พบคนไทยวัยทำงานและสตรีวัยกลางคนเป็นโรคช้ำรั่ว หรือ โอเอบี เพิ่มขึ้น ชี้ 80% ปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาส่งผลคุณภาพชีวิตแย่ลง
แพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ความรู้รับมือกับโรค OAB (OVERACTIVE BLADDER) หรือโรคช้ำรั่ว ในงาน “CHECK IN OAB ชีวิตดี เมื่อโอเอบีรักษาได้”พบปัจจุบันคนไทยวัยทำงานและสตรีวัยกลางคนขึ้นไปเป็นโรคช้ำรั่วหรือ OAB มากขึ้น ชึ้ 80% ปล่อยทิ้งไว้ไม่มารักษาส่งผลคุณภาพชีวิตแย่ลงและเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน เดินหน้าจัดงาน “Check in OAB ชีวิตดี เมื่อโอเอบีรักษาได้” เจาะลึก รู้จริง เข้าใจเรื่องโรค OAB กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากรพ.รามาฯ และCheck List กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นแชร์ประสบการณ์ตรงรับมือกับ OAB จากดารารับเชิญสุดพิเศษ “ตุ๊ก ดวงตา ตุงคะมณี” และ “เมจิ คัดกิ่งรักส์ คิคคิคสะระณัง”พร้อมกิจกรรมดนตรี “สุขาอยู่หนใด” จากศิลปินชื่อดัง “เบล สุพล” โดยมีผู้สนใจเข้า Check in OAB เป็นจำนวนมาก
ศ.นพ.วชิร คชการ หัวหน้าสาขาวิชาศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึงภาวะโรคปัสสาวะบีบตัวไวเกิน หรือ เรียกว่าโรคช้ำรั่ว OAB(Overactive Bladder ) ในงาน “CHECK IN OAB ชีวิตดี เมื่อโอเอบีรักษาได้”ว่า ปัจจุบันพบภาวะคนเป็นโรคดังกล่าว ซึ่งเป็นอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แบบปัจจุบันทันด่วนเพิ่มมากขึ้นถึง21.3%โดยส่วนใหญ่จะพบโรคนี้กับผู้สูงอายุที่มากขึ้น มากกว่าร้อยละ 30 ของผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปและสตรีเคยมีประวัติคลอดบุตรหลายคนแต่ปัจจุบันพบในผู้หญิงวัยทำงานอายุ 30- 40 ปี เพิ่มมากขึ้น ด้วยไลฟ์สไตล์ และยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เพราะมีการแข่งขันสูง มีการทำงานต่อเนื่องกันหลายชั่วโมง การทำงานออกนอกสถานที่ และเผชิญกับภาวะรถติด ทำให้ใช้เวลาบนท้องถนนนานเป็นพิเศษ ตามวิถีของคนเมือง ทำให้ไม่มีเวลาที่จะเข้าห้องน้ำ หรือต้องอั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน อาจประสบปัญหาเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินปัสสาวะ มีอาการปัสสาวะเล็ด หรือการที่มีปัสสาวะรั่วไหลโดยไม่ได้ตั้งใจ
ปัญหาของโรคนี้คือ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าตนเองเป็น เพราะมักจะเข้าใจผิดไปเองว่า อาการปัสสาวะบ่อยนั้นเกิดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น จึงไม่ไปตรวจที่โรงพยาบาลกว่า 80% ปล่อยทิ้งไว้ เนื่องจากอาย และไม่ได้รับข้อมูลจากโรคที่เพียงพอ ทำให้อาการเริ่มเป็นหนักขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าโรค OABจะไม่ใช่โรคที่คุกคามถึงชีวิต แต่ก็ส่งผลกระทบต่อชีวิตในหลายด้าน ทั้งด้านกิจวัตรที่บ้านและความสัมพันธ์ในครอบครัว สุขภาพกายและจิตใจ สังคม รวมถึงการประกอบอาชีพ หากไม่ได้รับการรักษา อาการเริ่มต้นที่เป็นเพียงแค่ก่อความรำคาญ อาจเลวร้ายลงจนกลายเป็นอาการที่รุนแรง อาจทำให้เป็นปัญหาในการเข้าสังคม หรือเป็นปัญหาทางสุขภาพและอนามัยคนที่เป็น OAB มักมีข้อจำกัดในการดำเนินชีวิต โดยมักจะวนเวียนอยู่บริเวณห้องน้ำ วางแผนประจำวันเรื่องการเข้าห้องน้ำ และรู้สึกเสี่ยงเกินไปที่จะออกจากบ้านไปทำธุระหรือออกกำลังกายเพราะกังวลกับการต้องหาห้องน้ำให้ทันเวลา ภาวะ OAB ยังอาจทำให้การทำงานลำบากขึ้น การตื่นนอนในตอนกลางคืนบ่อย ๆ ทำให้ประสิทธิผลของการทำงานลดลง
