โรคต้อกระจก...ปัจจัยคุกคามคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ แล้วสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เลยนั้น คือความเปลี่ยนแปลงของอวัยวะต่ างๆ
ภายในร่างกาย ที่จะเสื่อมถอยลงตามกาลเวลา จนก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา อาทิ
โรคทางสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือแม้กระทั่งโรคทางสายตา
ซึ่งประเทศไทยนับเป็นอีกหนึ่ งประเทศที่ได้เข้าสู่สังคมผู้สู งอายุตั้งแต่ปี 2548 ด้วยจำนวนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในอัตราร้อยละ 10.5[1] และคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้ นเป็นร้อยละ 15.7[2] ภายในปี 2573 ดังนั้นการเตรียมพร้อมรับมื อในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุจึ งเป็นสิ่งสำคัญที่บุตรหลานหรื อคนใกล้ชิดไม่ควรละเลย
รศ.นพ.นริศ กิจณรงค์ จักษุแพทย์ผู้เชียวชาญด้านต้อหิ น ต้อกระจก และ รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิ จกรรมเพื่อสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โรคต้อกระจก เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สู งอายุ โดยอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ร้อยละ 95 เป็นต้อกระจกที่มีสาเหตุ มาจากความเสื่อมตามอายุ ส่วนสาเหตุอื่นๆ อาทิ การเกิดอุบัติเหตุของดวงตา การได้รับสารเคมี การหยอดตาหรือทานยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งอาจพบ ได้ร้อยละ 3-4 และสุดท้ายคือต้อกระจกแต่กำเนิ ดซึ่งพบได้ในเด็กเเรกเกิดร้อยละ 1-2
โรคต้อกระจกในระยะเเรกอาจจะไม่ มีอาการที่ส่งสัญญาณบอกอย่างเด่ นชัด เมื่อเป็นมากขึ้นผู้ป่วยจะเริ่ มมีอาการตามัวทีละน้อยๆ คล้ายกับมีหมอกมาบัง โดยเฉพาะเมื่อเจอแสงสว่างหรื อแสงแดดก็จะรู้สึกมัวมากยิ่งขึ้ น ในคนไข้บางรายอาจพบว่าค่ าสายตามีการเปลี่ยนแปลง เช่น จากเป็นคนที่จำเป็นต้องใส่แว่ นสายตาสำหรับมองในระยะใกล้ทุ กครั้ง ก็กลายเป็นสามารถมองระยะใกล้ได้ โดยที่ไม่ต้องใส่แว่นสายตาอีกต่ อไป หากอาการตามัวเป็นมากขึ้นจะส่ งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน และอาจนำไปสู่ภาวะการสูญเสี ยการมองเห็น อันเป็นผลเสียอย่างมากต่อการใช้ ชีวิตของผู้สูงอายุ
ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการรั กษาต้อกระจกมีความก้าวหน้ ามากจนสามารถทำให้ผู้ป่ วยสามารถกลับมามองเห็นได้อย่ างชัดเจนดังเดิมหรือดีกว่าเดิ มได้
การรักษาต้อกระจกประกอบด้วย
1. แบบไม่ใช้การผ่าตัด ใช้ในกรณีที่เป็นต้อกระจกที่ยั งเป็นไม่มากอาจใช้การสวมเเว่นตา การใช้ยาหยอดตาเพื่อช่วยชะลอหรื อลดความขุ่นของต้อกระจกซึ่ งอาจได้ผลไม่แน่นอน ส่วนการขยายม่านตาเพื่อรั บแสงเข้าดวงตามากยิ่งขึ้นอาจใช้ ในการรักษาโรคต้อกระจกแต่กำเนิ ดได้
