ADS


Breaking News

เดลล์ อีเอ็มซี จับมือ วีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) รุกขยายธุรกิจ IoT เจาะตลาดทั้งในประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย 27 มิถุนายน 2561
สรุปข่าว:
  • ความร่วมมือครั้งนี้มีเป้าหมายในการสนับสนุนการใช้งานอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ หรือ IoT ขององค์กรธุรกิจทั้งในประเทศไทย กัมพูชา ลาว และเมียนมาร์
  • กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในขั้นต้น ได้แก่ น้ำมันและก๊าซ (Oil & Gas) อุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing) สุขภาพ (Healthcare) การเกษตร (Agriculture) และโครงการเมืองปลอดภัย (Safe City)
  • มีเป้าหมายในการส่งมอบโซลูชันโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ตลอดจนการบริการที่สมบูรณ์พร้อมมี เพื่อช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถดำเนินโครงการด้าน IoT ได้อย่างรวดเร็ว
เดลล์ อีเอ็มซี และบริษัทวีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศความร่วมมือเป็นพันธมิตร เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในด้านความสามารถของทั้งสองบริษัทในการให้บริการโซลูชันโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีแบบครบวงจร เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถระบุถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมและถูกต้องเพื่อเสริมความก้าวหน้าให้กับแนวคิดริเริ่มของบริษัททางด้าน IoT ความร่วมมือนี้ช่วยส่งเสริมความแข็งแกร่งของทั้งสองบริษัท ทั้งในส่วนของสายผลิตภัณฑ์ด้านอินฟราสตรัคเจอร์ที่ครบวงจร พร้อมทั้งความสามารถทางด้านระบบ IoT และระบบ embedded ที่ครอบคลุม  ตั้งแต่อุปกรณ์ปลายทาง (Edge) ไปสู่ส่วนกลางที่เป็นดาต้าเซ็นเตอร์ (Core) และต่อไปยังคลาวด์ (cloud) พร้อมกับโซลูชันซอฟต์แวร์จากเครือข่ายบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์อิสระ (ISVs) ของวีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) เพื่อช่วยพัฒนา IoT ซลูชันนำเสนอโซลูชันได้ตามความต้องการเฉพาะด้านของผู้ประกอบการในแต่ละอุตสาหกรรม

ทั้งสองบริษัทจะทำงานร่วมกันเพื่อสนับสนุนโครงการ IoT ในประเทศไทย กัมพูชา ลาวและเมียนมาร์ นำเสนอโซลูชันและบริการด้านไอทีแบบครบวงจรให้กับลูกค้าในอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ การผลิต การดูแลสุขภาพ การเกษตร และโครงการเมืองปลอดภัย (Safe City)
"โอกาสของธุรกิจ IoT ในประเทศไทยและอินโดจีนมีมหาศาล ทั้งโอกาสทางด้านการตลาดและในด้านการช่วยให้ลูกค้าสามารถปฎิรูปองค์กรในการดำเนินงาน” นายอโณทัย เวทยากร รองประธานบริหาร เดลล์ อีเอ็มซี ภูมิภาคอินโดจีน กล่าว “เพื่อช่วยให้องค์กรธุรกิจได้รับประโยชน์จาก IoT ได้อย่างเต็มที่ เราจึงร่วมมือกับวีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) เพื่อช่วยให้ลูกค้าในอุตสาหกรรมสามารถใช้งานโซลูชัน IoT แบบครบวงจรได้ง่ายขึ้น ตั้งแต่อุปกรณ์ปลายทาง ไปจนถึงดาต้าเซ็นเตอร์ และคลาวด์ รวมทั้งประสบความสำเร็จในการก้าวสู่อนาคตดิจิทัลด้วย IoT”


