ADS


Breaking News

ทิปส์บริหารเงินขั้นเทพ แบบมีเงินเหลือเที่ยวสไตล์คนรุ่นใหม่

     คนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบัน ต่างก็อยากมีทั้งเงินเก็บและเงินไว้เที่ยว ตามไลฟ์สไตล์ Work Hard, Play Harder ที่มักจะทุ่มเทให้กับการทำงานหนัก แต่ก็ให้ความสำคัญกับการพักผ่อนไม่แพ้กัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้น ไม่เว้นแต่เรื่องการบริหารเงิน ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ตามแบบเมืองใหญ่ๆ ในหลายประเทศ เช่นปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ ที่ได้ก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดอย่างเต็มตัวไปแล้ว  โดยผู้คนในประเทศดังกล่าวมักจะช้อปปิ้งสินค้าและบริการผ่านทางสมาร์ทโฟนโดยใช้ QR code จนเรียกได้ว่ามีสมาร์ทโฟนเครื่องเดียวก็ทั้งช้อปทั้งชิลล์ได้ทุกที่  แต่ยิ่งเทคโนโลยี มีความสำคัญมากขึ้นเท่าใด การเรียนรู้ในการบริหารและการใช้เงินยิ่งสำคัญมากขึ้นเท่านั้น เราลองมาดูเคล็ดลับดีๆ ที่ช่วยบริหารเงินให้มีเหลือเที่ยวกันดีกว่า

  1. แบ่งเงินที่ได้ประจำเป็นสัดส่วน
  • สิ่งที่ง่ายที่สุดคือควบคุมรายจ่ายในแต่ละเดือนให้น้อยกว่ารายได้ แบ่งรายการใช้จ่ายเป็นสัดส่วน เช่น รายจ่ายประจำ รายจ่ายจำป็นที่คาดว่าจะต้องเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ค่ารักษาพยาบาล โดยมีเงินเหลือเก็บประมาณ 10% ของรายได้ในแต่ละเดือน เพื่อนำเงินมาใช้เวลาฉุกเฉิน และนำเงินไปลงทุนบางส่วน ไม่ว่าจะเป็นซื้อกองทุนหุ้น สลากออมสิน ซื้ออสังหาริมทรัพย์ให้เช่าหรืออื่น ๆ ไม่แน่ว่าเผลอแป๊บเดียว อาจจะรวยเป็นเศรษฐีแบบไม่รู้ตัว

  1. กันเงินไว้สำหรับไปเที่ยว
  • การเข้มงวดกับการเก็บเงินที่มากเกินไป อาจจะเกิดการเครียดได้ ดังนั้นควรจะแบ่งเงินไว้เพื่อการท่องเที่ยว อาจจะเริ่มต้นที่ 5% ของเงินเดือน เพื่อเก็บเงินไปเที่ยวทริปสนุกๆ ไม่ว่าจะไปเที่ยวคนเดียว หรือไปกับคู่รัก ครอบครัว และเพื่อนๆ อย่างน้อยปีนึง ก็ควรมีทริปใหญ่ซักทริป  เพราะนอกจากการได้ไปเที่ยวจะเป็นชาร์จแบตให้ตัวเองจากการทำงานแล้ว ยังเป็นการสร้างประสบการณ์และความทรงจำที่มีค่าให้กับชีวิตด้วย โดยในปัจจุบันราคาตั๋วเครื่องบินก็ไม่สูงมากเกินไปนัก
  1. อย่ามองข้าม Rewards Program สะสมแต้มต่างๆ
  • คนยุคใหม่อย่างเรา จะจับจ่ายใช้สอยทั้งทีก็ต้องคิดถึงความคุ้มค่ามาเป็นอันดับหนึ่ง โดยปกติ แบรนด์ต่างๆ มักจะมี Rewards program เพื่อเป็นการขอบคุณลูกค้าซึ่งบางคนไม่ได้ให้ความสนใจถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้รับ ทั้งที่จริงๆ Rewards program เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถเพิ่มมูลค่าของเงินที่จ่ายไปในแบบที่เงินสดไม่สามารถทำได้ ที่เห็นได้ชัดก็คือบัตรเครดิต ที่พอครบรอบปลายปีก็สามารถแลกบัตรกำนัลให้ช้อปของที่หมายตาหรือสิทธิพิเศษอื่นๆ ได้แบบไม่รบกวนเงินในกระเป๋า  นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายที่ไม่ควรมองข้ามอย่างค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ถือเป็นเงินก้อนใหญ่ที่ต้องเสียไปในแต่ละเดือน  เราสามารถใช้บัตรเครดิตจ่ายแทนเงินสดเมื่อใช้บริการแอพพลิเคชั่นเรียกรถบางแบรนด์ เช่น Grab ด้วยเช่นกัน ซึ่งนอกจากจะสะดวกสบาย เพราะไม่ต้องจ่ายเงินสดแล้ว ยังได้คะแนนสะสมจากโปรแกรม แกร็บรีวอร์ดส (GrabRewards) โดยสามารถนำคะแนนสะสมที่ได้รับในแต่ละเที่ยวของการเดินทางไปแลกส่วนลดบัตรโดยสารเครื่องบิน หรือส่วนลดค่าโดยสารแกร็บแท็กซี่และแกร็บคาร์ทั้งในประเทศไทย รวมทั้งประเทศอื่นๆ ที่แกร็บให้บริการอยู่ นอกจากนี้ ยังสามารถนำคะแนนสะสมมาแลกเป็นส่วนลดสินค้าและบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตั๋วเครื่องบิน บัตรทานอาหารและตั๋วหนัง ยิ่งไปกว่านั้น ล่าสุด แกร็บ ยังจับมือกับสิงคโปร์แอร์ไลน์ โดยสมาชิกแกร็บรีวอร์ดสสามารถใช้คะแนนสะสมแลกเป็นไมล์สะสมในโปรแกรมคริสฟลายเออร์ (KrisFlyer) ของสิงคโปร์แอร์ไลน์ได้ เรียกได้ว่าเป็นการใช้เงินอย่างคุ้มค่า ไม่เสียเปล่า ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มในการใช้จ่าย และที่สำคัญยังให้ความสุขเพิ่มให้กับเราได้อีกด้วย
  1. ใช้บัตรเครดิตอย่างมีสติ
  • คนรุ่นใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำงานอาจจะติดกับของการใช้บัตรเครดิต เพราะรู้สึกชีวิตมีอิสระ แต่ที่จริงแล้วควรตั้งสติก่อนการใช้บัตรเครดิตทุกครั้ง โดยคำนวนการใช้บัตรเครดิตในแต่ละครั้ง อย่าใช้เกินความสามารถที่เราจะจ่ายเงินคืนในเดือนถัดไป เพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นหนี้ ซึ่งเป็นการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ แถมยังต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มอีกด้วย
     จะเห็นได้ว่าการบริหารเงินนั้นทำได้ไม่ยาก แค่เริ่มต้นที่ตัวเองด้วยการบริหารเงินทีละน้อย พร้อมกับนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มาปรับใช้ในการบริหารเงิน  จะทำให้เราจัดการชีวิตได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้นได้อย่างแน่นอน

# # #
เกี่ยวกับ แกร็บ
     แกร็บ (Grab) คือผู้นำแพลตฟอร์มด้านการขนส่งแบบออนดีมานด์และการชำระเงินผ่านมือถือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความท้าทายของเราคือการแก้ปัญหาด้านระบบขนส่งและทำให้คนทั้ง  620 ล้านคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสะดวกสบายในการเดินทางอย่างแท้จริง แกร็บถือเป็นผู้บุกเบิกในการมอบทางเลือกการเดินทางที่มีความรวดเร็ว ปลอดภัย และเชื่อถือได้ให้แก่ผู้ขับขี่และผู้โดยสาร รวมถึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แพลตฟอร์มการชำระเงินผ่านมือถืออย่างแกร็บเพย์ ซึ่งช่วยเพิ่มการเข้าถึงระบบการชำระเงินและการเงินการธนาคารในรูปแบบออนไลน์ให้ผู้โดยสารและผู้ขับขี่หลายล้านคนในภูมิภาค ในปัจจุบัน แกร็บให้บริการใน 7 ประเทศได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม พม่า และไทย สามารถอ่านและติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.grab.com