ADS


Breaking News

เชิญ “แต่งชุดไทย ไปอยุธยา” ร่วมกิจกรรม โครงการแรลลี่ส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

โครงการแรลลี่ส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

“แต่งชุดไทย ไปอยุธยา”
     นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (กลาง)
พร้อมกับ
พิตต้า ณ พัทลุง (ซ้าย)
และ
นายสมศักดิ์  เจริญไพฑูรย์ นายอำเภอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา (ขวา)
ดร.สุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เชิญชวนประชาชนทั่วไป ร่วมกิจกรรม โครงการแรลลี่ส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในชื่อว่า“แต่งชุดไทย ไปอยุธยา” วันที่ 18 – 19 สิงหาคม 2561 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ประชาชนคนรุ่นหลังเกิดความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของบูรพมหากษัตริย์ ได้เกิดความรู้ความเข้าใจ และสืบสานมรดกทางวัฒนธรรม ประเพณีไทย ในอดีตอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ยังส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่นอีกด้วย
โดยในงานนั้นจะเป็นการจัด Rally ตามรอยเส้นทางมรดกโลก ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับการยกย่องจากองค์การ UNESCO ให้อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในปี พ.ศ. 2534 ทั้งนี้ทางอำเภอจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ส่งเสริมให้เกิดการสร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่น ด้วยการคิดรูปแบบการจัด Rally ด้วยรถตุ๊กตุ๊ก ที่เป็นรถโดยสารที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับความสะดวกสบายในการร่วมกิจกรรม ร่วมถึงการได้เรียนรู้ประเพณีวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัยก่อน เช่น การเปิบข้าวด้วยมือ การทานอาหารข้าวห่อใบบัว การใช้ติหมาเป็นภาชนะแทนแก้ว การละเล่นแบบไทยๆ ตามจุด TC ต่างๆ อันได้แก่ วัดพระศรีสรรเพชญ์ , วัดมงคลบพิตร , วัดมหาธาตุ , วัดราชบูรณะ และ วัดไชยวัฒนาราม
ทั้งนี้เปิดรับสมัครทั้งสิ้น 250 ทีม ทีมละ 2 คน โดยจะต้องมีตัวแทนแต่งชุดไทยอย่างน้อย 1 คนในการเข้าร่วมกิจกรม  พร้อมค่าสมัครจำนวน 1,000 บาทต่อทีม (รวมค่าอาหารและที่พักจำนวน 1 คืน) ทั้งนี้ในงานนอกจากความสนุกและความรู้ที่ได้รับแล้ว ยังมีรางวัลต่างๆ มอบให้อีกด้วย
ช่องทางการสมัคร

Facebook : แรลลี่แต่งชุดไทย-ไปอยุธยา
Line ID : ayarally2018
โทรศัพท์ :
088-152-8888

โครงการแรลลี่ส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
“แต่งชุดไทย ไปอยุธยา”
หลักการและเหตุผล
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน เป็นราชธานีเก่าที่มีอายุยาวนานถึง 417 ปี มีอารยะธรรม มีขนบธรรมเนียมประเพณี มีโบราณสถาน และสถานที่สำคัญมากมายหลายแห่ง อันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติจากทั่วทุกสารทิศให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเยี่ยมชมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญอุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534
ปัจจุบันกระแสการท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ่น นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย จากทุกจังหวัดและชาวต่างชาติจากหลั่งไหล เดินทางเข้ามายังสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก
อำเภอพระนครศรีอยุธยา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเห็นถึงโอกาสอันจะต่อยอด และโหมกระแสการท่องเที่ยวของจังหวัดให้ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งต่อไปถึงช่วงการจัดงานยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก จึงได้จัดทำ โครงการแรลลี่ส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา “แต่งชุดไทย ไปอยุธยา” ขึ้นมาเพื่อเชิญชวน และดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาร่วมกิจกรรมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วัตถุประสงค์/เป้าหมายโครงการ
  • เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยงของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • เพื่อส่งเสริมการแต่งกายชุดไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของกรุงศรีอยุธยา
  • เพื่อขยายฐานการท่องเที่ยวของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • เพื่ออนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีวิถีชุมชนทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
กิจกรรมแรลลี่
จำนวนผู้เข้าร่วมทั้งหมด 250 ทีม ประกอบด้วย ประชาชนทั่วไปจำนวน 200 ทีม สื่อมวลชน 50 ทีม โดยแต่ละทีมจะมีสมาชิกในทีมอย่างน้อยทีมละ 2 คน โดยต้องมี 1 ท่านต้องแต่งชุดไทย โดยในระหว่างทำกิจกรรมแรลลี่ รถตุ๊กตุ๊ก (รถสามล้อรับจ้าง) จะเป็นพาหนะในการพาผู้เข้าเข้าร่วมทำกิจกรรมในแต่ละฐาน TC ที่กำหนด
ช่องทางการสมัคร
  • Facebook ของโครงการ
    • แรลลี่แต่งชุดไทย-ไปอยุธยา
  • Line ของโครงการ
    • ayarally2018
  • โทรศัพท์
    • 088-152-8888
  • Email ไว้ส่งหลักฐาน

