ADS


Breaking News

อรูบ้าเผยว่าผลประโยชน์มหาศาลทางธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับ จะเป็นแรงผลักดันให้ IoT ถูกนำไปใช้งานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคสูงขึ้นถึง 86% ภายในปี พ.ศ. 2562

จากผลการศึกษาในระดับนานาชาติพบว่าองค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคต่างล้วนมองเห็นผลประโยชน์มหาศาลในการนำเทคโนโลยี IoT มาใช้งานทั้งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจและการสร้างสรรค์นวัตกรรม แต่ยังคงมีความกังวลใจในด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบ
     กรุงเทพมหานคร – 6 มีนาคม พ.ศ. 2560 – อรูบ้า หนึ่งในบริษัทของฮิวเล็ตต์ แพคการ์ด เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้เปิดเผยว่าภายในปี 2562 จะมีองค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมากถึง 86% ที่มีการใช้งาน IoT ภายในองค์กร อ้างอิงจากข้อมูลของรายงาน ‘ The Internet of Things: Today and Tomorrow ’ โดยองค์กรเหล่านี้จะนำ IoT ไปใช้งานเพื่อสร้างผลกำไรของธุรกิจเพิ่มขึ้นทั้งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการสร้างสรรค์นวัตกรรม ในภาคองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ภาคธุรกิจดูแลสุขภาพ, ภาคธุรกิจค้าปลีก และภาครัฐในการบริหารเมืองต่างๆ ทั่วโลก ผลการศึกษาของอรูบ้ายังได้เตือนด้วยว่าการเชื่อมต่ออุปกรณ์จำนวนมหาศาลเข้าสู่ระบบเครือข่ายไอทีของธุรกิจนั้นจะก่อให้เกิดความท้าทายใหม่ ๆ ทางด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบ ส่งผลให้เกิดช่องโหว่ทางด้านความมั่นคงปลอดภัยกับองค์กรส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคได้

     งานวิจัยนี้ยังได้ระบุอีกด้วยว่า จากผู้ถูกสัมภาษณ์ที่มีจำนวนทั้งสิ้น 1,150 คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ได้แก่ออสเตรเลีย, จีน, อินเดีย, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์ และเกาหลีใต้) มีถึง 97 % เมื่อถูกถามในเรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี IoT นั้นเป็นอย่างไร ผู้ถูกสัมภาษณ์จำนวนมากตอบว่า ยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่านิยามของ IoT คืออะไร และ IoT จะมีประโยชน์อย่างไรต่อองค์กรของเขา
ใน eBook เล่มใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนจากอรูบ้าชื่อ ‘Making Sense of IT’ ของคุณเควิน แอซตัน (Kevin Ashton) ผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกลทางด้านเทคโนโลยี ได้ให้นิยามเกี่ยวกับคำว่า ‘Internet of Things’ เอาไว้ดังนี้:

     “Internet of Things หมายถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีระบบเซ็นเซอร์ที่ถูกเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตและประพฤติตนในวิถีทางของอินเทอร์เน็ตด้วยการเป็นระบบเปิด มีการเชื่อมต่อแบบมีวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง (ad-hoc) แบ่งปันข้อมูลอย่างอิสระ และทำให้เกิดเป็นแอพพลิเคชันใหม่ๆ ที่เราคาดไม่ถึงกันมาก่อน เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถทำความเข้าใจถึงโลกที่อยู่รอบๆ ตัวมันได้ และกลายเป็นระบบเครือข่ายประสาทใหม่ของมนุษยชาติ

The Expectations Dividend
ผลประโยชน์ที่เหนือกว่าความคาดหมาย

     เมื่อวิเคราะห์ถึงประโยชน์ของการนำ IoT มาใช้ คุณแอชตันค้นพบว่าประโยชน์ที่ได้รับจาก IoT จริงๆ นั้นเกินกว่าความคาดหมายในทุกๆ แง่มุม โดยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคนี้ ‘ผลประโยชน์ที่เหนือกว่าความคาดหมาย’ ถูกเห็นได้ชัดในสองมุมมองของการชี้วัดทางด้านประสิทธิภาพธุรกิจอันได้แก่การทำกำไร และประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

     อย่างเช่น 35% ของผู้นำทางธุรกิจยืนยันว่ามีผลกำไรเติบโตขึ้นอย่างชัดเจนหลังจากนำ IoT มาใช้งาน โดยมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 20 % ของผู้ที่เคยคาดการว่าจะมีผลกำไรเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากจากการลงทุนทางด้าน IoT ของตน (จากเดิมมีผู้คาดหวังแค่ 15%) ในทำนองเดียวกัน มีผู้บริหารจำนวน 39% คาดหวังว่ากลยุทธ์ทางด้าน IoT ของตนจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างมหาศาล แต่ผลลัพธ์ที่ได้นั้นก็แสดงให้เห็นว่าเกินกว่าครึ่งขององค์กรที่นำ IoT มาใช้งานในธุรกิจ (51%) พบว่าธุรกิจของพวกเขาได้รับผลตอบแทนอย่างชัดเจน

