ADS


Breaking News

โรงพยาบาลพระรามเก้า พร้อมก้าวไปข้างหน้าเพื่ออนาคต รีแบรนด์ใหม่-ปรับกลยุทธ์ธุรกิจครั้งใหญ่ สู่ “โปรเฟสชั่นแนลเฮลท์แคร์คอมมูนิตี้”

ลงทุนก่อสร้างอาคารใหม่และปรับปรุงอาคารปัจจุบัน
รับการขยายตัวของผู้ใช้บริการ
ขยายขอบเขตบริการและความเชี่ยวชาญ

ในการส่งเสริมสุขภาพครบวงจร
ปรับแนวทางสู่โรงพยาบาลดิจิตอล
เพื่อเสริมความสามารถในการแข่งขัน
จับดีมานด์สังคมรักสุขภาพ
โรงพยาบาลพระรามเก้า หนึ่งในโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำของประเทศไทย ประกาศปรับภาพลักษณ์องค์กร (Rebranding) และกลยุทธ์ทางธุรกิจเป็นครั้งแรกในรอบ 26 ปี พร้อมประกาศจุดยืน (Brand Positioning) ใหม่ในฐานะ “โปรเฟสชันแนลเฮลท์แคร์คอมมูนิตี้” (Professional Healthcare Community) ศูนย์รวมเพื่อสุขภาพและการใช้ชีวิตที่พร้อมมอบบริการบำรุงรักษาสุขภาพในแบบฉบับมืออาชีพแก่คนทุกวัยทุกไลฟ์สไตล์ ในรูปแบบของ “Co-healthy Space” ที่มีบรรยากาศอบอุ่น ผ่อนคลาย เป็นมิตร และทันสมัย พร้อมเสริมความแข็งแกร่งให้กับแบรนด์ด้วยการสร้าง Brand Loyalty ครองใจผู้ใช้บริการเดิม และออกกลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนผ่านการขยายฐานลูกค้าทั้งกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย บุคคลที่ใส่ใจและดูแลสุขภาพ ไปจนถึงผู้ป่วยโรคซับซ้อน ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าที่โรงพยาบาลฯ มีความชำนาญในการรักษา ด้วยบริการทางการแพทย์ระดับสากลที่รับรองโดย JCI และการทำงานร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรกับโรงพยาบาลทั่วประเทศ
นายแพทย์เสถียร ภู่ประเสริฐ รองประธานกรรมการ กรรมการบริหาร และกรรมการผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระรามเก้า เผยปัจจัยแห่งความสำเร็จของโรงพยาบาลพระรามเก้าตลอดระยะเวลา 26 ปีที่เปิดให้บริการว่า “โรงพยาบาลพระรามเก้าได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้บริการมาอย่างยาวนาน เพราะมีจุดแข็งทั้งความโดดเด่นของสถาบันทางการแพทย์และศูนย์การแพทย์ เช่น สถาบันโรคไตและเปลี่ยนไตพระรามเก้า สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก รวมถึงศักยภาพในการรักษาโรคซับซ้อนด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งล่าสุดประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนไตให้ผู้ป่วยอายุ 80 ปี นอกจากนี้ โรงพยาบาลฯ ยังมีความพร้อมในด้านอุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพในอัตราค่าบริการที่สมเหตุสมผลและคุ้มค่า (Value for Money) และสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลฯ ในย่านศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ (New Central Business District: New CBD) ที่แวดล้อมด้วยชุมชนขนาดใหญ่หลายพื้นที่ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดศูนย์รวมการเดินทางที่สำคัญของกรุงเทพฯ และเป็นทำเลที่มีศักยภาพ จากการเพิ่มขึ้นของอาคารสำนักงานและโครงการอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง”
ทั้งนี้ ปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้โรงพยาบาลฯ มีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยโรงพยาบาลพระรามเก้าได้รับความนิยมจากทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยเฉพาะชาวเมียนมาและกัมพูชา ตลอดจนกลุ่มชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนหรือทำงานในประเทศไทย โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นและชาวจีนที่นิยมเข้ามาอาศัยในบริเวณใกล้เคียงที่ตั้งของโรงพยาบาลฯ
“เมื่อพิจารณาจุดแข็งทั้งหมดประกอบกับสภาวะต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมโรงพยาบาลในประเทศไทย ทั้งสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (อ้างอิงจากข้อมูลในปี 2557) ที่ร้อยละ 4.1 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.8 สะท้อนว่ายังมีโอกาสการเติบโตอีกในอนาคต ทิศทางการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้ด้วยจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นจาก 10.4 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 15.9 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ในปี 2558 เป็น 20.5 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 32.1 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ในปี 2583 อัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคร้ายแรงที่เพิ่มขึ้นจากรูปแบบการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง ความต้องการด้านบริการสุขภาพที่เพิ่มขึ้นทั้งจากชาวไทยและชาวต่างชาติ และการผลักดันของรัฐบาลเพื่อให้ไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของโลก ทำให้โรงพยาบาลฯ เล็งเห็นถึงโอกาสขยายตัวทางธุรกิจในอนาคต และมุ่งมั่นที่จะเป็นศูนย์รวมด้านการดูแลสุขภาพที่ทันสมัยและได้รับความไว้วางใจมากที่สุด” นายแพทย์เสถียร กล่าวเสริม
นายแพทย์สุธร ชุตินิยมการ รองกรรมการผู้อำนวยการ (ฝ่ายบริหาร) และรักษาการรองกรรมการผู้อำนวยการ (ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ) โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวถึงกลยุทธ์เพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจของโรงพยาบาลพระรามเก้าว่า “เพื่อคว้าโอกาสในการเติบโตของอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ โรงพยาบาลพระรามเก้าได้เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันเพื่อขยายฐานผู้ใช้บริการ โดยปรับทิศทางการดำเนินธุรกิจ จากการเป็นโรงพยาบาลที่มอบบริการดูแลรักษาผู้ป่วยในระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) ซึ่งเป็นการดูแลผู้ป่วยในระยะที่อาการรุนแรงแล้ว สู่การเป็น Professional Healthcare Community ที่มอบบริการการดูแลสุขภาพและการรักษาพยาบาลแบบองค์รวมอย่างเต็มรูปแบบและไร้รอยต่อในทุกขั้นตอน เพื่อเป็นคอมมูนิตี้สำหรับผู้ที่ใส่ใจสุขภาพใจกลางเมือง ที่สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และความต้องการของทุกคน”
