ADS


Breaking News

สทน. แถลงผลงานครบรอบ 11 ปี ชูเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจ หนุน SME ตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0

     สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. จัดแถลงผลงานในโอกาสครบรอบ 11 ปี ของการก่อตั้งสถาบันและนำเสนอโครงการสำคัญในอนาคต พร้อมลงนามความร่วมมือระหว่าง สทน.และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซนทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว เมื่อวันก่อน
    ดร.พรเทพ นิศามณีพงษ์  ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) แถลงผลงานของสถาบันฯ ว่า“คณะรัฐมนตรีมีมติจัดตั้ง สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. ให้ขึ้นอยู่ภายใต้กำกับดูแลของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยภารกิจสำคัญของ สทน. คือ การวิจัย พัฒนา และให้บริการด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เศรษฐกิจของประเทศ และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีสู่ประชาชนด้วยการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ ซึ่งตลอดระยะเวลา 11 ปี สทน.ได้ดำเนินการตามภารกิจที่รัฐบาลได้มอบหมายอย่างต่อเนื่องและได้สร้างสรรค์ผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์มากกว่า 700 เรื่อง มีการนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆมากกว่า 200 เรื่อง และสามารถนำมาต่อยอดเป็นงานบริการเพื่อประโยชน์สาธารณะมากกว่า 30 งานบริการ โดยมีงานวิจัยที่สำคัญมากมาย อาทิ การปรับปรุงพันธ์พืชโดยใช้รังสี ในปี 2553 ทำให้เกิดบัวสายพันธุ์ใหม่ของโลก คือ “บัวจันทร์โกเมน” หรือบัว 3 สี ที่มีสีเขียวอ่อน ชมพูและเหลืองในดอกเดียวกัน สามารถเปลี่ยนสีได้ตามระยะเวลาการผลิตดอก, การฉายรังสีเพื่อทำหมันแมลงวันผลไม้ลดการทำลายผลผลิตจากศัตรูพืช ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพและสร้างรายได้สูงขึ้นเป็นประโยชน์กับเกษตรกรจำนวนมาก, งานวิจัยเพื่อผลิตผงไหมคุณภาพสูง หรือ Silk peptide (ซิลก์เป๊บไทด์) โดยนำรังไหมมาฉายรังสีแกมมา เพื่อเปลี่ยนโปรตีนในรังไหมให้มีอนุภาคเล็กลง จนกลายเป็นสารสกัดโปรตีนไหมชั้นเยี่ยม ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง หรือเพิ่มรสชาติอาหารนอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่ สทน. ทำร่วมกับ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร หรือ สสนก. ในการวิเคราะห์ไอโซโทปน้ำ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลสำคัญในการบริหารจัดการน้ำของประเทศ ซึ่งให้ประโยชน์อย่างมากในการติดตามการเปลี่ยนแปลงของน้ำในฤดูต่างๆ และสามารถอธิบายวัฏจักรของน้ำในประเทศไทยได้อย่างครบถ้วน
     สำหรับงานบริการที่สร้างประโยชน์ด้านเศรษฐกิจในระดับประเทศ โดยส่งเสริมภาคธุรกิจและการสร้างรายได้ให้กับประเทศ อาทิ งานบริการตรวจสินค้าส่งออกโดยฉายรังสีในอาหารและผลิตผลการเกษตร เพื่อฆ่าเชื้อโรคและเพื่อยืดอายุผลิตภัณฑ์ซึ่งแต่ละปี สทน.ส่งเสริมให้เกิดการส่งออกผลไม้ไทยและผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร ไปยังสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และประเทศออสเตรเลีย สินค้ามีมาตรฐานด้านความปลอดภัย และไม่ถูกปฏิเสธการนำเข้าจากประเทศคู่ค้า เพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการชาวไทยได้มากกว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี
     ในการด้านสุขภาพพลานามัย สทน. เป็นหน่วยงานรัฐที่สามารถผลิตเภสัชภัณฑ์ทางรังสี เพื่อใช้วินิจฉัยโรค เช่น มะเร็งต่อมไร้ท่อ ตรวจการทำงานของไต  และรักษาโรค อาทิ มะเร็งต่อมไทยรอย์ โรครูมาตอยด์เรื้อรัง บรรเทาอาการปวดจากมะเร็งแพร่กระจาย ฯลฯ โดยแต่ละปีมีผู้ป่วยใช้ยาที่ผลิตโดย สทน.มากกว่า 30,000 ราย ทำให้ไทยลดการนำเข้าเภสัชภัณฑ์รังสีจากต่างประเทศ สามารถประหยัดเงินได้กว่า 300 ล้านบาทส่วนเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม สทน.มีบทบาทสำคัญและเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการกากกัมมันตรังสีที่มีใช้อยู่ในประเทศไทย ทั้งจากโรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม และสถานศึกษา กว่า 200 แห่งทั่วประเทศ โดยดำเนินการจัดเก็บกากกัมมันตรังสีตามมาตรฐานสากล กล่าวได้ว่า ปัจจุบัน สทน.จึงเป็นหน่วยงานเดียวในประเทศไทยที่ทำหน้าที่จัดการกากกัมมันตรังสีของประเทศ”
     ดร.พรเทพ ยังนำเสนอถึงโครงการของ สทน.ที่กำลังดำเนินการ ตามแนวนโยบายของรัฐบาลโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ได้มอบหมายให้หน่วยงานรัฐต้องมีกิจกรรมและโครงการช่วยเหลือภาคธุรกิจและเอกชน รวมถึงประชาชน ภายใต้นโยบายโครงการประชารัฐ  รวมถึงสนับสนุนให้ประเทศก้าวหน้าไปสู่ THAILAND 4.0 ดังนั้นสทน.ในฐานะหน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงมีการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนนโยบายดังกล่าว โดยเข้าร่วมโครงการสำคัญๆ อาทิ
     โครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis)เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมอาหารโดยสทน.เข้าร่วมเป็นเครือข่ายสนับสนุนและเสริมสร้างศักยภาพให้กับกลุ่มผู้ประกอบการเมืองนวัตกรรมอาหารด้วยเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในรูปแบบงานบริการต่างๆ อาทิวิเคราะห์เชื้อในห้องปฏิบัติการ  ตรวจยืนยันชนิดของแบคทีเรีย ตรวจพิสูจน์อาหารที่ผ่านการฉายรังสี ตรวจวัดกัมมันตภาพรังสีสินค้าส่งออกและนำเข้าตรวจวิเคราะห์ปริมาณกัมมันตภาพรังสีในอาหารทะเลแช่แข็งบริการฉายรังสีผลิตภัณฑ์ เพื่อยืดอายุการเก็บ และงานวิจัยทดลองต่างๆ รวมทั้งการถนอมอาหารโดยการฉายรังสีที่เรียกว่าCold Sterilization หรือ Cold Pasteurization ซึ่งอาจใช้ทดแทนเทคโนโลยีการถนอมอาหารที่ใช้ความร้อน ทำให้สามารถคงคุณค่าอาหารบางอย่างได้ดีกว่า
     โครงการคูปองวิทย์เพื่อโอทอปซึ่งเป็นการให้ทุนในรูปแบบการให้คูปองเงินแก่ผู้ประกอบการระยะผลิตภัณฑ์ชุมชน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเพื่อสนับสนุนนโยบายนี้ สทน.จึงจัดทำโครงการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ด้วยนวัตกรรมด้านรังสีมอบคูปอง 20,000 บาท แก่ผู้ประกอบการที่นำเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร เช่น ผลไม้อบแห้ง อาหารแปรรูปจากข้าว แหนม ปลาส้ม เห็ดอบแห้ง เส้นก๋วยเตี๋ยว ข้าวเกรียบปลาสมุนไพร บ๊ะจ่าง เป็นต้น ประเภทสมุนไพร เช่น แคปซูลสมุนไพรผสม ผงสมุนไพรอบแห้ง ผงเห็ดอบแห้ง สบู่แชมพูสมุนไพร ดินสอพอง เป็นต้นขณะนี้มีผู้มาใช้บริการแล้ว 33 รายโดยตั้งเป้าหมายว่าภายในปีนี้จะมีผู้รับบริการ 44 ราย
     สำหรับโครงการสำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางนิวเคลียร์ที่ สทน. ได้รับจัดสรรงบประมาณแล้ว ได้แก่