ผลกระทบทางด้านอารมณ์ทำให้มีความนับถือตัวเองลดลง และรู้สึกโดดเดี่ยว ต้องทนทุกข์กับความวุ่นวายในชีวิตประจำวันจาก OAB หรือพยายามซ่อนเร้นอาการ อาจต้องหลบเลี่ยงการเข้าสังคม หรือกระทั่งหลีกหนีจากเพื่อนฝูงและครอบครัว ซึ่งอาจทำให้พลาดโอกาสสำคัญที่เป็นส่วนสำคัญในชีวิต ผู้ที่เคยกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ซึ่งเป็นอาการหนึ่งของ OAB อาจกลัวว่าคนอื่นจะได้กลิ่นของปัสสาวะหรือกังวลว่าจะปัสสาวะเลอะเสื้อผ้าหรือเฟอร์นิเจอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุมักเกิดขึ้นในขณะที่รีบไปเข้าห้องน้ำทำให้เกิดการหกล้มและส่งผลให้กระดูกหักได้
สำหรับอาการของโรค OAB (OVERACTIVE BLADDER) หรือโรคช้ำรั่ว มีรายละเอียดดังนี้
▪ ปัสสาวะรีบเร่ง: เป็นความรู้สึกปวดปัสสาวะอย่างฉับพลันและรุนแรงจนไม่สามารถรอได้ (คนปกติจะสามารถกลั้นปัสสาวะและชะลอการขับปัสสาวะได้)
▪ ปัสสาวะบ่อย: การที่ต้องปัสสาวะที่บ่อยกว่าปกติคือมากกว่า 8 ครั้งต่อวัน(24 ชั่วโมง)
▪ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ / เล็ดราด: อาจมีการเล็ดราดของปัสสาวะร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ โดยการเล็ดราดนี้ไม่สามารถควบคุมได้จากความรู้สึกปวดปัสสาวะอย่างฉับพลัน
▪ ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน: การตื่นขึ้นมาเพื่อไปปัสสาวะตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปในช่วงกลางคืน
ทั้งนี้สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะที่มีส่วนในการควบคุมการปัสสาวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ระบบหูรูด กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกราน ระบบประสาทที่ควบคุมการกลั้นและขับปัสสาวะ รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงบางอย่าง เช่น การดื่มน้ำน้อย กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานทำให้กระเพาะปัสสาวะเกิดการบีบตัวผิดปกติ จนกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ นอกจากนั้นคนที่เคยผ่าตัดมดลูกมาก่อนอาจมีการเสื่อมของหูรูดและการหย่อนยานของผนังช่องคลอดรวมทั้งบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะ ทำให้บริเวณคอกระเพาะปัสสาวะปิดไม่สนิทจึงเกิดอาการปัสสาวะรั่วออกมา และในวัยสูงอายุและประจำเดือนหมดแล้วฮอร์โมนเพศหญิงจะลดลง ทำให้เยื่อบุในท่อปัสสาวะขาดความยืดหยุ่นระบบการปิดกั้นของท่อปัสสาวะลดลง ทำให้ปัสสาวะรั่วซึมได้เช่นกันและรวมถึงการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ศ.นพ.วชิร กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวหรือน่าอับอาย เพราะโรคนี้สามารถรักษาให้หาย หรือทำให้ดีขึ้น เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้ซึ่งการรักษามีหลายวิธี ทั้งการกินยารักษา การใช้ฮอร์โมนทดแทน การฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยการขมิบช่องคลอด หรือแม้แต่การผ่าตัด อย่างไรก็ตาม นอกจากการรักษาทางการแพทย์แล้ว ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมด้วย เช่น การลดน้ำหนัก อย่าให้ท้องผูก งดสูบบุหรี่ งดดื่มกาแฟ โซดา น้ำอัดลม เนื่องจากมีสารกระตุ้นให้เกิดการขับถ่ายบ่อยนอกจากนี้การสวมใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับผู้ใหญ่ก็จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่มักพบมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินเป็นกลุ่มอาการของระบบทางเดินปัสสาวะ ที่มีอาการทั่วไปอยู่ 4 ลักษณะ คุณอาจมีอาการอย่างน้อยหนึ่งลักษณะ ดังอธิบายไว้ด้านล่างเป็นประจำทุกวัน หรืออาจมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ไม่แน่นอน