5 กลยุทธ์หลักดังกล่าวที่โรงพยาบาลพระรามเก้าใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจ ประกอบด้วย
1. ขยายเครือข่ายพันธมิตรและความร่วมมือทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันโรงพยาบาลพระรามเก้ามีโรงพยาบาลพันธมิตรทั้งหมด 9 แห่งในประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ในหลายภูมิภาคของประเทศ ทั้งจังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานี จันทบุรี ตรัง อุบลราชธานี ชุมพร และนครสวรรค์ โดยโรงพยาบาลที่ร่วมเป็นพันธมิตรจะทำการส่งต่อผู้ป่วยโรคไตมาที่โรงพยาบาลพระรามเก้าเพื่อเข้ารับการรักษาที่มีคุณภาพและผ่านการรับรองเฉพาะทางในด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยเปลี่ยนไต จากมาตรฐานระดับโลก “JCI” นอกจากนี้ ยังมีการร่วมมือกับพันธมิตรในต่างประเทศเพื่อส่งผู้ป่วยเข้ามารักษาที่โรงพยาบาลพระรามเก้า โดยมีสถาบันทางการแพทย์และศูนย์การแพทย์ที่โดดเด่นและบริการทางการแพทย์ที่หลากหลายเป็นปัจจัยดึงดูด
2. ทุ่มงบกว่า 2,000 พันล้านบาท สร้างอาคารใหม่สูง 16 ชั้น อาคารใหม่ของโรงพยาบาลฯ จัดสร้างขึ้นภายใต้แนวคิดCo-Healthy Space เพื่อรองรับการขยายขอบเขตบริการทางการแพทย์และจำนวนผู้ใช้บริการที่เติบโตสูงขึ้น โดยอาคารแห่งนี้จะเป็นศูนย์รวมทางการแพทย์ที่มีเครื่องมือทันสมัย ให้บริการระดับพรีเมี่ยม ทั้งในด้านการดูแลสุขภาพรักษาพยาบาล และบริการด้านไลฟ์สไตล์ เช่น ร้านค้าเพื่อสุขภาพและความงาม ส่วนจัดแสดงนิทรรศการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและ Co-working Space ขณะนี้อาคารใหม่อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง และคาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการภายในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2562 ขณะเดียวกัน โรงพยาบาลฯ ยังมีแผนการปรับปรุงอาคารปัจจุบัน ให้มีบรรยากาศทันสมัยและรองรับผู้ป่วยได้มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคซับซ้อน และผู้ป่วยภาวะวิกฤติ (ICU และ CCU) โดยคาดว่าจะสามารถเพิ่มจำนวนเตียงจดทะเบียน จาก 166 เตียงในปัจจุบัน เป็นประมาณ 313 เตียงได้ในปี 2565
3. ขยายขอบเขตการให้บริการ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion & Wellness)
โรงพยาบาลฯ จะขยายขอบเขตในการบริการให้ครอบคลุมไปถึง การส่งเสริมสุขภาพ การตรวจหาโรค
การประเมินความเสี่ยงและลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพ การบำบัดฟื้นฟูหลังอาการป่วย ไปจนถึงบริการด้านสุขภาพอื่นๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพ โดยจะดำเนินการต่าง ๆ เช่น จัดตั้งศูนย์สุขภาพเส้นผม ศูนย์ผิวหนังและศัลยกรรมความงาม ศูนย์รักษาอาการปวดและเวชศาสตร์ฟื้นฟู
ศูนย์ตรวจสุขภาพครบวงจรที่พร้อมให้บริการตรวจสุขภาพในทุกช่วงอายุ รวมไปถึงยกระดับแนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งให้เป็นการดูแลแบบองค์รวม
4. เดินหน้าสู่การเป็นโรงพยาบาลดิจิตอล (Digital Hospital) ด้วยการบูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับบริการทางการแพทย์และกระบวนการทำงานภายในโรงพยาบาล โรงพยาบาลฯ จะนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทางการแพทย์และกระบวนการทำงานพร้อมทั้งอำนวยความสะดวก เพิ่มความปลอดภัย และสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้ป่วย โดยปัจจุบันกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาและพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพและอุปกรณ์ที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยและติดตามการรักษาผู้ป่วยในรูปแบบที่เรียกว่า “ดิจิตอลเฮลท์” (Digital Health) เช่น โมบายแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ป่วย (Praram 9 Patient Mobile Application) ห้องระบบศูนย์บัญชาการควบคุม (Command Center) อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถใส่ติดตัว (Medical Wearable Device) ที่เสริมความสามารถในการติดตามสถานการณ์ ดูแลป้องกันและเตรียมพร้อมการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที รวมไปถึงการให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องสุขภาพและการรักษาเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ระยะไกล (Telemedicine)
5. มุ่งเน้นการตลาดเชิงรุกและการปรับภาพลักษณ์องค์กร เพื่อสะท้อนภาพลักษณ์ความเป็น Professional Healthcare Community ผ่านการบูรณาการกลยุทธ์การสื่อสารและการตลาดอย่างรอบด้าน เช่น การโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ใน Social Media การทำไวรัลวิดีโอ (Viral Video) รวมทั้งการจัดอบรมและสร้างความเข้าใจถึงวิถีการดำเนินธุรกิจและให้บริการภายใต้ภาพลักษณ์ใหม่ขององค์กร (Employee Cultural Transformation หรือ Organization Development) ในกลุ่มคณะแพทย์และบุคลากรของโรงพยาบาล เพื่อสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วม (Engagement) กับผู้รับบริการและชูศักยภาพของโรงพยาบาลฯ ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และสามารถดึงดูดการใช้บริการของลูกค้ากลุ่มใหม่นอกเหนือจากกลุ่มผู้ป่วย สำหรับโลโก้ใหม่ได้มีการปรับสีให้มีความทันสมัยและเป็นมิตรขึ้น โดยที่ยังไม่สูญเสียเอกลักษณ์ดั้งเดิมไป ด้วยการใช้รูปทรงที่ไหลมาบรรจบและตัดขวางกัน เพื่อสื่อถึงการผสานพลังของเครื่อข่ายพันธมิตรทางการแพทย์และความเป็นคอมมูนิตี้
“โรงพยาบาลพระรามเก้ามีผลประกอบการที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2558 2559 และ 2560 มีรายได้รวม 1,996.4 ล้านบาท 2,272.5 ล้านบาท และ 2,455.2 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นอัตราเติบโตเฉลี่ยแบบทบต้น (CAGR) ร้อยละ 10.9 ต่อปี ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2561 โรงพยาบาลฯ มีรายได้รวมอยู่ที่ 653.3 ล้านบาท ซึ่งเติบโตขึ้นร้อยละ 15.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 ด้วยจุดแข็งและกลยุทธ์การแข่งขัน โรงพยาบาลพระรามเก้ามั่นใจในศักยภาพการเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืนในอนาคต” นายแพทย์สุธร กล่าวปิดท้าย
สามารถติดตามข้อมูลโรงพยาบาลพระรามเก้าได้ที่ www.praram9.com


ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท โรงพยาบาลพระรามเก้า จำกัด (มหาชน)
บริษัท โรงพยาบาลพระรามเก้า จำกัด (มหาชน) (“โรงพยาบาลฯ” หรือ “บริษัทฯ”) เริ่มเปิดให้บริการรักษาพยาบาลในปี พ.ศ. 2535 บนเนื้อที่กว่า 6 ไร่ บนถนนพระราม 9 โดยโรงพยาบาลฯ ให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยในระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การให้บริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน ตรวจรักษา และฟื้นฟูโรคทั่วไป เช่น สูตินารีเวช ศัลยกรรม อายุรกรรม กุมารเวช กระดูกและข้อ และโรคเฉพาะทางหรือโรคซับซ้อนต่างๆ ผ่านสถาบันทางการแพทย์ 2 สถาบัน ได้แก่ สถาบันโรคไตและเปลี่ยนไตพระรามเก้า สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า และศูนย์การแพทย์เฉพาะทางทั้งหมด 20 ศูนย์ นอกจากนี้ โรงพยาบาลฯ ยังมุ่งเน้นให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ ด้วยอัตราค่าบริการที่สมเหตุสมผล (Value for Money Services) มาอย่างต่อเนื่อง
โรงพยาบาลฯ มีวิสัยทัศน์ที่จะก้าวสู่การเป็น “ศูนย์รวมด้านการดูแลสุขภาพที่ทันสมัยได้รับความไว้วางใจมากที่สุด” ซึ่งมีพันธกิจหลักคือการนำเสนอทางเลือกที่ดีที่สุดและคุ้มค่า ในด้านสุขภาพด้วยทีมแพทย์มืออาชีพและเครื่องมือที่ทันสมัย โดยมีคณะผู้บริหารโรงพยาบาลฯ ดังนี้
นายแพทย์เสถียร ภู่ประเสริฐ
รองประธานกรรมการ กรรมการบริหาร และกรรมการผู้อำนวยการ
นายแพทย์มงคล ตัญจพัฒน์กุล
ที่ปรึกษากรรมการผู้อำนวยการ
นายแพทย์วิรุฬห์ มาวิจักขณ์
กรรมการ กรรมการบริหาร และรองกรรมการผู้อำนวยการ (ฝ่ายการแพทย์)
นายแพทย์ประเสริฐ ไตรรัตน์วรกุล
กรรมการ กรรมการบริหาร  และรองกรรมการผู้อำนวยการ (ฝ่ายการพยาบาลและฝ่ายการบริการทางการแพทย์)
นายแพทย์สุธร ชุตินิยมการ
รองกรรมการผู้อำนวยการ (ฝ่ายบริหาร) และรักษาการรองกรรมการผู้อำนวยการ (ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ)
นางสาวนุชณี อู่ทอง
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (ฝ่ายบัญชีและการเงิน)ผู้รับผิดชอบสูงสุดสายงานบัญชีและการเงิน