ไอดีซีคาดว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น) จะอยู่ในระดับแนวหน้าของ IoT ในตลาดซึ่งได้รับการประมาณการว่าจะมีการใช้จ่ายทั่วโลกถึง 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2564 ไอดี กล่าวว่าภูมิภาคนี้มีเส้นทางการพัฒนาด้าน IoT ที่ก้าวหน้ามากและจะกลายเป็นผู้นำด้านการลงทุนใน IoT ด้วยการใช้จ่ายที่คาดว่าจะสูงถึง 4.55 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2564 ซึ่งเห็นได้ชัดเจนทั่วทุกตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดญี่ปุ่น จีน อินเดีย เกาหลี ออสเตรเลีย สิงคโปร์และไทย
เดลล์ อีเอ็มซีตระหนักในศักยภาพการเติบโตของตลาด IoT ในประเทศไทย และบริษัทประสบความสำเร็จในการทำงานร่วมกับลูกค้าเพื่อนำร่องโครงการริเริ่ม IoT โครงการแสนสุข สมาร์ทซิตี้ (Saensuk Smart City) เป็นตัวอย่างการนำไปใช้งานของภาครัฐที่เดลล์ อีเอ็มซีช่วยผลักดันให้เกิดขึ้น โครงการนี้เป็นการใช้ระบบการติดตามตรวจสอบด้านการสาธารณสุขที่ชาญฉลาด โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงคุณภาพในการดูแลสุขภาพประชากรสูงวัยในพื้นที่
“เรามุ่งมั่นที่จะช่วยลูกค้าสร้างโซลูชัน IoT ที่เหมาะสมเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะ” เออร์วิน เมเยอร์, ผู้จัดการทั่วไป ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและเอเชียใต้, เดลล์ อีเอ็มซี โออีเอ็มแอนด์ โซลูชัน IoT กล่าว “เราพร้อมให้ผลิตภัณฑ์และบริการทางด้าน IoT ที่ครอบคลุมที่สุดสำหรับอุตสาหกรรม โดยเรามีโซลูชันที่พร้อมตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในกว่า 40 อุตสาหกรรม ในกว่า 180 ประเทศทั่วโลก ทำให้เราเป็นพันธมิตรในอุดมคติที่สามารถจัดหาระบบโครงสร้างพื้นฐานตามความต้องการขององค์กรธุรกิจเพื่อให้ลูกค้าสามารถบรรลุถึงเป้าหมายได้ตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ โดยทั้งหมดมาจากเราเป็นหนึ่งเดียว เรามีความเชี่ยวชาญที่จะช่วยให้องค์กรธุรกิจสามารถออกแบบ ทดสอบ วางระบบเพื่อการใช้งาน และสนับสนุนแอปพลิเคชัน IoT เชิงพาณิชย์และเชิงอุตสาหกรรม”
นายสมศักดิ์ เพ็ชรทวีพรเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทวีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) กล่าวว่า “ เรามีความยินดีอย่างยิ่งที่จะก้าวไปข้างหน้าเพื่อเปิดทางให้มีผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์อิสระ (ISV) ที่มีเทคโนโลยี IoT บทบาทหลักของเราในฐานะผู้จัดจำหน่ายที่ช่วยเพิ่มมูลค่า (Value-Added Distributor) คือการสร้าง ขยาย และถ่ายทอดความรู้ไปยังคู่ค้าผ่านการสัมมนาและการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากผู้ขายผลิตภัณฑ์ ขณะนี้มีการจัดตั้ง  ISV ถึง 40 รายและแบ่งตามประเภทอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต บ้านและสำนักงานอัจฉริยะ พลังงาน และน้ำมันและก๊าซ เมืองปลอดภัยและการดูแลสุขภาพ
“เราเชื่อมั่นในเดลล์ อีเอ็มซี และเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานของเดลล์ อีเอ็มซี รวมกับประสบการณ์กว่า 30 ปีของเราในตลาดไอที เรามั่นใจว่าเครือข่ายพันธมิตรและลูกค้าของเราจะมีการตอบรับที่ดีกับความร่วมมือของเรากับเดลล์ อีเอ็มซีในครั้งนี้ เรามีทีมงาน IoT ผู้ทุ่มเท ซึ่งมีความพร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดผ่านช่องทางการจัดจำหน่ายทางธุรกิจกว่า 5,000 ช่องทางทั่วประเทศไทย นอกจากนี้ เรายังคาดการณ์ถึงโอกาสทางธุรกิจในกัมพูชา ลาวและเมียนมาร์อีกด้วย” นายสมศักดิ์ กล่าวสรุป

