หัวจ๋า….ผมลาก่อน
รศ.นพ.ป่วน สุทธิพินิจธรรม
นายกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่ งประเทศไทย
ในปัจจุบัน มีศูนย์ สถาบัน คลินิก ดูแลเส้นผม ให้คำปรึกษาด้านเส้นผมเกิดขึ้ นหลายแห่งทั้งในห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล หรือศูนย์เส้นผมต่างๆ ทุกแห่งต่างประกาศตัวว่ าสามารถช่วยแก้ไขปัญหาให้เส้ นผมกลับมาดกดำได้ทุกรูปแบบ แถมบางแห่งยังรับรองผล 100 เปอร์เซ็นต์ ก็มีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ก่อนที่จะเลือกรับการบริ การหรือการรักษาด้วยวิธีใด ๆ สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่ งประเทศไทยอยากให้ท่านได้ลองศึ กษารายละเอียดเรื่องเส้นผมดูก่ อน เพื่อเลือกตัดสินใจ เข้ารับการรักษา เพราะการเข้ารับการรักษาอาจต้ องเสียค่าใช้จ่ายในราคาที่สู งจนน่าตกใจ
เส้นผมบนศีรษะคนเรามีอยู่ประมาณ 100,000 เส้น จำนวน 90 % อยู่ในระยะเจริญเติบโตจะแบ่งตั วสร้างเส้นผมนาน 3-6 ปี อีก 10 % อยู่ในระยะหยุดโตประมาณ 10,000 เส้น เมื่อหยุดโตเส้นผมจะยังคงอยู่ บนศีรษะอีก 100 วันแล้วจะค่อยๆหมุนเวียนหลุ ดไปแล้วจะกลับเข้าสู่ระยะเจริ ญเติบโตใหม่ ดังนั้นคนทุกคนจะมีผมร่วงได้วั นละ 100 เส้น ในวันที่สระผม เส้นผมก็จะร่วงมากกว่าวันปกติ
สาเหตุของผมร่วง เกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ 1.เผ่าพันธุ์ เพศและอายุ 2.เชื้อโรคที่เล่นงานเส้ นผมโดยตรงหรือเป็นผลทางอ้อม เช่น เป็นโรคติดเชื้อที่อวัยวะอื่น แล้วทำให้เกิดผมร่วงผิดปกติ ตามมาภายหลังนาน 3 เดือน 3.สารเคมี เช่น ยาชนิดต่าง ๆ สารพิษปนเปื้อนในอาหารและน้ำ 4.โรคตามระบบต่าง ๆ เช่น โรคไตวาย โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ และ 5.จิตใจเศร้าหมองอย่างรุ นแรงและเฉียบพลันจนถึงตกใจอย่ างรุนแรง เช่น ถูกผีหลอกทำให้ผมร่วงหัวโกร๋ นได้ เป็นต้น
สาเหตุของผมร่วง เกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ 1.เผ่าพันธุ์ เพศและอายุ 2.เชื้อโรคที่เล่นงานเส้
คำถามมีอยู่ว่าจะรู้ได้อย่ างไรว่าผมร่วงมากผิดปกติ ? ผมร่วงนั้นเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าผมหลุดร่วงมากเกิน 100 เส้นต่อวันติดต่อกันนานหลาย ๆ วัน แสดงว่ามีผมร่วงผิดปกติ ซึ่งต้องมาสืบหาเหตุและปัจจัยที่ เกี่ยวข้อง ภาวะผมร่วงและผมบางลงหรื อภาวะผมร่วงเป็นหย่อมเฉพาะที่ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1.ภาวะผมร่วงเป็นหย่อม
2.ภาวะผมร่วงทั่วศีรษะ
ทั้ง 2 ภาวะ สามารถแบ่งแยกย่อย ได้ดังนี้
1.1. ผมร่วงหย่อมเฉพาะที่ชนิดไม่มี แผลเป็นที่หนังศีรษะ ที่พบบ่อย ๆ ได้แก่
1.1.1.ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ จากเชื้อราพบมากในเด็ก ลักษณะผมจะร่วงเป็นกระจุก ผิวหนังในบริเวณที่ผมร่วงจะมีขุ ยหรือสะเก็ดบางครั้งจะมีผื่นแดง จะวินิจฉัยได้แน่นอนต้ องตรวจพบสายราจากขุยหรือเส้ นผมที่ศีรษะ การรักษาต้องใช้ยารับประทาน ยาทาไม่สามารถกำจัดเชื้อราได้ หมด
1.1.1.ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ จากเชื้อราพบมากในเด็ก ลักษณะผมจะร่วงเป็นกระจุก ผิวหนังในบริเวณที่ผมร่วงจะมีขุ
1.1.2. ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ จากการดึงผมตนเอง พบมากในเด็กที่มีความเครี ยดและเมื่อไม่มีทางระบายออกจึ งดึงผมตนเอง เมื่อใช้มือลองดึงเส้นผมดู เส้นผมจะไม่หลุดติดมือออกมาง่าย ๆ เหมือนโรคผมร่วงจากเชื้อรา การรักษาต้องอาศัยความเข้าใจถึ งสาเหตุของโรคและเข้าใจปั ญหาของผู้ป่วย อาจต้องปรึกษาจิตแพทย์ร่ วมในกระบวนการดูแลรักษาด้วย นอกจากนี้การทายาครีมสเตียรอยด์ ร่วมกับรับประทานยาต้านฮีสตามีน จะช่วยให้อาการดีขึ้น
