สตรีไทย “ไต” Strong
นายแพทย์ธานี เอี่ยมศรีตระกูล
อายุรแพทย์โรคไต โรงพยาบาลธรรมศาสตร์
โรคไตเรื้อรัง หมายถึงความผิดปกติทางด้ านโครงสร้างหรือการทำงานของไตซึ่ งเป็นมานานมากกว่า
3 เดือน ความผิดปกติดังกล่าวมีได้หลายลั กษณะ ได้แก่ การมีโปรตีนไข่ขาว (albumin)
รั่วออกมาในปัสสาวะ การมีปัสสาวะผิดปกติ เช่น มีเลือดปนในปัสสาวะ
การมีความผิดปกติของเกลือแร่ซึ่ งเป็นสาเหตุมาจากความผิดปกติ ในการรักษาสมดุลเกลือแร่ของไต
ความผิดปกติที่พบจากการตรวจชิ้ นเนื้อไต ความผิดปกติที่ พบจากการตรวจทางรังสีวิทยา
หรือผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไต และความผิดปกติของอั ตราการกรองของเสียของไต (glomerular
filtration rate) ความผิดปกติต่างๆ
เหล่านี้ก็จะนำไปสู่ไตวายเรื้ อรังระยะสุดท้ายและต้องได้รั บการบำบัดทดแทนไตในที่สุด
จากการสำรวจของสมาคมโรคไตในปี
พ.ศ. 2550-2551 สุ่มสำรวจประชากรตั้งแต่อายุ 18 ปี ขึ้นไปจากทั่วประเทศพบว่า
มีโรคไตเรื้อรังประมาณร้อยละ 17.5 ซึ่งประมาณการจำนวนผู้ป่ วยโรคไตเรื้อรังทุกระยะ (ไม่รวมผู้ที่ได้รับการบำบั ดทดแทนไต) ประมาณ 7 ล้านคน
เป็นที่น่าสังเกตว่าในจำนวนผู้ ที่เป็นโรคไตเรื้อรั งในการสำรวจครั้งนั้นทราบว่ าตนเองเป็นโรคไตมาก่อนเพียงร้ อยละ
1.9 จะเห็นว่าโรคไตเรื้อรังเป็นปั ญหาสำคัญและเป็นภัยเงียบเนื่ องจากจะไม่แสดงอาการมาก่อนก็ได้
ทั้งนี้ในวันพฤหัสบดีที่
2 ของเดือนมีนาคมของทุกปี กำหนดเป็น วันไตโลกหรือ World
kidney day ซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เป็นกิจกรรมรณรงค์ให้เกิ ดการตระหนักถึงสุขภาพไต
และในปี พ.ศ. 2561 นี้วันไตโลกตรงกับวันที่ 8 มีนาคม ซึ่งเป็นวันสตรีสากล ด้วย กิจกรรมวันไตโลกในปีนี้จึงเน้ นการรณรงค์สุขภาพไตในสตรี
ภายใต้คำขวัญเก๋ ๆ ว่า สตรีไทย “ไต” Strong
เรื่องของ
สตรีกับโรคไต นั้นจากข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รั บการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย
พบว่า สาเหตุหลักของไตวายเรื้อรังที่ ได้รับการบำบัดทดแทนไต ได้แก่
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสู งรวมกันมากกว่าครึ่ง ซึ่งเป็นผลจากการรั บประทานอาหารรสหวาน
หรือเค็มจัดและไม่ออกกำลั งกายทำให้น้ำหนักตัวเกิน ซึ่งยังคงไม่สามารถสรุปได้ว่ าเพศใดเสี่ยงต่อการเป็ นโรคไตมากกว่ากัน
แต่อย่างไรก็ดีเพศหญิงก็มี ความเสี่ยงที่ต่ างจากเพศชายในบางกรณี เช่น
ความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการตั้ งครรภ์ เป็นต้น โดยเฉพาะในเรื่องของโรคไตกั บการตั้งครรภ์ นั้นสำหรับสตรีวัยเจริญพันธุ์ โรคไตเรื้อรังทำให้มีโอกาสตั้ งครรภ์ลดลงโดยเฉพาะในรายที่ การทำงานของไตลดลงอย่างมาก
เมื่อผู้ป่วยมีไตวายเรื้อรั งระยะสุดท้ายและได้รับการบำบั ดทดแทนไตจะมีโอกาสตั้งครรภ์น้ อยมาก
แต่อย่างไรก็ดีผู้ป่วยโรคไตเรื้ อรังที่การทำงานของไตยังดีก็ยั งสามารถตั้งครรภ์ได้ ผลของการตั้งครรภ์ในผู้ที่มี ความดันโลหิตสูงอยู่ก่อน
อาจทำให้ควบคุมความดันโลหิตได้ ยากขึ้น ส่วนยาลดความดันโลหิตบางชนิด ยังส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์
จึงต้องเลือกใช้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้การตั้งครรภ์ในผู้ป่ วยโรคไตเรื้อรังมีความเสี่ยงต่ อครรภ์เป็นพิษและอาจมีความรุ นแรงจนส่งผลกระทบต่ อมารดาและทารกในครรภ์ได้
ดังนั้นก่อนการตั้งครรภ์ จึงควรปรึกษาแพทย์ และวางแผนการตั้งครรภ์อย่ างเหมาะสม
ในขณะเดียวกันการตั้งครรภ์เองก็ ส่งผลกระทบต่อไตได้เช่นกัน
ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์เป็นพิษ การแท้ง การตกเลือดหลังคลอด ทำให้มีภาวะไตวายเฉียบพลันได้
ในส่วนของโรคพุ่มพวงหรือโรคภูมิ แพ้ภูมิตัวเอง
หรือที่เรียกว่า โรค SLE นั้น โรคนี้ส่งผลกับการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งที่ จะต้องกล่าวถึงในสตรีตั้งครรภ์
คือ โรคนี้มีความผิดปกติได้หลายระบบ เช่น ปวดข้อ ข้อบวม ผื่นผิวหนัง ซีด
เกร็ดเลือดต่ำ รวมถึงความผิดปกติทางไต ทำให้ไตอักเสบ โปรตีนไข่ขาวรั่ว และบางรายอาจมีภาวะไตวายได้
การรักษาจะใช้ยากดภูมิคุ้มกั นตามความรุนแรงของโรคจนกระทั่ งโรคสงบ
การตั้งครรภ์สามารถทำให้โรค SLE กำเริบได้และโรค SLE ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญเสี ยทารกในครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด
และครรภ์เป็นพิษได้ นอกจากนี้ยากดภูมิคุ้มกั นบางชนิดที่ใช้ในการรักษายังมี ผลอันตรายต่อทารกในครรภ์
ดังนั้นผู้ที่เป็นโรค SLE จึงต้องคุมกำเนิดในช่วงที่ โรคกำเริบและมีการปรึ กษาวางแผนการตั้งครรภ์กับแพทย์ ผู้ดูแลเพื่อไม่ให้เกิดอั นตรายต่อมารดาและทารกในครรภ์
โรคไตเป็นปัญหาที่สำคัญและเป็ นภัยเงียบที่เกิดได้กับทุกคน
ทุกเพศ ทุกวัย
ความเสี่ ยงของโรคไตและผลกระทบของโรคไตใน เพศหญิงอาจมีความแตกต่ างโดยเฉพาะในภาวะตั้งครรภ์ ซึ่งกระทบต่อสุขภาพของทั้ งมารดาและทารก
จึงขอให้ทุกท่านตระหนัก มีการวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ และตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอ
เรื่องของการติดเชื้อในทางเดิ นปัสสาวะเป็นภาวะที่พบได้บ่ อยในสตรีเช่นกัน
โดยเฉพาะในสตรีวัยเจริญพันธุ์ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (โดยเฉพาะเพศหญิง) ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะแสบ ขัด ปัสสาวะบ่อย
กะปริดกะปรอย หรือมีอาการปวดท้องน้อย สตรีบางรายอาจมีการติดเชื้ อแบบซ้ำ ๆ
ซึ่งบางรายสัมพันธ์กับการมี เพศสัมพันธ์
มีบางครั้งเชื้อโรคอาจลุกลามขึ้ นไปบริเวณกรวยไต ทำให้เกิดภาวะกรวยไตอักเสบ
ซึ่งจะมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดเอว คลื่นไส้อาเจียน
บางรายอาจติดเชื้อในกระแสเลื อดรุนแรงได้
นอกจากนี้ในสตรีตั้งครรภ์ก็ สามารถติดเชื้อในทางเดินปั สสาวะได้ ซึ่งรายที่เป็นรุนแรงก็อาจทำให้ คลอดก่อนกำหนด
ดังนั้นในสตรีตั้งครรภ์ควรได้รั บการรักษาแม้ว่าจะไม่มีอาการ
โดยทั่วไปการวินิจฉัยอาศัยประวั ติ การตรวจร่างกาย
และการตรวจปัสสาวะรวมไปถึ งการเพาะเชื้อจากปัสสาวะ
หากมีอาการผิดปกติดังกล่ าวควรปรึกษาแพทย์ การป้องกันโดยทั่วไปคือ
การรักษาความสะอาด ทำความสะอาดอวัยวะเพศอย่างถูกวิ ธี เช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง
ไม่กลั้นปัสสาวะเป็นระยะเวลานาน ไม่สวมเสื้อผ้ารัดจนเกินไป ดื่มน้ำให้เพียงพอ
ปัสสาวะหลังมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น
สำหรับการจัดกิจกรรมวั นไตโลก ในปีนี้จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ ที่ 3 มีนาคม 2561 ณ Atrium Zone ชั้น 1
ภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์ กรุงเทพฯ ภายในงานจะมีการจัดนิทรรศการ
การตรวจสุขภาพโรคไตโดยแพทย์ผู้ เชี่ยวชาญโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมการอธิบายให้ความรู้เรื่ องโรคไต
เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนตื่นตั วในการดูแลสุขภาพไต และเรื่องของสตรีกับโรคไต
สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ 02-718 1898
หรือเข้าเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ www.nephrothai.org