สภาปัญญาสมาพันธ์ เผยผลสำรวจการพัฒนาดัชนีประสิทธิผลระหว่างประเทศ ชี้ดัชนีด้านเศรษฐกิจของไทยผงาดขึ้นอันดับ 1 ในอาเซียน ด้วย “นวัตกรรม”
สภาปัญญาสมาพันธ์จัดทำ “ดัชนีประสิทธิผลระหว่างประเทศ” เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการพัฒนาประเทศของไทยกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน โดยทำการเปรียบเทียบการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างครอบคลุม ได้แก่ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การศึกษา สุขภาพ ความปลอดภัย ความมั่นคง และการดำเนินงานของภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
โดยนำเสนอผลงานวิจัย เรื่อง “การพัฒนาดัชนีประสิทธิผลระหว่างประเทศ” เพื่อเป็นข้อมูลเสริมสร้างความเข้มแข็งของประเทศโดยรวม และเพื่อเป็นการเผยแพร่ผลสำรวจ พร้อมเสวนาเรื่อง “ดัชนีกับการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ” โดยนักวิจัยคุณวุฒิ อาทิ ศ.ดร.วรภัทร โตธนะเกษม กรรมการผู้จัดการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์กรภาครัฐ (IRDP) คุณณรงค์ บุญโญ ผู้อำนวยการกองติดตามและประเมินผลการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการสถาบันสหสวรรษ จัดขึ้น ณ โรงแรม
วินเซอร์ สวีทส์ กรุงเทพฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้
วินเซอร์ สวีทส์ กรุงเทพฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้
ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสภาปัญญาสมาพันธ์ กล่าวว่า หลายทศวรรษที่ผ่านมา เรื่อง “ดัชนี” ได้ถูกสร้างขึ้นและประกาศในวาระ ต่างๆ จากทั่วโลก เพื่อช่วยวัดสถานะเรื่องต่างๆ นำมาเปรียบเทียบกัน ถูกหยิบมาใช้ประโยชน์ และขยายผลจนนำไปสู่การพัฒนาในด้ านต่าง ๆ มากมาย สำหรับประเทศไทยดัชนีเป็นเรื่อง สำคัญ เพราะการวัดในเชิงปริมาณทำให้สา มารถเปรียบเทียบ จัดอันดับ จัดกลุ่ม และเห็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้อย่ างชัดเจน ซึ่งจำเป็นต้องใช้ตรรกะ หลักทฤษฎีและแนวคิดที่ดี โดยเฉพาะมีความใจกว้างมากพอที่จ ะยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่ นต่องานวิจัยซึ่งสำคัญมาก สภาปัญญาสมาพันธ์ จึงจัดงานสัมมนาเพื่อทำการอภิปร ายเรื่อง “ดัชนีประสิทธิผลระหว่างประเทศ”
ในครั้งนี้ เพื่อหวังให้เกิดความคิดเห็น การวิพากษ์ ถกเถียง
หรือข้อเสนอแนะต่างๆ ที่มาจากองค์กร หน่วยงานมากมายที่เข้าร่วม
อันจะส่งผลลัพธ์ในทางบวกที่จะทำ ให้ประเทศได้พัฒนาดีขึ้น แต่ทั้งนี้ หากงานวิจัยชิ้นนี้ได้จัดทำได้อ ย่างดีแล้ว สภาปัญญาสมาพันธ์หวังว่าทุกท่าน จะนำไปใช้เป็นประโยชน์เพื่อทำให้ เกิดผลดีต่อ ชุมชน องค์กร สังคม และประเทศชาติของเราต่อไป
“การพัฒนาดัชนีประสิทธิผลระหว่า งประเทศ” เป็นดัชนีที่วัดความก้าวหน้าของ การพัฒนา โดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่คว รจะไปให้ถึง ทำการเปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่ าง 6 ประเทศในอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน สิงคโปร์ และไทย เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาในด้าน ต่างๆ ครอบคลุมทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การศึกษา สุขภาพ ความปลอดภัย ความมั่นคงและการดำเนินงานของ 3 ภาคประชาสังคม ได้แก่ ภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชน ทางสภาปัญญาสมาพันธ์ เชื่อว่า การทำดัชนีให้ดีที่สุดเป็นการออ กแรงที่ไม่สูญเปล่า เพราะจะช่วยในการบริหารจัดการได้ และยังเป็นการตั้งเป้าที่เป็นรู ปธรรมที่วัดได้ ทำให้รู้ว่าเราจะไปถึงได้หรือไม่ และไปถึงเมื่อใด การเข้าใจถึงสถานะปัจจุบัน เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับอดีตที่ ผ่านพ้นมาแล้วหรืออนาคตอันใกล้ จึงเป็นการแสดงเจตนารมณ์ที่หวัง ดีต่อส่วนรวม เพราะการใช้ดัชนีเพื่อประเทศไม่ มีองค์กรใดได้ประโยชน์เพียงฝ่าย เดียวแต่จะได้ประโยชน์ทั้งประเท ศ เพราะดัชนีเป็นกลไกที่ช่วยผลักดั นให้เกิดการกำหนดเป้าหมายที่มี กรอบเวลาที่ชัดเจนของการพัฒนาใน ด้านต่างๆ ซึ่งทำให้ทราบน้ำหนักความสำคัญห รือความเร่งด่วนที่ประเทศให้แก่ แต่ละเป้าหมายการพัฒนา ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างมียุทธศา สตร์ อันจะมีส่วนผลักดันให้ประเทศไทย พัฒนาในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิผลที่สมบูรณ์ ยิ่งขึ้น ส่วนในอนาคตเรามีแผนที่จะขยายจา ก 6 ประเทศเป็น 10 ประเทศในปี 2561 นี้ ได้แก่ เวียดนาม ลาว กัมพูชา และ เมียนมาร์ ต่อไป”
ด้าน อาจารย์ทวีชัย เจริญเศรษฐศิลป์ ผู้อำนวยการวิจัยในเรื่องนี้ กล่าวว่า เนื่องจากกลุ่มอาเซียนเป็นเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้และมีบทบาทอันสำคัญมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ในการเชื่อมโยงประเทศไทยในด้านการค้า เราจึงได้ทำการเปรียบเทียบประสิทธิผล อย่างน้อยก็เพื่อได้รู้ว่าประเทศที่สำคัญสำหรับเราอยู่สถานะใดร่วมกับเรา ก่อนที่จะขยายไปสู่การเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป
“สำหรับประสิทธิผลการพัฒนาใน 6 ประเทศอาเซียนดังกล่าว พบว่า ในด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยมีความโดดเด่นเป็นอันดับที่ 1 ได้คะแนนสูงสุด 61.60% หมายความว่าเราทำได้ตามเป้าหมายในเรื่องเศรษฐกิจนี้ไปได้เกือบถึงร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว ซึ่งภายในประกอบด้วยเรื่องของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพและความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจ โดยในด้านความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเราทำได้ดีโดยเฉพาะในหมวด “การสร้างนวัตกรรม” เนื่องจากในปีที่ผ่านมาเรื่องค่าใช้จ่ายในเรื่องนวัตกรรมเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ส่วนในด้านความเท่าเทียมเราทำได้ดีมากหากย้อนไปดูตัวเลขในเรื่องนี้เพราะได้มีการปรับปรุงในช่วงที่ผ่านมา สำหรับภาพรวมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยรวมเปรียบเทียบกับกลุ่มอาเซียนปัจจุบันในตารางเราอยู่ในตำแหน่งกลาง คือสถานะกลาง เพราะมีการปรับปรุงในเรื่องนี้ค่อนข้างดี ซึ่งทิ้งห่างอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ซึ่งอยู่ในตำแหน่งล่างกว่ามาก ส่วนมาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไน ซึ่งอยู่ในสถานะบน อาจเนื่องมาจากประชากรมีรายได้ต่อหัวต่อปีมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียนทำให้อยู่ในสถานะนี้มาตลอดนั่นเอง”
ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดงานวิจัยเพิ่มเติมได้ที่ สภาปัญญาสมาพันธ์ (WISDOM COUNCIL) โทรศัพท์ 084-522-4424 อีเมล์: wisdomcouncilthailand@gmail.com หรือเข้าไปที่ http://www.wisdomcouncilthailand.com