เกี่ยวกับเดลล์ อีเอ็มซี
เดลล์ อีเอ็มซี เป็นส่วนหนึ่งของ เดลล์ เทคโนโลยีส์ ที่มุ่งช่วยองค์กรธุรกิจเปลี่ยนโฉมดาต้าเซ็นเตอร์ไปสู่ความทันสมัย ในระบบอัตโนมัติ โดยใช้เทคโนโลยีชั้นนำของอุตสาหกรรมทั้งระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบควบรวม เซิร์ฟเวอร์ สตอเรจ และระบบปกป้องข้อมูล ให้พื้นฐานที่เชื่อถือได้สำหรับธุรกิจที่ต้องการพลิกโฉมไอที ด้วยการสร้างไฮบริดคลาวด์ พร้อมปรับโฉมธุรกิจด้วยการสร้างแอพพลิเคชันเพื่อการใช้งานบนคลาวด์และโซลูชันบิ๊กดาต้า ทั้งนี้ เดลล์ อีเอ็มซี ให้บริการลูกค้าครอบคลุม 180 ประเทศ รวมถึง 98 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรในทำเนียบ Fortune 500 ด้วยสายผลิตภัณฑ์แห่งนวัตกรรมที่สมบูรณ์ที่สุดในอุตสาหกรรมทั้งระบบงานหลักจนถึงระบบคลาวด์
เกี่ยวกับวีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย)
บริษัท วีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) จำกัด (เดิมชื่อบริษัทเดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2531 ปัจจุบันเป็นบริษัทหนึ่งในเครือของวีเอสที อีซีเอสกรุ๊ป ประเทศฮ่องกง ผู้นำด้านการจัดจำหน่ายสินค้าไอทีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคที่มีช่องทางการจัดจำหน่ายกว่า 35,000 รายกระจายอยู่ในประเทศจีน, ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, เมียนมาร์ และลาว

วีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) ดำเนินธุรกิจเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าด้านไอทีผ่านทางธุรกิจ 2 กลุ่มหลัก คือ ด้านเอนเตอร์ไพรส์ซิสเตมส์ และด้านช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าไอที ภายใต้แบรนด์ชั้นนำระดับโลกกว่า 40 แบรนด์ มีสำนักงานสาขาที่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ซึ่งเปิดดำเนินการเมื่อเดือนเมษายน 2557 ในชื่อบริษัทอีซีเอส แวลลู เมียนมาร์ เซอร์วิสเซส จำกัด และที่ราชอาณาจักรกัมพูชา เปิดดำเนินการเมื่อเดือนพฤษภาคม 2558 ในชื่อบริษัทอีซีเอส แวลลู (กัมพูชา) จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจด้านเอนเตอร์ไพรส์ซิสเตมส์โดยเฉพาะ ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) ได้ที่ www.vstecs.co.th


ลูกค้า IOT ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (APJ)


