ADS


Breaking News

“ทีวีสีขาว” เปิดตัวคณะกรรมการคัดเลือกและตัดสินผลรางวัล พร้อมเปิดตัว “ดอกไพล” สัญลักษณ์รางวัลทีวีสีขาว ย้ำเพิ่มการมอบเงิน รวม 2.7 ล้านบาท เพื่อเป็นกำลังใจแก่รายการและบุคคลดีเด่น

มูลนิธิจำนง รังสิกุล ผู้ดำเนินการจัดโครงการ “รางวัลทีวีสีขาว” แถลงเปิดตัวคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคัดเลือกและตัดสินรางวัลทีวีสีขาว 18 คน พร้อมเปิดตัวรางวัลทีวีสีขาวที่ใช้ “ดอกไพล” เป็นสัญลักษณ์ซึ่งออกแบบโดยประติมากรชั้นครู ย้ำสร้างมิติใหม่ของการมอบรางวัลดีเด่นให้วงการโทรทัศน์ดิจิทัลของเมืองไทย ด้วยการมอบเงินรางวัลรวม 2.7 ล้านบาทให้แก่รายการโทรทัศน์ดีเด่น 9 รางวัลและบุคคลากรดีเด่นทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังวงการโทรทัศน์อีก 9 รางวัล กำหนดจัดงานประกาศผลรางวัลทีวีสีขาวเดือนธันวาคมนี้

