ADS


Breaking News

เรื่องเล่าจากฝาบ้าน: ความทรงจำของลุงหล้าครั้งเมื่อรับเสด็จฯ ในหลวงร.9

บรรยายภาพ - วิโรจน์ พนากำเนิด หรือ ลุงหล้า ขณะรอกราบพระบรมศพ ในหลวงรัชกาลที่ 9  
     กรุงเทพฯ, 27 เมษายน 2560 –  ภาพกาดริมทางขึ้นดอยอินทนนท์ซึ่งคลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวที่เดินเลือกชาและผลไม้อบแห้งหลากชนิด และทิวต้นพญาเสือโคร่งสองข้างถนนลาดยางทันสมัย คงเป็นภาพคุ้นตาของหลายคน แต่ท่ามกลางความเจริญที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมโดยรอบ บ้านขุนกลาง จังหวัดเชียงใหม่นี้ บ้านไม้เล็กๆ หลังหนึ่งในหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง ที่สร้างขึ้นอย่างเรียบง่ายยังคงสภาพไม่ต่างกับเมื่อเกือบ 40 ปีก่อน อะไรทำให้เจ้าของบ้านหลังนี้ไม่รื้อถอนหรือแม้แต่ต่อเติมใดๆ แม้ว่าเพื่อนบ้านใกล้เคียงจะหันไปสร้างบ้านจากอิฐและปูนที่แข็งแรงและทันสมัยขึ้น เจ้าของบ้าน วิโรจน์ พนากำเนิด หรือ ลุงหล้า เล่าว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 เคยเสด็จฯ มาที่บ้านหลังนี้ และเขาตั้งใจจะดูแลรักษามันอย่างดีไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเพียงใด
ลุงหล้า ในบ้านไม้หลังเล็กที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เคยเสด็จฯ เมื่อเกือบ 40 ปี...

     ลุงหล้า เล่าถึงความประทับใจครั้งนั้นว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาที่หมู่บ้าน เพื่อทรงศึกษาเกี่ยวกับปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขา ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ มาที่บ้านของลุงหล้า ทรงสอบถามเรื่องการประกอบอาชีพในบริเวณนี้ พร้อมทั้งพระราชทานคำแนะนำเกี่ยวกับการทำเกษตรแผนใหม่ ภาพที่ในหลวงทรงร่วมพิธีผูกดวงชะตาตามวิถีชาวเขาบริเวณหลังบ้าน และทรงพูดคุยอย่างเป็นกันเอง ยังคงแจ่มชัดอยู่ในความทรงจำของลุงหล้า หลายครั้งที่หันไปมองผนังไม้ในห้องนั่งเล่น ก็ยังเห็นภาพพระองค์ประทับบนพื้นไม้ตรงนั้นซ้อนทับขึ้นมา ราวกับเหตุการณ์เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวาน
ผู้บริหารกรุงศรี ออโต้ ล้อมวงฟังลุงหล้าที่ดอยอินทนนท์เล่าถึงเมื่อครั้งในหลวงเสด็จฯ มาที่นี่ (ภาพ: ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาประเทศไทย หรือ EEC)

     ปัจจุบัน ชาวเขาในหมู่บ้านมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาก สถานีวิจัยโครงการหลวงดอยอินทนนท์ ที่ในหลวงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเมื่อปี 2522 (ปัจจุบันคือสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์) เปลี่ยนเนินเขาที่เต็มไปด้วยดอกฝิ่น ให้กลายมาเป็นไร่ที่เต็มไปด้วยไม้ดอก ไม้ประดับ พืชผัก ไม้ผล หลากหลายชนิด จากการทำไร่เลื่อนลอยเป็นอาชีพหลักก็กลายมาเป็นการทำเกษตรแบบถาวร ซึ่งช่วยสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับชาวเขา ในขณะที่เด็กๆ ก็ได้มีการศึกษา ได้นำความรู้ที่ได้มาพัฒนาท้องถิ่น และมีความภาคภูมิใจในบ้านเกิดของตน 
ลุงหล้า ครอบครัว และเพื่อน ขณะรอกราบพระบรมศพที่พระบรมมหาราชวัง

     ลุงหล้ามักเล่าให้ลูกหลานฟังเรื่องเหตุการณ์เมื่อเกือบ 40 ปีก่อนที่เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงนี้อยู่เสมอๆ และหวังว่าจะได้พบกับพระองค์ท่านอีกครั้ง แม้ว่าในวันนี้อาจจะทำได้แค่มากราบลาก็ตาม
     ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คณะผู้บริหารกรุงศรี ออโต้ได้เดินทางไปที่ชุมชนม้งเพื่อศึกษาถึงเส้นทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เคยเสด็จฯ ไป ตลอดจนโครงการหลวงที่พระองค์ท่านทรงริเริ่มไว้เมื่อ 30 กว่าปีก่อน จึงมีโอกาสได้พบกับลุงหล้าและสอบถามถึงชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ ด้วยความรู้สึกประทับใจที่ลุงหล้าถ่ายทอดออกมา คณะผู้บริหารจึงได้ชวนคุณลุงและครอบครัวมากราบพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่กรุงเทพฯ
     ลุงหล้าซึ่งไม่เคยมากรุงเทพฯ และไม่เคยขึ้นเครื่องบินเลยสักครั้ง ได้เตรียมตัวมาเป็นอย่างดี ทั้งพูดคุยกับลูกหลานที่เคยเดินทางบ่อยๆ แต่คืนก่อนที่จะเดินทาง ลุงหล้าก็ยังคงนอนไม่หลับ เพราะความตื่นเต้นและตื้นตันเต็มแน่นอยู่ในหัวใจ เพราะพรุ่งนี้ลุงหล้าจะได้ร่วมส่งเสด็จในหลวงรัชกาลที่ 9 สู่สวรรคาลัยแล้ว
     ลุงหล้าและครอบครัวเดินทางมาถึงบริเวณหน้าพระบรมมหาราชวังแต่เช้าตรู่ของวันที่ 6 เมษายนที่ผ่านมา ในมือถือพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มองเผินๆ แล้วอาจดูเหมือนภาพพระราชกรณียกิจทั่วไป แต่หากดูโดยละเอียดแล้วจะพบว่า ชายในชุดชาวเขาเผ่าม้งที่ยืนฟังพระองค์อยู่ตรงกลางรูปนั้นคือลุงหล้าในวัยหนุ่ม คุณลุงและครอบครัวได้บอกเล่าเรื่องราวความประทับใจครั้งนั้นให้ผู้คนที่มาร่วมกราบพระบรมศพฟังด้วยสีหน้าปลื้มปิติ รู้ตัวอีกทีก็ได้เดินมาถึงหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทแล้ว
ลุงหล้า และครอบครัว  ขณะรอกราบพระบรมศพที่พระบรมมหาราชวัง