การสร้างเครื่องอนุภาคอิเล็
กตรอน (E-beam) ที่ศูนย์ฉายรังสีคลอง 5 ปทุมธานี

     ปัจจุบัน สทน. ฉายรังสีในสินค้าได้ประเภทเดี
ยวคือ รังสีแกมมา จากเครื่องกำเนิดรังสีโคบอลต์-60แต่เมื่อโครงการนี้สำเร็จ สทน. ก็จะสามารถให้บริการฉายรังสีผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆได้ครบ 3 ประเภทคือ รังสีแกมมา, x-ray และ อิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่างๆ เช่นเพิ่มปริมาณการส่งออกผลไม้ตามความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศเป็นโรงงานต้นแบบและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคเอกชนทั้งระดับอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการรายย่อยและส่งเสริม SME     ผู้ประกอบการรายย่อย ดำเนินกิจการค้าขายอาหาร และผลิตภัณฑ์ฉายรังสี

โครงการก่อสร้างเครื่
องไซโคลตรอนทางการแพทย์

     เพื่อเป็นศูนย์กลางในการผลิ
ตไอโซโทปรังสีและเภสัชภัณฑ์รังสีเพื่อการตรวจวินิจฉัยและรักษาของประเทศ ตอบสนองความต้องการของโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน อีกทั้งสนับสนุนประเทศก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) ของภูมิภาค
โครงการบูรณาการงานวิจัยและพั
ฒนาด้านพลาสมาและฟิวชันในประเทศไทย

