ADS


Breaking News

คำกล่าวสรุปการประชุมสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศครั้งที่ 35

โดย ประธานกรรมการหอการค้าไทย (คุณกลินท์ สารสิน)
วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน 2560

เรียน ท่านรองนายกรัฐมนตรี (ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์)
ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ)
ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด
ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
กรรมการหอการค้าไทย
ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาค 5 ภาค
ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัด 18 กลุ่มจังหวัด
ประธานหอการค้าจังหวัด, เลขาธิการ, กรรมการหอการค้าจังหวัด
ทั่วประเทศ และผู้ร่วมสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศครั้งที่ 35 ทุกท่าน

     หอการค้าไทยได้ดำเนินโครงการตามที่ได้เสนอในงานสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศครั้งที่แล้ว ตามที่ทุกท่านได้เห็นใน VTR ซึ่งผมขอยกตัวอย่างโครงการที่ประสบผลสำเร็จเพิ่มเติม
  • โครงการ Big Brother ได้นำบริษัทพี่เลี้ยง14 บริษัท มาช่วย SMEs ที่มีศักยภาพและต้องการเติบโต โดยปีที่ผ่านมา บริษัทน้อง 50 บริษัท ที่เข้าร่วมโครงการนั้นสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่า 500 ล้านบาท
  • โครงการ Food Innovation Forum ซึ่งได้นำนวัตกรรมด้านอาหารจัดให้ นักวิจัย ผู้ผลิต ได้มาพบผู้ประกอบการ โดยในปีหน้าจะดำเนินการจัดอีกครั้งรวมถึงไปขยายผลจัดงานService Innovation Forum
  • ด้านการขยายตลาดในCLMV ได้มีการประชุมร่วมและลงนาม MOU5จังหวัดชายแดนคู่กันทั่งฝั่งไทยและฝั่งกัมพูชา เพื่อร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างกัน
  • นอกจากนั้น หอการค้าไทย ยังเป็นผู้ขับเคลื่อนหลัก โครงการสานพลังประชารัฐที่คุณอิสระ ว่องกุศลกิจ เป็นหัวหน้าทีมภาคเอกชนซึ่งมีหลายโครงการที่ได้รับความร่วมมือจากหอการค้าทั่วประเทศ เช่น โครงการบริษัทประชารัฐรักสามัคคีประจำจังหวัด โครงการ Amazing Thai Taste โครงการเกษตรแปลงใหญ่ การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเป็นต้น

     หอการค้าไทยมุ่งขับเคลื่อน Trade & Services 4.0 ด้วยการใช้นวัตกรรม (Innovation) และความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นจริง (Execution) ด้วยการพัฒนา และยกระดับความสามารถทางการแข่งขันให้แก่สมาชิก 100,000 รายทั่วประเทศ โดยเฉพาะใน 3Value Chains หลัก คือ การค้าและการลงทุน เกษตรและอาหาร ท่องเที่ยวและบริการ
     การสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศเป็นโอกาสสำคัญในการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและกำหนดแนวทางการทำงานร่วมกันของหอการค้าไทยและหอการค้าจังหวัดทั่วประเทศที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 35
     สำหรับการสัมมนาในปีนี้ หอการค้าไทย เห็นว่า การพัฒนาและยกระดับประเทศไปสู่Thailand 4.0 ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และการเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ภาค กลุ่มจังหวัด และจังหวัด ได้นั้น จำเป็นต้องให้ภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ สามารถเติบโตไปพร้อมๆ กัน (Inclusive Growth) โดยกำหนดThemeการจัดสัมมนาในปีนี้ว่า“Executing Trade & Services 4.0 : เติบโต ทั่วถึง แบบไทยเท่ (ThaiTay with Inclusive Growth)”