นายพยงค์ คชาลัย ประธานมูลนิธิจำนง รังสิกุล เปิดเผยว่า มูลนิธิฯ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2541 เพื่อเป็นที่ระลึกแด่อาจารย์จำนง รังสิกุล ผู้เป็น “ปูชนียบุคคลของวงการโทรทัศน์ไทย” มูลนิธิฯ ตระหนักและให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรด้านกิจการโทรทัศน์ การผลิตเนื้อหารายการ ตลอดจนมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ประกอบกิจการ เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านการรับชมโทรทัศน์ไปสู่ระบบดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นเป็น 26 ช่องในปัจจุบัน จึงจัดทำโครงการ “รางวัลทีวีสีขาว” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลส่งเสริมการผลิตรายการโทรทัศน์ให้มีคุณภาพ ให้ผู้รับชมได้รับสาระประโยชน์ และความเพลิดเพลิน และให้เกิดการแข่งขันการผลิตเนื้อหาสาระของรายการ และการประกอบกิจการโทรทัศน์อย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะและประชาชนเป็นสำคัญ ทั้งนี้ มูลนิธิฯได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือ กองทุน กสทช. ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
ด้าน นายนคร วีระประวัติ รองประธานมูลนิธิจำนง รังสิกุล ในฐานะหัวหน้าโครงการ “รางวัลทีวีสีขาว” เปิดเผยถึงรายละเอียดว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนให้กำลังใจแก่ผู้ผลิตรายการ และบุคลากรในวงการโทรทัศน์ระบบดิจิตัล ให้เกิดการพัฒนาคุณภาพงานยิ่งๆขึ้นไป นอกเหนือจากการได้รับรางวัลทีวีสีขาวและใบประกาศเกียรติคุณ แล้ว โครงการฯจะมีการมอบรางวัลเป็นเงินสดให้ด้วย โดยแบ่งเป็นประเภทรายการดีเด่น 9 รางวัลๆ ละ 200,000 บาท และประเภทบุคคลดีเด่น 9 รางวัลๆ ละ 100,000 บาท รวมเงินรางวัลทั้งสิ้น 2,700,000 บาท โดยจะพิจารณาจากผลงานที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัล 26 ช่อง (22 สถานีโทรทัศน์ดิจิทัล + 4 สถานี โทรทัศน์สาธารณะ)  ที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2561 โดย ผู้ผลิตรายการ ผู้จัดละคร สถานีโทรทัศน์ดิจิทัลฯ และบุคคลต่างๆ ตามประเภทรางวัล สามารถส่งผลงานเข้าร่วมประกวด ภายในวันที่ 31 ตุลาคม เช่นกัน
โดยจะมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายอาชีพ เป็นผู้คัดเลือกและตัดสิน ประกอบด้วย คณะกรรมการคัดเลือก 9 คน ได้แก่ รศ.ดร. บุษบา สุธีธร, ผศ.ดร. วิไลวรรณ จงวิไลเกษม, อาจารย์กานตชาติ เรืองรัตนอัมพร, อาจารย์สมยศ สุขัง, ผศ.ดร. ศศิพรรณ บิลมาโนชญ์, คุณอารีย์ ป้องสีดา, คุณอัจฉรา บุนนาค นววงศ์, ผศ.ดร. ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค และ ผศ. วันชัย ธนะวังน้อย  คณะกรรมการตัดสิน 9 คน ได้แก่ คุณกิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน, คุณดำรง พุฒตาล, ศ.ดร. ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ, รศ. อรนุช เลิศจรรยารักษ์, รศ. ปิยกุล เลาวัณย์ศิริ, คุณนันทวัน เมฆใหญ่ สุวรรณปิยะศิริ, คุณจิระนันท์ พิตรปรีชา, ดร. ประภาส นวลเนตร และ คุณยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร
ทั้งนี้ รางวัลทีวีสีขาว ซึ่งใช้ “ดอกไพลบนฐานสี่แฉก” เป็นสัญลักษณ์ของตัวรางวัล ได้รับการออกแบบโดย อ.ธวัชชัย ศรีสมเพ็ชร ประติมากรผู้สร้างสรรค์ผลงานทรงคุณค่ากว่า 40 ปี ผลงานที่สำคัญ เช่น เศียรพระศรีศากย ทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ พระบรมราชานุสาวรีย์ขนาดใหญ่ จำนวนกว่า 30 ผลงาน ประดิษฐานตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างแพร่หลาย
โดยตัวรางวัลดังกล่าวมีความหมายสื่อถึง ฐานสี่แฉก หมายถึงไทยโทรทัศน์ช่องสี่บางขุนพรหม จุดกำเนิดอันมั่นคงของทีวีไทย ดอกไพลบนฐานเป็นสัญลักษณ์ของโทรทัศน์ไทยที่ขยายตัวออกไปหลายสิบช่อง ดุจเดียวกับกลีบเลี้ยงอันมากมายของดอกไพล และการที่ไพลเติบโตอย่างบริสุทธิ์ปราศจากมลทินของสารเคมี  เป็นยารักษาโรคได้หลายชนิด ก็เฉกเช่นเดียวกับรางวัลที่วีสีขาวที่มอบให้แก่บุคคลที่สร้างสรรค์รายการจรรโลงสังคม เพาะบ่มจิตใจผู้ดูให้เบ่งบานอย่างบริสุทธิ์และ แข็งแรง ปลายแหลมของดอกไพล สื่อถึงความเจริญรุ่งเรืองที่ใสสะอาด มุ่งสู่ความสูงส่งและดีงามอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
สำหรับ รางวัลประเภทรายการดีเด่น 9 รางวัล ได้แก่ รายการข่าวดีเด่น, รายการสารคดีดีเด่น, รายการกีฬาสร้างสรรค์ดีเด่น, รายการสำหรับเด็กดีเด่น, รายการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมดีเด่น, รายการปกิณกะดีเด่น, รายการส่งเสริมการศึกษาหรือเทคโนโลยีดีเด่น, รายการละครสร้างสรรค์ดีเด่น และรายการละครดีเด่น
ส่วน รางวัลประเภทบุคคลดีเด่น 9 รางวัล ได้แก่ ผู้ดำเนินรายการข่าวดีเด่น, ทีมรายงานข่าวดีเด่น, พิธีกรดีเด่น, ผู้เขียนบทละครโทรทัศน์ดีเด่น, ผู้กำกับการแสดงดีเด่น, นักแสดงสมทบหญิงดีเด่น, นักแสดงสมทบชายดีเด่น นักแสดงนำหญิงดีเด่น และนักแสดงนำชายดีเด่น
ทั้งนี้ ภายในงานแถลงข่าว มีผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ ผู้จัดฯ และ ดารานักแสดงจากหลายช่อง มาร่วมงาน เช่น รศ.ดร.จุมพล รอดคำดี ประธานกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) และ รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. หรือ ไทยพีบีเอส /คุณหน่อง -  อรุโณชา ภาณุพันธุ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทบรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น มาพร้อมกับ เกรซ -รัชย์ณมนทร์ รัชย์จิราธรรม และ เบสท์-อนาวิล ชาติทอง/ คุณอั๋น-วัชระ แวววุฒินันท์ กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย จำกัด / คุณคหบดี กัลย์จาฤก บริษัท ป๊าสั่งย่าสอน จำกัด/  มีนักแสดงจากช่องวัน 31 ไบรท์-นรภัทร วิไลพันธุ์, เพลงขวัญ-นัตยา ทองเสน / นักแสดงอาวุโส วิยะดา อุมารินทร์ / และตัวแทนจากสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ มาร่วมงาน
ทั้งนี้ งานประกาศผลรางวัลทีวีสีขาว จะจัดขึ้นในวันที่ 2 ธันวาคม 2561 ณโรงละครอักษรา คิง เพาเวอร์ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.whitetvaward.com หรือเฟสบุ๊ก www.facebook.com/WhiteTvAward

