5 ประเด็นที่ยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับ ‘ภาวะความดันโลหิตสูง’
กรุงเทพ
9 มิถุนายน 2560 –
ภาวะความดันโลหิตสูง คือปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ก่อให้ เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองซึ่ งคร่าชีวิตคนทั่วโลกเป็ นจำนวนมากทุกปี ในขณะที่อัตราการการเสียชีวิตด้ วยภาวะความดันโลหิตสูงยังคงมี แนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง น้อยคนนักที่ตระหนักถึงภัยอั นตรายของโรค
อีกทั้งยังขาดความรู้ความเข้ าใจที่ถูกต้องในการลดความเสี่ ยงจากโรคแทรกซ้อน บริษัท ออมรอน เฮลธ์แคร์
(ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ จึงขอไขปัญหา 5 ความเชื่อผิดๆ ต่อไปนี้ เพื่อให้ผู้ที่มีความเสี่ ยงสามารถป้องกันควบคุม และอยู่ร่วมกับภาวะความดันโลหิ ตสูงอย่างสบายใจ
1. “ภาวะความดันโลหิตสูงพบได้ในผู้ สูงอายุเท่านั้น”
ที่จริงภาวะความดันโลหิตสู งพบได้ในช่วงอายุ
35-50
ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็ นความดันโลหิตสูง และกลุ่มผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิ ดภาวะความดันโลหิตสูงสืบเนื่ องมาจากสภาวะแวดล้อมและพฤติ กรรมส่วนตัว
เช่น การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารรสเค็มจัด นอกจากนี้ การทำงานอยู่ภายใต้ความเครี ยดอย่างต่อเนื่อง และการใช้ชีวิตประจำวันที่เร่ งรีบ
ยังเป็นส่วนที่ก่อให้เกิ ดภาวะความดันโลหิตสูง
ทราบหรือไม่:
ข้อมูลล่าสุดจากองค์การอนามั ยโลก
(WHO)
พบว่า 1 ใน 3 ของผู้ใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวั นออกเฉียงใต้ ป่วยเป็นภาวะความดันโลหิตสูง และภายในปี 2568 คาดว่าความชุกของภาวะความดั นโลหิตสูงจะเพิ่มขึ้นถึง 1.56
พันล้านคนทั่วโลก[1]
2.
“ถ้าไม่ได้มีอาการผิดปกติ
แปลว่าไม่ได้ป่วยเป็นภาวะความดั นโลหิตสูง”
ภาวะความดันโลหิตสูงได้ชื่อว่ าเป็น “ฆาตรกรเงียบ”
(Silent Killer) เพราะภาวะความดันโลหิตสูงไม่ แสดงอาการเจ็บป่วยใดๆ หากไม่ได้ตรวจวัดความดันโลหิต ผู้ป่วยอาจไม่ทราบได้เลยว่าตนมี ภาวะดังกล่าว และเมื่อป่วยเป็นเวลานานเท่านั้ นจึงจะเริ่มมีอาการบ่งชี้ชัดเจน
โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเข้ าพบแพทย์ด้วยอาการวิงเวียนศีรษะ มีเลือดกำเดาไหล หอบหายใจเร็ว แน่นหน้าอก ตามัว มือเท้าชา หรืออาจมีอาการอื่นๆ อันเป็นผลข้างเคี ยงจากภาวะแทรกซ้อน หรือโรคอื่นที่พบร่วมกัน ดังนั้น ผู้มีความเสี่ยงจึงไม่ควรรอให้ ตนล้มป่วยแล้วจึงเข้าพบแพทย์ และควรหาโอกาสตรวจวัดความดั นโลหิตอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อให้รู้ทันทุกสัญญาณอั นตรายที่มาพร้อมภาวะความดันโลหิ ตสูง
ทราบหรือไม่:
ตามข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข คาดว่าปัจจุบันมีคนไทยป่วยเป็ นความดันโลหิตสูงกว่า 10 ล้านคน แต่ร้อยละ 70 ของคนกลุ่มนี้กลับไม่ทราบว่ าตนป่วยเป็นภาวะดังกล่าว[2]
โดยในปี 2556 คนไทยเกือบ 7 รายเสียชีวิตจากโรคหลอดเลื อดสมองทุกชั่วโมง
3.
“วัดความดันโลหิตทุกครั้งที่มี เหตุต้องพบแพทย์ก็เพียงพอแล้ว”
เนื่องจากค่าความดันโลหิตที่วั ดได้ในแต่ละครั้งบ่งชี้เพี ยงระดับความดันโลหิตในขณะนั้น ซึ่งเปลี่ยนแปลงได้ตามปัจจั ยแวดล้อมต่างๆ เช่น เวลาของวัน อารมณ์ และกิจกรรมที่เพิ่งทำ
การวัดความดันโลหิตเพียง 1-2
ครั้งต่อปีเมื่อไปตรวจร่ างกายประจำปี จึงไม่เพียงพอสำหรับการวินิจฉั ยโรค ด้วยเหตุนี้ การตรวจวัดความดันโลหิตจำเป็นต้ องทำเป็นประจำเพื่อให้เห็ นภาพรวมและแนวโน้มที่ชัดเจน โดยผู้มีความเสี่ยงควรหมั่นจดบั นทึกข้อมูลค่าความดันโลหิ ตของตนเองอย่างถี่ถ้วน เพื่อติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่ อง
และเพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้ บริโภคยุคดิจิทัลให้ครอบคลุ มมากขึ้น ออมรอน ได้พัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น OMRON Connect
เพื่อเชื่อมต่อกับเครื่องวั ดความดันโลหิตแบบดิจิทัล ที่สามารถวิเคราะห์และสรุปข้อมู ลในรูปแบบของกราฟ และตารางที่เข้าใจง่าย ทำให้การตรวจวัดและเฝ้าติ ดตามระดับความดันโลหิตเป็นเรื่ องง่ายยิ่งขึ้น
ทราบหรือไม่:
การลดค่าความดันโลหิตเพียง 2 มิลลิเมตรปรอท สามารถลดความเสี่ยงจากภาวะหั วใจล้มเหลวมากถึงร้อยละ 50 และลดโอกาสการเสียชีวิ ตจากโรคหลอดเลือดสมองถึงร้อยละ 10
4. “ค่าความดันโลหิตที่วัดได้ที่ โรงพยาบาลมีความแม่นยำที่สุด”
ในความเป็นจริง ค่าความดันโลหิตที่วัดได้ที่ โรงพยาบาลอาจไม่ตรงกับค่าความดั นโลหิตจริงเสมอไป โดยแพทย์อาจวินิจฉัยคาดเคลื่ อนเนื่องจากมีข้อมูลประกอบไม่ เพียงพอ หรืออาจมีปัจจัยอื่นๆ
เช่น ภาวะความดันโลหิตสูงปลอม (White Coat Hypertension)
หรือภาวะที่ผู้ป่วยอาจเกิ ดจากความกังวล ตื่นเต้นเมื่อพบแพทย์ จึงวัดความดันโลหิตที่ โรงพยาบาลได้ค่าที่สูงกว่าระดั บที่วัดด้วยเครื่องดิจิทัลเองที่ บ้าน ฉะนั้น การตรวจวัดความดันโลหิตด้ วยตนเองอย่างสม่ำเสมอจึงมี ความสำคัญอย่างยิ่ง
เพื่อให้ทราบถึงระดับความดั นปกติที่แท้จริงระหว่างการใช้ชี วิตประจำวัน โดยแอพพลิเคชั่น
OMRON Connect
ช่วยอำนวยความสะดวกในการบันทึ กและเรียกดูผลการตรวจวัดความดั นโลหิตในภายหลัง
ทำให้ผู้ป่ วยสามารถนำไปประกอบการวินิจฉั ยของแพทย์ ทั้งยังหมดกังวลกับการลืมจดบั นทึกหรือการจดผิดพลาดอีกด้วย
ทราบหรือไม่:
จากการศึกษาในประชากรขนาดใหญ่ พบว่าการใช้นิยามระดับความดั นโลหิตที่วัดได้ที่โรงพยาบาล
(office BP)
ทำให้มีการจัดนิยามความรุ นแรงของโรคผิดไปมากกว่าร้อยละ 40 ของผู้ป่วย โดยพบภาวะความดันโลหิตสูงปลอม มากถึงร้อยละ
36.7
ของผู้ป่วยในทุกกลุ่มอายุ[3]
5. “ป่วยเป็นความดันโลหิตสูงต้องพึ่ งยารักษาถึงควบคุมโรคได้”
การควบคุมรักษาความดันโลหิตสู งให้ได้ประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมื อจากผู้ป่วยในการปรับเปลี่ ยนพฤติกรรม เช่น
การเลิกสูบบุหรี่
การควบคุมน้ำหนักตัว การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การหลีกเลี่ยงความเครียด และการงดอาหารรสเค็มจัด ซึ่งการวัดระดับความดันโลหิตด้ วยตนเองที่บ้านนอกจากจะช่ วยกระตุ้นให้ผู้ป่วยใส่ใจคอยติ ดตามการรักษา
และควบคุมระดับความดันได้ดียิ่ งขึ้นแล้ว ขณะเดียวกันยั งสามารถลดภาวะแทรกซ้อน และค่าใช้จ่ายในการใช้ยาโดยไม่ จำเป็นอีกด้วย
ทราบหรือไม่:
ในปี 2557 คนไทยเสียเงินจำนวนมากไปกับค่ ารักษาพยาบาลโรคความดันโลหิตสู งถึง 79,263
ล้านบาทต่อปี และหมดเงินไปกับค่ารักษาโรคหั วใจมากถึง 154,876
ล้านบาทต่อปี
###
เกี่ยวกับ บริษัท ออมรอน
บริษัท ออมรอนเป็นผู้นำระดับโลกด้ านระบบอัตโนมัติ โดยมีความแข็งแกร่งด้ านเทคโนโลยีตรวจจับข้อมู ลและระบบการควบคุมอัตโนมัติ
ธุรกิจของออมรอนครอบคลุมอุ ตสาหกรรมที่หลากหลาย ทั้งระบบควบคุมอัตโนมัติเชิงอุ ตสาหกรรม ส่วนประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิ กส์ ตลอดจนชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลสุขภาพ และโซลูชั่นด้านสิ่งแวดล้อม ออมรอนก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.
2476 โดยปัจจุบันมีบุคลากรทั้งหมดกว่ า 38,000 คนทั่วโลกที่เฝ้าจัดหากลุ่มผลิ ตภัณฑ์ และให้บริการต่างๆ ในกว่า 110 ประเทศทั่วโลก
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมติดตามได้ ทางเว็บไซต์ของ ออมรอน ที่ http://www.omron.asia
เฟซบุ๊ก www.facebook.com/ OMRONHealthcareThailand