     “ไทยเท่” คือความภูมิใจและกล้าที่จะนำวัฒนธรรมท้องถิ่นของไทยที่ดีงาม มาผนวกกับนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ สร้างเป็นสินค้าและบริการที่แตกต่าง มีมูลค่าเพิ่ม ให้กับเศรษฐกิจในพื้นที่ แนวคิดไทยเท่ เป็นการสร้างเศรษฐกิจจากวัฒนธรรม หรือที่เรียกว่า Cultural Economyซึ่งประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีเอง ก็ได้มีแนวคิดในการสร้างเศรษฐกิจจากวัฒนธรรมเช่นเดียวกัน โดยที่ญี่ปุ่นเรียกว่า Cool Japan Strategy ส่วนที่เกาหลีเรียกว่า The Korean Wave

     ดังนั้น การสร้างไทยให้เท่ ตามแนวคิดไทยเท่ จึงเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนไม่ใช่เฉพาะหอการค้าไทย ไทยจะเท่ได้ ต้องอาศัยทั้ง รัฐ เอกชน ประชาชน ในการร่วมมือร่วมใจ ผลักดันให้เกิดขึ้นจริง โดยในขณะนี้ หลายหน่วยงานก็ได้ร่วมขับเคลื่อนแนวคิดไทยเท่แล้ว

     การสัมมนาครั้งนี้ได้ นำเรื่องไทยเท่ มาเป็นแนวทางหลักในการขับเคลื่อนประเทศไทย ให้เข้าสู่ Thailand 4.0 โดยไทยเท่นั้น ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะ ด้านการท่องเที่ยว แต่ได้รวมทุกๆ ด้านในการเพิ่มมูลค่าให้กับท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นด้านการค้า การเกษตร หรือการบริการ ก็สามารถเท่ ได้ซึ่งเป็นที่มาของ หัวข้อในการสัมมนา ครั้งนี้ โดยเราเล็งเห็นว่า การจะขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนนั้น ต้องมีการ“สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และคุณค่าในทางสังคม โดยเชื่อมโยงตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)”

     ปีนี้เรากำหนดให้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อการเพิ่มขีดความสามารถของแต่ละกลุ่มธุรกิจ พร้อมด้วยกรณีศึกษาจากประสบการณ์จริงของผู้ประกอบการโดยมุ่งเน้น 3 กลุ่ม ที่หอการค้าไทยได้กำหนดเป็นแนวทางการดำเนินงาน เพื่อให้สอดรับกับ Trade & Services 4.0 ซึ่งผลสรุปการสัมมนาทั้ง 3 กลุ่มมีดังนี้ครับ