ความเป็นมา
มูลนิธิจำนง รังสิกุล ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2541 เพื่อเป็นที่ระลึกแด่อาจารย์ จำนง รังสิกุล ผู้ได้ชื่อว่าเป็น “ปูชนียบุคคลของวงการโทรทัศน์ไทย” และดำเนินงานด้านสาธารณะประโยชน์เพื่อวงการโทรทัศน์ไทย โดยมี นายพยงค์  คชาลัย เป็นประธานมูลนิธิ นายนคร วีระประวัติ เป็นรองประธานมูลนิธิ
ปัจจุบัน กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ประเทศไทย ก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านจาก  ยุคอนาล็อกสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด กล่าวคือ จำนวนช่องรายการโทรทัศน์แบบฟรีทีวีมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นจากเดิมที่เคยมีเพียง 6 ช่อง เพิ่มขึ้น 24 ช่อง ส่งผลถึงรายการโทรทัศน์ที่ผลิตออกมามีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นตามเพื่อรองรับกับจำนวนช่องที่เพิ่มสูงขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ คุณภาพเนื้อหาของรายการที่มีความคิดสร้างสรรค์ รูปแบบแปลกใหม่ มีความหลากหลายเชิงเนื้อหา เนื่องจากบุคลากรซึ่งเป็นผู้ผลิตเนื้อหามีจำนวนเพิ่มขึ้นตามจำนวนช่องอีกด้วย
มูลนิธิฯ ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ การผลิตเนื้อหารายการ ตลอดจนมาตรการทางจริยธรรมของผู้ประกอบกิจการ เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านการรับชมโทรทัศน์ไปสู่ระบบดิจิทัล จึงจัดทำ โครงการ “รางวัลทีวีสีขาว” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ส่งเสริมการผลิตรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลของประเทศไทยให้มีคุณภาพ และ เพื่อให้ผู้รับชมได้รับสาระ ประโยชน์ และความเพลิดเพลินจากรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล และให้เกิดการแข่งขันการผลิตเนื้อหาสาระของรายการ การพัฒนาบุคลากร และการประกอบกิจการโทรทัศน์ อย่างมีคุณภาพ มีความรับผิดชอบต่อสังคม อีกทั้งมุ่งหวังไปในทางที่ให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะและประชาชนเป็นสำคัญ
โดยมี กองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กองทุน กสทช.) ของ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการ “รางวัลทีวี   สีขาว”

