คณะผู้แทนไทยจาก พม. เข้าร่วมการประชุมเอเปกด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี 2561
ในวันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2561 ระหว่างเวลา 09.00 – 18.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของรัฐเอกราชปาปัวนิวกินี พล.ต.ท. ปิยะ สอนตระกูล คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ได้เข้าร่วมการประชุมระดับผู้กำหนดนโยบายด้านสตรีและเศรษฐกิจ (High-Level Policy Dialogue on Women and the Economy: HLPD on WE) โดยมี นางพรสม เปาปราโมทย์ รองอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว พร้อมด้วย นางสาวสิริวรรณ เย็นตั้ง ผู้อำนวยการกองส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และคณะเข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่งการประชุมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมเอเปกด้านสตรีและเศรษฐกิจ (APEC Women and the Economy Forum – WEF) ประจำปี 2561 ณ กรุงพอร์ตมอร์สบี รัฐเอกราชปาปัวนิวกินี
การประชุมระดับผู้กำหนดนโยบายด้านสตรีและเศรษฐกิจในครั้งนี้ รัฐเอกราชปาปัวนิวกินี เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม โดยกำหนดหัวข้อหลัก คือ การเปิดโอกาสสำหรับสตรีและเด็กหญิงให้มีความก้าวหน้าในยุคดิจิทัล (Seizing Opportunities for Women and Girls to Advance in the Digital Age) มีประเด็นสำคัญ 4 ประเด็น ได้แก่ 1) การเสริมสร้างบทบาทสตรีให้มีส่วนร่วมในเศรษฐกิจดิจิทัล (Empowering Women to Participate in the Digital Economy) 2) การคำนึงถึงความเท่าเทียมระหว่างเพศและการเสริมพลังอำนาจในฐานะตัวเร่งการเจริญเติบโตในทุกภาคส่วน (Gender Inclusion and Empowerment : A Catalyst for growth in all sectors) 3) การมีภาวะผู้นำ (Leadership) และ 4) การสร้างความเป็นหุ้นส่วนและการลดช่องว่าง (Forging Partnerships, Narrowing the Gap) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมจาก 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไนดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม
คณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมโดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นการแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการดำเนินการของไทยที่สำคัญในกรอบเอเปกด้านการเสริมสร้างบทบาทสตรีให้มีส่วนร่วมในเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีประเด็นที่ไทย หยิบยก ได้แก่ การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสตรีเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 การดำเนินนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” การพัฒนากฎระเบียบ ความเชื่อมโยงทางดิจิทัล ตลอดจนความเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการสตรีอาเซียนเพื่อเป็นโมเดลให้สมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปกได้นำไปขยายผลและปรับใช้ นอกจากนั้น ได้แลกเปลี่ยนกันในประเด็นการส่งเสริมสตรีให้เข้าถึงแหล่งทุน เข้าถึงการตลาด ส่งเสริมความเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และรายย่อย (MSMEs) และการเพิ่มขีดความสามารถสตรีให้เป็นนักนวัตกรรม และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
พล.ต.ท. ปิยะ สอนตระกูล กล่าวว่า "การเข้าร่วมประชุมระดับผู้กำหนดนโยบายด้านสตรีและเศรษฐกิจในครั้งนี้ ได้มีการรับรองถ้อยแถลง (statement) ตามหัวข้อหลัก คือ การเปิดโอกาสสำหรับสตรีและเด็กหญิงให้มีความก้าวหน้าในยุคดิจิทัล “Seizing Opportunities for Women and Girls to Advance in the Digital Age” ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการเพิ่มบทบาทของสตรีให้มีส่วนร่วมในเศรษฐกิจดิจิทัล การคำนึงถึงเพศภาวะ และการเพิ่มขีดความสามารถทางเพศภาวะโดยเน้นการเร่งให้มีการเจริญเติบโตในทุกภาคส่วน รวมถึง การสร้างภาวะผู้นำ และมุ่งแสวงหาความเป็นหุ้นส่วน และการลดช่องว่างเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสตรีให้มากยิ่งขึ้นในเขตเศรษฐกิจเอปก ซึ่งมีประชากรรวมกันมากกว่า 2.8 พันล้านคน ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) รวมกันกว่าร้อยละ 59 ของ GDP โลก สัดส่วนการค้าระหว่างกันคิดเป็นร้อยละ 48 ของมูลค่าการค้าโลก ทั้งนี้ สัดส่วนการค้าระหว่างไทยกับสมาชิกเอเปกสูงถึง ร้อยละ 70 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของไทย"
