อาเซียนเดินหน้านโยบายการค้าเสรีแทนการกีดกันทางการค้า: การอภิปรายโดยผู้เชี่ยวชาญในประเด็นข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง
ข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง (AHKFTA) จะช่วยอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนโดยตรง (FDI) จากฮ่องกงในภูมิภาคอาเซียน
8 กุมภาพันธ์ 2561
กรุงเทพฯ, ประเทศไทย - สภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (HKTDC) ร่วมกับสมาคมการค้าไทย-ฮ่องกง จัดการอภิปรายเชิงลึกในหัวข้อ “ข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกงส่งเสริมธุรกิจของคุณอย่างไร”
โดยในงานนี้ มี Mr. Peter Wong ผู้บริหารส่วนภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้และอินเดีย สภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (HKTDC) เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งถือเป็นการอภิปรายสำคัญครั้งแรกระหว่างผู้นำทางธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายในประเทศไทย เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง(AHKFTA) ที่มีการลงนามอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา
ข้อตกลง AHKFTA ออกแบบมาเพื่อพัฒนาความมั่นคงทางกฎหมาย อำนวยความสะดวกการขับเคลื่อนระหว่างประเทศ และเพิ่มช่องทางการเข้าถึงตลาดการค้า ทั้งสินค้าและบริการระหว่างอาเซียนและฮ่องกง ในส่วนแรกของงานประชุม Mr. Nicholas Kwan ประธานฝ่ายวิจัย สภาพัฒนาการค้าฮ่องกง กล่าวถึงการวิเคราะห์รายละเอียดของข้อตกลง AHKFTA กับผลกระทบสำคัญระหว่างฮ่องกง อาเซียน และจีน
“ข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง มีการกำหนดกฎเกณฑ์การลงทุนที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และสร้างกลไกการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนโดยตรงจากฮ่องกง โดยเฉพาะการบริการในระดับมืออาชีพทางด้านสิ่งแวดล้อม การศึกษา และเทคโนโลยี
ฮ่องกงเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกาในด้านมีหุ้นลงทุนในต่างประเทศ 1,528 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่ามากกว่าจีนแผ่นดินใหญ่ที่มีอยู่ 1,281 พันล้าน เขตการค้าเสรีนี้จะเป็นโอกาสดีสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะประเทศไทยที่จะได้พัฒนาบริการที่มีคุณภาพสูงในระดับสากล”
Mrs. Auramon Supthaweethum รักษาการประธานฝ่ายการเจรจาการค้าแห่งประเทศไทย ก็ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าวจากมุมมองของไทยและอาเซียน
“ฝ่ายการเจรจาการค้า (DTN) สนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นทุกคนรู้จักใช้เขตการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกงนี้ให้เป็นประโยชน์ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มต้นอย่างจริงจังตั้งแต่ 1 มกราคม 2019 ฝ่ายเจรจาการค้าจะช่วยจัดเตรียมรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับการค้าเสรีนี้ตามที่มีการร้องขอ”
การอภิปรายในช่วงบ่ายเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งจะทำให้กลุ่มธุรกิจของไทยได้เรียนรู้และมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับ AHKFTA ได้แก่
● คุณ Nicholas Kwan, ประธานฝ่ายวิจัยแห่งสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (HKTDC)
● คุณ Phairush Burapachaisiri, รองประธานหอการค้าไทย