ความต้องการทางธุรกิจ: เนื่องจากประชากร 15 เปอร์เซ็นต์เป็นประชากรสูงอายุ รัฐบาลจึงตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดสรรการดูแลที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นสำหรับคนชรา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่บ้านเพียงลำพังในระหว่างวันโดยไม่ค่อยได้รับการดูแลมากนักหรืออาศัยอยู่ในบ้านพักคนชรา
โซลูชัน: เทศบาลเมืองแสนสุขได้เริ่มต้นแนวคิดริเริ่มการดูแลสุขภาพแบบอัจฉริยะแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการนำร่องที่เทศบาลเมืองแสนสุขร่วมมือกับพันธมิตรด้านเทคโนโลยี มีการนำ Dell IoT Gateway มาใช้ในบ้านผู้ของป่วย ในขณะที่มีการติดตั้ง Dell Edge Gateway ซีรีส์ 5000 เกรดอุตสาหกรรมที่บ้านพักคนชรา ซึ่งช่วยให้ข้อมูลเชิงลึกที่แม่นยำและเกี่ยวเนื่องถูกส่งไปยังระบบไพรเวท คลาวด์ของเดลล์ เพื่อส่งต่อไปยังสำนักงานใหญ่บ้านพักคนชราของเทศบาล ซึ่งจะอัพเดทข้อมูลในวงกว้างแบบเรียลไทม์และจากนั้นจะเก็บอย่างถาวรไว้ในระบบ Dell PowerEdge VRTX แบบคอนเวิร์จ
ประโยชน์ที่ได้รับ: การเข้าถึงประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วยและข้อมูลเรียลไทม์ช่วยให้แพทย์ในท้องถิ่นสามารถระบุภาวะฉุกเฉินที่เจาะจง และสามารถแยกแยะประเภทของการตอบสนองทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับกรณีเร่งด่วน
คำกล่าวของลูกค้า
“แสนสุขสมาร์ทซิตี้จะพึ่งพาเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อทำให้ชีวิตของชาวเมืองดีขึ้น และทำให้ประสบการณ์ในการท่องเที่ยวสำหรับผู้ที่มาเยือนเมืองนี้นั้นดียิ่งขึ้น เราเลือกที่จะทำงานร่วมกับเดลล์ เทคโนโลยีส์จากประสบการณ์ในการจัดตั้งสมาร์ทซิตี้ โดยได้สร้างโครงการอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ขนาดใหญ่ที่มีความน่าเชื่อถือสูงในเมืองอื่นทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เรามีความพึงพอใจเป็นอย่างมากกับการวางระบบในเฟสแรกนี้ และเรามั่นใจว่าการดำเนินงานขั้นตอนต่อไปของโครงการจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีค่ายิ่งสำหรับเมืองของเรา”
~ นายณรงค์ชัย คุณปลื้ม, นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองแสนสุข


ไซโจ เด็นกิ (ประเทศไทย)
ความต้องการทางธุรกิจ: ไซโจ เด็นกิ ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศคุณภาพสูงรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของประเทศไทย ต้องการเปิดตัวโซลูชันระบบปรับอากาศอัจริยะ (Intelligent Air Conditioning Solution) ระบบใหม่ ที่นำเสนอตัวเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงานสำหรับอาคารพาณิชย์
โซลูชัน: ไซโจ เด็นกิ ร่วมกับเดลล์เพื่อนำเสนอระบบปรับอากาศอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนโดยข้อมูลซึ่งช่วยให้อาคารพาณิชย์ติดตามตรวจสอบและบริหารจัดการการใช้พลังงานของตนได้ดียิ่งขึ้น ไซโจ เด็นกิได้ใช้โซลูชันการเชื่อมต่อคลาวด์ Dell Wyse Cloud Connect เป็นเกตเวย์อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์เพื่อรวบรวมข้อมูลจากเซนเซอร์ที่ฝังตัวภายในเครื่องปรับอากาศและส่งข้อมูลไปยังศูนย์ข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์
ประโยชน์ที่ได้รับ: ไซโจ เด็นกิ ทำศูนย์ข้อมูลอัจริยะของเครื่องปรับอากาศ (Intelligent Data Center Air Conditioner) ให้เป็นจริงได้แล้ว โดยที่เมื่อก่อนนี้บริษัททำได้เพียงแค่จินตนาการเท่านั้น โซลูชันที่นำมาใช้ในโครงการนี้ช่วยให้ไซโจ เด็นกิ ส่งมอบระบบปรับอากาศอัจฉริยะให้กับลูกค้าองค์กรในตลาดได้ บริษัทคาดว่านี่จะกลายเป็นเทรนด์ให้กับผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศทั่วภูมิภาค