โดยผู้เข้าสมัครแบบทั่วไปจะต้องลงทะเบียนและเสียค่าสมัครทีมละ 1000 บาท เข้าเป็นรายได้ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ข้อมูลการเข้าจุด TC ของแต่ละทีม
เราจะทำการแบ่งทีมออกเป็นดังนี้
  • กลุ่มที่ 1 ทีมหมายเลข 1-62
  • กลุ่มที่ 2 ทีมหมายเลข 63-125
  • กลุ่มที่ 3 ทีมหมายเลข 126-187
  • กลุ่มที่ 4 ทีมหมายเลข 188-250
  • โดยแต่กลุ่มจะสลับกันเข้า TC แต่ละ TC โดย TC ที่ 3 ที่ทุกลุ่มจะมารวมตัวกันเพื่อรับประทานอาหารกลางวัน คือที่ วัดมงคลบพิตร หลังจากนั้นจะแยกย้ายไปเข้า จุด TC ที่เหลือของแต่กลุ่ม.

กำหนดการ
วันที่ 18 สค. 2561
  • 07.00 – 08.00 น. จอดรถที่โรงแรมที่กำหนด วางกระเป๋า
แล้วนั่งรถตุ๊กตุ๊กที่กำหนดไปจุด start
  • 08.00 – 10.00 น. ลงทะเบียน รับอาหารเช้า ฟังรายละเอียดข้อมูลพร้อม TC ที่ 1 ศาลาหลังเก่า
  • 10.00 – 10.15 น. ประธานในพิธีกล่าวเปิด ปล่อยตัวขบวนรถผู้ร่วมกิจกรรม
  • 10.15 - 11.30 น. กลุ่มที่ 1 ไปจุด TC ที่ 2
กลุ่มที่ 2 ไปจุด TC ที่ 4
กลุ่มที่ 3 ไปจุด TC ที่ 5
กลุ่มที่ 4 ไปจุด TC ที่ 6
  • 11.45 – 12.00 น. กลุ่มที่ 1 ไปจุด TC ที่ 4
กลุ่มที่ 2 ไปจุด TC ที่ 5
กลุ่มที่ 3 ไปจุด TC ที่ 6
กลุ่มที่ 4 ไปจุด TC ที่ 2
  • 12.30 – 13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน ณ TC ที่ 3 วัดมงคลบพิตร
  • 13.30 – 14.30 น. กลุ่มที่ 1 ไปจุด TC ที่ 5
กลุ่มที่ 2 ไปจุด TC ที่ 6
กลุ่มที่ 3 ไปจุด TC ที่ 2
กลุ่มที่ 4 ไปจุด TC ที่ 4
  • 15.00 – 16.30 น. กลุ่มที่ 1 ไปจุด TC ที่ 6
กลุ่มที่ 2 ไปจุด TC ที่ 2
กลุ่มที่ 3 ไปจุด TC ที่ 4
กลุ่มที่ 4 ไปจุด TC ที่ 5
  • 16.30 – 17.30 น. รถตุ๊กตุ๊ก จัดส่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมตาม โรงแรมที่ที่กำหนด
เพื่อเตรียมกิจกรรมช่วงเย็น
  • 18.00 – 20.30 น. เริ่มกิจกรรมช่วงเย็น ที่โรงแรม Cavali casa ห้องแกรนด์บอลรูม
พร้อมการแสดง และแจกรางวัล
วันที่ 19 สค. 2561
  • 08.00 – 09.30 น. รับประทานอาหารเช้า ที่โรงแรมที่พัก
  • 10.00 – 12.00 น. เดินทางมายัง จุดนั่งรถรางชมเมือง พร้อมทัวร์ชมเมือง