● คุณ Sunny Chau, ประธานภาคพื้นไทยและอาเซียน สภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (HKTDC) (ผู้ดำเนินรายการ)
ข้อตกลง AHKFTA คาดว่าจะเริ่มอย่างเร็วที่สุดในวันที่ 1 มกราคม 2019 ขึ้นอยู่กับความพร้อมของกระบวนการต่างๆที่จำเป็นระหว่างฮ่องกงและประเทศสมาชิกอาเซียน
ฮ่องกงและอาเซียนมีความสัมพันธ์ทางเศรษผฐกิจและการค้าที่แนบแน่น การค้าทวิภาคีระหว่างฮ่องกงและอาเซียนเติบโตโดยเฉลี่ย 3.4% ต่อปีตั้งแต่ปีท 2012 ถึงปี 2016 อาเซียนเป็นคู่ค้าสินค้าใหญ่อันดับ2ของฮ่องกงในปี 2016 โดยมีมูลค่าการค้าสินค้ากว่า 833 พันล้านเหรียญฮ่องกง
ค่าความเติบโตเฉลี่ยระหว่างฮ่องกงและอาเซียนในด้านการบริการอยู่ที่ 3.1% ตั้งแต่ปี 2011 ถึง 2015 โดยอาเซียนเป็นคู่ค้าด้านการบริการใหญ่เป็นอันดับ 4 ของฮ่องกงในปี 2015 มีมูลค่ารวมการค้าด้านการบริการกว่า 121 พันล้านเหรียญฮ่องกง
-- -- -- -- -- -- -- --
สภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (HKTDC)
ก่อตั้งเมื่อปี 1966 เป็นองค์กรตามกฎหมายเพื่อส่งเสริมโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับธุรกิจต่างๆของฮ่องกงในจีนแผ่นดินใหญ่ เอเชียและทั่วโลก HKTDC มีสำนักงานอยู่กว่า 40 แห่งทั่วโลก โดยมี 13 แห่งอยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่ ด้วยประสบการณ์กว่า 50 ปี HKTDC ได้จัดนิทรรศการ งานสัมนา และภารกิจทางธุรกิจต่างๆมากมายเพื่ออำนวยโอกาสทางเศรษฐกิจในจีนแผ่นดินใหญ่และในเวทีสากล และให้ข้อมูลรวมถึงรายงานทางการค้าต่างๆสู่สาธารณะ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม เข้าชม www.hktdc.com/aboutus
สมาคมการค้าไทย-ฮ่องกง
สมาคมการค้าไทย-ฮ่องกง (THTA) ก่อตั้งขึ้นปี 1996 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและฮ่องกง โดยเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนและประสานงานเพื่อพัฒนาธุรกิจและโอกาสทางการค้า อุตสาหกรรม การลงทุน การเงิน และอื่นๆระหว่างไทยและฮ่องกง THTA ทำงานร่วมกับองค์กรและสมาคมอื่นๆเพื่อเสริมความแข็งแกร่งในการติดต่อสื่อสารด้วยบุคลากรคุณภาพ การจัดการประชุมสามัญ ภารกิจธุรกิจ และกิจกรรมทางสังคมอื่นๆมากมาย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม เข้าชม http://thta.or.th/about-thta
นาย Nicholas Kwan
นาย Nicholas เข้ามาร่วมงานกับ HKTDC ในฐานะประธานฝ่ายวิจัยในปี 2013 โดยให้ข้อมูลเชิงวิเคราะห์และแนะนำเชิงลึกและทันสมัยเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการค้า ครอบคลุมทั้งเรื่องอุตสาหกรรมและการบริการในฮ่องกง จีนแผ่นดินใหญ่ และในตลาดคู่ค้าอื่นๆ Nicholas มีประสบการณ์กว่า 30 ปีในการวิจัยด้านเศรษฐกิจและธุรกิจ โดยมีประสบการณ์มากกว่า 6 ปีที่ Standard Chartered Bank ในฐานะหัวหน้าฝ่ายวิจัยภาคพื้นเอเชีย รวมถึงประสบการณ์อีกกว่า 7 ปีที่ธนาคารกลางฮ่องกงในการวิจัยเกี่ยวกับเศรษฐกิจมหภาคและนโยบาย และอีก 11 ปีที่ Merrill Lynch ในตำแหน่งหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ภาคพื้นเอเชีย โดย Nicholas จบการศึกษาปริญญาตรีจาก Chinese University of Hong Kong และปริญญาโทสาขา MBA จาก Warwick University แห่งสหราชอาณาจักร และยังเคยได้รับคุณวุฒิ CFA อีกด้วย
เนื้อหาในการวิจัยครอบคลุมเกี่ยวกับ การค้าแบบภูมิภาค การรวมตัวทางเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจของเอเชีย การเงินระหว่างประเทศ นโยบายการเงินและการคลัง และกลยุทธ์การลงทุน