SACICT พร้อมเปิดขุมทรัพย์แห่งภูมิปัญญางานหัตถศิลป์ ยิ่งใหญ่ และอลังการกว่าที่ผ่านมา ในงาน “อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ ๙”
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT เตรียมจัดงาน “อัตลักษณ์ แห่งสยาม ครั้งที่ ๙” ภายใต้แนวคิด “ขุมทรัพย์แห่งภูมิปัญญา” พบสุดยอดงานหัตถศิลป์ไทยจากฝีมือ ครูศิลป์ฯ ครูช่างฯ และทายาทฯ ระดับประเทศ ที่หาชมได้ยากกว่า ๑๕๐ ผลงาน จัดแสดงและจำหน่ายพร้อมกัน ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๕ กุมภาพันธ์นี้ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กล่าวว่า SACICT ในฐานะหน่วยงานของรัฐ มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนางานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านของไทยให้เป็นที่รู้จัก และยอมรับในตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนเป็นการขยายโอกาสและเพิ่มช่องทางการตลาด ให้กับงานศิลปาชีพและงานศิลปหัตถกรรมของไทย งานอัตลักษณ์แห่งสยามเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมของ SACICT ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และมุ่งปลูกฝังค่านิยมในงานศิลปหัตถกรรมให้อยู่คู่กับคนไทยจากรุ่นสู่รุ่น
โดยเน้นการนำเสนอเรื่องราวองค์ความรู้งานศิลปหัตถกรรมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ผ่านครูศิลป์ของแผ่นดินครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรมหรือผู้รับการถ่ายทอดอื่นๆ อีกทั้งเพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคนได้ร่วมแสดงความรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เป็นผู้นำในการสร้างโอกาส ชี้นำทางให้คนไทยได้นำทักษะด้านงานศิลปหัตถกรรม สร้างอาชีพให้แก่พสกนิกรชาวไทยทั่วทั้งประเทศมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน และเป็นการสนับสนุนให้นำคุณค่า และความงดงามของงานหัตถศิลป์ไทยมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ (Today Life’s Crafts)
“อัตลักษณ์แห่งสยาม” ในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ ๙ ภายใต้แนวคิด “ขุมทรัพย์แห่งภูมิปัญญา” (Thai Wisdom , True Treasure) อันหมายถึง “ผืนแผ่นดินไทยที่กระจายความเป็นหัตถศิลป์อันทรงคุณค่าในทุกอณู” ซึ่งความพิเศษภายในงานจะยิ่งใหญ่และพิเศษกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา โดยรวบรวมสุดยอดผลงานแห่งภูมิปัญญาเชิงช่างหัตถศิลป์จากทั่วประเทศมาจัดแสดงและจำหน่ายกว่า ๑๕๐ คูหา โดยแบ่งโซนการจัดงานออกเป็น ๓ โซนหลัก คือ
โซนที่หนึ่ง The Masters Gallery “จากเวหาจรดบาดาล” ส่วนจัดนิทรรศการ จัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี ๒๕๖๑ รวมทั้งสิ้น ๒๕ ราย และ ส่วนนิทรรศการ “มรดกศิลป์” เพื่อเผยแพร่ผลงานเกียรติประวัติ รวมถึงการถ่ายทอดแนวคิดแรงบันดาลใจในการทำงานหัตถกรรม ของครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ในปีที่ผ่านมา กว่า ๓๐ ชิ้นงาน อันจะนำไปสู่การสร้างการรับรู้ เรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจและช่วยกันอนุรักษ์รักษางานศิลปหัตถกรรมของชาติให้คงอยู่ต่อไป
โซนที่สอง The Artisan’s Workshop “หัตถกรรม..หัดทำมือ” ส่วนกิจกรรมเวิร์คช็อปงานของครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม โดยจัด workshop ไม่น้อยกว่าวันละ ๓ รอบ รวมตลอดงานไม่น้อยกว่า ๑๒ รอบ
โซนที่สาม The Craftsmen Collections “ตลาดหัตถศิลป์” ส่วนจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม ของครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรมในสาขาต่างๆ กว่า ๑๕๐ คูหา แบ่งเป็น ๔ โซนจำหน่าย ประกอบด้วย โซน“เริงลม หรรษา” (ประเภทการละเล่น หนังตะลุง เครื่องดนตรี) โซน “ภูษา ธารา” (ประเภทงานผ้า) โซน “แผ่นดินทอง” (ประเภทหัตถศิลป์ชั้นสูง เครื่องทอง เครื่องเงิน) และโซน “เพลินไพร” (ประเภทงานไม้ หวาย จักสาน)