ข้อมูล Rally จุด TC แต่ละจุด
TC ที่ 1 ศาลากลางจังหวัดเก่า : ได้ก่อสร้างพระบรมรูปวีรกษัตริย์วีรสตรี ซึ่งได้ประกอบคุณาประโยชน์อย่างใหญ่หลวงแก่กรุงศรีอยุธยาและชาติไทยในครั้งอดีตรวม ๖ พระองค์ คือ ๑.สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) พระหัตถ์ซ้ายถือปราสาทสังข์ปฐมกษัตริย์ผู้สร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อ พ.ศ. ๑๗๙๓
๒.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระหัตถ์ทั้งสองถือประมวลกฎหมายผู้ทรงพระปรีชาสามารถในทางปกครอง
๓.สมเด็จพระศรีสุริโยทัย วีรสตรีซึ่งได้เสด็จออกไปสู้รบกับข้าศึก เมื่อ พ.ศ.๒๐๙๓และได้เสียสละพระชนม์ชีพเพื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามี
๔.สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. ๒๐๓๓ - พ.ศ. ๒๑๔๘) พระหัตถ์ขวาถือพระแสงของ้าวพระหัตถ์ซ้ายถือพระมาลา ผู้ทรงกอบกู้พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเสียแก่พม่าครั้งแรกและได้สู้รบกับข้าศึกถึง ๗ ครั้ง
๕.สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙ - พ.ศ. ๒๒๓๑) พระหัตถ์ทั้งสองถือพระราชสาสน์ได้ทรงทำสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ เช่น ประเทศฝรั่งเศส ครั้งพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และทรงนำเอาวัฒนธรรมทางตะวันตกมาเผยแพร่ไว้มากครั้งเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ในรัชสมัยของพระองค์ การค้าขายเจริญรุ่งเรืองมาก
๖.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙ - พ.ศ. ๒๓๓๕) พระหัตถ์ทั้งสองถือดาบ ได้ทรงกอบกู้ความเป็นเอกราชไว้ได้ในคราวเสียกรุงครั้งสุดท้าย เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ และย้ายเมืองหลวงไปตั้งที่กรุงธนบุรี
TC ที่ 2 วัดพระศรีสรรเพชญ์ : วัดพระศรีสรรเพชญ์ตั้งอยู่ในเขตตำบลประตูชัย สร้างขึ้นในบริเวณที่เป็นพระราชวังหลวงในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ถึงแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพ.ศ. ๑๙๙๑ ทรงย้ายพระราชวังไปสร้างใหม่ทางด้านเหนือริมแม่น้ำลพบุรี และยกบริเวณพระราชวังเดิมให้เป็นพุทธาวาสของวัดพระศรีสรรเพชญ์ เพื่อใช้เป็นสถานที่ให้พระมหากษัตริย์ทรงประกอบพระราชพิธีทางศาสนา
TC ที่ 3 วัดมงคลบพิตร : วิหารพระมงคลบพิตร ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นที่ประดิษฐานพระมงคลบพิตร พระพุทธรูปบุสำริดปางมารวิชัย ที่สะท้อนภูมิปัญญาในศาสตร์แห่งโลหะและความชำนิชำนาญของช่างฝีมือไทยในหล่อโลหะโดยเฉพาะงานหล่อสำริดโลหะสำคัญในสมัยอยุธยา มีขนาดหน้าตักกว้าง 9.55 เมตรและสูง 12.45 เมตร นับเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์หนึ่งในประเทศไทย สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ครั้นเมื่อรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้การปฏิสังขรณ์ใหม่ ซึ่งยังคงเค้าความเป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยา และสามารถเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนกลางได้อย่างดี สำหรับบริเวณข้างวิหารพระมงคลบพิตรทางด้านทิศตะวันออกแต่เดิมเป็นสนามหลวง ใช้เป็นที่สำหรับสร้างพระเมรุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์และเจ้านายเช่นเดียวกับท้องสนามหลวงของกรุงเทพฯ