2. แบบใช้การผ่าตัด โดยผ่าตัดเอาต้อกระจกออกแล้วใส่ เลนส์เทียมเข้าไปในดวงตา ถือเป็นการรักษาที่ให้ผลดีที่สุ ดในปัจจุบัน โดยทั่วไปจะใช้คลื่นความถี่สู งในการสลายต้อกระจก หรืออาจจะมีการใช้เลเซอร์ช่ วยในการผ่าตัดได้
สำหรับเลนส์เทียมสามารถแบ่ งตามลักษณะวัสดุในการผลิต แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1. เลนส์เทียมชนิดแข็ง เป็นเลนส์เก้วตาเทียมที่ใช้ ในการผ่าตัดต้อกระจกชนิดแผลใหญ่ โดยเลนส์จะเเข็งไม่สามารถพับได้ ปัจจุบันจะใช้ในผู้ป่ วยบางรายเท่านั้น
2. เลนส์เทียมชนิดนิ่มหรือชนิดพั บได้ เป็นเลนส์เทียมที่สามารถพั บและสอดผ่านแผลผ่าตัดต้อกระจกที่ มีขนาดเล็กเพียงประมาณ 2.5 มิลลิเมตรได้ จึงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เพราะเมื่อแผลผ่าตัดเล็กลง ระยะการพักฟื้ นและการหายของแผลก็จะเร็วขึ้นด้ วยเช่นกัน ผู้ป่วยจึงสามารถใช้สายตาภายหลั งการผ่าตัดได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เลนส์เทียมชนิดนิ่ มสามารถเเบ่งได้อีก 3 ประเภท คือ
2.1 เลนส์เทียมที่ให้ความชัดระยะเดี ยว คือระยะไกล ปัจจุบันใช้ในผู้ป่วยประมาณร้ อยละ 90
2.2 เลนส์เทียมที่ให้ความชัดได้ สองระยะ คือ ให้ความชัดระยะใกล้และระยะไกล โดยปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้มี ระยะชัดสามระยะ คือ ให้ความชัดระยะใกล้-กลาง-ไกล
2.3 เลนส์แบบยืดหยุ่น ปรับระยะได้ในตัวเอง ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการคิดค้ นพัฒนา
การเลือกใช้เลนส์เทียมชนิดใดนั้ นจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง แต่ที่สำคัญคือลักษณะของดวงตาผู้ ป่วย การตรวจตาโดยจักษุแพทย์ว่ามี ภาวะอื่นๆ ทางตาร่วมด้วยหรือไม่ เช่น โรคของจอตา โรคของกระจกตา ความเอียงของสายตา เป็นต้น ความรู้ของผู้ป่วยและญาติในเรื่ องโรคต้อกระจก วิธีการรักษา วิธีการผ่าตัด และชนิดเลนส์เทียม จะช่วยให้สามารถเลือกวิธีการรั กษาเเละชนิดของเลนส์เทียมได้อย่ างเหมาะสม ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ ดียิ่งขึ้นภายหลังจาการผ่าตัดรั กษาต้อกระจก
“ต้อกระจกเป็นโรคที่เมื่ อตรวจพบได้เร็ว จะสามารถรักษาให้หายได้อย่างทั นท่วงที และไม่เสี่ยงต่อการสูญเสี ยการมองเห็นส่งผลให้มีคุณภาพชี วิตที่ดีขึ้น การดูแลและเอาใจใส่ผู้สูงอายุจึ งถือเป็นสิ่งสำคัญที่บุ ตรหลานหรือคนใกล้ชิดควรตระหนัก โดยการเริ่มต้นง่ายๆ คือ การพาท่านไปพบจักษุแพทย์เพื่ อตรวจสุขภาพดวงตาอย่างน้อยปี ละหนึ่งครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน หรือคนทั่วไปที่อายุ 45 ปีขึ้นไป ก็ควรพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจสุ ขภาพดวงตาอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ งเช่นเดียวกัน” รศ.นพ.นริศ กล่าวเพิ่มเติม
[1] ข้อมูลอ้างอิงจากสำนักงานสถิติ แห่งชาติ http://service.nso.go.th/nso/ nsopublish/citizen/news/poll_ elderly-1.jsp