▪ ปัสสาวะรีบเร่ง: เป็นความรู้สึกปวดปัสสาวะอย่างฉับพลันและรุนแรง จนไม่สามารถรอได้ (คนปกติจะสามารถกลั้นปัสสาวะและชะลอการขับปัสสาวะได้)
▪ ปัสสาวะบ่อย: การที่ต้องปัสสาวะที่บ่อยกว่าปกติ คือ มากกว่า 8 ครั้งต่อวัน (24 ชั่วโมง)
▪ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ / เล็ดราด: อาจมีการเล็ดราดของปัสสาวะร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ โดยการเล็ดราดนี้ไม่สามารถควบคุมได้ จากความรู้สึกปวดปัสสาวะอย่างฉับพลัน
▪ ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน: การตื่นขึ้นมาเพื่อไปปัสสาวะตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปในช่วงกลางคืน
OAB
ผลกระทบของภาวะโอเอบี (OAB)
แม้ว่า OAB จะไม่ใช่โรคที่คุกคามถึงชีวิต แต่ก็ส่งผลกระทบต่อชีวิตในหลายด้าน ทั้งด้านกิจวัตรที่บ้านและความสัมพันธ์ในครอบครัว สุขภาพกายและจิตใจ สังคม รวมถึงการประกอบอาชีพ หากไม่ได้รับการรักษา อาการเริ่มต้นที่เป็นเพียงแค่ก่อความรำคาญ อาจเลวร้ายลงจนส่งผลกระทบที่รุนแรงได้
คนที่มีภาวะ OAB มักมีข้อจำกัดในการดำเนินชีวิต โดยมักจะวนเวียนอยู่บริเวณห้องน้ำ วางแผนประจำวันเรื่องการเข้าห้องน้ำ และรู้สึกเสี่ยงเกินไปที่จะออกจากบ้านไปทำธุระหรือออกกำลังกาย เพราะกังวลกับการต้องหาห้องน้ำให้ทันเวลา ภาวะ OAB ยังอาจทำให้การทำงานลำบากขึ้น การตื่นนอนในตอนกลางคืนบ่อย ๆ ทำให้ประสิทธิผลของการทำงานลดลง
ผลกระทบทางอารมณ์
คุณอาจเคยรู้สึกวิตกกังวล กระอักกระอ่วน ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง เนื่องจากการรบกวนชีวิตประจำวันจาก OAB หรือพยายามซ่อนเร้นอาการไว้ ทำให้อยากหลบเลี่ยงการเข้าสังคม รวมถึงเพื่อนฝูงและครอบครัว ซึ่งอาจทำให้พลาดโอกาสสำคัญในชีวิต ผู้ที่มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ซึ่งเป็นอาการหนึ่งของ OAB อาจกลัวว่าคนอื่นจะได้กลิ่นของปัสสาวะหรือกังวลว่าจะปัสสาวะเลอะเสื้อผ้า
ผลกระทบทางร่างกาย
ผู้ที่มีภาวะ OAB อาจเกิดการหกล้ม และส่งผลให้กระดูกหักจากการรีบไปเข้าห้องน้ำกลางดึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งหากต้องทำการผ่าตัดเพื่อรักษากระดูกหักในผู้สูงอายุ อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนทางการแพทย์อื่นได้ นอกจากนี้อาจเกิดผื่นผิวหนัง และการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้ เนื่องจากมีการเปียกปัสสาวะบ่อยโดยบังเอิญ และการทำความสะอาดที่มากเกินไปด้วยน้ำและสบู่ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
ปัจจัยเสี่ยงของภาวะโอเอบี (OAB)
▪ อายุที่มากขึ้น
เป็นปัจจัยเสี่ยงที่พบมากที่สุด มากกว่าร้อยละ 30 ของผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ได้รับผลกระทบจาก OAB ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากความเสื่อมของกล้ามเนื้อตามธรรมชาติ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า OAB เป็นเรื่องปกติหรือไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เมื่ออายุมากขึ้น
▪ นิสัยการบริโภคอาหาร
การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีสารที่ระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะในปริมาณมาก เช่น ชา กาแฟ แอลกอฮอล์ และอาหารมีเครื่องเทศมาก รวมทั้ง การดื่มน้ำมากเกินไปอาจทาให้อาการ OAB ในบางคนแย่ลง
▪ การตั้งครรภ์และการคลอดบุตร
มีรายงานว่าหญิงตั้งครรภ์มักมีอาการของ OAB ชั่วคราว อาจพบการเล็ดราดของปัสสาวะได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสสุดท้ายของอายุครรภ์ และการคลอดทางช่องคลอดอาจเพิ่มโอกาสในการเกิดอาการ OAB ได้
▪ วัยหมดประจำเดือน
อาการช่องคลอดแห้งที่เกิดขึ้นในวัยหมดประจำเดือนอาจระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะ และส่งผลต่อการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ และนำไปสู่การปวดปัสสาวะรีบเร่งและบ่อยได้
▪ ภาวะทางการแพทย์
ภาวะทางการแพทย์หรือโรคบางชนิด เช่น การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis; MS) การบาดเจ็บของไขสันหลัง หรือ การได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากหรืออุ้งเชิงกรานมาก่อน อาจลดคุณภาพของการควบคุมกระเพาะปัสสาวะจากสมอง ส่งผลให้เกิดการเล็ดราดของปัสสาวะได้
▪ การใช้ยา
ยาบางชนิด อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงเกี่ยวกับการปวดปัสสาวะอย่างฉับพลันหรือปวดปัสสาวะบ่อย เช่น ยาขับปัสสาวะ ยารักษาอาการซึมเศร้า ยาแก้ปวด และยาคลายกล้ามเนื้อ
ทางเลือกในการรักษา OAB
การปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต
▪ ควรดื่มน้ำวันละ 1.5-2 ลิตรต่อวัน
▪ ดื่มน้ำให้น้อยลงทั้งก่อนและระหว่างการเดินทางที่ใช้เวลานาน
▪ ดื่มน้ำให้น้อยลงในตอนเย็น เพื่อหลีกเลี่ยงการปัสสาวะในตอนกลางคืน
▪ ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เนื่องจากจะเพิ่มการผลิตปัสสาวะและระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ
▪ การลดสารให้ความหวานเทียม อาหารรสเผ็ด ผลไม้และน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวในอาหาร อาจช่วยให้อาการ OAB ดีขึ้น เนื่องจากอาหารเหล่านี้อาจระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ
▪ รักษาระดับน้ำหนักตัวให้เหมาะสม การลดน้ำหนักตัว อาจทาให้อาการปัสสาวะเล็ดราดทุเลาได้
การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอาจอ่อนแอลงตามอายุ การขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่เรียกว่า การบริหารแบบคีเจล "Kegel" สามารถช่วยให้กล้ามเนื้อหูรูดกลับมาแข็งแรงขึ้น แต่ต้องฝึกอย่างถูกวิธีเท่านั้น ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้
การใช้ยารักษา OAB
หลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว หากอาการของคุณยังไม่ดีขึ้น ในปัจจุบันก็มียาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการของ OAB หลายตัว อย่างไรก็ตาม คุณอาจพบอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาได้เช่นกัน เช่น ปากแห้ง คอแห้ง ท้องผูก ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ปัสสาวะคั่งหรือปัสสาวะไม่ออก ดังนั้น คุณควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับคุณที่สุด
หากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการรักษาด้วยยา ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาของคุณได้ ยังมีทางเลือกอื่นๆ ได้แก่
เมื่อคุณเข้าใจดีขึ้นเกี่ยวกับภาวะโอเอบี (OAB) และการรักษาแล้ว หากคุณมีอาการที่บ่งบอกถึงภาวะ OABคุณควรรีบปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการบำบัดรักษา และเชื่อมั่นว่าอาการของคุณจะดีขึ้น !
|