สำหรับงานแถลงข่าว SACICT ได้นำตัวอย่าง ๙ ผลงานหัตถศิลป์ที่มีความโดดเด่นและคงความ เป็นอัตลักษณ์แห่งสยามมาจัดแสดง ได้แก่ ผ้าปักกองหลวง, ผ้าทอไทลื้อ, ผ้าปะลางิง, เครื่องถมทอง-เงิน-คร่ำ, แหวนกลไก, ไม้แกะสลัก, หุ่นกระบอกไทย, เครื่องเงินสุโขทัย และเครื่องดนตรีไทย และร่วมพูดคุยกับครูสำเริง แดงแนวน้อย ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี ๒๕๖๑ ผู้ขึ้นชื่อในช่างสิบหมู่ศิลปากรกับการดำรงรักษา สืบสาน งานแกะสลักไม้ตามแบบราชสำนักมากว่า ๖๒ ปี ตามแบบโบราณราชประเพณีดั้งเดิมด้วยฝีมือเชิงช่างชั้นสูง โดยเฉพาะเครื่องประกอบพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพบุคคลชั้นเจ้านายหลายพระองค์ ร่วมด้วย ครูปิยะ สุวรรณพฤกษ์ ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี ๒๕๖๐ ผู้ชุบชีวิต “ผ้าปะลางิง” ที่สาบสูญไปนานกว่าร้อยปี ให้กลับมาสะท้อนเอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นมุสลิมชายแดนใต้ และครูชูเกียรติ เนียมทอง ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ปี ๒๕๖๑ กับผลงานโดดเด่น “แหวนกลไก” ภูมิปัญญาโบราณที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เมืองจันทบุรี ที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ และชมการแสดง “เชิดหุ่นคน” จากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดยอาร์ม (กรกันต์ สุทธิโกเศศ) จากเวที The Mask Singer
ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมงาน “อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ ๙” ได้ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ณ ห้อง Ballroom, Reception Hall และห้องประชุม ๑-๒ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เวลา ๑๐.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center ๑๒๘๙ www.sacict.or.th และ http://www.facebook.com/sacict
นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กล่าวว่า SACICT ในฐานะหน่วยงานของรัฐ มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนางานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านของไทยให้เป็นที่รู้จัก และยอมรับในตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนเป็นการขยายโอกาสและเพิ่มช่องทางการตลาด ให้กับงานศิลปาชีพและงานศิลปหัตถกรรมของไทย งานอัตลักษณ์แห่งสยามเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมของ SACICT ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และมุ่งปลูกฝังค่านิยมในงานศิลปหัตถกรรมให้อยู่คู่กับคนไทยจากรุ่นสู่รุ่น
โดยเน้นการนำเสนอเรื่องราวองค์ความรู้งานศิลปหัตถกรรมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ผ่านครูศิลป์ของแผ่นดินครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรมหรือผู้รับการถ่ายทอดอื่นๆ อีกทั้งเพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคนได้ร่วมแสดงความรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เป็นผู้นำในการสร้างโอกาส ชี้นำทางให้คนไทยได้นำทักษะด้านงานศิลปหัตถกรรม สร้างอาชีพให้แก่พสกนิกรชาวไทยทั่วทั้งประเทศมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน และเป็นการสนับสนุนให้นำคุณค่า และความงดงามของงานหัตถศิลป์ไทยมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ (Today Life’s Crafts)