ตลอดเวลาการดำเนินธุรกิจ โรงพยาบาลฯ มุ่งให้บริการอย่างมีความรับผิดชอบและเป็นมืออาชีพ ด้วยความพร้อมของทีมแพทย์และบุคคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ความชำนาญ ความพร้อมของเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มี
ความทันสมัย ตลอดจนการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานและการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้โรงพยาบาลฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานสถานพยาบาลระดับนานาชาติจาก Joint Commission International ประเทศสหรัฐอเมริกา (JCI) ตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน ทั้งยังผ่านการรับรองมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยเฉพาะโรค (Clinical Care Program Certification: CCPC) จาก JCI ได้แก่ การดูแลรักษาผู้ป่วยเปลี่ยนไต และการดูแลรักษาโรคเบาหวานแบบผู้ป่วยนอก นอกจากนี้ ยังได้รับรางวัล Thailand Top Company Award 2018 ประเภทอุตสาหกรรมสุขภาพจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยร่วมกับนิตยสาร Business+ ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงความมุ่งมั่นในการให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพและได้รับการยอมรับในระดับสากล
 
ความสามารถในการรองรับผู้ป่วย
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2561 โรงพยาบาลฯ มีจำนวนเตียงจดทะเบียน 166 เตียง โดยเปิดให้บริการแก่ผู้ป่วยใน (In-Patient Department หรือ IPD) จำนวน 163 เตียง และมีจำนวนห้องตรวจสำหรับผู้ป่วยนอก (Out-Patient Department หรือ OPD) จำนวน 114 ห้อง โดยปัจจุบันผู้รับบริการหลักของโรงพยาบาลฯ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ (1) กลุ่มผู้รับบริการทั่วไป ซึ่งมารับบริการของโรงพยาบาลฯ และชำระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลด้วยตนเอง (2) กลุ่มผู้รับบริการแบบคู่สัญญาองค์กร
ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มองค์กรคู่สัญญาทั้งที่เป็นองค์กรภาครัฐและองค์กรเอกชน อาทิ บุคคลากรหรือพนักงานที่ได้รับสวัสดิการรักษาพยาบาลจากองค์กรต้นสังกัดและคู่สัญญาบริษัทประกัน
ทั้งนี้ โรงพยาบาลฯ ยังมุ่งมั่นเสริมจุดแข็งในการดำเนินธุรกิจด้วยกลยุทธ์การแข่งขัน เพื่อยกระดับศักยภาพการแข่งขัน ดังนี้


จุดแข็งและข้อได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจ
  1. ความโดดเด่นในสถาบันทางการแพทย์ ศูนย์การแพทย์ และศักยภาพการให้บริการรักษาโรคซับซ้อนด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ (Multidisciplinary Team)
โรงพยาบาลฯ มีการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพการให้บริการทางการแพทย์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เปิดให้บริการ โดยแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความสามารถและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในหลากหลายสาขาวิชาที่สามารถให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้รับบริการได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่การป้องกัน การตรวจวินิจฉัยความเสี่ยง การดูแลรักษา การฟื้นฟู การตรวจติดตาม ตลอดจนการส่งเสริมสุขภาพ อีกทั้งโรงพยาบาลฯ มีการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย รวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพในการรักษามาให้บริการอยู่เสมอ โดยปัจจุบันโรงพยาบาลฯ มีสถาบันทางการแพทย์และศูนย์การแพทย์เฉพาะทางที่มีความสามารถและความโดดเด่นในการรักษาโรคซับซ้อน ด้วยความพร้อมของทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเครื่องมือทางการแพทย์ เช่น


  • สถาบันโรคไตและเปลี่ยนไตพระรามเก้า
ปัจจุบันโรงพยาบาลฯ เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ทำการผ่าตัดเปลี่ยนไตมากที่สุดในประเทศไทยและมีอัตราความสำเร็จในการเปลี่ยนไตที่สูงเทียบเท่ามาตรฐานสากลระดับโลก โดยในช่วงระหว่างปี
2535 – 2560 โรงพยาบาลฯ มีจำนวนผู้เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนไตทั้งหมด 738 ราย หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 58 ของจำนวนผู้เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนไตในโรงพยาบาลเอกชนที่ให้บริการดังกล่าวทั้งหมดทั่วประเทศรวมกัน อ้างอิงข้อมูลจากสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย และมีอัตราการเติบโตสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยแบบทบต้น (CAGR) ร้อยละ 36.5 ต่อปี นอกจากนี้ โรงพยาบาลฯ เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกในประเทศไทยที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการติดเชื้อเฉพาะทางเปลี่ยนไตระดับอเมริกันบอร์ด และในปี 2559 สถาบันโรคไตและเปลี่ยนไตพระรามเก้าได้รับการรับรองเฉพาะทาง (Clinical Care Program Certification: CCPC) เรื่องการดูแลรักษาผู้ป่วยเปลี่ยนไตจาก JCI ซึ่งสถาบันได้ผ่านการรับรองมาตรฐานนี้เป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในโลกที่ผ่านการรับรองมาตรฐานนี้ (ในปี 2560) อีกทั้งยังเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกในประเทศไทยที่อยู่ในรายชื่อมาตรฐานในองค์กร Worldwide Transplant Center Directory ทำให้เป็นที่รู้จักและได้รับความไว้วางใจในวงกว้างโดยเฉพาะจากผู้ป่วยจากต่างประเทศ


  • สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า
ด้วยความสามารถในการให้บริการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ครอบคลุม และทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญในการดูแลตลอด 24 ชั่วโมง โรงพยาบาลฯ มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาให้บริการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นรายแรกๆ ของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เช่น การนำเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง 64 สไลซ์ (64-slice CT Scanner) เข้ามาให้บริการเป็นรายแรกของประเทศในปี 2548 และเป็นโรงพยาบาลเอกชนรายแรกที่นำเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง 640 สไลซ์ (640-slice CT Scanner) เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจและวินิจฉัยผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในปี 2560
  • ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก
การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดของศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก และศูนย์การแพทย์เฉพาะทางโดยเฉพาะการรักษาโรคซับซ้อน เป็นอีกหนึ่งแนวทางการรักษาโรคที่สำคัญของโรงพยาบาลฯ โดยมุ่งเน้นคุณภาพและประสิทธิภาพในการรักษาโรค โดยเมื่อปี 2559 ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิกของโรงพยาบาลฯ ได้รับการรับรองเฉพาะทาง (Clinical Care Program Certification: CCPC) ในการดูแลรักษาโรคเบาหวานแบบผู้ป่วยนอกจาก JCI
  • การผ่าตัดแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery: MIS)
ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงในการผ่าตัดแผลเล็กในหลากหลายสาขา ด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีการผ่าตัดที่ทันสมัย เช่น เทคโนโลยีผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก 3 มิติ (Advanced 3D Laparoscopic Surgery) ส่งผลให้โรงพยาบาลฯ สามารถให้บริการการผ่าตัดแผลเล็กแก่ผู้ป่วยได้หลากหลายประเภท เช่น การผ่าตัดแผลเล็กทางสูตินรีเวช การผ่าตัดแผลเล็กกระดูกสันหลัง การผ่าตัดแผลเล็กกระดูกและข้อ การผ่าตัดไทรอยด์แบบไร้รอยแผลภายนอก ทำให้ผู้ป่วยมีทางเลือกในการรักษาที่หลากหลาย และมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากขึ้น
  • ศูนย์สูตินรีเวช และศูนย์กุมารเวช
โรงพยาบาลฯ มีทีมสูติแพทย์และทีมนักวิทยาศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญประสบการณ์ และการให้บริการแบบครบวงจร ตั้งแต่การให้บริการรักษาภาวะมีบุตรยาก การดูแลระหว่างตั้งครรภ์ คลอด และดูแลทารกจนกระทั่งเจริญเติบโต โดยมีการแบ่งศูนย์กุมารเวชเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนเด็กป่วย และส่วนเด็กมารับวัคซีน รวมไปถึงการดูแลด้านพัฒนาการ การเจริญเติบโตและฮอร์โมนของเด็กแบบครบวงจร นอกจากนี้โรงพยาบาลฯ ยังเป็นหนึ่งในผู้นำการบริการทางด้านการรักษาภาวะมีบุตรยาก อีกทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มนำเทคโนโลยีวินิจฉัยทารกในครรภ์ ด้วยเทคโนโลยีอัลตราซาวด์ 4 มิติ เข้ามาให้บริการ ทำให้โรงพยาบาลฯ สามารถวินิจฉัยสภาวะต่างๆ ได้อย่างแม่นยำและได้รับการยอมรับการให้บริการกลุ่มแม่และเด็ก โดยเฉพาะการรักษาภาวะมีบุตรยากและการทำเด็กหลอดแก้ว ซึ่งมีอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์เทียบเท่ามาตรฐานสากล นอกจากนี้ยังมี ศูนย์การแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในสาขาใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคตอันใกล้

  1. การบริการทางการแพทย์ในอัตราค่าบริการที่สมเหตุสมผลและมีความคุ้มค่า (Value for Money Services)
โรงพยาบาลฯ มุ่งเน้นการให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพในอัตราค่าบริการหรือค่ารักษาพยาบาลที่มีความเหมาะสม และมีความคุ้มค่า (Value for Money Services) เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราค่าบริการหรือค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำอื่นๆ ที่ให้บริการทางการแพทย์ในคุณภาพระดับใกล้เคียงกัน ด้วยเหตุนี้โรงพยาบาลฯ จึงเป็นหนึ่งในทางเลือกสำหรับผู้รับบริการที่มีความต้องการได้รับการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพในราคาค่าบริการที่เหมาะสม โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้รับบริการ ทั้งนี้โรงพยาบาลฯ ได้รับรางวัล AXA Provider Award: Best Utilization Award ซึ่งจัดโดยบริษัท แอกซ่าประกันภัย จำกัด (มหาชน) (“AXA”) ประจำปี 2560 ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงการให้บริการทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพในอัตราค่าบริการที่สมเหตุสมผลและมีความคุ้มค่า (Value for Money Services) ของโรงพยาบาลฯ นอกจากนี้กลุ่มผู้รับบริการเป้าหมายของโรงพยาบาลฯ ซึ่งครอบคลุมกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ระดับปานกลางถึงระดับสูง (Mass Affluent to Affluent Segment) นับได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพเติบโตสูง มีฐานประชากรขนาดใหญ่และมีการขยายตัวมากที่สุด ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสในการขยายฐานลูกค้าและรายได้ของโรงพยาบาลฯ ในอนาคตจากจุดแข็งของโรงพยาบาลฯ ในการให้บริการทางการแพทย์ในอัตราค่าบริการที่สมเหตุสมผลและคุ้มค่า

  1. ทำเลที่ตั้งยุทธศาสตร์ที่มีศักยภาพและมีโอกาสในการขยายตัวสูง
ที่ตั้งของโรงพยาบาลฯ อยู่ในบริเวณศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ (New Central Business District: New CBD) บนถนนพระรามเก้าและรัชดาภิเษก ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญที่ช่วยส่งเสริมการเติบโตของโรงพยาบาลฯ ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการขยายตัวของชุมชนเมืองซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลฯ ดังนี้
  • การเพิ่มขึ้นของที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน และห้างสรรพสินค้า
โรงพยาบาลฯ ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่มีการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ทั้งนี้ในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา พื้นที่โดยรอบของโรงพยาบาลฯ มีจำนวนอาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า และคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้นรวมกันจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของประชากรวัยทำงาน และประชากรที่เข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ
  • ความหนาแน่นและการเติบโตของจำนวนประชากรในบริเวณโดยรอบ
สถานที่ตั้งของโรงพยาบาลฯ ล้อมรอบด้วยชุมชนที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่หลายพื้นที่ ซึ่งมีจำนวนประชากรอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวหนาแน่น นอกจากนี้ พื้นที่แขวงห้วยขวางซึ่งเป็นสถานที่ตั้งโดยตรงของโรงพยาบาลฯ ยังมีอัตราการเติบโตของประชากรอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงปี 2552 – 2558 จำนวนประชากรในบริเวณดังกล่าวเพิ่มขึ้นจาก 21,524 คนในปี 2552 เป็น 24,587 คน ในปี 2558 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยที่ร้อยละ 2.3 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยของจำนวนประชากรในพื้นที่ทั้งหมดของกรุงเทพมหานครในช่วงเดียวกัน


  • การเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อระบบโครงสร้างคมนาคมขนส่งพื้นฐานที่สำคัญ
ที่ตั้งของโรงพยาบาลฯ เป็นจุดเชื่อมต่อระบบคมนาคมขนส่งสำคัญหลายระบบ ทั้งถนนสายหลักที่สำคัญ ได้แก่ ถนนพระรามเก้า ถนนรัชดาภิเษก และถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ที่เชื่อมต่อกับทางพิเศษเฉลิมมหานคร และทางพิเศษศรีรัชซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นทางคมนาคมหลักที่เชื่อมต่อกับสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ (ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร) นอกจากนี้ ทำเลที่ตั้งของโรงพยาบาลฯ อยู่ในบริเวณที่อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเพชรบุรี สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ มักกะสัน และสถานีรถไฟฟ้าอโศก โดยในอนาคต บริเวณดังกล่าวจะพัฒนาเป็นศูนย์รวมของการเดินทาง (Future Hub of Transportation) ที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ โดยมีสถานีอินเตอร์เชนจ์ของรถไฟฟ้าสายสีส้มที่สถานีศูนย์วัฒนธรรม ที่จะเชื่อมพื้นที่ฝั่งตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพฯ เข้าด้วยกัน ส่งผลให้ผู้รับบริการสามารถเดินทางไปมาได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว พร้อมทั้งเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงโรงพยาบาลฯ จากผู้ที่สนใจจะใช้บริการที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ระบบการคมนาคมขนส่งพื้นฐานดังกล่าวเชื่อมต่อถึง


กลยุทธ์การแข่งขันที่สำคัญ
  1. การขยายเครือข่ายพันธมิตรโรงพยาบาลและความร่วมมือทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง
โรงพยาบาลฯ ได้มีการขยายฐานผู้รับบริการและการให้บริการรักษาโรคเฉพาะทางที่ซับซ้อนด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อรองรับความต้องการในการรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นผ่านเครือข่ายพันธมิตรระหว่างโรงพยาบาล โดย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2561 โรงพยาบาลฯ ได้ดำเนินการลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) กับ 9 โรงพยาบาลพันธมิตรในประเทศได้แก่โรงพยาบาลราษฎร์ยินดี (หาดใหญ่) โรงพยาบาลสิโรรส (ยะลา) โรงพยาบาลสิโรรส (ปัตตานี) โรงพยาบาลสิริเวช (จันทบุรี) โรงพยาบาลตรังรวมแพทย์ โรงพยาบาลอุบลรักษ์ ธนบุรี โรงพยาบาลธนบุรี (ชุมพร) และโรงพยาบาลปากน้ำโพ 1 และ โรงพยาบาลปากน้ำโพ 2 โดยโรงพยาบาลพันธมิตรดังกล่าวจะดำเนินการส่งต่อผู้ป่วยที่ต้องการผ่าตัดเปลี่ยนไตมายังโรงพยาบาลฯ เพื่อเข้ารับการรักษาด้วยคุณภาพการรักษาที่ได้รับรองเฉพาะทางด้วยมาตรฐานระดับโลกจาก JCI เรื่องการดูแลรักษาผู้ป่วยเปลี่ยนไต
  1. การก่อสร้างอาคารใหม่ และปรับปรุงอาคารปัจจุบันเพื่อรองรับการขยายขอบเขตการให้บริการทางการแพทย์และจำนวนผู้ใช้บริการที่มีการเติบโตสูงขึ้น
โรงพยาบาลฯ อยู่ในระหว่างการขยายพื้นที่การให้บริการและปรับปรุงการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อรองรับการขยายตัวของผู้รับบริการกลุ่มปัจจุบัน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มุ่งเน้นการรักษาโรคและบำบัดรักษาตามอาการเจ็บป่วย ควบคู่ไปกับการขยายขอบเขตการให้บริการทางการแพทย์ให้มีความครอบคลุมและครบวงจรมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการขยายฐานผู้รับบริการสู่ผู้รับบริการกลุ่มใหม่ ซึ่งมุ่งเน้นการดูแลส่งเสริมสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น โดย (1) มี
การลงทุนสร้างอาคารแห่งใหม่ในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับอาคารปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันอาคารใหม่อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการภายในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2562 (2) มีโครงการปรับปรุงพื้นที่การให้บริการของอาคารปัจจุบัน เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากพื้นที่ที่จะว่างลง ภายหลังจากที่ศูนย์การแพทย์บางศูนย์ จะถูกดำเนินการการย้ายไปให้บริการในอาคารใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคซับซ้อน
  1. การขยายขอบเขตการให้บริการโดยมุ่งเน้นเรื่องการส่งเสริมสุขภาพอย่างองค์รวมมากยิ่งขึ้น
บริษัทฯ มีความตั้งใจที่จะต่อยอดธุรกิจโดยการนำจุดแข็งในการให้บริการรักษาโรคของบริษัทฯ มาเสริมศักยภาพและคุณภาพในการให้บริการ เพื่อขยายขอบเขตการให้บริการไปสู่การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม (Holistic Healthcare) โดยมุ่งเน้นการให้บริการการส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion & Wellness) สำหรับกลุ่มผู้รับบริการที่ไม่ได้มีอาการเจ็บป่วยแต่ใส่ใจในการดูแลสุขภาพและต้องการส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยดำเนินการเพิ่มศักยภาพและขอบเขตในการให้บริการของศูนย์การแพทย์เดิมพร้อมทั้งเพิ่มศูนย์การแพทย์ใหม่ให้มีความครอบคลุมและครบวงจรมากยิ่งขึ้น ภายในพื้นที่อาคารแห่งใหม่ที่มีความกว้างขวางและสะดวกสบาย
4. การนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มศักยภาพการให้บริการทางการแพทย์และเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานภายใน เพื่อการก้าวสู่การเป็นโรงพยาบาลดิจิตอล (Digital Hospital)
ระยะแรก โรงพยาบาลฯ ได้นำข้อมูลทางการแพทย์ต่างๆ รวมถึง ประวัติการรักษา เวชระเบียนผู้ป่วย และการจ่ายยาเข้าจัดเก็บในระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ซึ่งช่วยให้การจัดการและการให้บริการของโรงพยาบาลฯ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถต่อยอดพัฒนาจัดทำระบบการวิเคราะห์ข้อมูล (Business Intelligence) เพื่อช่วยส่งเสริมประสิทธิผลและความปลอดภัยในการวินิจฉัย การสั่งยาจัดยา-จ่ายยา และการวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ให้มีความถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น
ในปัจจุบันโรงพยาบาล มีการนำระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Healthcare Information System: HIS) เข้ามาช่วยจัดการกระบวนการทำงานของโรงพยาบาลฯ และอยู่ในระหว่างการศึกษาและพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพและเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยและติดตามการรักษาผู้ป่วยหรือที่เรียกว่า “ดิจิตอลเฮลท์” (Digital Health) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการและให้สอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน เช่น การพัฒนาห้องระบบศูนย์บัญชาการควบคุม (Command Center) ควบคู่ไปกับพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ป่วย (Praram 9 Patient Mobile Application) และการประยุกต์นำเอาอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สามารถใส่ติดตัว (Medical Wearable Device) มาเสริมการให้บริการเพื่อให้โรงพยาบาลฯ สามารถติดตามสถานการณ์ ดูแลป้องกันและเตรียมพร้อมการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที โดยอาจรวมไปถึงการให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องสุขภาพและการรักษาเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยที่อยู่ระยะไกล (Telemedicine)
5. การมุ่งเน้นการตลาดเชิงรุก และการปรับภาพลักษณ์องค์กร
บริษัทฯ มีการวิเคราะห์ วางแผนและกำหนดตำแหน่งทางการตลาด (Positioning) ด้วยการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์องค์กร (Rebranding) ตั้งแต่โลโก้ บรรยากาศในโรงพยาบาล จุดสัมผัสของแบรนด์ทั้งในและนอกโรงพยาบาล (Brand Touch Point) ไปจนถึงการอบรมและสร้างการมีส่วนรวมถึงความเข้าใจในภาพลักษณ์ใหม่ขององค์กรต่อคณะแพทย์และบุคลากรของโรงพยาบาล โดยมุ่งหวังให้แบรนด์ของโรงพยาบาลฯ เป็นที่รู้จักในวงกว้างและน่าสนใจ ดึงดูดการเข้ามารับบริการจากลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ต่อยอดความแข็งแกร่งจากความจงรักภักดีต่อแบรนด์และบริษัทจากลูกค้ากลุ่มเดิม และสะท้อนจุดแข็งในการให้บริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพในราคาที่สมเหตุสมผลกับบุคคลทั่วไป โดยมีการว่าจ้างที่ปรึกษาการตลาดและประชาสัมพันธ์ รวมทั้งเสริมทีมการตลาดเพื่อการยกระดับภาพลักษณ์ดังกล่าว ปัจจุบันบริษัทฯ ดำเนินการปรับทิศทางการดำเนินธุรกิจและการทำการตลาดเชิงรุกมากขึ้น เช่น การโฆษณาประชาสัมพันธ์ออนไลน์ เช่น Social Media และการทำไวรัลวิดีโอ (Viral Video) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม (Engagement) กับกลุ่มผู้รับบริการเป้าหมายในวงกว้างมากขึ้น นอกจากนี้ โรงพยาบาลฯ ได้วางกลยุทธ์การตลาดสำหรับ กลุ่มผู้รับบริการแบบคู่สัญญา และกลุ่มผู้รับบริการชาวต่างชาติ เพื่อมุ่งหวังในการขยายฐานลูกค้าใน
ระยะยาว


ภาพรวมทางการเงิน
บริษัทฯ มีผลประกอบการที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2558 - 2560) ด้วยอัตราการเติบโตของรายได้จากกิจการโรงพยาบาล (CAGR) ร้อยละ 11.1 ต่อปี และอัตราการเติบโตเฉลี่ยแบบทบต้น (CAGR) ของกำไรสุทธิ ที่ร้อยละ 17.7
รายการ
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม
สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม
2558
2559
2560
2561
รายได้จากกิจการโรงพยาบาล (ล้านบาท)
1,960.3
2,238.3
2,421.5
642.4
รายได้รวม (ล้านบาท)
1,996.4
2,272.5
2,455.2
653.3
กำไรขั้นต้น (ล้านบาท)
596.0
705.4
739.9
197.9
กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษีและค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย EBITDA (ล้านบาท)
355.5
449.3
468.3
101.6
กำไรสุทธิ (ล้านบาท)
189.3(1)
259.8
262.3
52.2
อัตรากำไรขั้นต้น (ร้อยละ)
30.4
31.5
30.6
30.8
อัตราส่วน EBITDA ต่อรายได้รวม (ร้อยละ)
17.8
19.8
19.1
15.5
อัตรากำไรสุทธิ (ร้อยละ)
9.5
11.4
10.7
8.0
สินทรัพย์รวม (ล้านบาท)
2,048.9
2,293.8
2,856.6
2,947.0
รวมหนี้สิน
379.5
413.0
761.6
1,305.5
ส่วนของผู้ถือหุ้น (ล้านบาท)
1,669.4
1,880.9
2,095.0
1,641.5
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E) (เท่า)
0.2
0.2
0.4
0.8
อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ร้อยละ)
11.7
14.6
13.2
14.2


หมายเหตุ: (1) ข้อมูลทางการเงินในส่วนของผลการดำเนินงานสำหรับปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 จัดทำและปรับปรุงโดยฝ่ายบริหารของบริษัทฯ จากการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการเงิน เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบได้ โดยไม่ได้ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี
###