รายละเอียด เกี่ยวกับ “รางวัลทีวีสีขาว”

1. เป็นผลงานที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลที่ได้รับใบอนุญาตจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ซึ่งออกอากาศระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561
2. เป็นรายการที่ไม่มีการลอกเลียนแบบจากที่อื่น และห้ามนำผลงานที่มีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นมาแก้ไขดัดแปลง ในกรณีที่มีการตรวจพบหรือมีผู้ทักท้วงภายหลังว่ามีการลอกเลียนแบบจากที่อื่น คณะกรรมการฯ ขอตัดสิทธิการรับรางวัลต่าง ๆ ทันที
3. การพิจารณาผลงานทั้งประเภทรายการและประเภทบุคคล
     3.1 จากการนำเสนอของคณะทำงานโครงการ “รางวัลทีวีสีขาว”
  3.2 จากคำแนะนำของสำนักผังและเนื้อหารายการฯ สำนักงาน กสทช.
     3.3 จากการสมัครของผู้ผลิตรายการของสถานีโทรทัศน์ดิจิทัล และบุคคลนั้น ๆ โดยสามารถกรอกใบสมัครได้ทางเว็บไซต์ www.whitetvaward.com โดยไม่จำกัดจำนวนและไม่มีค่าสมัครใด ๆ
4.  การพิจารณาตัดสิน
        4.1 โดยคณะกรรมการคัดเลือก
        4.2 โดยคณะกรรมการตัดสิน

หมายเหตุ. รายละเอียดดังกล่าว โครงการ “รางวัลทีวีสีขาว” อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

รางวัลทีวีสีขาว ประเภทรายการ 9 รางวัล
รายการที่ชนะจะได้รับรางวัล ใบประกาศเกียรติคุณ และ เงินรางวัลละ200,000 บาท
  1. รายการข่าวดีเด่น
  2. รายการสารคดีดีเด่น
  3. รายการกีฬาสร้างสรรค์ดีเด่น
  4. รายการสำหรับเด็กดีเด่น
  5. รายการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมดีเด่น
  6. รายการปกิณกะดีเด่น
  7. รายการส่งเสริมการศึกษาหรือเทคโนโลยีดีเด่น
  8. รายการละครสร้างสรรค์ดีเด่น
  9. รายการละครดีเด่น
รางวัลทีวีสีขาว ประเภทบุคคล 9 รางวัล
ผู้ชนะจะได้รับรางวัล พร้อมใบประกาศเกียรติคุณ และเงินรางวัลละ 100,000 บาท

  1. รางวัล “ผู้ดำเนินรายการข่าวดีเด่น”
  2. รางวัล “ทีมรายงานข่าวดีเด่น”
  3. รางวัล “พิธีกรดีเด่น”
  4. รางวัล “ผู้เขียนบทละครโทรทัศน์ดีเด่น”
  5. รางวัล “ผู้กำกับการแสดงดีเด่น”
  6. รางวัล “นักแสดงสมทบหญิงดีเด่น”
  7. รางวัล “นักแสดงสมทบชายดีเด่น”
  8. รางวัล “นักแสดงนำหญิงดีเด่น”
  9. รางวัล “นักแสดงนำชายดีเด่น”
รายชื่อคณะกรรมการคัดเลือก รางวัลทีวีสีขาว

1. รศ.ดร. บุษบา สุธีธร
2. ผศ.ดร. วิไลวรรณ จงวิไลเกษม
3. อาจารย์กานตชาติ เรืองรัตนอัมพร
4. อาจารย์สมยศ สุขัง
5. ผศ.ดร. ศศิพรรณ บิลมาโนชญ์
6. คุณอารีย์ ป้องสีดา
7. คุณอัจฉรา บุนนาค นววงศ์
8. ผศ.ดร. ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค
9. ผศ. วันชัย ธนะวังน้อย