“อัตลักษณ์แห่งสยาม” ในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ ๙ ภายใต้แนวคิด “ขุมทรัพย์แห่งภูมิปัญญา” (Thai Wisdom , True Treasure) อันหมายถึง “ผืนแผ่นดินไทยที่กระจายความเป็นหัตถศิลป์อันทรงคุณค่าในทุกอณู” ซึ่งความพิเศษภายในงานจะยิ่งใหญ่และพิเศษกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา โดยรวบรวมสุดยอดผลงานแห่งภูมิปัญญาเชิงช่างหัตถศิลป์จากทั่วประเทศมาจัดแสดงและจำหน่ายกว่า ๑๕๐ คูหา โดยแบ่งโซนการจัดงานออกเป็น ๓ โซนหลัก คือ
โซนที่หนึ่ง The Masters Gallery “จากเวหาจรดบาดาล” ส่วนจัดนิทรรศการ จัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ประจำปี ๒๕๖๑ รวมทั้งสิ้น ๒๕ ราย และ ส่วนนิทรรศการ “มรดกศิลป์” เพื่อเผยแพร่ผลงานเกียรติประวัติ รวมถึงการถ่ายทอดแนวคิดแรงบันดาลใจในการทำงานหัตถกรรม ของครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ในปีที่ผ่านมา กว่า ๓๐ ชิ้นงาน อันจะนำไปสู่การสร้างการรับรู้ เรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจและช่วยกันอนุรักษ์รักษางานศิลปหัตถกรรมของชาติให้คงอยู่ต่อไป
โซนที่สอง The Artisan’s Workshop “หัตถกรรม..หัดทำมือ” ส่วนกิจกรรมเวิร์คช็อปงานของครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม โดยจัด workshop ไม่น้อยกว่าวันละ ๓ รอบ รวมตลอดงานไม่น้อยกว่า ๑๒ รอบ
โซนที่สาม The Craftsmen Collections “ตลาดหัตถศิลป์” ส่วนจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรม ของครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรมในสาขาต่างๆ กว่า ๑๕๐ คูหา แบ่งเป็น ๔ โซนจำหน่าย ประกอบด้วย โซน“เริงลม หรรษา” (ประเภทการละเล่น หนังตะลุง เครื่องดนตรี) โซน “ภูษา ธารา” (ประเภทงานผ้า) โซน “แผ่นดินทอง” (ประเภทหัตถศิลป์ชั้นสูง เครื่องทอง เครื่องเงิน) และโซน “เพลินไพร” (ประเภทงานไม้ หวาย จักสาน)
สำหรับงานแถลงข่าว SACICT ได้นำตัวอย่าง ๙ ผลงานหัตถศิลป์ที่มีความโดดเด่นและคงความ เป็นอัตลักษณ์แห่งสยามมาจัดแสดง ได้แก่ ผ้าปักกองหลวง, ผ้าทอไทลื้อ, ผ้าปะลางิง, เครื่องถมทอง-เงิน-คร่ำ, แหวนกลไก, ไม้แกะสลัก, หุ่นกระบอกไทย, เครื่องเงินสุโขทัย และเครื่องดนตรีไทย และร่วมพูดคุยกับครูสำเริง แดงแนวน้อย ครูศิลป์ของแผ่นดิน ปี ๒๕๖๑ ผู้ขึ้นชื่อในช่างสิบหมู่ศิลปากรกับการดำรงรักษา สืบสาน งานแกะสลักไม้ตามแบบราชสำนักมากว่า ๖๒ ปี ตามแบบโบราณราชประเพณีดั้งเดิมด้วยฝีมือเชิงช่างชั้นสูง โดยเฉพาะเครื่องประกอบพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพบุคคลชั้นเจ้านายหลายพระองค์ ร่วมด้วย ครูปิยะ สุวรรณพฤกษ์ ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี ๒๕๖๐ ผู้ชุบชีวิต “ผ้าปะลางิง” ที่สาบสูญไปนานกว่าร้อยปี ให้กลับมาสะท้อนเอกลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นมุสลิมชายแดนใต้ และครูชูเกียรติ เนียมทอง ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ปี ๒๕๖๑ กับผลงานโดดเด่น “แหวนกลไก” ภูมิปัญญาโบราณที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เมืองจันทบุรี ที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ และชมการแสดง “เชิดหุ่นคน” จากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดยอาร์ม (กรกันต์ สุทธิโกเศศ) จากเวที The Mask Singer
ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมงาน “อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ ๙” ได้ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ณ ห้อง Ballroom, Reception Hall และห้องประชุม ๑-๒ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เวลา ๑๐.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Call Center ๑๒๘๙ www.sacict.or.th และ http://www.facebook.com/sacict