ADS


Breaking News

งานประเพณีไหว้แม่ย่านาง

     เมื่อวันที่ 12-14 ม.ค. ที่ผ่านมากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 โดยจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้จัดงานประเพณีงานไหว้แม่ย่านางและล่องเรือเที่ยว10วัดและตลาดคลองกะจะเปิดใหม่  อีกทั้งยังจัดงานการแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ลำน้ำเจ้าพระยา/ป่าสัก หน้าวัดพนัญเชิงวรวิหาร อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีผู้ร่วมงานทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติมากกว่า 5,000 คน ซึ่งบรรยากาศงานอบอวลไปด้วยกลิ่นอายวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม โดยมี  ดร. สุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานบวงสรวงไหว้แม่ย่านางเรือ ไหว้พระแม่คงคา และเป็นประธานเปิด การแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกด้วย
   โดยงานนี้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นศิริมงคลเกิดโชคลาภ ปลอดภัยจากอันตราย และเพื่อประสบความสำเร็จ ในการประกอบอาชีพของชาวเรือ ซึ่งการจัดงานไหว้แม่ย่านางครั้งนี้มีการรวมตัวของ ผู้ประกอบการเรือในอยุธยานับ ร้อยลำ พร้อมใจกันมาร่วมทำพิธีบวงสรวงไหว้แม่ย่านาง และพระแม่คงคา เพื่อความเป็นสิริมงคล ความปลอดภัย และ ความเจริญก้าวหน้าของชาวเรือทุกคน
     สำหรับงานการแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีเรือเข้าร่วมการแข่งขันกว่า 25 ลำ มี ประชาชน นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าชมการแข่งขันอย่างเนืองแน่นเต็มสองฝั่งของแม่น้ำ

รายงาน โดย นางขนิษฐา คำจันทร์แก้ว  วัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เรื่อง พิธีไหว้แม่ย่านางเรือ
“โครงการส่งเสริมและยกระดับกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย
โดยวิถีชีวิตลุ่มน้ำเจ้าพระยา/ป่าสัก
กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ๑ : ประเพณีไหว้แม่ย่านางเรือ”
วันศุกร์ที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑
ณ ลำน้ำเจ้าพระยา/ป่าสัก หน้าวัดพนัญเชิงวรวิหาร กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ๑ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด พระนครศรีอยุธยา

      กราบนมัสการ พระคุณเจ้า และกราบเรียบท่าน เรวัต ประสงค์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หัวหน้าส่วนราชการ  ศูนย์อำนวยการการท่องเที่ยว ทหารบก และทหารเรือ แขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ดิฉัน นางขนิษฐา คำจันทร์แก้ว วัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขอขอบคุณ ท่าน เรวัต ประสงค์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ให้เกียรติเป็นประธาน ในพิธีไหว้แม่ย่านางเรือในวันนี้ และดิฉันขอกล่าวถึงความสำคัญของประเพณีไหว้แม่ ย่านางเรือ พอสังเขป ดังนี้ แม่ย่านาง หรือแม่ย่านนาง เป็นคำศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ ที่เชื่อกันว่าสถิตอยู่ประจำเรือแต่ละลำ ชาวเรือที่ออกเรือต้องบูชากราบไหว้  เพราะเชื่อว่าแม่ย่านางจะดลบันดาลให้ชาวประมงหรือผู้เป็นเจ้าของ เรือมีโชคลาภ หรือ ประสบความสำเร็จตามปรารถนาได้ สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์บอกให้รู้ว่าเรือลำใดมีแม่ย่านาง  คือ ที่หัวเรือจะผูกด้วยด้ายขาว ด้ายแดงและผ้าแดง ก่อนออกเรือทุกครั้ง จะพูดกับ แม่ย่านางว่า “อย่าให้มันขัด อย่าให้มันข้อง ให้คล่อง ให้คล่อง ให้แคล้ว ให้แคล้วทุกอย่าง ออกถึงได้พบปลาทันที ให้สมปรารถนา จะให้รางวัลแก่แม่ย่านาง” ชาวประมงเชื่อว่า โขนเรือเป็นที่ประทับของแม่ย่านางเรือ ดังนั้น โขนเรือจึงนับว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ของเรือ และเป็นเสาเอกของเรือ จึงให้ความเคารพกราบไหว้ และห้ามมิให้ผู้ใดเตะ เหยียบ นั่ง ยืน ข้าม หรือกระทำการใดๆ อันเป็นที่ลบหลู่ต่อโขนเรือ ด้วยความเชื่อที่ว่า หากมีผู้ลบหลู่โขนเรือแล้ว จะนำความเดือดร้อนและความอับโชคมาสู่เจ้าของเรือและ ลูกเรือ และการนับน้ำจะเริ่มนับตั้งแต่ แรม ๓ ค่ำ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เรียกว่า ๑ น้ำ พิธีกรรม
     เครื่องบูชาแม่ย่านางได้แก่ ไก่ตัวผู้ ๑ ตัว เหล้า ๑ ขวด หัวหมู ๑ หัว ขนมโค  (ขนมต้มขาว) ขนมถั่ว ขนมงา กล้วย ผลไม้อื่นๆ ตามแต่จะหาได้ ปลามีหัวมีหาง  ข้าวแกง แก้วเหล้า แก้วน้ำ สิ่งเหล่านี้เตรียมใส่ภาชนะให้เรียบร้อย แล้วเอาผ้าแดง  ด้ายแดง ด้ายขาว ผูกหัวเรือ ใช้ธูป ๙ ดอกจุดไฟ พร้อมกับออกชื่อแม่ย่านาง โดยกล่าวเชิญมารับเครื่องเซ่น เครื่องบูชา ขอให้ช่วยคุ้มครองป้องกันอันตรายทุกอย่าง และช่วยนำโชคลาภมาให้ นอกจากการจัดเครื่องบูชา เครื่องเซ่นแม่ย่านางแล้ว จะต้องจัด อาหารให้แก่บริวารแม่ย่านางอีกส่วนหนึ่งด้วย โดยไม่รวมกับของแม่ย่านาง หลังจากนั้น ต้องจุดประทัด แล้วรีบเบี่ยงหัวเรือออกทะเล อาหารที่เหลือจากการบูชาแม่ย่านาง  แบ่งให้พรรคพวกบนเรือรับประทาน ก็เป็นอันเสร็จพิธี ถ้าเจ้าของเรือเป็นคนจีน เครื่องบูชาโดยเฉพาะไก่ ต้องนำไก่เป็นลงไปในเรือ ใช้มีดเชือดคอไก่ รองเอาเลือด  ราดหัวเรือไปจนตลอดท้ายเรือ แล้วนำซากไก่ทิ้งน้ำ ห้ามเก็บไปปรุงเป็นอาหารรับ ประทานโดยเด็ดขาดใน 
ลำดับถัดไป
     ขอเชิญท่านประธานจุดธูปเทียนบูชาเครื่องบวงสรวง