     แม้ว่าภายในพระที่นั่งจะเต็มไปด้วยพสกนิกรนับร้อย แต่บรรยากาศกลับสงบนิ่ง ลุงหล้าหันไปมองคนรอบข้างที่ต่างมาที่นี่ด้วยความตั้งใจหนึ่งเดียว ก่อนจะก้มตัวลงกราบเบื้องหน้าพระบรมโกศ พร้อมอธิษฐานในใจว่า “ในหลวงเปิ้นอยู่บนสวรรค์แล้ว ขอให้ท่านส่องแสงลงมา ให้ลูกหลานมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี”
     ภาพเมื่อเกือบ 40 ปีก่อนแวบเข้ามาในความทรงจำอีกครั้ง ลุงหล้าถือพระบรมฉายาลักษณ์ไว้แน่น พร้อมตั้งใจแน่วแน่ว่าจะนำกลับไปแขวนที่ผนังบ้าน และเล่าลูกหลานฟังถึงเหตุการณ์วันนั้นอีกครั้ง เหตุการณ์ที่ทำให้ชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนไปตลอดกาล
วิโรจน์ พนากำเนิด หรือ ลุงหล้า ขณะรอกราบพระบรมศพ ในหลวงรัชกาลที่ 9
บรรยายภาพ
(ซ้ายบน) ลุงหล้า ในบ้านไม้หลังเล็กที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เคยเสด็จฯ เมื่อเกือบ 40 ปีก่อน
(ซ้ายล่าง) ผู้บริหารกรุงศรี ออโต้ ล้อมวงฟังลุงหล้าที่ดอยอินทนนท์เล่าถึงเมื่อครั้งในหลวงเสด็จฯ มาที่นี่ (ภาพ: ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาประเทศไทย หรือ EEC)
(ขวาบนและล่าง) ลุงหล้า ครอบครัว และเพื่อน ขณะรอกราบพระบรมศพที่พระบรมมหาราชวัง
###

ประสบการณ์ใหม่กับ กรุงศรี ออโต้  
     “กรุงศรี ออโต้” ผู้นำธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ เครือกรุงศรี ให้บริการสินเชื่อยานยนต์ครบวงจร ได้แก่ สินเชื่อเพื่อคนมีรถ “คาร์ ฟอร์ แคช” สินเชื่อรถบ้าน ”กรุงศรี รถบ้าน” สินเชื่อรถใหม่ “กรุงศรี นิว คาร์” สินเชื่อรถเต็นท์ “กรุงศรี ยูสด์ คาร์” สินเชื่อรถบรรทุกใหม่ “กรุงศรี ทรัค” สินเชื่อซื้อรถยนต์ไว้ใช้ในกิจการ “กรุงศรี ฟลีท แอนด์ ลีสซิ่ง” ซึ่งให้บริการโดยกลุ่มงานธุรกิจสินเชื่อยานยนต์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สินเชื่อรถจักรยานยนต์ “กรุงศรี มอเตอร์ไซค์” สินเชื่อบิ๊ก ไบค์  “กรุงศรี บิ๊ก ไบค์” สินเชื่อบิ๊ก ไบค์ มือสอง “กรุงศรี ยูสด์ บิ๊ก ไบค์” และสินเชื่อผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ “กรุงศรี อินเวนทอรี่ ไฟแนนซ์” ซึ่งให้บริการโดยบริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน)

     ลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการสินเชื่อของกรุงศรี ออโต้ พร้อมรับคำปรึกษาทั้งเรื่องรถและเรื่องเงิน ช่วยให้เรื่องเงินเป็นเรื่องง่าย ผ่านสาขากรุงศรี ออโต้ทั่วประเทศ รวมทั้งสาขาของธนาคารกรุงศรีอยุธยาทั่วประเทศ ที่ทำการไปรษณีย์ไทยที่ให้บริการ เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-Eleven หรือ ติดต่อ "กรุงศรี ออโต้ คอล เซ็นเตอร์" โทร. 02-740-7400 กด 1 เพื่อรับบริการ “เดลิเวอรี่” พร้อมทำสัญญาถึงบ้าน หรือ ขอรับบริการสินเชื่อ “คาร์ ฟอร์ แคช” และ “กรุงศรี รถบ้าน” ได้สะดวกสุด เพียงกดรหัส *740# แล้วกดโทรออกฟรี เพื่อรับ SMS ยืนยันและรอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่ หรือ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.krungsriauto.com  หรือ  www.facebook.com/krungsriauto