รายชื่อคณะกรรมการตัดสิน รางวัลทีวีสีขาว

1. คุณกิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน
2. คุณดำรง พุฒตาล
3. ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ
4. รศ. อรนุช เลิศจรรยารักษ์
5. รศ. ปิยกุล เลาวัณย์ศิริ
6. คุณนันทวัน เมฆใหญ่ สุวรรณปิยะศิริ
7. คุณจิระนันท์ พิตรปรีชา
8. ดร. ประภาส นวลเนตร
9. คุณยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร


คณะกรรมการคัดเลือก
รศ. ดร. บุษบา สุธีธร
  • อาจารย์ประจำ สาขาวิชานิเทศศาสตร์    มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • คณะกรรมการตัดสินรางวัลโทรทัศน์ทองคำประเภทพิธีกร
  • อดีตคณะกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ
  • อดีตคณะอนุกรรมการพิจารณาทิศทางและพัฒนาการของรายการ บมจ. อสมท.

อาจารย์กานตชาติ เรืองรัตนอัมพร
  • อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาภาพยนตร์และภาพถ่าย คณะวารสารสาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สอนวิชาภาพถ่าย วิชากระบวนการเบื้องหลังการผลิตภาพยนตร์และภาพถ่ายในระบบดิจิตอล 
  • วิทยากรอบรมการผลิตภาพยนตร์สั้น ให้กับโครงการ “อนาคตสื่อ อนาคตชุมชน” จัดโดยสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 

อาจารย์สมยศ  สุขขัง

  • อาจารย์พิเศษ/วิทยากรด้านผู้ประกาศ ผู้ดำเนินรายการ การพูดในที่สาธารณะ (Public Speaking)
  • อดีตหัวหน้าภาควิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์  มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • กรรมการพิจารณารางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประเภทผู้พากย์และผู้บรรยาย  
  • กรรมการทดสอบผู้ประกาศภาษาไทย (ภาคกลาง) กรมประชาสัมพันธ์

ผศ. ดร.ศศิพรรณ บิลมาโนชญ์

  • อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยุและโทรทัศน์ และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารนวัตกรรมการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • มีผลงานการวิจัยและบทความเชิงวิชาการด้านสื่อสารมวลชนมากมาย
  • เป็นกรรมการพิจารณาตัดสินรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประเภทผู้พากษ์และบรรยาย
  • เป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาตัดสินรางวัลโทรทัศน์ในดวงใจครอบครัว
คุณอารีย์ ป้องสีดา

  • ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
  • คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานในคณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ
  • คณะอนุกรรมการพิจารณาคัดเลือกสุดยอดละครโทรทัศน์ไทย
ในสมัยรัชกาลที่ 9
  • การประกวดสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ผศ. ดร. ฉลองรัฐ  เฌอมาลย์ชลมารค
  • ผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเขียนบทและการกำกับภาพยนตร์และโทรทัศน์  มหาวิทยาลัยรังสิต
  • กรรมการประกวดภาพยนตร์สั้น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
คุณอัจฉรา  บุนนาค นววงศ์
  •   กรรมการสรรหาและเชิดชูเด็กและเยาวชนดีเด่นแห่งชาติและผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน  สาขาสื่อมวลชนเพื่อเด็กและเยาวชนที่ป้องกันปัญหาสังคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  •   คณะกรรมการตัดสินรางวัลโทรทัศน์ทองคำชุดละคร
  •   ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณารายชื่อสุดยอดละครโทรทัศน์ไทยในรัชกาลที่ ๙ กระทรวงวัฒนธรรม
  •   มีผลงานด้านวิทยุโทรทัศน์ ทั้งงานด้านผู้ประกาศ ดีเจ ผู้จัดรายการวิทยุ พิธีกรรายการทีวี ผู้เขียนบทสารดีโทรทัศน์ ผู้ควบคุมการผลิตรายการโทรทัศน์ และผู้ชำนาญการงานโฆษณาประชาสัมพันธ์
ผศ.วันชัย ธนะวังน้อย
  • อดีตอาจารย์ประจำคณะวารสารศาตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาวิทยุโทรทัศน์  สอนเขียนบทและผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ การพูดการละครและดนตรี
  • อดีต ผู้ประกาศข่าวททบ.๕ ลงเสียงสปอต นักเขียน และนักแสดงอิสระ
ผศ.ดร.วิไลวรรณ จงวิไลเกษม
  • อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยุและโทรทัศน์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ความสนใจ : นิเวศสื่อด้านข่าว สื่อกับการขับเคลื่อนทางสังคม
    การสื่อสารเครือข่ายสังคมออนไลน์