     ปัจจุบันประเทศมหาอำนาจทั่
วโลกกำลังศึกษาเรื่องของฟิวชั่นและพลาสมา และเชื่อว่าจะสามารถสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชั่น เพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าที่ไม่มีการปลดปล่อยธาตุกัมมันตรังสี ซึ่งอาจใช้เวลาศึกษาทดลองร่วมกันถึง 50 ปี ฉะนั้นโครงการวิจัยและพัฒนาพลาสมาและฟิวชันในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมผู้เชี่ยญชาญด้านนี้ในประเทศไทย ในการศึกษาและพัฒนาห้องปฏิบัติการ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับเทคโนโลยีสำคัญของโลกในอนาคต ปัจจุบัน สทน.ร่วมกับ 14 มหาวิทยาลัยที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านฟิวชัน ในการสร้างเครือข่าย ศึกษาและกำหนดทิศทางวิจัยและพัฒนาร่วมกันอย่างมีระบบนอกจากนี้ สทน. ยังได้ลงนามความร่วมมือกับสถาบันฟิสิกส์แห่งประเทศจีนเพื่อร่วมพัฒนาเครื่องโทคาแมค ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาวิจัยด้านพลาสมาและฟิวชันอีกด้วย

     นอกจากนี้ยังมีโครงการในอนาคตที่
สทน.กำลังดำเนินการจัดเตรียมรายละเอียด ได้แก่

โครงการเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลี
ยร์วิจัยเครื่องใหม่

     เนื่องจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลี
ยร์วิจัยในปัจจุบันใช้ประโยชน์มา 55 ปีแล้ว ทำให้ปัญหาการจัดหาเชื้อเพลิง และประสิทธิภาพลดลง การผลิตไอโซโทปรังสีทำได้จำกัด จึงทำให้เกิดโครงการนี้ขึ้น  โดยเริ่มวางแผนจัดทำข้อมูลพื้นฐานและศึกษาความเป็นไปได้เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดให้

     คณะรัฐมนตรีพิจารณา พร้อมขออนุมัติงบประมาณจากรั
ฐบาล ในปี2560 - 2561โดย สทน.จะสื่อสารเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในพื้นที่และประชาชนทั่วไป หากได้รับอนุมัติ โครงการนี้จะได้เวลาในการก่อสร้างอย่างน้อย 10 ปี

การรับรองบุคลากรด้
านการทดสอบโดยไม่ทำลาย

     สทน.เล็งเห็นความสำคั
ญของการประเมินความสามารถของบุคลากรด้านการทดสอบโดยไม่ทำลาย เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรเหล่านี้สามารถในการดำเนินการทดสอบได้เท่าเทียมกัน และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด จึงได้จัดทำระบบคุณภาพเพื่อการรับรองบุคลากรด้านการตรวจสอบโดยไม่ทำลาย ตามมาตรฐาน ISO /IEC 17024/2012 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การรับรองความสามารถของบุคคลเป็นไปอย่างเป็นธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้ 

โครงการการจัดตั้งห้องปฏิบัติ
การตรวจวิเคราะห์อายุด้วยรังสี(คาร์บอน 14)
     ห้องปฏิบัติการนี้ถือว่าเป็นแห่
งเดียวของประเทศในการตรวจวิเคราะห์ธาตุ คาร์บอน14เพื่อประโยชน์ในงานโบราณคดี อาทิ วิเคราะห์และรับรองปริมาณชีวมวลในผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพตามมาตรฐานสากล  เพื่อประโยชน์ต่อพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพของประเทศรวมทั้งวิเคราะห์อายุโบราณวัตถุและหลักฐานแวดล้อมทางโบราณคดีด้วยเทคนิครังสี เพื่อการให้บริการรับรองอายุแก่วัตถุต่าง ๆอย่างเป็นระบบมาตรฐาน ลดการพึ่งพาผลวิเคราะห์จากต่างประเทศ และเพื่อก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการวิเคราะห์เรดิโอคาร์บอนในภูมิภาคอาเซียน

     ภายในงานยังจัดให้มีพิธีลงนามความร่วมมือระหว่าง สทน. โดย ดร.พรเทพ นิศามณีพงษ์  และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย  โดยนายณพพงศ์ ธีระวร ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย  เพื่อสนับสนุนการวิจัยและใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในการประยุกต์ใช้และให้บริการแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  นำไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถทางธุรกิจ และยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการในการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ
     รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเดินทางมาเป็นประธานในงานและร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามได้กล่าวแสดงความยินดีกับ สทน. ที่ได้การดำเนินงานมาจวบจนระยะเวลา11 ปีและสามารถเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนในการนำแนวนโยบายของกระทรวงฯ ไปดำเนินการพร้อมผลักดันงานวิจัยและพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จลุล่วงได้ดี
     ดร. พรเทพ กล่าวทิ้งท้ายว่า “เราเชื่อว่าเทคโนโลยีนิวเคลียร์จะเป็นเทคโนโลยีทางเลือก ที่เกิดประโยชน์แก่ประเทศไทยในการยกระดับคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนเป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มโอกาสการส่งออกสินค้าไทยไปทั่วโลกได้อย่างไร้ขีดจำกัด”