ความต้องการทางธุรกิจ: เพื่อช่วยให้บริษัทใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี IoT และปรับปรุงการประมวลผล เอสเค เทเลคอมต้องการสร้างอุปกรณ์ IoT Big Data เพื่อการวิเคราะห์ขั้นสูง
โซลูชัน: เอสเค เทเลคอมสร้างอุปกรณ์  IoT ด้วยการสนับสนุนจากเดลล์ โออีเอ็ม โซลูชัน ที่มอบ Dell PowerEdge เซิร์ฟเวอร์ เพื่อทำหน้าที่เป็นหัวใจของโซลูชันในการทำงาน รวมถึงการทำแบรนดิ้ง และการบริการเพื่อให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ
ประโยชน์ที่ได้รับ: โซลูชันนี้ช่วยให้บริษัทสามารถมุ่งเน้นในด้านธุรกิจได้ดีมากยิ่งขึ้นพร้อมทั้งสามารถประหยัดเวลาได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์จากสัมพันธภาพในด้าน OEM ทั้งนี้ ลูกค้ามีความมั่นใจมากขึ้นจากเครือข่ายการสนับสนุนที่ครอบคลุม อุปกรณ์นี้ช่วยให้สามารถวางแผนการขายทั่วเอเชียได้เนื่องจากซัพพลายเชนชั้นที่หนึ่ง (Tier One) และช่วยให้ประหยัดได้เพิ่มเติมในอนาคตกับบริการ OEM แบบเพิ่มมูลค่า


ความต้องการทางธุรกิจ: อินโนเดป ซึ่งเป็นผู้ให้บริการซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยและการเฝ้าระวัง ต้องการคว้าโอกาสทางการตลาดสำหรับอุปกรณ์ใช้งาน IoT โดยขยายความสำเร็จของโซลูชันรักษาความปลอดภัยที่ใช้ IP สำหรับโลกที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้นนี้
โซลูชัน: อินโนเดปต้องการต่อยอดความสำเร็จของ Vurix IP-Matrix อุปกรณ์จัดการวีดีโอรักษาความปลอดภัยผสมผสานความสามารถของ IoT อินโนเดปมีระบบอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ Dell EMC PowerEdge R730 อยู่แล้ว จึงทำงานร่วมกับเดลล์อีเอ็มซีโออีเอ็ม และเดลล์อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์เพื่อใช้ฮาร์ดแวร์สแต็ก Vurix IP-Matrix ที่มีอยู่แล้วของเดลล์อีเอ็มซี โดยผสานรวมเข้ากับ Dell Edge Gateway ซีรีส์ 5000
ประโยชน์ที่ได้รับ: อินโนเดปประหยัดเวลาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปได้ 40% และตอนนี้บริษัทสามารถนำเสนอการรักษาความปลอดภัยอาคารที่ดียิ่งขึ้น การทำงานร่วมร่วมกันของระบบที่มากขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้นและรูปแบบการสนับสนุนที่เรียบง่าย


ความต้องการทางธุรกิจ: ชิตาเล่ แดรี่ต้องการเครือข่ายที่รวดเร็วและมีความพร้อมในการใช้งานสูงซึ่งสนับสนุนการเจริญเติบโตที่มหาศาลในการดำเนินกิจการและระบบอัตโนมัติของกระบวนการผลิตนมของบริษัท
โซลูชัน: มีการติดแท็ก RFID ไว้ที่วัวแต่ละตัวเพื่อบันทึกข้อมูลที่เก็บไว้ที่คลาวด์ การวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องนี้จะถูกส่งไปยังเกษตรกรในท้องถิ่นผ่านทาง SMS และเว็บเพื่อเตือนให้เกษตรกรทราบเมื่อพวกเขาถึงเวลาต้องเปลี่ยนอาหารของวัว จัดเตรียมวัคซีน และอื่น ๆ  บริษัทใช้งานแพลตฟอร์มเสมือนจริงของเดลล์ และอัปเกรดโครงสร้างพื้นฐานด้วยสวิตช์ Dell ™ Network อันส่งผลให้มีประสิทธิภาพการทำงานและส่วนซ้ำสำรองที่สูงขึ้นทั่วโรงงานผลิตของบริษัท
ประโยชน์ที่ได้รับการติดแท็กที่สัตว์และรวบรวมข้อมูลจากฟาร์มแต่ละแห่งโดยอัตโนมัติทำให้สุขภาพของสัตว์นั้นดีขึ้น ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตน้ำนมจากวัวแต่ละตัวมีมากขึ้น การส่งข้อมูลอย่างทันท่วงทียังช่วยสนับสนุนเกษตรกรในท้องถิ่นซึ่งดำรงชีพโดยพึ่งพาฟาร์มโคนมเป็นหลัก และทำให้ชิตาเล่สามารถบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานส่วนหนึ่งของตนได้ดีขึ้นด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วส่วนนี้มักมีปัญหาความไม่แน่นอน