กลุ่ม 1เรื่อง “Executing Trade and Investment with Inclusive Growth
     แนวโน้มวิธีทำการค้าเปลี่ยนไปมากธุรกิจจะแข่งขันที่ความรวดเร็ว (Economy of Speed)ซึ่ง Technology จะช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าเร็วขึ้น  ผู้ประกอบการต้องมีการปรับตัวเข้าสู่ E-Business อีกทั้งทางกระทรวงดิจิทัลฯ ได้กำลังดำเนินการทำโครงสร้างพื้นฐานระบบดิจิทัล (Net ประชารัฐ) ให้ทุกหมู่บ้านเข้าถึง Internet ดังนั้น หอการค้าไทยจะดำเนินการเพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ จากเรื่องนี้ นอกจากนี้แล้ว ยังให้สมาชิกนำ   E-Business มาใช้เป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ดังนี้
1) Digital Platform : โครงการ 1 หอการค้า  1 Digital Transformation Platformสนับสนุนให้แต่ละหอการค้าแต่ละจังหวัดนำ Digital ไปพัฒนา Platform ร่วมกับแผนการพัฒนาของจังหวัดนั้นๆ ซึ่งอาจจะเป็น Platform ที่เป็นทั้ง Platform เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลการค้า การท่องเที่ยว event ต่างๆ และ Platform ที่ทำการค้าได้ด้วย ซึ่ง หอการค้าฯจะได้มีการใช้ข้อมูลที่มีอยู่มากมาย (Big Data) และนำมาใช้วิเคราะห์คาดการณ์ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ยกตัวอย่างเช่น โครงการ Town portal ของ YEC จังหวัดภาคใต้
2) E-Trading : โครงการ Thai Chamber Digital Platformเป็นการจัดทำระบบ QR Code ให้รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและสร้างแบรนด์ ,โครงการพัฒนาค้าปลีกขนาดเล็ก 4.0 เป็นการจัดกิจกรรมการพัฒนายกระดับร้านค้าปลีกขนาดเล็กให้สามารถปรับตัวได้ทันกับยุคสมัย โดยนำ Technology เข้ามาใช้ในการจัดการ เพื่อให้ยกระดับให้ร้านค้าปลีกขนาดเล็กหรือร้านโชห่วยที่พัฒนาแล้วเป็นจุดกระจายสินค้าของสินค้าที่ทำธุรกรรมผ่าน  E-Commerce
3) E-Payment : ส่งเสริมให้สมาชิกใช้ QR Code ในการรับชำระค่าสินค้าและบริการร่วมกับธนาคารพาณิชย์
4) E-Logistics: สนับสนุนและส่งเสริมให้มีผู้ประกอบการขนส่งและกระจายสินค้าให้เข้าถึงชุมชน การนำระบบการบริหารจัดการทาง Electronic เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการด้านการขนส่ง ทั้งในเรื่องการกระจายสินค้า สินค้าคงคลัง
5) Human Resource Development : เนื่องจากDigital Technology มาในด้านธุรกิจมากขึ้น การปรับตัวเป็นเรื่องสำคัญ โดยหอการค้าจะดำเนินการ โครงการอบรม E-Business สำหรับผู้ประกอบการร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจัดหลักสูตรพัฒนาผู้ประกอบการให้เห็นความสำคัญและสามารถใช้งาน Platform เข้ามาช่วยบริหารจัดการ เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเป็นเครื่องมือทางการตลาด เช่น การอบรมหลักสูตร E-Commerce ระหว่างประเทศ เช่นโครงการความร่วมมือระหว่าง  มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและAlibaba.com / Lazada นอกจากนี้ยังมีบริการให้คำปรึกษาในการทำธุรกิจด้าน E-Commerce อย่างครบวงจร

กลุ่ม 2 เรื่อง“Executing Agriculture and Food Processing with Inclusive Growth”
     เนื่องจากเศรษฐกิจทั้งในประเทศแลต่างประเทศเริ่มดีขึ้น ความต้องการอาหารก็มีมากขึ้น หอการค้าไทย จะส่งเสริมธุรกิจเกษตรและอาหารของไทยให้มีความพร้อมในการแข่งขันภายใต้ปัจจัยแวดล้อมที่มีความเสี่ยงและส่งผลต่ออุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของไทย โดยมีแนวทางและโครงการที่เสนอดังนี้

  1. พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงความต้องการของตลาดโดยอาศัยเครือข่ายหอการค้าไทยที่มีศักยภาพทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ ตลอดจน การขยายตลาดในต่างประเทศร่วมกันเช่น โครงการส่งเสริมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ (Packaging) เพื่อเพิ่มมูลค่าการตลาด

  1. การเพิ่มผลิตภาพการผลิต (Productivity)โดยการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร/สหกรณ์ ด้วยการให้ความรู้ด้านการผลิต ด้านการเงิน ด้านการบริหารจัดการ และด้านการนำและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีซึ่งหอการค้า ไทยได้สร้างต้นแบบการเพิ่มผลิตภาพการผลิตไว้แล้ว อาทิ โครงการ 1 ไร่ 1 แสน และ โครงการ 1 หอการค้า 1 สหกรณ์การเกษตรและวิสาหกิจชุมชน ซึ่ง ปี 2561 จะขยายผลให้คลอบคลุมทั่วประเทศ

  1. การสร้างและขยายผลมาตรฐานสินค้า โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มความปลอดภัยทางอาหารผ่านมาตรฐาน THAI GAP (Good Agriculture Practice) ของหอการค้าไทยเพื่อให้สามารถขายสินค้าในปริมาณน้อยๆ ให้ได้มูลค่ามากๆ รวมถึงมาตรฐานอื่นๆเช่น Q-GAP , GMP (Good Manufacturing Practice) เป็นต้น

  1. การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรม (Value Added) จากวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีความหลากหลายผ่านการวิจัยและพัฒนาให้มีนวัตกรรมโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ของเครือข่ายภาคธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ และการทำงานร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรด้านนวัตกรรม อาทิ
  • โครงการพัฒนาผลไม้ไทย เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นมหาอำนาจด้านผลไม้เมืองร้อนของโลก
  • โครงการเลี้ยงกุ้งแบบอิงธรรมชาติ (RAS-Aquamimicry)
  • โครงการนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) โดยการแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตรหรือของเหลือทิ้งจากการเกษตร ด้วยการสนับสนุนงบประมาณของสำนักงานวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)

  1. การตลาดนำการผลิต โดยศึกษาความต้องการของตลาดแล้วเริ่ม กระบวนการผลิตสร้างความแตกต่างให้กับสินค้า  และเน้นเจาะกลุ่ม Niche Market  รวมทั้ง การสร้าง Market Place ผ่านระบบ E-commerce เพื่อรองรับสินค้าและบริการ
  • โครงการ IBM Impact Grant ใช้ซอฟต์แวร์ เพื่อเป็นต้นแบบการเก็บข้อมูล/การคาดการณ์ต่างๆ ด้านการตลาด ด้วยระบบเทคโนโลยีในสินค้าเกษตร เพื่อง่ายต่อการสืบค้นความต้องการสินค้าเกษตรในแต่ละประเทศสำหรับให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
     และที่สำคัญคือการส่งเสริมความเชื่อมโยงการผลิตระหว่าง ต้นน้ำ (การรวมตัวสหกรณ์) กลางน้ำ (การผลิตและแปรรูป) และปลายน้ำ (การตลาด) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนตามแนวทางประชารัฐ

กลุ่ม 3  เรื่อง “Executing Tourism and Services with Inclusive Growth
     ทางกลุ่มนี้มีสรุปข้อเสนอในเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการกระจายรายได้และเพิ่มมูลค่า สำหรับการท่องเที่ยวและบริการ เป็น 3 ประเด็นสำคัญ คือ
1. โครงการ 1 หอการค้า ดูแลอย่างน้อย 1 ท่องเที่ยวชุมชน
ท่องเที่ยวชุมชนและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นรากฐานสำคัญ ที่ช่วยสร้างรายได้ กระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ และเข้าถึงท้องถิ่นอย่างทั่วถึง
     หอการค้าไทย อาศัยเครือข่ายอันเข้มแข็งของหอการค้าจังหวัดที่มีอยู่ทั่วประเทศ เพื่อช่วยส่งเสริม พัฒนา และต่อยอดชุมชนที่มีศักยภาพในการเติบโต โดยจัดทำ ต้นแบบท่องเที่ยวชุมชน ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่   
     และมีข้อเสนอให้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ สำหรับขับเคลื่อนการท่องเที่ยวชุมชน และยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อทำงานร่วมกันโดยอาศัยจุดแข็งของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งรัฐและเอกชน

2. สนับสนุน “ไทยเท่” เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับเศรษฐกิจในพื้นที่แต่ละจังหวัด โดยทุกหน่วยงานร่วมกันสร้างเศรษฐกิจจากวัฒนธรรม เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้ให้กับเศรษฐกิจในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ  จากการสนับสนุนการพัฒนาผู้ประกอบการให้นำวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของท้องถิ่นมาต่อยอดด้วยความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม สร้างสินค้าและบริการที่แตกต่างและมีมูลค่าเพิ่ม
     ทั้งนี้ หอการไทยได้เริ่มดำเนินโครงการ ไทยเท่ทั่วไทย โดยจัดให้มีการประกวดรางวัลไทยเท่ทั่วไทย ใน 4 หมวด คือ ชม ชิม ช้อป ช่วย รวมถึงหอการค้าไทยโดย Thailand Smart Center (TSC) ได้จัดกิจกรรมอบรมเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการ เพื่อส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการไทยเท่ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
3. ส่งเสริม Thailand Digital Tourism Platform
ดิจิทัลเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเสริมความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มความสะดวก สร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ลดต้นทุน และสนับสนุนผู้ประกอบการไทย
     หอการค้าไทยร่วมสนับสนุนการพัฒนา Digital Tourism Platform ของประชารัฐ ซึ่งเป็น Platform เปิด รองรับการซื้อขายสินค้าและบริการแบบออนไลน์ สอดคล้องกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวสมัยใหม่ รวมถึงการนำ QR Code มาใช้งาน เพื่อประโยชน์ในการสร้างความเชื่อมั่น สำหรับสมาชิกในเครือข่ายของหอการค้าไทย

