหกรรม 4.0”, ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวถึง “depa กับการพัฒนากำลังคนของประเทศ เพื่อรองรับศตวรรษ21”, คุณนวชัย เกียรติก่อเกื้อ Head of Enterprise Marketing Management Unit Enterprise Marketing Management บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด กล่าวถึง “SME Digital Transformation by AIS”, คุณเจษฎา วานิชสัมพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจซอฟต์แวร์บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวถึง “บทบาท E-Tax Invoice กับ Business Transformation – ของ SMEs ไทย” และคุณเกรียงไกร สุทธินราธร กรรมการบริหารสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย กล่าวถึง “การเลือกและลงทุนด้านซอฟต์แวร์แบบเจาะลึก !! (ROI/TCO) พร้อม Business ROI Showcase in action”
“นับจากนี้ไป ATSI จะทำงานอย่างมุ่งมั่น ในทิศทางของการก้าวไปสู่การเป็น Change Agent ที่มุ่งสร้าง Ecosystems, People Transformation, Digital Workforce เพื่อขับเคลื่อนองค์กรต่าง ๆ ในระดับชาติมากขึ้น โดยทำงานร่วมกับสมาชิก และพันธมิตรภาคธุรกิจด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ผนวกกับโมเดลธุรกิจแบบใหม่ เพื่อผลักดันและส่งเสริมให้ทุกธุรกิจเปลี่ยนตนเองเป็นธุรกิจดิจิทัล ให้สำเร็จภายใน 2 ปีข้างหน้า” นายทินกร กล่าว
นางสาวยุวดี แซ่โก่ย เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย หรือ ATSI กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดงาน “Thailand Software Fair 2018” ได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรทั้งจากภาครัฐและเอกชน รวบรวมเทคโนโลยีซอฟต์แวร์พื้นฐานเพื่อธุรกิจทุกระดับ และนวัตกรรมเด่น ผลงานโดยคนไทย มาแสดงในงาน อาทิ Digital Transformation Solution สำหรับ SMEs by AIS, บทบาท E-TAX Invoice กับ Business Transformation ของ SMEs ไทย โดยบริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย จำกัด, ทางออกเรื่องเงินทุนสำหรับ SME ด้วยโครงการเงินกู้ พร้อมดอกเบี้ยพิเศษเป้ารวม 100 ล้านบาท จาก ธพว. หรือเอสเอ็มอี ดีแบงค์, SMEs รับสิทธิส่วนลดสำหรับการซื้อซอฟต์แวร์มูลค่าสูงสุด 10,000 บาท ในโครงการ depa Mini-Transformation Voucher จำนวน 400 ทุน มูลค่ารวม 4 ล้านบาท และยังมีตัวอย่างความสำเร็จของการปรับตัวเข้าสู่การเป็น Leadership Digital Entrepreneur อีกด้วย
ทั้งนี้ การแสดงโซลูชั่นในงาน “Thailand Software Fair 2018” แบ่งพื้นที่ไปตามคลัสเตอร์ สำหรับธุรกิจขนาดกลางและย่อมในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย
การออกบูธของผู้สนับสนุนโครงการทั้งในส่วนภาครัฐและเอกชนที่มีเป้าหมายให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ของไทยก้าวสู่ตลาดโลกอย่างภาคภูมิใจ
การจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อได้มาพบกับผู้ผลิตซอฟต์แวร์ เพื่อการมีส่วนร่วม ในเชิงธุรกิจทั้งในปัจจุบันและอนาคต
การเสวนาที่น่าสนใจสำหรับกลุ่ม SME โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมากประสบการณ์และได้รับการยอมรับ ในวงการ
Software Clinic มุมให้คำปรึกษาการเลือกซอฟต์แวร์หรือระบบที่เหมาะกับธุรกิจ โดยผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมฯ และหน่วยงานพันธมิตร