TC ที่ 4 วัดมหาธาตุ : ในอดีตวัดมหาธาตุเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญที่สุดในกรุงศรีอยุธยา เพราะนอกจากเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุกลางเมืองแล้ว ยังเป็นที่พำนักของสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายคามวาสีอีกด้วย ปัจจุบันตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และที่น่าสนใจใจอีกสิ่งหนึ่งคือเศียรพระพุทธรูปหินทรายศิลปะอยุธยาที่มีรากต้นโพธิ์ปกคลุมอยู่ เข้าใจกันว่าเศียรพระพุทธรูปนี้จะหล่นลงมาอยู่ที่โคนต้นไม้ในสมัยเสียกรุง จนรากไม้ขึ้นปกคลุมทำให้มีความงดงามแปลกตา
TC ที่ 5 วัดราชบูรณะ : ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของวัดมหาธาตุ มีฐานะเป็นพระอารามหลวงในสมัยอยุธยา
ภายในวัดประกอบด้วยองค์ปรางค์ประธาน ซึ่งล้อมรอบด้วย ระเบียงคต มีพระวิหารตั้งอยู่ทาง
ทิศตะวันออก ส่วนพระอุโบสถตั้งอยู่ทางด้านหลังของวัดทางทิศตะวันตกในแนวประธานเดียวกัน
วัดราชบูรณะ โด่งดังมากในเรื่องการขุดพบเครื่องทองมากมายในกรุพระปรางค์ใหญ่
TC ที่ 6 วัดไชยวัฒนาราม : เป็นวัดสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. 2173 โดยเดิมบริเวณที่ตั้งของวัดแห่งนี้เคยเป็นที่อยู่ของพระราชมารดาที่ได้สิ้นพระชนม์ไปก่อนที่พระเจ้าปราสาททองได้เสวยราชสมบัติเป็นกษัตริย์ เมื่อพระองค์ได้เสวยราชสมบัติ พระองค์จึงได้สร้างวัดไชยวัฒนารามขึ้นเพื่ออุทิศผลบุญนี้ให้กับพระราชมารดาของพระองค์ และอีกประการหนึ่งวัดนี้อาจถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือเขมรด้วย จึงทำให้มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมส่วนหนึ่งมาจากปราสาทนครวัด วัดไชยวัฒนารามเป็นวัดหลวงที่บำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์สืบต่อมาหลังจากนั้นทุกพระองค์ จึงได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชสมัย เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงศพพระบรมวงศานุวงศ์เกือบทุกพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสิ้นพระชนม์ก็ได้ถวายพระเพลิงที่วัดนี้
เกมส์การละเล่นในแต่ละ TC : จะเน้นเป็นเกมส์ไทยๆสมัยอยุธยา เน้นให้ความรู้ สนุกสนาน และแฝงสาระของจุด TC และจุด เข้าไปในกิจกรรม โดยกิตการายละเอียดจะถูกเฉลยวันงาน
กิจกรรมการประกวดในงาน ประกอบด้วยการประกวดชุดไทย โดยผู้เข้าร่วมการแข่งที่ลงทะเบียนเพื่อจะประกวด และ ประกวดภาพถ่ายด้วยการดูจำนวนคนกด like กด share มากสุดในระยะเวลาที่จำกัด
กิจกรรมงานเลี้ยงช่วงเย็น

จัดขึ้นที่โรงแรม Cavali casa ห้องแกรนด์บอลรูม เวลา 18.00 น. โดยจะเป็นการจัดเลี้ยงอาหารเย็นให้แก่ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน รวมถึงแขก VIP ในงาน และมีการแสดงไทยให้ชมในระหว่างงาน พร้อมทั้งมีการสรุปกิจกรรมประกาศผู้ชนะกิจกรรมในแต่ละหมวดพร้อมทำการมอบรางวัลต่างๆ