     นอกจากที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคทั้ง 5 ภาค ของหอการค้าไทย ที่ได้มีการจัดทำและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาค ได้มีการสรุป Winning Projectsที่จัดลำดับความสำคัญของแต่ละแผนงานเชื่อม Area Base และ Function Base เข้าด้วยกัน ซึ่งมีโครงการต่างๆ ที่จะทำงานร่วมกันหลายงานไม่ว่าจะเป็นเรื่อง 1 บริษัท ดูแล อย่างน้อย 1 ชุมชน//1 หอการค้า ดูแลอย่างน้อย 1 สหกรณ์การเกษตร // 1 ไร่ ได้เงิน 1แสน//1 หอการค้า ดูแล อย่างน้อย 1 ท่องเที่ยวชุมชนเป็นต้นโดยจะได้มีการทำงานเชื่อมโยงกัน จากความร่วมมือที่เหนียวแน่นระหว่างหอการค้าไทย, หอการค้าจังหวัด, สมาคมการค้า, หอการค้าต่างประเทศ และ ภาครัฐตามแนวทางประชารัฐ ต่อไป
นอกจากนั้น หอการค้าไทยยังให้ความสำคัญกับ การ ขับเคลื่อนผู้ประกอบการรุ่นใหม่หอการค้าไทย YOUNG ENTREPRENEUR CHAMBER OF COMMERCE (YEC)  เพื่อให้นักธุรกิจรุ่นใหม่ทั่วประเทศ มีโอกาสเข้าร่วมทำกิจกรรมกับหอการค้าไทย ร่วมกันเสนอแนวคิดใหม่ๆ สานพลังร่วมกับหอการค้าจังหวัดและร่วมสร้างคุณประโยชน์ต่อเศรษฐกิจท้องถิ่น และประเทศ  ซึ่งพลังคนรุ่นใหม่ที่จะมารับช่วงต่อในการพัฒนาธุรกิจและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยร่วมกับภาครัฐและเอกชนในอนาคต โดยในปีนี้ได้มีการให้YEC มานำเสนอโครงการ YEC Pitching เป็นกิจกรรมร่วมกันกับหอการค้าฯทั่วประเทศ

     สำหรับประเด็นอื่นๆ อีก ที่ได้จากการสัมมนาในครั้งนี้ ทั้ง หอการค้าไทย หอการค้าจังหวัด สมาคมการค้า หอการค้าต่างประเทศ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จะนำเอาประเด็นที่ได้ไปพิจารณาหารือต่อ
     ทั้งหมดนี้คือ ผลสรุปการประชุมการสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 35หอการค้าไทยคาดหวังว่า ผลที่ได้จากการสัมมนานี้ จะเป็นตัวช่วยในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นตัวจุดประกายให้กับทุกภาคส่วนได้มามีส่วนร่วมในการสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เกิดการกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจร่วมกันอย่างทั่วถึง โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

    สำหรับเอกสารที่เป็นรายละเอียดของผลการประชุม  เราได้ดำเนินการสรุปจัดทำเป็นสมุดปกขาวมอบให้ ท่านรองนายกรัฐมนตรี (ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เพื่อพิจารณาตามความเหมาะสมต่อไป  
ขอบคุณครับ