ADS


Breaking News

ซาโต้จับมือมหาวิทยาลัยมีในญี่ปุ่น ทำวิจัย เครื่องอ่านสายรัดข้อมือ UFH RFID อัจฉริยะเพิ่มความปลอดภัยผู้ป่วย

     ซาโต้ ผู้นำของโลกด้านโซลูชั่นออโต้ไอดีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรและผู้ผลิต ประกาศลงทุนทำวิจัยด้านคลินิกครั้งแรกเกี่ยวกับป้ายที่ใช้เทคโนโลยี UHF RFID ร่วมกับโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยมี (Mie University) ของญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาสายรัดข้อมือที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยที่มีความปลอดภัย พร้อมช่วยลดปริมาณงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและผู้ป่วย


     โดยในขั้นแรก  ทั้งสองจะร่วมกันวิจัยผลกระทบจากเครื่องอ่าน UHF RFID แบบพกพาที่มีต่ออุปกรณ์การแพทย์ที่ฝังในตัวผู้ป่วย เช่น เครื่องกระตุ้นคลื่นไฟฟ้าหัวใจ  โดยการทำวิจัยด้านคลินิกในครั้งนี้จะครอบคลุมผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยมีที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยจะเริ่มวิจัยตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2559 – 31 ธันวาคม 2561
เครื่องอ่านข้อมูลบนสายรัดข้อมือระบุตัวผู้ป่วยแบบ RFID


     ระบบบาร์โค้ดที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยมีใช้อยู่ในปัจจุบันนั้น เป็นการจัดการข้อมูลเกี่ยวกับการให้ยาแก่ผู้ป่วย การเก็บตัวอย่างเลือด โดยมีการครวจสอบข้อมูลถึง 3 จุด  โรงพยาบาลต้องการพัฒนาระบบเพื่อปิดจุดอ่อนของระบบเช่น การที่ต้องปลุกผู้ป่วยขึ้นมากลางดึก หรือการที่เครื่องอ่านไม่สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างสมบูรณ์หรือคลาดเคลื่อนจากความจริงเป็นครั้งคราว เนื่องจากสายรัดข้อมือหักพับ ทำให้อ่านข้อมูลไม่ได้หรือไม่ถูกต้อง


     การนำป้าย UHF RFID ของซาโต้เฮลท์แคร์มาใช้ จะทำให้สามารถเรียกดูข้อมูลได้ในระบบทางไกล ทำให้ไม่จำเป็นต้องหยิบจับเครื่องอ่านโดยตรง ในการทดสอบการใช้เครื่องก่อนที่จะเริ่มมีการวิจัยชิ้นนี้ พบว่าสามารถเรียกดูข้อมูลได้สะดวกแม้ว่าจะมีสิ่งกีดขวางระหว่างตัวเครื่องอ่านและชิปที่บันทึกข้อมูล เช่น มีผ้าห่มคลุมตัวผู้ป่วย เป็นต้น  ดังนั้นการวิจัยชิ้นนี้จะช่วยทำให้สามารถเรียกดูและยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว


     นอกจากนี้ ป้ายและสายรัดข้อมือแบบ UHF RFID ยังมีต้นทุนต่ำกว่าป้ายแบบ HF และมีระยะห่างที่สามารถอ่านข้อมูลจากป้ายได้ไกลกว่า จากรายงานของกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารของญี่ปุ่นเปิดเผยว่าเครื่องอ่านที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ก็จะไม่ส่งผลเสียต่ออุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (pacemaker) หรือเครื่องกระตุกหัวใจ (defibrillator) ไม่ว่าระยะห่างระหว่างเครื่องอ่านและอุปกรณ์ทางการแพทย์ดังกล่าวจะเป็นเท่าไร
     มร. โยชิโนริ อาซูมิ รองประธานฝ่ายข้อมูลทางการแพทย์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยมี อธิบายว่าป้าย UFH ที่นี่จะให้ตรวจสอบข้อมูลได้ด้วยต้นทุนที่ถูกมาก ทำให้เรามีโอกาสเพิ่มในอนาคต เนื่องจากพยาบาลและเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจะมีภาระลดลงในการตรวจสอบข้อมูล
     “ป้ายผู้ป่วยแบบสายรัดข้อมือจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยสูงสุดให้แก่ผู้ป่วย พร้อมทั้งยังให้ความสะดวกสบายได้อย่างมาก  เพราะเครื่องนี้จะสามารถอ่านข้อมูลได้ในระยะไกล ผู้ดูแลผู้ป่วยก็ไม่จำเป็นต้องปลุกหรือย้ายหรือขยับตัวผู้ป่วยโดยไม่จำเป็นเมื่อต้องการอ่านข้อมูลบนป้ายสายรัดข้อมูล  ระบบนี้นับได้ว่าเป็นนวัตกรรมที่น่าทึ่งและสามารถให้ทั้งความถูกต้องและความสะดวกสบาย” มร. ฮิโรยูกิ โคนูมะ ประธานซาโต้ เฮลธ์แคร์ กล่าว
_______________________


Clinical study overview
Study duration:    December 26, 2016 – December 31, 2018 (period of patient observation)
Location:     Mie University Hospital
Objective:     To establish the safety of low-power (250 mW) 920MHz handy RFID readers and their non-interference with defibrillators and pacemakers.
Target:    Patients with implantable cardiac devices and all patients 18 years of age and older.
Details:    Researchers to look at the settings of implantable cardiac devices before admission/after release in patients admitted to the hospital between December 26, 2016 and December 31, 2018 to determine if any unintended setting changes were caused by the use of low-power handy RFID readers.
Director:    Yoshinori Azumi, Deputy Chief, Department of Medical Informatics, Mie University Hospital


Reference
Overview of the study from Japan's University hospital Medical Information Network UMIN Clinical Trials Registry (UMIN-CTR):


1.     Reading patient IDs (wristbands), labels for drug administration or blood transfusion and treatment instructions (from database) via handy barcode and RFID readers to prevent mix-ups
2.    Study on the Effect of Radio Waves on Medical Devices: http://www.tele.soumu.go.jp/e/sys/fees/purpose/studies/#4029802


About SATO
SATO (TOKYO:6287) is a leading global provider of Auto-ID solutions that connect people, goods and information. It serves a diverse range of customers, delivering end-to-end solutions that streamline operations, empower workforces and help customers reduce their environmental impact. For the fiscal year ended March 31, 2016, it reported revenues of JPY 105,504 million (US $880 million*). More information about SATO can be found at www.satoworldwide.com or


About SATO Healthcare Co., Ltd.
SATO Healthcare Co., Ltd. was established as a spin-off from SATO Corporation in 2014 to focus on development of Auto-ID solutions utilizing barcodes, IC tags and more for the healthcare market. Operating from Tokyo, it manages sales of hardware and consumables, from barcode printers to medical labels.

*Conversion is based on an average exchange rate of 1 US Dollar = 120.14 Japanese Yen