ADS


Breaking News

ผลการศึกษาจากทั่วโลกชี้ว่า Digital Transformation ในประเทศไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ธุรกิจกลับกำลังเผชิญกับการเลือกกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับองค์กร

ในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา ประมาณครึ่งหนึ่งของธุรกิจไทย
ได้ย้ายระบบงานจากบริการคลาวด์สาธารณะกลับสู่ศูนย์ข้อมูลภายในองค์กร
    กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 – Pure Storage (NYSE: PSTG) ผู้นำทางด้านแพลทฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลแบบออลแฟลช (all-flash) สำหรับยุคคลาวด์ ได้ประกาศถึง ผลการศึกษา Evolution ซึ่งเป็นผลสำรวจในงานวิจัยระดับโลกพบว่า เกือบ 60% ของธุรกิจไทยนั้นเริ่มสร้างรายได้เกินกว่าครึ่งจากบริการที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล และถือเป็นตัวเลขที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ) ที่ 46% อยู่มากทีเดียว ส่งสัญญาณที่ดีของการทำ Digital Transformation ในประเทศไทยที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว
     ท่ามกลางวาระของการปฏิรูปประเทศและการพัฒนาไปสู่ประเทศไทย 4.0  เหล่าธุรกิจต้องเผชิญกับความกดดันอย่างหนักในการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI), Internet of Things (IoT) และ Machine Learning เพื่อเปลี่ยนผ่านจากเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นหลักไปสู่การสร้างนวัตกรรมที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลางแทน ในงานวิจัย Evolution 2017 ซึ่งเป็นการสำรวจอิสระที่มุ่งสำรวจความคิดเห็นจากเหล่าผู้นำทางด้านไอทีภายในองค์กรกว่า 9,000 แห่งทั่วโลก (3,000 แห่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น; 200 แห่งในประเทศไทย) พบว่า 62% ของธุรกิจในประเทศไทยกำลังมองหาบริการดิจิทัลที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเดิม และสามารถสร้างฐานลูกค้าใหม่ให้แก่ธุรกิจได้ ขณะที่ 60% เชื่อว่าบริการแบบดิจิทัลสามารถช่วยเร่งให้ธุรกิจของตนเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ และยังสามารถแข่งขันในตลาดได้อีกด้วย
     ในยุคสมัยของความตื่นตัวทางด้านดิจิทัลนี้ ธุรกิจในประเทศไทยก็ยังคงไม่แน่ใจว่ากลยุทธ์ด้านไอทีที่เหมาะสมที่สุดในการนำธุรกิจของตนไปสู่การเป็นธุรกิจแบบดิจิทัลนี้ควรจะเป็นอย่างไร และใครควรจะเป็นผู้รับผิดชอบในบทบาทเหล่านี้

  • โดยเฉลี่ย ธุรกิจในประเทศไทยมีการใช้งานระบบแอพพลิเคชั่นบนศูนย์ข้อมูลภายในองค์กรถึง 36% สูงกว่าการใช้งานบริการคลาวด์สาธารณะ (28%), บริการ SaaS (22%) และบริการไปรเวทคลาวด์ (19%)
  • บริการคลาวด์สาธารณะยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตในประเทศไทยอยู่ โดย 66% ของธุรกิจในไทยมีแผนที่จะใช้งานบริการคลาวด์สาธารณะมากขึ้นใน 18-24 เดือนข้างหน้า ซึ่งถือว่าสูงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นที่ 54%, ค่าเฉลี่ยของยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกาที่ 58% และอเมริกาเหนือที่ 69%
  • แม้ว่าแนวโน้มการใช้งานบริการคลาวด์สาธารณะจะเติบโต แต่ 48% ของธุรกิจไทยที่มีการใช้งานบริการคลาวด์สาธารณะในเวลานี้ก็ได้มีการย้ายระบบบางส่วน หรือทั้งหมดกลับมายังศูนย์ข้อมูลภายในองค์กร โดยมีสาเหตุทางด้านความมั่นคงปลอดภัยมาเป็นอันดับหนึ่ง (43%)
  • 66% ของธุรกิจไทยที่สร้างรายได้เกินกว่าครึ่งมาจากบริการแบบดิจิทัลนี้คาดหวังว่าจะใช้ศูนย์ข้อมูลภายในองค์กรเพื่อขยายระบบภายในอีก 18 เดือนข้างหน้า
  • มีสัญญาณที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญที่สูงขึ้นเป็นอย่างมากของการทำ Digital Transformation ในระดับองค์กร โดย 79% ของแผนก IT ในธุรกิจไทยได้รายงานถึงการสูญเสียความสามารถในการชี้นำเพื่อเลือกใช้งานเทคโนโลยีสำคัญ ภายในองค์กรของพวกเขาไป ขณะที่แผนกอื่น เช่น แผนกบริหารจัดการผลิตภัณฑ์, แผนกบริการลูกค้า และแผนกการตลาดกลับมีอำนาจในการชี้นำตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก

     “เป็นที่ชัดเจนว่า Digital Transformation ในไทยไม่ได้เป็นเพียงแค่คำกล่าวอ้างที่ไม่มีน้ำหนัก อีกต่อไป เพราะกลายเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจริง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะส่งผลต่อทุกธุรกิจทั่วทั้งภูมิภาคในอีกไม่กี่ปีจากนี้ นั่นทำให้ธุรกิจทั้งหมดต้องย้อนกลับมาพิจารณากันใหม่ว่าจะรวบรวมและใช้ข้อมูลอย่างไรและเมื่อใด” คุณจัว ฮก เล็ง  กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคอาเซียนและไต้หวันแห่ง Pure Storage กล่าว “ความได้เปรียบที่เคยเกิดขึ้นจากบริการคลาวด์สาธารณะไม่สามารถสร้างความแตกต่างเช่นเดิมอีกต่อไปแล้ว และธุรกิจทั้งหลายก็ต้องทำความเข้าใจว่าจะใช้งานระบบนิเวศน์ของข้อมูลทั้งหมด – ทั้งบนคลาวด์ และภายในศูนย์ข้อมูลของตน – เพื่อนำข้อมูลมาใช้งานและค้นหาองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อสร้างผลลัพธ์แก่ลูกค้าได้อย่างไร”

     รายงานผลสำรวจ Evolution 2017 ยังได้กล่าวถึงประเด็นอื่นๆ ที่น่าสนใจเมื่อเปรียบเทียบระหว่างความแตกต่างระหว่างประเทศภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นเอา ไว้ดังนี้อีกด้วย:

  • อินโดนีเซียเป็นผู้นำด้านการทำ Digital Transformation ภายในภูมิภาค ด้วยจำนวนธุรกิจกว่า 70% ที่สามารถสร้างรายได้เกินกว่าครึ่งจากบริการดิจิทัล ตามมาติดๆ ด้วยมาเลย์เซีย (62%), ไทย (58%) และออสเตรเลีย (57%)
  • แนวโน้มของการที่ภาคธุรกิจย้ายระบบงานจากบริการคลาวด์สาธารณะกลับมาสู่ศูนย์ข้อมูลภายในองค์กรนั้นไม่ได้เกิดขึ้นกับเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น แต่ 78% ของธุรกิจในเวียตนามเองก็ได้ย้ายระบบงานจากบริการคลาวด์สาธารณะกลับมาสู่ศูนย์ข้อมูลภายในองค์กรเช่นกัน ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น
  • ความมั่นคงปลอดภัยถือเป็นจุดอ่อนที่ร้ายแรงที่สุดของบริการคลาวด์สาธารณะ สำหรับเหล่าธุรกิจในสิงคโปร์ (67%), ตามมาด้วยการประหยัดค่าใช้จ่าย (33%) และประสิทธิภาพ (27%)
  • บริษัทในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ยังคงอยู่กึ่งกลางระหว่างการเลือกใช้บริการคลาวด์ โดย 50% ของเหล่าธุรกิจได้วางแผนที่จะย้ายระบบงานที่สำคัญสูงสุดต่อธุรกิจไปยังบริการคลาวด์สาธารณะ ภายใน 18-24 เดือนนับจากนี้ ในขณะที่ธุรกิจที่เหลือนั้นมีแผนที่จะใช้โซลูชั่นระบบไปรเวทคลาวด์
     สำหรับผลการสำรวจอื่นๆ ของ Evolution ภายในปีนี้ สามารถตรวจสอบผลการสำรวจทั้งหมดได้ทันที ที่นี่

เกี่ยวกับ Pure Storage
     Pure Storage (NYSE:PSTG) ช่วยให้บริษัทก้าวข้ามทุกข้อจำกัดของความเป็นไปได้ ด้วยดาต้าแพลตฟอร์มแบบ end-to-end ของ Pure: ไม่ว่าจะเป็น FlashArray, FlashBlade และโซลูชั่นที่นำเสนอร่วมกับ Cisco ซึ่งได้แก่ FlashStack ที่ทำงานด้วยซอฟท์แวร์อันล้ำสมัยที่เชื่อมต่อกับคลาวด์ ทำให้สามารถบริหารจัดการข้อมูลจากที่ใดก็ได้ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังมีการบำรุงรักษาด้วยโมเดลธุรกิจแบบ Evergreen เทคโนโลยีแบบ All-Flash ของบริษัท ผนวกกับโมเดลธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับลูกค้า จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ และพลิกโฉมวงการไอทีด้วยโซลูชั่นที่ใช้งานง่าย ทรงประสิทธิภาพ และมีการบำรุงรักษาระบบอย่างดี  Pure Storage ได้คะแนน NPS ซึ่งรับรองโดย Satmetrix-certified ที่ระดับ 83.5 คะแนน เป็นสิ่งยืนยันได้ว่า กลุ่มลูกค้าของ Pure เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความสุขที่สุดในโลก เมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรทุกขนาดจากทุกภาคอุตสาหกรรม

เชื่อมต่อกับ Pure Storage:
อ่าน บล็อก
พูดคุยบน Twitter
ติดตาม LinkedIn
กดถูกใจใน Facebook

Analyst Recognition:
Gartner Magic Quadrant สำหรับ Solid-State Arrays
IDC MarketScape สำหรับ All-Flash Arrays

Pure Storage, Pure1, โลโก้อักษร P, Evergreen, FlashBlade, และ FlashStack เป็นเครื่องหมายการค้าของ Pure Storage, Inc. เครื่องหมายการค้าหรือชื่ออื่นที่ถูกอ้างถึงในเอกสารฉบับนี้เป็นทรัพย์สินของผู้เป็นเจ้าของตามลำดับ