คณะกรรมการตัดสิน

คุณกิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิณ
  • นักวิจารณ์บันเทิงอาวุโส  ด้านวรรณกรรม ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ละครเวที ดนตรี ฯลฯ
  • เป็นอาจารย์สอนทางด้านบันเทิงต่างๆในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง
คุณดำรง  พุฒตาล2
  • ผู้จัดรายการโทรทัศน์ และ พิธีกรรายการโทรทัศน์มากมาย
  • เป็นผู้บรรยาย เรื่องการใช้ภาษาไทย สำหรับโฆษก  พิธีกร และผู้ผลิตรายการวิทยุ และโทรทัศน์ให้กับกรมประชาสัมพันธ์ และสมาคมวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
  • ได้รับรางวัล “เมขลา” ในฐานะพิธีกรดีเด่นเป็นคนแรก
  • ได้รับรางวัลเกียรติยศคนทีวี รางวัลโทรทัศน์ทองคำ
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ยุบล เบ็ญจรงค์กิจศ.ก.ดร. ยุบล
  • คณบดีคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิต    พัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
  • อดีตคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มีผลงานทางด้านวิจัยมากมาย เคยเป็นกรรมการตัดสินรางวัลเมขลา รางวัลโทรทัศน์ทองคำ
รศ. อรนุช เลิศจรรยารักษ์รศ. อรนุช
  • อดีตรองคณบดี คณะวารสารศาสตร์สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิกระทรวงวัฒนธรรมในการพิจารณารายชื่อละครโทรทัศน์ไทย ในสมัยรัชการที่ 9
  • ได้รับรางวัลผู้เขียนตำราจากการเขียนหนังสือเรื่อง การเขียนบทวิทยุ โทรทัศน์ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รศ. ปิยกุล  เลาวัณย์ศิริรศ
  • อดีตคณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อดีตคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเฉลิมพระเกียรติ
  • เคยเป็นกรรมการตัดสินรางวัลบันเทิงหลายรางวัล รวมทั้ง รางวัลโทรทัศน์ทองคำ
คุณนันทวัน เมฆใหญ่ สุวรรณปิยะศิริ
  • นักแสดงโทรทัศน์มาแต่สมัย ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม มีผลงานการแสดงมากมายมาจนปัจจุบัน
  • เคยได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ เกียรติยศคนทีวี และรางวัลเชิดชูผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นแห่งชาติ

คุณจิระนันท์  พิตรปรีชา
  • กวีซีไรท์ ปี 2532
  • มีผลงานทางด้านวรรณกรรม
  • การจัดทำบทบรรยายภาพยนตร์ และ อื่นๆ อีกมากมาย
  • ทำกิจกรรมสังคมหลายโครงการในปัจจุบัน
ดร.ประภาส  นวลเนตร C:\Users\Wira\AppData\Local\Microsoft\Windows\INetCache\Content.Word\ดร.ประภาส.JPG
  • อาจารย์ประจำ สาขาวิชานวัตกรรมสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในวิชาชีพสื่อสารมวลชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • กรรมการตัดสินรางวัลโทรทัศน์ทองคำ รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ
  • กรรมการสภาตรวจพิจารณาภาพยนตร์แห่งชาติ
  • อาจารย์พิเศษ  สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ
คุณยุพา  ทวีวัฒนะกิจบวรภาพคุณยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร111
  • ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
  • คณะกรรมการตัดสินรางวัล Nine Entertain Award
  • กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

สถานีโทรทัศน์ดิจิทัลช่องต่างๆ ที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช.

