กรมการท่องเที่ยว เดินเกมรุกต่อยอดความสำเร็จดันประเทศไทยขึ้นแท่น World’s Best Film Location เปิดเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำในประเทศไทย ครั้งที่ 5
แอน มิตรชัย และสายเชีย วงศ์วิโรจน์ เล่าถึงบรรยกาศการทำงานร่วมกับกองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศ
กรมการท่องเที่ยว ประกาศความพร้อม เปิดเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำในประเทศไทย ครั้งที่ 5 Thailand International Film Destination Festival 2017 : TIFDF2017 ต่อยอดความสำเร็จ ตอกย้ำภาพลักษณ์การเป็นอันดับหนึ่งของโลเคชั่นที่ใช้ เพื่อการถ่ายทำภาพยนตร์ที่ดีที่สุดของโลก หรือ World's Best Film Location โดยการจัดกิจกรรมในปีนี้นำเสนอภายใต้แนวคิด “FASCINATING DESTINATION” พร้อมผลักดัน 8 เขตพัฒนาการท่องเที่ยวในประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มเป้าหมายในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั่วโลก ผ่านกิจกรรมมากมาย อาทิ การแข่งขันการถ่ายทำภาพยนตร์สั้นในประเทศไทยโดยกลุ่มนักศึกษาด้านภาพยนตร์จากทั่วทุกมุมโลก โดยปีนี้มีกิจกรรมพิเศษ คือ การแข่งขันการถ่ายทำภาพยนตร์สั้นโดยนักศึกษาไทย ในหัวข้อ “การท่องเที่ยวเชื่อมโยงโครงการพระราชดำริ” เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งมีให้ผู้สมัครเลือกถึง 29 โครงการ ทั่วประเทศไทย และยังมีกิจกรรมการจัดฉายภาพยนตร์ที่จะนำภาพยนตร์ต่างประเทศชื่อดังที่เคยถ่ายทำในประเทศไทยมาฉายให้คนไทยได้ชม เพื่อย้อนความทรงจำและความประทับใจอีกครั้งหนึ่ง
นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เผยว่า “กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องการท่องเที่ยวโดยตรง โดยมีนโยบายการท่องเที่ยว ที่มุ่งเน้นการเพิ่มรายได้ให้ประเทศ การกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น การพัฒนาคุณภาพคนไทย และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการท่องเที่ยวของประเทศไทย ผ่านสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสวยงามและหลากหลายในประเทศไทย ซึ่งอุตสาหกรรมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยนั้น มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย เพราะไม่เพียงแต่จะเป็นการนำเม็ดเงินมหาศาลเข้าประเทศ แต่ยังเป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพในการเผยแพร่ภาพสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามของประเทศไทยสู่สายตาชาวโลกอีกด้วย ซึ่งเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำในประเทศไทยนั้น มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2556 โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อเป็นช่องทางในการดึงดูดกลุ่มคนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และผู้ที่สนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้มาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย
แอน มิตรชัย นักร้อง นักแสดงสาว ผู้มีผลงานโกอินเตอร์ระดับบอลลีวู๊ด
แอน มิตรชัย เล่าถึงบรรยกาศการทำงานร่วมกับกองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศ
ฟ้า เกรซ สกาย จาก The Face SS3
เกรซ ณัฐธยาน์ The Face SS3
เจนนิเฟอร์ คิ้ม กับบทเพลงประกอบภาพยนตร์ James Bond 007 Tomorrow Never Dies
ขุน ชานนท์
สายเชีย วงศ์วิโรจน์ที่มีผลงานร่วมกับกองภาพยนตร์ต่างประเทศมานับไม่ถ้วน