ความต้องการทางธุรกิจ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฝูเจี้ยนต้องการสร้างแพลตฟอร์มคลาวด์ประสิทธิภาพสูงเพื่อขุดและวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ของการใช้ถนนในพื้นที่ และมอบข้อมูลดังกล่าวให้กับประชาชนและหน่วยงานรัฐบาล
โซลูชัน: ทางมหาวิทยาลัยสร้างแพลตฟอร์มคลาวด์แบบครบวงจรของเดลล์โดยใช้เซิร์ฟเวอร์เบลดและแร็ค Dell PowerEdge ร่วมกับโพรเซสเซอร์ Intel® Xeon®, พื้นที่จัดเก็บ Dell Storage ที่มีโพรเซสเซอร์ Intel® Xeon®, สวิตช์ Dell Network และ VMware® vCloud®
ประโยชน์ที่ได้รับ:  มหาวิทยาลัยฝูเจี้ยนและเดลล์ทำงานร่วมกันเพื่อผลักดันกลยุทธ์เมืองอัจฉริยะ (Smart City) เพื่อรับมือกับจำนวนยานพาหนะที่เพิ่มมากขึ้นได้เป็นผลสำเร็จ โครงการนี้ช่วยให้ประชาชนเดินทางได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยลดความแออัดของการจราจร มีการอัปเดตข่าวสารข้อมูลด้านการขนส่งได้แบบเรียลรีลไทม์ด้วยฐานข้อมูลแบบมีหน่วยความจำ และค่าใช้จ่ายในการใช้งานและการบริหารจัดการก็ลดลงเนื่องจากการใช้แพลตฟอร์มไอทีแบบรวมระบบ นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพสูงสุดเพราะฝ่ายสนับสนุนที่มีการตอบรับที่รวดเร็วอีกด้วย


ความต้องการทางธุรกิจ: ความต้องการปลาแซลมอนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเติบโตขึ้นอย่างชัดเจน และเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านี้ให้ได้ แทสซัสต้องเปลี่ยนแปลงธุรกิจของตนพร้อม ๆ กับปกป้องค่านิยมหลักของตนในเรื่องการไม่ก่อให้เกิดอันตราย เรื่องคุณภาพ เรื่องชุมชนและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
โซลูชัน: การพัฒนาเทคโนโลยีในส่วนของอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ และการใช้โครงสร้างพื้นฐานแบบไฮเปอร์คอนเวิร์จเพื่อสนับสนุนโซลูชันนี้ทำให้แทสซัสสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ทันเวลาและแม่นยำยิ่งขึ้น ครอบคลุมตั้งแต่การดำเนินกิจการของบริษัทไปจนถึงการเพาะพันธุ์และการจับปลาขึ้นจากบ่อ
ประโยชน์ที่ได้รับ: เมื่อเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์ ผลผลิตก็เพิ่มขึ้นในขณะที่ปริมาณอาหารที่ต้องการนั้นลดลง แทสซัสได้ลดค่าอาหารปลาลงหลายแสนดอลลาร์นับตั้งแต่มีการใช้งานระบบนี้ ในขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มผลผลิตโดยรวมอีกด้วย


ลูกค้าทั่วโลก
จีอี (GE)
ในวันที่ 7 กันยายน เดลล์ เทคโนโลยี ประกาศ พันธสัญญาระยะหลายปีกับจีอี ซึ่งเป็นบริษัทอุตสาหกรรมดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อเป็นผู้จัดหาโครงสร้างพื้นฐานไอทีหลักให้กับบริษัท
ข้อตกลงนี้ต่อยอดมาจากความร่วมมือระหว่างกลุ่มธุรกิจของเราที่ผ่านมา โดยเริ่มจากเวอร์ทัสสตรีม, พิโวทอล และวีเอ็มแวร์ โดยประกอบด้วยเซิร์ฟเวอร์ พื้นที่จัดเก็บข้อมูล การสำรองข้อมูล การใช้งานคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ปลายทาง อุปกรณ์ต่อพ่วงและบริการ และนี่เป็นสัญญากับภาคเอกชนที่มีมูลค่าสูงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ทั้งของเดลล์ เทคโนโลยี, เดลล์หรืออีเอ็มซี
งาน IoT ของเราที่ทำร่วมกัน:
ในอดีตนั้นวิธีเดียวที่จะได้รับคำตอบในเรื่องความสมบูรณ์ของเครื่องยนต์ไอพ่นก็คือต้องมีช่างเข้าไปตรวจสอบเครื่องยนต์ ในตอนนั้นเครื่องยนต์เป็นเรื่องเกี่ยวกับพละกำลัง ไม่ใช่เรื่องของสมอง
แต่มาวันนี้จีอีกำลังสร้างเครื่องยนต์ไอพ่นแบบอัจฉริยะที่เต็มไปด้วยเซ็นเซอร์ และข้อมูลจากเซ็นเซอร์เหล่านั้นช่วยให้จีอีและสายการบินทราบได้อย่างชัดเจนว่าเครื่องยนต์มีสถานะการทำงานอย่างไร ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการบำรุงรักษาและด้านอื่น ๆ เช่น การประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง ตัวอย่างเช่น การบินจากเท็กซัสไปยังกรุงลอนดอนจะสร้างข้อมูลได้มากถึง 30 ล้านจุดข้อมูลต่อเที่ยวบิน
กว่าหนึ่งปีเราก็จะมีข้อมูลถึง 1 หมื่นล้าน จุดข้อมูล ด้วยการวิเคราะห์ที่เข้มข้น แม้เปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยอาจหมายถึงการประหยัดที่มหาศาลได้ ตัวอย่างเช่น การลดการใช้เชื้อเพลิงลง 2% อาจหมายถึงการประหยัดเงินได้ 20 ล้านดอลลาร์


ความต้องการทางธุรกิจ: แอโรฟาร์มต้องการเปลี่ยนแปลงการเกษตรโดยการสร้างและดำเนินกิจการฟาร์มที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมทั่วโลกเพื่อให้การผลิตในระดับท้องถิ่นรองรับการผลิตปริมาณมากได้
โซลูชัน: ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนความปลอดภัยอาหาร (Food Safety Plan) ของบริษัท แอโรฟาร์มใช้ระบบเชื่อมต่อความปลอดภัยอาหาร (Connected Food Safety System) ที่ติดตาม “ประวัติการเติบโต” ของผลิตภัณฑ์ของตนในระดับที่ละเอียดมาก ระบบนี้ต้องใช้ระบบติดตามกระบะปลูกแบบไร้สายและเซ็นเซอร์ รวมทั้งใช้อุปกรณ์ Edge Gateway 18 เครื่องเพื่อประมวลผลและการเสริมสมรรถนะข้อมูล เกตเวย์ดังกล่าวสื่อสารกับเซ็นเซอร์แบบมีสายทั้งภายในและนอกทาวเวอร์เพาะปลูกของแอโรฟาร์มและประมวลผลข้อมูล
ประโยชน์ที่ได้รับโซลูชันนี้ช่วยแอโรฟาร์มส่งเสริมความปลอดภัยของอาหาร พร้อม ๆ กับการเพิ่มความรู้ว่าพืชนั้นมีการเจริญเติบโตอย่างไร ดังนั้นจึงทำให้การวิจัยมีมูลค่ามากขึ้นด้วย