บริการสาธารณะ
  1. ททบ.       ช่อง 1 สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก
  2. NBT        ช่อง 2 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์
  3. ThaiPBS ช่อง 3 สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส  องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
  1. รัฐสภา ช่อง 10 สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
บริการทางธุรกิจ
หมวดเด็ก เยาวชน และครอบครัว
  1. ช่อง 3 Family ช่อง 13 สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 แฟมิลี่ บริษัท บีอีซี  เวิลด์ 3 แฟมิลี่ จำกัด
  2. MCOT Family ช่อง 14 สถานีโทรทัศน์เอ็มคอท แฟมิลี่ บริษัท MCOT คิดส์ & แฟมิลี่ จำกัด
หมวดหมู่ข่าวสารและสาระ
  1. TNN 24 ช่อง 16 สถานีข่าวโทรทัศน์ TNN 24  บริษัท ไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ค (ทีเอ็นเอ็น) จำกัด
  2. NEW TV ช่อง 18 สถานีโทรทัศน์ดิจิทัล ช่อง 18 บริษัท ดีเอ็น บรอดคาสท์ จำกัด
  3. Spring News ช่อง 19 สถานีโทรทัศน์สปริงค์นิวส์ บริษัท สปริงนิวส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
  4. Bright TV ช่อง 20 สถานีโทรทัศน์ไบรท์ทีวี   บริษัท ไบรท์ทีวี จำกัด
  5. Voice TV ช่อง 21 สถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี  บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด
  6. Nation TV ช่อง 22 สถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
หมวดหมู่ทั่วไป ความคมชัดปกติ
  1. Workpoint TV ช่อง 23 สถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เมนท์ จำกัด (มหาชน)
  2. True4U ช่อง 24 สถานีโทรทัศน์ทรูโฟร์ยู บริษัท ทรูโฟร์ยูสเตย์ชั่น จำกัด
  3. GMM TV ช่อง 25 สถานีโทรทัศน์จีเอ็มเอ็ม บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด
  4. NOW ช่อง 26 สถานีโทรทัศน์นาว 26 บริษัท แบงค็อก บิสสิเนส บอร์ดแคสติ้ง จำกัด
  5. ช่อง 8 ช่อง 27 สถานีโทรทัศน์ช่อง 8  บริษัท อาร์เอส เทเลวิชั่น จำกัด
  6. 3SD ช่อง 28 สถานีโทรทัศน์ช่อง 3SD  บริษัท บีอีซี มัลติมีเดีย จำกัด
  7. MONO29 ช่อง 29 สถานีโทรทัศน์โมโนทเวนตี้ไนน์ บริษัท โมโนบรอดคาสท์ จำกัด
หมวดหมู่ทั่วไป ความคมชัดสูง
  1. MCOT HD ช่อง 30 สถานีโทรทัศน์เอ็มคอท เอชดี บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
  2. ONE31 ช่อง 31 สถานีโทรทัศน์ช่องวัน 31 บริษัท จีเอ็มเอ็มวันทีวี จำกัด
  3. ไทยรัฐทีวี ช่อง 32 สถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี บริษัท ทริปเปิ้ลวีบรอดคาสท์ จำกัด
  4. 3HD ช่อง 33 สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 บริษัท บีอีซีมัลติมีเดีย จำกัด
  5. อมรินทร์ทีวี ช่อง 34 สถานีโทรทัศน์อมรินทร์ บริษัท อมรินทร์เทเลวิชั่น จำกัด
  6. ช่อง 7 HD ช่อง 35 สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 เอชดี บริษัทกรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด
  7. PPTV HD 36 ช่อง 36 สถานีโทรทัศน์พีพีทีวีเอชดี 36 บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด