สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ชูนโยบาย ‘The World First, Thailand Follows.’ โลกต้องมาก่อน ไทยโตไปด้วยกัน พร้อมเสนอนโยบาย ‘3 ลด’ เพิ่มความเข้มแข็งเศรษฐกิจไทย
ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า ท่ามกลางกระแสการเมืองโลกที่ ประชาชนโหยหาความยิ่งใหญ่ ของประเทศตนในอดีตที่เศรษฐกิ จเติบโตได้ดีกว่าในช่วงปัจจุบัน โดยได้โทษกระแสโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะนโยบายการค้าเสรีที่ ทำให้การผลิตและการจ้ างงานในประเทศตกต่ำ จนเป็นที่มาว่าทำไมคนอังกฤษจึ งลงประชามติออกจากอียู ทำไมนายโดนัลด์ ทรัมป์ถึงสามารถชูนโยบายอเมริ กามาก่อน หรือ America First จนได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี สหรัฐ รวมถึงล่าสุดที่นางมารีน เลอ แปนที่ชูนโยบายฝรั่งเศสมาก่อน พร้อมเสนอฝรั่งเศสถอนตัวจากอียู และสกุลเงินยูโรจนสามารถผ่ านการชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดี ฝรั่งเศสรอบแรก ก่อนพ่ายแพ้ไปในรอบตัดสินให้กั บนายมาครง
ทั้งนี้ การที่ความเชื่อเรื่องโลกการค้ าเสรีกำลังกลับทิศ จึงอาจมีความเป็นไปได้ ว่าในการเลือกตั้งของไทยที่กำลั งจะมีขึ้นในช่วงปลายปีหน้า จะมีผู้สมัครชิงตำแหน่งนายกรั ฐมนตรีชูนโยบายหาเสียง Thailand First หรือประเทศไทยต้องมาก่อน โดยอาจมองว่า การที่เศรษฐกิจไทยโตช้าเพียงราว 3.00-3.50% ต่อปี เป็นเพราะเราเปิดเสรีมากเกินไป เอกชนไทยหันไปลงทุนประเทศเพื่ อนบ้านไม่ยอมลงทุนในประเทศไทย ผู้สมัครจึงอาจเสนอให้ไทยเก็ บภาษีบริษัทเหล่านั้นมากขึ้น หรือเสนอนโยบายสุดโต่งอย่ างการถอนตัวจากอาเซียนไปเลย
“ซึ่งผมหวังว่าจะไม่เห็น แต่ความน่ากลัวของลัทธิคลั่ งชาติทางเศรษฐกิจนี้อาจเติ บโตได้ หากเศรษฐกิจไทยโตต่ำเป็ นเวลานานอย่างไร้ทางออก ดังเห็นได้จากการที่กองทุ นการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF คาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิ จไทยจะอยู่ที่ราว 3.00% เท่านั้น หรือนั่นคือศักยภาพของเศรษฐกิ จไทยที่จะโตได้แค่นี้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ประเทศไทยคงไม่มีทางหลุดพ้นกั บดักประเทศรายได้ปานกลาง หรือ Middle Income Trap ไปได้ เพราะสุดท้ายนอกจากจะรายได้ต่ำ แล้ว ประชากรมีแต่จะสูงอายุมากขึ้น และยิ่งทำให้การเติ บโตทางเศรษฐกิจช้าลงต่อเนื่อง เรียกว่า แก่ก่อนรวยแน่ๆ” ดร.อมรเทพ กล่าว
ชูนโยบาย “3 ลด” เร่งการเติบโตทางเศรษฐกิ จไทยในอนาคตภายใต้เศรษฐกิ จโลกาภิวัตน์
ดร.อมรเทพ กล่าวว่า หากจะให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ อย่างยั่งยืน ไทยต้องอยู่ร่วมกับโลกการค้ าเสรีพร้อมเปิดกว้างมากขึ้น ไม่ยึดหลักการชาตินิยมอย่างสุ ดโต่ง สร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิ จอย่างทัดเทียมกับเพื่อนบ้าน เพราะหากประเทศรอบตัวได้ ประโยชน์ ไทยเองก็ได้ดีตามมา ไม่จำเป็นต้องให้ประโยชน์เราเป็ นอันดับแรก โดยอาศัยนโยบาย ‘3 ลด’ เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ดังนี้
1. ลดขนาดภาครัฐ – แผนของประเทศต้องชัดเจนว่ าเราอยากเห็นภาครัฐมีขนาดใหญ่ หรือเล็ก วัดได้จากสัดส่วนการใช้จ่ ายภาครัฐต่อ GDP ที่ปัจจุบันอยู่ที่ราว 17% เราทราบกันดีว่าภาครัฐมีความคล่ องตัวน้อยกว่าเอกชน บทบาททางเศรษฐกิจของภาครั ฐควรลดลงและอยู่ ในกรอบการกระจายรายได้ และการลงทุนโครงสร้างพื้ นฐานของสาธารณะ เพื่อให้เอกชนมีบทบาทมากขึ้ นในกิจกรรมเศรษฐกิจของประเทศ วิธีการลดบทบาทภาครัฐมีมากมาย ยกตัวอย่าง การเร่งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การเดินหน้าความร่วมมือระหว่ างรัฐและเอกชน หรือ PPP และเมื่อรัฐมีรายจ่ายลดลง รัฐก็ไม่มีความจำเป็นต้องมี รายได้มากเช่นในปัจจุบัน รัฐอาจมีความสามารถปรับลดภาษี ได้โดยไม่กระทบกับหนี้สาธารณะ อีกทั้ง การลดภาษียังสามารถกระตุ้ นการบริโภคและการลงทุนได้อีกด้ วย
ทั้งนี้ การที่ความเชื่อเรื่องโลกการค้
“ซึ่งผมหวังว่าจะไม่เห็น แต่ความน่ากลัวของลัทธิคลั่
ชูนโยบาย “3 ลด” เร่งการเติบโตทางเศรษฐกิ
ดร.อมรเทพ กล่าวว่า หากจะให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้
1. ลดขนาดภาครัฐ – แผนของประเทศต้องชัดเจนว่
2. ลดกฎระเบียบ – ประเทศไทยยังมีปัญหาความยุ่ งยากในการทำธุรกิจ เห็นได้จากอันดับความยาก-ง่ ายในการทำธุรกิจของธนาคารโลกที่ ให้ไทยอยู่ที่อันดับ 46 แม้ปรับตัวดีขึ้นจากอันดับที่ 49 ในปีก่อน แต่ยังห่างกับมาเลเซียและสิ งคโปร์มาก ทั้งนี้ ควรมีการลดกฎระเบียบต่างๆ และเพิ่มความคล่องตัวของส่ วนงานราชการให้รองรับการเปลี่ ยนแปลงที่รวดเร็วของเอกชน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขั นของภาคธุรกิจไทยในเวทีโลก ไม่เช่นนั้นแล้ว นักลงทุนต่างชาติอาจยังลังเลที่ จะใช้ไทยเป็นฐานการผลิตได้
3. ลดกำแพงกั้นเพื่อนบ้าน – เพื่อสร้างความเข้มแข็ งของประเทศไทยอย่างยั่งยืน ไทยเองควรเปิดประเทศให้กว้ างและลึกขึ้น กว้างขึ้นคือ ควรเปิดเสรีการค้ากั บหลากหลายประเทศให้มากขึ้น และลึกขึ้นคือควรเดินหน้าแก้ กฎหมายให้นักลงทุนต่างชาติเข้ ามาทำธุรกิจหรือถือครองสินทรั พย์ได้มากขึ้น ที่ผ่านมา การเปิดเสรีค่อนข้างช้า อาจเนื่องจากไทยกังวลว่าจะเสี ยผลประโยชน์กับประเทศอื่น จึงมีการเจรจาที่ยาวนาน แต่หากเรามองว่า แม้เราจะเสียประโยชน์ให้ ประเทศอื่นบ้างเพื่อแลกกั บการเติบโตและมีกระบวนการพั ฒนาและเรียนรู้ในประเทศ ไทยเองก็น่าจะลองมาพิ จารณาการเปิดเสรีบางกลุ่มได้ เช่น การเปิดเสรีภาคบริการในด้ านการเงิน
“สุดท้ายแล้ว หากเศรษฐกิจไทยจะรอฟ้ารอฝนให้ เป็นใจ หรือหวังให้ตลาดโลกฟื้นตัวเพื่ อพยุงการส่งออกให้ดีขึ้นเพี ยงอย่างเดียว ก็คงไม่พอให้เศรษฐกิจเติบโตได้ เหนือ 4% และคงไม่มีหนทางที่จะหลุดพ้นกั บดักประเทศรายได้ปานกลางไปได้ เพราะต่อให้เศรษฐกิจโลกฟื้น ไทยเองก็ไม่มีอะไรใหม่ๆ ไปขาย เพราะขาดการลงทุนมานาน ไทยติดกับดักการลงทุนมา 4 ปีซ้อน และนับวันยิ่งจะห่างออกไปจากห่ วงโซ่อุปทานตลาดโลก คงถึงเวลาที่เราต้องหันมาปฏิรู ปเศรษฐกิจอย่างจริงจัง และที่สำคัญคือ ต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้ นักลงทุนภาคเอกชนหันกลับมาลงทุ นเสียที ไม่เช่นนั้นแล้ว คงเสี่ยงที่เศรษฐกิจไทยจะโตต่ำ ยาวเป็นรูปตัว L และจะบ่มเพาะกระแสชาตินิยมให้ ใช้นโยบายสุดโต่งเพื่ อผลประโยชน์ของประเทศ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง เราสามารถใช้นโยบายที่ทำให้ ประเทศไทยได้ประโยชน์น้อยกว่ าโลก แต่โตไปด้วยกันอย่างยั่งยืนได้ นั่นคือนโยบาย 3 ลด หรือ The World First, Thailand Follows.” ดร.อมรเทพ กล่าว
แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนี้
แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนี้
สภาพัฒน์ฯ รายงานว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 1 ขยายตัว 3.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือ 1.3% เทียบไตรมาสต่อไตรมาสหลังปรั บฤดูกาล ซึ่งนับว่าขยายตัวได้ดีกว่าที่ ทางเราคาดไว้ โดยรวมการบริโภคภาคเอกชนขยายตั วได้ดี จากผลผลิตสินค้าเกษตรที่ออกสู่ ตลาดมากขึ้น ประกอบกับราคาที่ดีกว่าปีก่ อนมาก (ยกเว้นข้าว) ซึ่งช่วยให้รายได้ ภาคเกษตรขยายตัวดี กำลังซื้อเริ่มกลับมา
แต่การจับจ่ายใช้สอยไม่ได้เร่ งแรงมากเหมือนในอดีต เพราะปัญหาหนี้ครัวเรือนยังอยู่ ในระดับสูง อีกทั้งความเชื่อมั่นผู้บริ โภคยังไม่เร่งตัวเต็มที่ นอกจากนี้ เศรษฐกิจช่วงไตรมาสแรกได้แรงสนั บสนุนจากภาคการส่งออกที่เร่งตั วได้ดี ด้วยสาเหตุสำคัญคือการฟื้นตั วของราคาสินค้าเกษตรและปิโตรเลี ยมที่ปรับขึ้นตามราคาน้ำมัน ประกอบกับความต้องการอุปกรณ์อิ เล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้ นในตลาดโลก
อย่างไรก็ดี มองต่อไปในช่วงที่เหลือของปีนี้ การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มที่ จะโตแผ่วลงจากสองปัจจัย คือ ราคาสินค้าเกษตรและปิโตรเลี ยมจะไม่เปลี่ยนแปลงจากปีก่ อนมากนัก และเศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีทิ ศทางไม่สดใสโดยเฉพาะจากนโยบายกี ดกันทางการค้าของสหรัฐที่ อาจกระทบจีน ซึ่งจะมีผลให้การส่ งออกของของไทยไปจี นและไทยไปอาเซียนชะลอลงได้
สำหรับตัวหลักในการขับเคลื่ อนเศรษฐกิจไทยก็คล้ายๆ เดิม นั่นคือการลงทุนภาครัฐ โดยภาครัฐเร่งลงทุนในช่ วงไตรมาสแรกต่อเนื่องจากปีก่อน ดังเห็นได้จากโครงการรถไฟฟ้ าสายสีต่างๆ รวมทั้งสนามบินสุวรรณภูมิ เฟสสองและมอเตอร์เวย์ภาคตะวั นออก รวมทั้งโครงการขนาดเล็กทั่ วประเทศ อย่างไรก็ดี รถไฟทางคู่ในภาคต่างๆ และโครงการรถไฟฟ้าในอี กหลายสายยังมีความล่าช้า นอกจากตัวแปรหลักๆ ข้างต้นแล้ว นักเศรษฐศาสตร์ยังให้น้ำหนัก การลงทุนภาคเอกชนที่ยังไม่ กระเตื้อง เพราะเอกชนลงทุนต่ำต่อเนื่องมา 4 ปีซ้อน และยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ ชัดเจน โดยไตรมาสแรกการลงทุ นภาคเอกชนหดตัวราว 1.1% ทั้งๆ ที่ภาครัฐขับเคลื่อนโครงการลงทุ นโครงสร้างพื้นฐาน หรือการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิ เศษภาคตะวันออก ส่วนสำคัญคือความเชื่อมั่ นเอกชนยังไม่ฟื้นเต็มที่ จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความผั นผวนสูง จากความไม่แน่นอนของมาตรการกี ดกันการค้าของสหรัฐ นอกจากนี้ กำลังการผลิตภาคเอกชนยังต่ำ ไม่มีความจำเป็นต้องเร่งลงทุน ประกอบกับอุปทานส่วนเกินยังสูง ขณะที่อุปสงค์หรือความต้องการทั้ งในและต่างประเทศขยายตัวช้า โดยรวมเรามองว่าเอกชนน่าจะกลั บมาลงทุนได้ดีขึ้นหลังปั ญหาความไม่ชัดเจนเหล่านี้คลี่ คลาย ประกอบกับการที่ภาครัฐเร่งลงทุ นในโครงการต่างๆ ที่สามารถทำให้เอกชนมั่นใจถึ งความต่อเนื่องของนโยบายของรั ฐบาลชุดนี้ ที่จะส่งไม้ต่อให้รัฐบาลชุดต่ อไปหลังการเลือกตั้งได้
โดยสรุป สำนักวิจัยคงประมาณการอั ตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยปี นี้ที่ 3.2% แม้มีปัจจัยบวกด้านการส่งออก แต่เป็นห่วงความเสี่ยงด้ านการลงทุนภาคเอกชนที่มากขึ้น
สำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย สำนักวิจัยมองว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยจะคงดอกเบี้ ยนโยบายไว้ที่ระดับ 1.50% ตลอดทั้งปี เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังคงเติ บโตช้าท่ามกลางความเสี่ ยงของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับภาวะเงินเฟ้อที่แม้ จะเร่งขึ้นจากปีก่อน แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ และเป็นการเพิ่มขึ้นจากสินค้าที่ เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกั บราคาน้ำมัน มากกว่ามาจากอุปสงค์ที่ขยายตัว จึงจำเป็นต้องอาศัยดอกเบี้ ยในระดับที่ผ่อนคลายเช่นนี้ต่ อไป โดยเฉพาะในช่วงที่การลงทุ นภาคเอกชนยังอ่อนแอ สินเชื่อขยายตัวต่ำ นอกจากนี้ หากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรั ฐเพิ่มขึ้นอีก สองครั้งไปสู่ระดับ 1.50% เท่ากับไทยในช่วงปลายปีนี้ก็ไม่ มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไทยต้ องขยับดอกเบี้ยหนีสหรัฐ เพียงแต่เราอาจเลือกให้เงิ นไหลออก ปล่อยบาทให้อ่อนค่าเพื่อสนับสนุ นการฟื้นตัวภาคการส่งออกจะดีกว่ า
อย่างไรก็ดี สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์กังวล คือ อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเป็นเวลานาน อาจเป็นต้นตอของวิกฤติเศรษฐกิ จรอบใหม่ ในรูปแบบที่ไม่เหมือนเดิม ที่ไม่ใช่ฟองสบู่ในภาคอสังหาริ มทรัพย์เหมือนในอดีต แต่อาจเกิดฟองสบู่ในภาคอื่น เช่น การชวนเชื่อหรือหลอกลวงให้ ประชาชนไปลงทุนในสิ่งที่ได้ ผลตอบแทนสูง ซึ่งอาจสูญเสียรายได้ที่เก็ บออมมาทั้งชีวิตมากขึ้น กลายเป็น “มะเร็ง” ที่เพาะอยู่ในตัวและรอวันเติ บโตมาทำร้ายเศรษฐกิจไทยอีกครั้ง หากไม่แก้ไขก่อน และไม่ควรโทษ “ความโลภ” ของผู้บริโภคฝ่ายเดียว แต่ต้องดูบริบทสิ่งแวดล้อมด้ วยว่าระบบการเงินเอื้ออำนวยให้ เขาต้องเลือกทางนั้น ทั้งนี้ เชื่อในความตั้งใจของรั ฐบาลและผู้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิ จที่ล้วนต้องการใช้ทุกเครื่องมื อในการประคับประคองเศรษฐกิจให้ เติบโต ซึ่งอัตราดอกเบี้ยต่ำก็เป็นเครื่ องมือหนึ่ง แต่การใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ เป็นเวลานานเกินไป ก็ต้องระวังผลข้างเคียงที่จะติ ดตามมา กนง.จึงควรมี การทบทวนนโยบายดอกเบี้ยเพื่อจั ดสมดุลเศรษฐกิจ ไม่ให้ก่อปัญหาด้านใดด้านหนึ่ งที่จะลามเป็นวิกฤติได้ ในระยะยาว
สำหรับทิศทางค่าเงินบาท สำนักวิจัยมองว่า เงินบาทที่แข็งค่าเทียบดอลลาร์ สหรัฐในช่วงไตรมาสที่หนึ่ งมาจากความไม่ชั ดเจนของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิ จของประธานาธิบดีทรัมป์ ส่งผลให้เงินทุนที่เคยออกไปในช่ วงปลายปีก่อนเคลื่อนย้ายกลับเข้ ามา ทำให้บาทแข็งค่า อีกทั้งเฟดเองไม่ได้มีการส่งสั ญญาณเร่งการขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่ าที่ตลาดคาด นักลงทุนต่างชาติยั งคงมองประเทศไทยมีเสถี ยรภาพการเงินดี ดังเห็นได้จากการเกินดุลบัญชี เดินสะพัดและเงินสำรองระหว่ างประเทศที่สูง จึงเข้ามาพักเงิ นและแสวงหาผลกำไรจากส่วนต่ างดอกเบี้ยไทยและสหรัฐ อย่างไรก็ดี ในช่วงที่เหลือของปีนี้ หลังมีความชัดเจนในนโยบายกระตุ้ นเศรษฐกิจของทรัมป์ที่จะนำไปสู่ ภาวะเงินเฟ้อที่เร่งขึ้น ทางเฟดคาดว่าจะมีการส่งสั ญญาณการเร่งการขึ้นดอกเบี้ยในปี หน้า และจะทำให้นักลงทุนเตรียมโยกย้ ายเงินลงทุนออก ทำให้บาทอ่อนค่าได้ในที่สุด นอกจากนี้ นักลงทุนควรจับสั ญญาณของธนาคารแห่งประเทศไทย ในการดูแลการเคลื่อนไหวของเงิ นบาทให้เป็นไปตามภูมิภาค เพราะการที่เงินบาทแข็งค่ ามากกว่าค่าเงินภูมิภาคในช่วงนี้ นับว่าไม่ปกติ และอาจมีมาตรการป้องกันการเก็ งกำไรค่าเงิ นโดยเฉพาะการลดการเข้าซื้อพั นธบัตรของนักลงทุนต่างชาติ หรือมาตรการผ่อนคลายทุนเคลื่ อนย้ายเพิ่มเติมเพื่อให้นักลงทุ นไทยไปลงทุนต่างประเทศได้ สะดวกขึ้น โดยในช่วงปลายปีนี้ค่าว่าน่ าจะเห็นค่าเงินอยู่ที่ระดับ 35.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ.
แต่การจับจ่ายใช้สอยไม่ได้เร่
อย่างไรก็ดี มองต่อไปในช่วงที่เหลือของปีนี้ การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มที่
สำหรับตัวหลักในการขับเคลื่
โดยสรุป สำนักวิจัยคงประมาณการอั
สำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย สำนักวิจัยมองว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยจะคงดอกเบี้
อย่างไรก็ดี สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์กังวล คือ อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำเป็นเวลานาน อาจเป็นต้นตอของวิกฤติเศรษฐกิ
สำหรับทิศทางค่าเงินบาท สำนักวิจัยมองว่า เงินบาทที่แข็งค่าเทียบดอลลาร์