ความต้องการทางธุรกิจ: บริษัทผลิตปั๊มที่ใช้ในอุตสาหกรรมที่ก่อตั้งมากว่า 150 ปี ซึ่งมีสินทรัพย์กว่า 150,000 ชิ้นในอุตสาหกรรมนี้ไปหาเดลล์เทคโนโลยีเพื่อให้ช่วยจัดเรียงอุปกรณ์ทางดิจิทัลในธุรกิจของตนและเปลี่ยนจากการคาดเดามาเป็นรับรู้โดยแท้จริงเมื่อต้องบำรุงรักษาสินทรัพย์สำคัญเหล่านี้
โซลูชัน: ถ้าปั๊มใช้งานไม่ได้ ระยะเวลาที่งานหยุดชะงักอาจทำให้ขาดทุนในการผลิตเป็นเงินหลายล้านดอลลาร์ได้อย่างรวดเร็ว และการให้บริการฉุกเฉินนั้นมีต้นทุนที่สูงเนื่องจากในบางครั้งต้องเดินทางไปให้บริการโดยเฮลิคอปเตอร์ ในขณะเดียวกันการส่งผู้ให้บริการไปยังสภาพแวดล้อมที่รุนแรงเพื่อไปแก้ไขปัญหาที่ไม่จำเป็นและป้องกันได้อาจทำให้ต้องมีการเสี่ยงชีวิตขึ้นได้ เวียร์ได้เชื่อมต่อความไม่ปะติดปะต่อดังกล่าวด้วย Edge Gateway และใช้การวิเคราะห์ขอบข้อมูลเซ็นเซอร์เพื่อทำนายว่าปั๊มจะล้มเหลวเมื่อไร
ประโยชน์ที่ได้รับการวิเคราะห์ในคอร์และคลาวด์ช่วยให้ลูกค้าของบริษัทสามารถดูแนวโน้มการดำเนินงานกับสินทรัพย์ทั้งหมดของตนได้ขณะที่เก็บข้อมูลไว้ในบริษัทได้หากต้องการ ในที่สุดเวียร์ก็ใช้ข้อมูลใหม่ทั้งหมดนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอนนี้เป็นบริษัทอุตสาหกรรมได้กลายเป็นบริษัทที่ใช้ระบบดิจิทัลแล้ว


ความต้องการทางธุรกิจ: ไอเอ็มเอสอีโวฟต้องการหุ้นส่วนที่มีวิสัยทัศน์ด้านอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) ที่ตรงกัน ในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ไม่ได้ใช้งานจากโครงสร้างพื้นฐานเดิมเพื่อทำประโยชน์ให้กับธุรกิจและเศรษฐกิจในวงกว้าง
โซลูชัน: บริษัทเริ่มใช้โซลูชันอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ด้วย Dell Edge Gateway 5000 ที่มี Intel® Atom™ โพรเซสเซอร์ E3825 ซึ่งประมวลผลข้อมูลที่ขอบของเครือข่าย จากนั้นส่งข้อมูลที่มีมูลค่าสูงมาเก็บและประมวลผลที่ส่วนกลาง
ประโยชน์ที่ได้รับ: ลูกค้ารายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของไอเอ็มเอสอีโวฟคือซุปเปอร์มาเก็ตใหญ่ที่มีสาขากว่า 3,000 แห่งในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ และมีโครงสร้างพื้นฐานซับซ้อนโดยมีทั้งอุปกรณ์ทั้งเก่าและใหม่ ไอเอ็มเอสอีโวฟรวบรวมและจัดการข้อมูลตั้งแต่ระบบทำความเย็นไปจนถึงระบบการจัดการอาคาร ช่วยให้ซุปเปอร์มาร์เก็ตเผยเขตข้อมูลใหม่ภายในสภาพแวดล้อมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งช่วยให้พวกเขาพบโอกาสในการลดการสิ้นเปลือง เช่น ตั้งอุณหภูมิตู้เย็นให้เก็บอาหารไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสมโดยอัตโนมัติ ซุปเปอร์มาร์เก็ตยังมีโอกาสที่จะลดเวลาที่เสียไปกับการบำรุงรักษาเพิ่มเติม และความเสียหายของสินค้าในสต็อกที่เกิดจากการที่เครื่องต่าง ๆ ใช้การไม่ได้