“สำหรับในปีนี้ เทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำในประเทศไทยหรือ Thailand International Film Destination Festival 2017 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “FASCINATING DESTINATION” โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์การเป็น “Thailand - World's Best Film Location” กับการเป็นที่สุดของแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม มีระดับ ที่สุดของจุดหมายปลายทางในจินตนาการ อันทรงคุณค่า และที่สุดของความเชื่อมั่น การันตีด้วยผลงานโฆษณา สารคดี และภาพยนตร์ที่เคยถ่ายทำในประเทศไทย โดยล่าสุดปี 2559 มีคณะถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศเข้ามาถ่ายทำในประเทศไทยทั้งหมดกว่า 700 เรื่อง สร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 2,300 ล้านบาท และในช่วง 5 เดือน (ม.ค. - พ.ค.) ปี 2560 มีภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศเข้ามาถ่ายทำแล้วทั้งสิ้น 369 เรื่อง สร้างรายได้กว่า 1,400 ล้านบาท โดยเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ปีนี้มีจำนวนเรื่องและรายได้เพิ่มสูงขึ้น (ในช่วงเวลาเดียวกัน ม.ค. – พ.ค. 59 มีจำนวนเข้ามาถ่ายทำทั้งสิ้น 323 เรื่อง สร้างรายได้ประมาณ 846 ล้านบาท) ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางในฝันของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่ต้องการมาตามรอยภาพยนตร์เหล่านั้น เช่น ภาพยนตร์เรื่อง James Bond 007 ที่เข้ามาถ่ายทำที่เกาะตะปู จังหวัดพังงา กระทั่งในปัจจุบันนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกยังคงเรียกเกาะตะปูว่า เกาะเจมส์บอนด์ หรือเมื่อเร็ว ๆ นี้ ภาพยนตร์เรื่อง Lost in Thailand จากประเทศจีน ที่เข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย สร้างปรากฏการณ์ที่ส่งผลให้นักท่องเที่ยวชาวจีนเข้ามาเที่ยวประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก หรือ Hang Over ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งในบทภาพยนตร์มีการนำเสนอเมนูอาหารไทย ให้เป็นที่รู้จักแก่ผู้ชมภาพยนตร์ทั่วโลก ซึ่งปรากฎการณ์เหล่านี้ ล้วนมาจากปัจจัยสำคัญไม่ว่าจะเป็นด้านสถานที่ถ่ายทำที่มีความโดดเด่นและสวยงาม ศักยภาพและความพร้อมของทีมงานไทย และที่สำคัญที่สุดคือความเชื่อมั่นของกองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศที่มีต่อประเทศไทย”
ด้าน นางสาววรรณสิริ โมรากุล อธิบดีกรมการท่องเที่ยว กล่าวว่า ในปีนี้เราดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ โดยมุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดที่อยู่ภายใต้ 8 เขตพัฒนาการท่องเที่ยว ตามยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558– 2560 เพื่อให้สถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์แห่งใหม่ในประเทศไทยเป็นที่รู้จักแก่ผู้ที่สนใจเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยมากขึ้น โดยการจัดกิจกรรมเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำในประเทศไทยประจำปี พ.ศ. 2560 มีตั้งแต่วันที่ 4 - 27 กรกฏาคม 2560 โดยปีนี้มีกิจกรรม ดังนี้
1) การแข่งขันการถ่ายทำภาพยนตร์สั้นในประเทศไทย (Thailand Short Film Competition) กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 - 25 กรกฏาคม 2560 โดยจะเริ่มเปิดรับสมัครทีมผู้เข้าแข่งขันที่เป็นนักศึกษาด้านภาพยนตร์ชาวไทย และ ทีมนักศึกษาด้านภาพยนตร์ชาวต่างชาติ จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ โดยผู้เข้าแข่งทีมต่างชาติจะมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาพยนตร์ ร่วมกันคัดเลือกให้เหลือ 24 ทีม โดยแต่ละทีมประกอบด้วยผู้เข้าแข่งขัน 3 คน ได้แก่ นักศึกษาที่กำลังศึกษาด้านภาพยนตร์ เป็นนักศึกษาชาวต่างชาติ 2 คน ทำหน้าที่ผลิตภาพยนตร์ และนักศึกษาไทย1 คนทำหน้าที่เป็น Production Assistant หรือผู้ช่วยการผลิต ซึ่งมีความเข้าใจในงานถ่ายทำภาพยนตร์และมีหน้าที่ในการประสานงานกับสถานที่ถ่ายทำต่างๆ เพื่อสร้างรูปแบบการทำงานร่วมกันระหว่างทีมงานต่างชาติและทีมงานไทย และที่สำคัญเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานด้านภาพยนตร์ร่วมกัน ซึ่งเหล่านี้จะได้รับโจทย์การแข่งขันที่เน้นการนำเสนอ วิถีท่องเที่ยว วิถีวัฒนธรรม วิถีชีวิต ที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น รวมทั้งความสวยงามของธรรมชาติ และมรดกทางวัฒนธรรมที่ล้วนสะกดหัวใจนักท่องเที่ยวมาเป็นเวลานาน โดยกำหนดให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกถ่ายทำในจังหวัดที่อยู่ภายใต้ 8 เขตพัฒนาการท่องเที่ยวตามยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว พ.ศ. 2558– 2560 โดยจะมีรางวัลชนะเลิศประจำเขตพัฒนาการท่องเที่ยว 8 รางวัล และมีรางวัลยอดเยี่ยม (Grand Prize) 1 รางวัล
และภายใต้กิจกรรมการแข่งขันการถ่ายทำภาพยนตร์สั้นในประเทศไทย ในปีนี้จะมีการจัดกิจกรรมพิเศษ คือ การแข่งขันภาพยนตร์สั้นตามรอยโครงการพระราชดำริ โดยกิจกรรมนี้จะเปิดรับสมัครเฉพาะผู้สมัครที่เป็นนักศึกษาไทยเท่านั้น เพื่อลงพื้นที่ถ่ายทำภาพยนตร์สั้น ในหัวข้อเรื่อง “การท่องเที่ยวเชื่อมโยงโครงการพระราชดำริ” เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่ 9 โดยมีโครงการพระราชดำริให้เลือก 29 โครงการจากทั่วประเทศ ซึ่งในรอบแรกจะคัดเลือกผู้สมัครให้เหลือ 30 ทีม เพื่อให้มานำเสนอผลงานกับผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังได้แก่คุณนนทรีย์ นิมิบุตร คุณปรัชญา ปิ่นแก้ว คุณโสฬส สุขุม และรศ.ปัทมาวดี จารุวร อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นจะคัดเลือกให้เหลือ 9 ทีม เพื่อไปถ่ายทำภาพยนตร์ ณ สถานที่จริง โดยมีรางวัลใหญ่สำหรับ
ทีมชนะเลิศ 1 ทีม
ทีมชนะเลิศ 1 ทีม
2) การจัดฉายภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในประเทศไทย (Thailand on Screen) กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 – 25 กรกฏาคม 2560 ณ โรงภาพยนตร์พารากอนซีนีเพล็กซ์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ซึ่งจะนำภาพยนตร์ต่างประเทศที่เคยถ่ายทำในประเทศไทยมาฉายให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และในปีนี้จะจัดฉายภาพยนตร์ทั้งสิ้น 5 เรื่อง ซึ่งภาพยนตร์เหล่านี้ เป็นภาพยนตร์ที่เคยโด่งดังเป็นอย่างมาก และล้วนถ่ายทำในประเทศไทย โดยจะร่วมย้อนความทรงจำไปสู่ความน่าสนใจในอดีตที่คนไทยไม่ควรพลาดเข้าชมในเทศกาลครั้งนี้ เช่น ภาพยนตร์เรื่อง Deer Hunter (1978) จากสหรัฐอเมริกา และ Air America (1990) จากสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
3) การประกาศรางวัลการแข่งขันการถ่ายทำภาพยนตร์สั้นในประเทศไทย (Awards Ceremony) กำหนดจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม 2560 ณ สยามภาวลัย รอยัล แกรนด์ เธียเตอร์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ซึ่งจะจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นเกียรติให้กับผู้ชนะเลิศการแข่งขันถ่ายทำภาพยนตร์สั้นทั้งทีมชาวไทยและทีมต่างชาติ นอกจากนี้ยังเป็นการนำเสนอมนต์เสน่ห์ของสถานที่ถ่ายทำในประเทศไทย และศักยภาพของบุคลากรไทยในอุตสาหกรรมภาพยนตร์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ถ่ายภาพร่วมกับแขกรับเชิญ
ประธานในพิธี
“โดยกิจกรรมทั้งหมดนี้ มีจุดประสงค์และเป้าหมายที่สำคัญ ในการผลักดันคลื่นลูกใหม่ที่เป็นกลุ่มนักศึกษาด้านภาพยนตร์จากทั่วโลก ทั้งไทยและต่างประเทศ รวมไปถึงทีมผู้สร้าง ผู้ผลิตภาพยนตร์ และบุคคลผู้สนใจ ทั้งรายใหม่และรายเดิม เพื่อการเผยแพร่ภาพลักษณ์ของประเทศไทยในด้านแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม สามารถรองรับนักท่องเที่ยวและคณะถ่ายทำภาพยนตร์ได้เป็นอย่างดี มุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศและคาดหวังการเดินทางเข้ามาถ่ายทำของกองถ่ายภาพยนตร์จากนานาประเทศเพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและถ่ายทำภาพยนตร์ของประเทศไทยในอนาคตต่อไป”
กิจกรรมเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำในประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2560
จะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 4 – 27 กรกฎาคม โดยมีรายละเอียดดังนี้
เทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำในประเทศไทย ครั้งที่ 5 Thailand International Film Destination Festival 2017 : TIFDF2017 นำเสนอภายใต้แนวคิด “FASCINATING DESTINATION” เน้นการนำเสนอวิถีท่องเที่ยว วิถีวัฒนธรรม วิถีชีวิต ที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ทั้งในด้านความสวยงามของธรรมชาติ ที่ล้วนสะกดหัวใจนักท่องเที่ยวมาเป็นเวลานาน โดยกำหนดให้ผู้เข้าแข่งขันถ่ายทำภาพยนตร์สั้นจากต่างประเทศ โดยเลือกสถานที่ถ่ายทำในจังหวัด 37 จังหวัด ภายใต้ 8 เขตพัฒนาการท่องเที่ยวตามยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว พ.ศ. 2558– 2560 เพื่อให้กลายเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์แห่งใหม่ในประเทศไทยเป็นที่รู้จักแก่ผู้ที่สนใจเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยมากขึ้น ได้แก่
- เขตอารยธรรมล้านนา(เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา)
- เขตอารยธรรมอีสานใต้ (นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี)
- เขตฝั่งทะเลตะวันออก (ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด)
- เขตฝั่งทะเลตะวันตก (เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง)
- เขตอันดามัน (ภูเก็ต กระบี่ พังงา ตรัง สตูล)
- เขตมรดกด้านวัฒนธรรม (สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก ตาก)
- เขตวิถีชีวิตลุ่มน้ำโขง (เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร บึงกาฬ)
- เขตลุ่มเจ้าพระยาตอนกลาง (สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี)
โดยงานเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทำในประเทศไทยประจำปี พ.ศ. 2560 มีขึ้นตั้งแต่วันที่ 4 – 27 กรกฎาคม 2560 ในปีนี้มีกิจกรรม ดังนี้
1) การแข่งขันการถ่ายทำภาพยนตร์สั้นในประเทศไทย (Thailand Short Film Competition) กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 - 25 กรกฏาคม 2560 โดยจะเริ่มเปิดรับสมัครทีมผู้เข้าแข่งขันที่เป็นนักศึกษาด้านภาพยนตร์ชาวไทย และ ทีมนักศึกษาด้านภาพยนตร์ชาวต่างชาติ จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ โดยผู้เข้าแข่งทีมต่างชาติจะมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านภาพยนตร์ ร่วมกันคัดเลือกให้เหลือ 24 ทีม เพื่อออกไปถ่ายทำภาพยนตร์สั้นใน 8 เขตพัฒนาการท่องเที่ยว เขตละ 3 ทีม โดยแต่ละทีมประกอบด้วยผู้เข้าแข่งขัน 3 คน ได้แก่ นักศึกษาที่กำลังศึกษาด้านภาพยนตร์ชาวต่างชาติ 2 คน ทำหน้าที่ผลิตภาพยนตร์ และนักศึกษาไทยที่กำลังศึกษาด้านภาพยนตร์ 1 คนทำหน้าที่เป็น Production Assistant หรือผู้ช่วยการผลิต ซึ่งมีความเข้าใจในงานถ่ายทำภาพยนตร์และมีหน้าที่ในการประสานงานกับสถานที่ถ่ายทำต่างๆ เพื่อสร้างรูปแบบการทำงานร่วมกันระหว่างทีมงานต่างชาติและทีมงานไทย ที่สำคัญเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานด้านภาพยนตร์ร่วมกัน
และภายใต้กิจกรรมการแข่งขันการถ่ายทำภาพยนตร์สั้นในประเทศไทย ในปีนี้จะมีการจัดกิจกรรมพิเศษ คือ การแข่งขันถ่ายทำภาพยนตร์สั้นตามรอยโครงการพระราชดำริ โดยกิจกรรมนี้จะเปิดรับสมัครเฉพาะนักศึกษาชาวไทยเท่านั้น เพื่อลงพื้นที่ถ่ายทำภาพยนตร์สั้น ในหัวข้อเรื่อง “การท่องเที่ยวเชื่อมโยงโครงการพระราชดำริ” เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่ 9 โดยมีโครงการพระราชดำริให้เลือก 29 โครงการ จากทั่วประเทศ ซึ่งในรอบแรกจะคัดเลือกผู้สมัครให้เหลือ 30 ทีมเพื่อให้มานำเสนอผลงานกับผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง ได้แก่ คุณนนทรีย์ นิมิบุตร, คุณปรัชญา ปิ่นแก้ว, คุณโสฬส สุขุม และรศ.ปัทมาวดี จารุวร อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นจะคัดเลือกให้เหลือ 9 ทีม เพื่อไปถ่ายทำภาพยนตร์ ณ สถานที่จริง โดยมีรางวัลใหญ่สำหรับทีมชนะเลิศเพียง 1 ทีม
ซี่งเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่จะแสดงออกถึงความจงรักภักดีและรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของปวงชนชาวไทยที่มีต่อในหลวงรัชกาลที่ 9 อีกทั้งเป็นการนำเสนอมุมมองใหม่ของโลเคชั่นที่น่าสนใจของเมืองไทยผ่านโครงการในพระราชดำริที่มีอยู่ทั่วประเทศ
รายนามคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาพยนตร์ ที่จะร่วมตัดสินการแข่งขัน ได้แก่
- นางจันทิมา เชยสงวน ประธานคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ คณะที่ 1 (พิจารณาบทภาพยนตร์ในการขออนุญาตการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในราชอาณาจักร)
- รองศาสตราจารย์จำเริญลักษณ์ ธนะวังน้อย อดีตหัวหน้าสาขาภาพยนตร์ และรองคณบดีฝ่ายวิชาการ ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษประจำภาควิชาภาพยนตร์และถ่ายภาพ คณะวารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ คณะที่ 1
- นายนคร วีระประวัติ ประธานชมรมวิจารณ์บันเทิง และกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ คณะที่ 3
ผู้ตัดสินจากต่างประเทศที่เกี่ยวข้องในสาขาภาพยนตร์ คือ
- Mr.Glenn S. Gainor (มิสเตอร์เกลนน์ ไกเนอร์) President of Sony Pictures Screen Gems (ประธานบริหาร โซนี่ พิคเจอร์ สกรีน เจมส์) ให้เกียรติมาร่วมตัดสิน เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญของคนรุ่นใหม่ที่จะเป็นอนาคตสำคัญ ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์
- Mr.Park Kwang Soo (มิสเตอร์ปาร์ค กวาง ซู) ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังชาวเกาหลีใต้
- Mrs.Joley Fisher (มิสซิส โจเลย์ ฟิชเชอร์) นักแสดงสาวชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีจากซีรีส์เรื่องดัง Til Death และ Desperate Housewives
และผู้ตัดสินจากกรมการท่องเที่ยว คือ ผอ.วรธีรา สุวรรณศร ผู้อำนวยการกองกิจการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ต่างประเทศ
โดยรางวัลสำหรับผู้ชนะการแข่งขันจะมีทั้งสิ้น 10 รางวัล แบ่งเป็นรางวัลผู้ชนะเลิศจาก 8 เขตพัฒนาการท่องเที่ยว จำนวน 8 รางวัล ได้เงินรางวัลทีมละ 30,000 บาท และรางวัลภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยม (Grand Prize) จำนวน 1 รางวัล ได้เงินรางวัล 300,000 บาท และรางวัลชนะเลิศของทีมไทย 1 รางวัล ได้เงินรางวัล 100,000 บาท พร้อมได้รับโอกาสเข้าร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์ในต่างประเทศ เช่น Busan Film Festival ประเทศเกาหลีใต้
2) การจัดฉายภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในประเทศไทย (Thailand on Screen) กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 – 25 กรกฏาคม 2560 ณ โรงภาพยนตร์พารากอนซีนีเพล็กซ์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ซึ่งจะนำภาพยนตร์ต่างประเทศที่เคยถ่ายทำในประเทศไทยมาฉายให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และในปีนี้จะจัดฉายภาพยนตร์ทั้งสิ้น 5 เรื่อง ซึ่งภาพยนตร์เหล่านี้ เป็นภาพยนตร์ที่เคยโด่งดังเป็นอย่างมาก และล้วนถ่ายทำในประเทศไทย โดยจะร่วมย้อนความทรงจำไปสู่ความน่าสนใจในอดีตที่คนไทยไม่ควรพลาดเข้าชมในเทศกาลครั้งนี้ เช่น ภาพยนตร์เรื่อง Deer Hunter (1978) จากสหรัฐอเมริกา และ Air America (1990) จากสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
3) การประกาศรางวัลการแข่งขันการถ่ายทำภาพยนตร์สั้นในประเทศไทย (Awards Ceremony) กำหนดจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม 2560 ณ สยามภาวลัย รอยัล แกรนด์ เธียเตอร์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน ซึ่งจะจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นเกียรติให้กับผู้ชนะเลิศการแข่งขันถ่ายทำภาพยนตร์สั้นทั้งทีมชาวไทยและทีมต่างชาติ นอกจากนี้ยังเป็นการนำเสนอมนต์เสน่ห์ของสถานที่ถ่ายทำในประเทศไทย และศักยภาพของบุคลากรไทยในอุตสาหกรรมภาพยนตร์