1.1.3. ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ จากโรคภูมิแพ้รากผม ( alopecia areata) จะมีภาวะระบบภูมิคุ้มกันร่ างกายรวน มีเซลล์เม็ดเลื อดขาวมารบกวนรากผมทำให้เซลล์ รากผมหยุดทำงาน เส้นผมจะหายไปเป็นหย่อม ๆ ผิวหนังบริเวณที่ไม่มีเส้ นผมจะเรียบไม่พบตอ เส้นผมหักหรือเป็นตุ่มที่ผิวหนั ง วิธีการรักษาใช้ยาสเตียรอยด์ทา กินหรือฉีดเข้าบริเวณที่ผมหลุ ดร่วงไป เมื่อได้ผลแล้วต้องใช้ยาต่อไป เพราะถ้าหยุดยาผมที่งอกขึ้ นมาจะกลับบางลงเหมือนเดิม (ภาวะนี้จะแตกต่างจาก 2 โรคข้างต้น โดยทั่วไปอาจพบผมหลุดร่วงเป็ นหย่อมเดียวหรือหลายหย่อม ในรายที่อาการรุนแรงผมจะร่วงทั้ งศีรษะ (alopecia totalist) และถ้ารุนแรงที่สุดผมและขนตามตั วจะร่วงหมดเหมือนพญาไร้ใบ (alopecia universalis) การรักษาควรปรึกษาแพทย์
1.2. ภาวะผมร่วงเป็นหย่อมชนิดที่มี แผลเป็นบนหนังศีรษะ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคฝีหนองบนศีรษะ เชื้อกลากที่ศีรษะชนิดที่มี การอักเสบรุนแรง แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โรค ดี.แอล.อี ที่หนังศีรษะ ส่วนใหญ่รากผมจะถูกทำลายอย่ างมาก จนไม่สามารถสร้างเส้นผมใหม่ขึ้ นมาทดแทนเส้นผมเดิมได้และเกิดพั งผืดในชั้นหนังแท้ร่วมด้วยการรั กษาควรปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิ จฉัยที่ถูกต้องก่อนให้การรั กษาด้วยยา
2..ภาวะผมร่วงทั่วศีรษะ ที่พบบ่อย ๆ คือ
2..ภาวะผมร่วงทั่วศีรษะ ที่พบบ่อย ๆ คือ
2.1. ภาวะผมร่วงจากพิษไข้ (Telogeneffluvium) คนกลุ่มนี้เส้นผมบนศีรษะเปลี่ ยนจากระยะเติบโตไปเป็นระยะหยุ ดเจริญเติบโต ผมจึงหลุดร่วงมากผิดปกติ เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคติดเชื้อชนิดต่าง ๆทำให้ร่างกายมีไข้สูง เช่น ไข้ไทฟอยด์ ไข้มาลาเรีย ไข้หวัดที่มีไข้ติดต่อกันหลายวั น ยาชนิดต่าง ๆ เช่น ยากลุ่มอนุพันธุ์วิตามินเอ นอกจากนี้ยังพบในสตรีหลังคลอดบุ ตรภาวะเครียดหรือตกใจอย่างรุ นแรง อาการผมร่วงจะค่อย ๆ ดีขึ้นเองภายในเวลา 1 ถึง 2 เดือน
2.2. ภาวะผมร่วงทั่วศีรษะจากการติ ดเชื้อซิฟิลิสระยะที่ 2 ผมจะร่วงเป็นหย่อม ๆ ทั่วศีรษะคล้ายมอดแทะ การวินิจฉัยที่แน่นอนต้องอาศั ยการตรวจเลือดหา VDRL
2.3. ภาวะผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์ โมนเพศ จะเกิดอาการรากผมค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงจากผมเส้นใหญ่เป็ นผมเส้นเล็ก ถ้าเกิดในผู้ชาย ผมจะบางลงมากในบริเวณกลางศีรษะ ส่วนผู้หญิง ผมจะบางลงบริเวณกลางศีรษะเช่ นเดียวกัน แต่จะไม่ล้านเตียนโล่งแบบผู้ชาย การรักษา ภาวะผมบางชนิดนี้จะใช้ยาปลู กผมซึ่งมีหลายชนิดทั้งชนิดทา และรับประทาน (ชนิดรับประทานแต่ไม่เหมาะกับผู้ หญิงเพราะเมื่อรับประทานแล้ วจะทำให้ขนขึ้นตามตัว มีหนวดเครายาวผิดปกติ ผู้หญิงจึงควรใช้ยาปลูกผมชนิดนี้ เพื่อทาเท่านั้น) ปัจจุบันมียากลุ่มนี้ 2 ชนิด คือ Minoxidil และ Fenesteride
2.4. ภาวะผมร่วงจากการรับประทานยาขั บปัสสาวะ (Spironolactone) ยาขับปัสสาวะชนิดนี้ จะใช้ลดความดันโลหิตและความดั นในลูกตามีฤทธิ์ต้ านการทำงานของฮอร์โมน androgen ทำให้เส้นผมไม่เปลี่ยนเป็ นขนาดเล็ก ซึ่งต้องระมัดระวังการใช้ยาชนิ ดนี้เพื่อป้องกันการเกิดผลข้ างเคียงของยา จึงควรได้รับการดูแลจากแพทย์
เมื่อมีความรู้ความเข้ าใจพอควรแล้วก็เชิญเลือกผู้ดู แลรักษาเส้นผมของท่านตามปรารถนา