การประชุมระดับผู้กำหนดนโยบายด้านสตรีและเศรษฐกิจในครั้งนี้ รัฐเอกราชปาปัวนิวกินี เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม โดยกำหนดหัวข้อหลัก คือ การเปิดโอกาสสำหรับสตรีและเด็กหญิงให้มีความก้าวหน้าในยุคดิจิทัล (Seizing Opportunities for Women and Girls to Advance in the Digital Age) มีประเด็นสำคัญ 4 ประเด็น ได้แก่ 1) การเสริมสร้างบทบาทสตรีให้มีส่วนร่วมในเศรษฐกิจดิจิทัล (Empowering Women to Participate in the Digital Economy) 2) การคำนึงถึงความเท่าเทียมระหว่างเพศและการเสริมพลังอำนาจในฐานะตัวเร่งการเจริญเติบโตในทุกภาคส่วน (Gender Inclusion and Empowerment : A Catalyst for growth in all sectors) 3) การมีภาวะผู้นำ (Leadership) และ 4) การสร้างความเป็นหุ้นส่วนและการลดช่องว่าง (Forging Partnerships, Narrowing the Gap) ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมจาก 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไนดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม
คณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมโดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นการแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการดำเนินการของไทยที่สำคัญในกรอบเอเปกด้านการเสริมสร้างบทบาทสตรีให้มีส่วนร่วมในเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีประเด็นที่ไทย หยิบยก ได้แก่ การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสตรีเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 การดำเนินนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” การพัฒนากฎระเบียบ ความเชื่อมโยงทางดิจิทัล ตลอดจนความเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการสตรีอาเซียนเพื่อเป็นโมเดลให้สมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปกได้นำไปขยายผลและปรับใช้ นอกจากนั้น ได้แลกเปลี่ยนกันในประเด็นการส่งเสริมสตรีให้เข้าถึงแหล่งทุน เข้าถึงการตลาด ส่งเสริมความเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และรายย่อย (MSMEs) และการเพิ่มขีดความสามารถสตรีให้เป็นนักนวัตกรรม และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
พล.ต.ท. ปิยะ สอนตระกูล กล่าวว่า "การเข้าร่วมประชุมระดับผู้กำหนดนโยบายด้านสตรีและเศรษฐกิจในครั้งนี้ ได้มีการรับรองถ้อยแถลง (statement) ตามหัวข้อหลัก คือ การเปิดโอกาสสำหรับสตรีและเด็กหญิงให้มีความก้าวหน้าในยุคดิจิทัล “Seizing Opportunities for Women and Girls to Advance in the Digital Age” ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการเพิ่มบทบาทของสตรีให้มีส่วนร่วมในเศรษฐกิจดิจิทัล การคำนึงถึงเพศภาวะ และการเพิ่มขีดความสามารถทางเพศภาวะโดยเน้นการเร่งให้มีการเจริญเติบโตในทุกภาคส่วน รวมถึง การสร้างภาวะผู้นำ และมุ่งแสวงหาความเป็นหุ้นส่วน และการลดช่องว่างเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสตรีให้มากยิ่งขึ้นในเขตเศรษฐกิจเอปก ซึ่งมีประชากรรวมกันมากกว่า 2.8 พันล้านคน ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) รวมกันกว่าร้อยละ 59 ของ GDP โลก สัดส่วนการค้าระหว่างกันคิดเป็นร้อยละ 48 ของมูลค่าการค้าโลก ทั้งนี้ สัดส่วนการค้าระหว่างไทยกับสมาชิกเอเปกสูงถึง ร้อยละ 70 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของไทย"