ADS


Breaking News

สถาน เสาวภา สภากาชาดไทย จัดโครงการ “Vaccines for Teens” รณรงค์ฉีด 5 วัคซีนป้องกัน 9 โรคร้ายในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น

(จากซ้าย)
  1. พันตรีนายแพทย์ สรวิชญ์ สุบุญ
  2. ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถานเสาวภา ฝ่ายวิชาการ และนายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย
  3. ศาสตราจารย์ ดร.นายสัตวแพทย์ณรงค์ศักดิ์  ชัยบุตร รองผู้อำนวยการสถานเสาวภา
    สภากาชาดไทย ฝ่ายวิชาการ
  4. ศาสตราจารย์กิตติคุณ  นายแพทย์วิศิษฏ์ สิตปรีชา ผู้อำนวยการสถานสาวภา สภากาชาดไทย
  5. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. ภญ. สุมนา ขมวิลัย รองผู้อำนวยการสถานเสาวภา สภากาชาดไทย ฝ่ายบริหาร
  6. ศาสตราจารย์แพทย์หญิงอุษา ทิสยากร นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งเอเชีย
  7. นางโอปอล์ ศรีประพัติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถานเสาวภา ฝ่ายบริหาร สภากาชาดไทย
  8. นางสาวณฐพร เตมีรักษ์


     กรุงเทพฯ 18 กรกฎาคม 2560 -  คลินิกเสริมภูมิคุ้มกันและอายุรศาสตร์การท่องเที่ยว สถานเสาวภา สภากาชาดไทย จัดโครงการรณรงค์การฉีดวัคซีนในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น หรือ “Vaccines for Teens” แนะนำ 5 วัคซีนสำหรับวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นเพื่อป้องกัน 9 โรคร้าย ได้แก่ ไข้เลือดออก คอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก  เอชพีวี  หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม และอีสุกอีใส เพื่อป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรค และลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อสู่คนใกล้ตัว 
คลินิกเสริมภูมิคุ้มกันและอายุรศาสตร์การท่องเที่ยว สถานเสาวภา สภากาชาดไทย จัดโครงการรณรงค์การฉีดวัคซีนในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น หรือ “Vaccines for Teens” แนะนำ 5 วัคซีนสำหรับวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นเพื่อป้องกัน 9 โรคร้าย ได้แก่ ไข้เลือดออก คอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก  เอชพีวี  หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม และอีสุกอีใส เพื่อป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรค และลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อสู่คนใกล้ตัว
     ศาสตราจารย์กิตติคุณ  นายแพทย์วิศิษฏ์ สิตปรีชา ผู้อำนวยการสถานสาวภา สภากาชาดไทย กล่าวว่า ปัจจุบัน ประเทศต่างๆทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่พัฒนาแล้ว ต่างให้ความสนใจและสนับสนุนการให้วัคซีนป้องกันโรคแก่บุคคลในกลุ่มอายุต่างๆมากขึ้น อย่างไรก็ตามพบว่าอัตราการให้วัคซีนแก่วัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น (หรืออายุระหว่าง 9-26 ปี) ยังต่ำอยู่ ทำให้คนในวัยนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคบางชนิดมากขึ้น ในฐานะผู้ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้กับคนไทยมากว่า 95 ปี สถานเสาวภา สภากาชาดไทย จึงจัดโครงการรณรงค์ให้ผู้ที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นตระหนักถึงความจำเป็น ของการรับวัคซีนเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน ตลอดจนลดความรุนแรงของโรค ลดการแพร่เชื้อไปยังคนใกล้ตัว และลดอัตราการเสียชีวิตจาก 9 โรคร้ายซึ่งสามารถป้องกันได้ตามคำแนะนำการให้วัคซีนป้องกันโรคโดยราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยในปี 2557 [1]
     สำหรับวัคซีนที่แนะนำให้ฉีดทั้ง 5 ชนิด ซึ่งป้องกันได้ทั้งหมด 9 โรคสำหรับวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น ประกอบด้วย 1.) วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก  2.) วัคซีนป้องกัน คอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก  3.) วัคซีนป้องกันเอชพีวี   4.) วัคซีนป้องกัน หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม  และ 5.) วัคซีนป้องกันอีสุกอีใส
     ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร ผู้ช่วยผู้อานวยการ ฝ่ายวิชาการ สถานเสาวภา เปิดเผยว่า สาเหตุที่วัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นควรฉีดวัคซีนทั้ง 5 ชนิดนี้ เนื่องจาก ประการแรก แม้เคยรับวัคซีนแล้วในตอนเด็ก แต่ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีนบางชนิดอาจลดลงตามกาลเวลาเนื่องจากวัยรุ่นไม่มีการพบแพทย์ เนื่องจากมักมีสุขภาพดีและไม่มีโปรแกรมการนัดฉีดวัคซีนชัดเจนเหมือนในเด็กเล็ก จึงจำเป็นต้องได้รับการฉีดเข็มกระตุ้น อย่างเช่นโรคบาดทะยัก ซึ่งมีแนวโน้มว่าภูมิคุ้มกันเริ่มลดลงในช่วงอายุ 15-30 ปีจากไม่ได้รับการฉีดกระตุ้นในช่วงวัยรุ่น หรือโรคคอตีบ ซึ่งเคยพบมีการระบาดและพบว่าผู้ป่วยเป็นในกลุ่มเด็กอายุ 5-14 ปี และผู้ใหญ่อายุมากกว่า 15 ปี โดยอัตราเสียชีวิตก็สูงขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต รวมถึงโรคไอกรนที่มีรายงานในต่างประเทศว่าพบอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นในทั้งเด็กโตและวัยรุ่น ประการที่สอง แพทย์อาจเข้าใจว่าผู้ป่วยเคยรับวัคซีนมาแล้วตั้งแต่ในวัยเด็กทั้งที่แท้จริงยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนจึงไม่ได้ให้วัคซีน หรือเคยได้รับวัคซีนไปแล้วแต่ไม่ได้ผล เช่น ปรากฏรายงานผู้ป่วยโรคหัดที่เคยมีประวัติฉีดวัคซีนมาก่อน จึงจำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกัน หัด หัดเยอรมัน คางทูม ซ้ำเพื่อให้มีภูมิต้านทาน โรคหัดเยอรมันซึ่งหากหญิงมีครรภ์ได้รับเชื้อ เด็กที่เกิดมาอาจเป็นหัดเยอรมันโดยกำเนิดได้ แม้ว่าภูมิต้านทานที่เกิดจากการฉีด ประการที่สาม โรคบางชนิดอาจมีโอกาสติดเชื้อเพิ่มขึ้นหรือรุนแรงขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อในวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ เช่น การติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ซึ่งติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์และอาจนำไปสู่การป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก และบางโรคอาจรุนแรงหรืออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนมาก เช่น โรคสุกใส ที่พบว่าผู้ใหญ่และหญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้มากกว่าในเด็ก ประการที่สี่ นวัตกรรมการแพทย์มีการพัฒนามากขึ้นและทำให้มีการพัฒนาวัคซีนใหม่ๆ ที่ป้องกันโรคติดเชื้อที่มีความสำคัญ เช่น วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก ที่เพิ่งได้รับการขึ้นทะเบียนในประเทศไทยเมื่อเดือนตุลาคม 2559 เนื่องจากไข้เลือดออกเป็นโรคที่ไม่สามารถคาดเดาความรุนแรงของอาการได้และยังไม่มียารักษาโดยตรง ซึ่งนอกจากเป็นการป้องกันตนเองจากอันตรายของโรคแล้ว ยังเป็นการลดโอกาสแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น  ยิ่งกว่านั้นการฉีดวัคซีนบางชนิดในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นยังสามารถป้องกันการแพร่โรคไปยังบุคคลใกล้ชิดโดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำที่จะได้รับอันตรายจากติดเชื้อ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และหญิงมีครรภ์
    “หากประชากรกลุ่มนี้ไม่มีภูมิคุ้มกัน เมื่อมีการติดเชื้อจากโรคดังกล่าว แม้บางครั้งอาการอาจไม่รุนแรง แต่ความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายตามมาคือ การเป็นพาหะแพร่เชื้อให้คนใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้ที่ที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ เด็กเล็ก หญิงมีครรภ์ และผู้สูงอายุ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระพงษ์ กล่าวสรุป
 ศาสตราจารย์ ดร.นายสัตวแพทย์ณรงค์ศักดิ์  ชัยบุตร รองผู้อำนวยการสถานเสาวภา
สภากาชาดไทย ฝ่ายวิชาการ
 ศาสตราจารย์แพทย์หญิงอุษา ทิสยากร
นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งเอเชีย
 หมอก้อง- พันตรีนายแพทย์ สรวิชญ์ สุบุญ และ แต้ว-ณฐพร เตมีรักษ์
การเสวนาเรื่องไข้เลือดออก มะเร็งปากมดลูก และ ไอกรน – 3 โรคอันตรายในวัยรุ่น” 
และ
โรคอันตรายในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น ที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

      ผู้สนใจรับการฉีดวัคซีนดังกล่าวและวัคซีนชนิดอื่นๆ สามารถติดต่อรับบริการฉีดวัคซีนในราคาพิเศษ ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 30 ธันวาคม 2560 ที่คลินิกเสริมภูมิคุ้มกันและอายุรศาสตร์การท่องเที่ยว สถานเสาวภา สภากาชาดไทย กรุงเทพฯ  โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางอีเมล: queensaovabha@hotmail.com  หรือโทร. 02-252-0161-4 ต่อ 125, 132


เกี่ยวกับคลินิกเสริมภูมิคุ้มกันและอายุรศาสตร์การท่องเที่ยว สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
     คลินิกเสริมภูมิคุ้มกันและอายุรศาสตร์การท่องเที่ยว สถานเสาวภา สภากาชาดไทย เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันต่อโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน โดยมีบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ สำหรับวัยรุ่น ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ  ทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ รวมถึงให้คำปรึกษาและบริการเกี่ยวกับวัคซีนที่จำเป็นต้องได้รับก่อนการเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันและการเตรียมความพร้อมก่อนการเดินทาง

[1] http://www.rcpt.org/index.php/news/2012-09-24-09-26-20/111.html