     คุณคริส โคซุป (Chris Kozup) รองประธานฝ่ายการตลาดของอรูบ้าได้ให้ความเห็นเอาไว้ว่า “ด้วยผลประโยชน์ทางธุรกิจจากการใช้งาน IoT ที่ได้รับเกินกว่าความคาดหมายนี้ ทำให้ไม่แปลกใจที่โลกธุรกิจจะมุ่งหน้าไปสู่การใช้งาน IoT อย่างแพร่หลายภายในปี พ.ศ. 2562 แต่ยังมีเหล่าผู้บริหารจำนวนมากที่ยังไม่แน่ใจว่าจะนำ IoT ไปปรับใช้งานในธุรกิจของพวกเขาได้อย่างไร องค์กรธุรกิจที่นำ IoT ไปใช้งานจนประสบความสำเร็จไปก่อนแล้วนั้นย่อมได้เปรียบโดยมีความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจที่เหนือกว่าอย่างชัดเจน”

การนำ IoT ไปใช้งานในระดับองค์กรทั่วโลก
     งานวิจัยของอรูบ้าได้แสดงให้เห็นถึงการใช้งาน IoT ในหลากหลายระดับ ทั่วทั้งภาคอุตสาหกรรมต่างๆ โดยภาคอุตสาหกรรม 5 กลุ่มในแนวตั้งดังต่อไปนี้คือเหล่าผู้นำทางด้านการนำ IoT ไปใช้งาน และสามารถสร้างผลประโยชน์ในเชิงธุรกิจที่สามารถจับต้องได้จากรูปแบบและวิธีการการนำไปใช้งานทีมีความเฉพาะเจาะจง
ภาคองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ต่าง ๆ สามารถสร้างสถานที่ทำงานอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการทำงาน:
  • มากกว่า 7 ใน 10 (72%) ของผู้บริหารองค์กรที่ถูกสัมถาษณ์ บอกว่าได้เริ่มต้นนำอุปกรณ์ IoT ไปใช้งานภายในสถานที่ทำงาน โดยการให้บริการระบุตำแหน่งสถานที่สิ่งต่าง ๆ ภายในอาคาร (indoor location-based services) ถูกให้ความสำคัญเป็นอันดับสองในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน  รองจากอันดับหนึ่งคือการติดตามการทำงานของระบบต่างๆ จากระยะไกล (remote monitoring) โดย 20%  ตอบว่าใช้ในเป็นเครื่องมือหลักในการติดตามสถานะของระบบไฟฟ้าและอุณหภูมิภายในอาคารจากระยะไกล แต่คำตอบจำนวนเพิ่มขึ้นเท่าตัวเป็น 53% เมื่อถูกถามถึงการมีแผนการที่จะเตรียมนำ IoT ไปใช้งานในอนาคต
  • เมื่อมองในมุมมองทางด้านผลลัพธ์ที่จับต้องได้ที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ มี 78% ของผู้ตอบถูกสัมภาษณ์กล่าวว่าการนำ IoT มาใช้งานภายในสถานที่ทำงานนั้นได้เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของทีมงาน IT ให้ดีขึ้น และ 75% พบว่าทำให้มีผลกำไรสูงขึ้น
     ภาคอุตสาหกรรมการผลิตสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในธุรกิจและสามารถติดตามการทำงานได้มากขึ้นด้วยระบบตรวจสอบและดูแลรักษาที่ใช้ IoT:
      มากกว่า 6 ใน 10 (62%) ของผู้ตอบจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ ได้ติดตั้งใช้งาน IoT แล้ว โดยใช้ IoT เพื่อตรวจสอบการทำงานและดูแลซ่อมบำรุงการทำงานอุปกรณ์พื้นฐานที่ทำงานที่จำเป็นในภาคอุตสาหกรรมนั้นถือเป็นกรณีการใช้งานที่ส่งผลกระทบในเชิงบวกสูงสุด และในวันนี้ การใช้งานกล้องวงจรปิดแบบ IP-based เพื่อการรักษาความปลอดภัยทางกายภาพภายในองค์กรภาคอุตสาหกรรมนี้ก็ยังคงอยู่ในระยะเริ่มต้น ด้วยจำนวนองค์กรเพียง 6% เท่านั้นที่เริ่มต้นใช้งานกล้องวงจรปิด อย่างไรก็ดีเมื่อถามถึงแผนการในอนาคตแล้ว การนำระบบกล้องวงจรปิดมาใช้งานได้รับคำตอบที่สูงขึ้นเป็น 5 เท่าจนมีจำนวนผู้ตอบรับถึง 32%
  • เมื่อมองทุกในภาคอุตสาหกรรม 83% ของผู้ถูกสัมภาษณ์รายงานว่ามีประสิทธิภาพในเชิงธุรกิจสูงขึ้น ในขณะที่ 80% นั้นพบว่าการตรวจสอบติดตามการทำงานในระดับองค์กรนั้นสามารถทำได้ดีขึ้น
     ภาคธุรกิจดูแลสุขภาพเริ่มใช้ IoT เพื่อปรับปรุงการติดตามสุขภาพผู้ป่วย, การลดค่าใช้จ่าย และการเร่งสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ:
  • ภาคธุรกิจดูแลสุขภาพนี้ถูกจัดเป็นภาคที่มีความก้าวหน้าในการใช้งาน IoT มากที่สุดเป็นอันดับสาม โดย 60% ขององค์กรธุรกิจทางด้านดูแลสุขภาพทั่วโลกได้เริ่มต้นใช้งานอุปกรณ์ IoT กันแล้ว
  • ทั่วทั้งภาคธุรกิจดูแลสุขภาพนี้ 42% ของเหล่าผู้บริหารนั้นได้ยกให้การตรวจสอบและการดูแลรักษาระบบเป็นกรณีการใช้งาน IoT อันดับหนึ่ง ซึ่งสูงกว่าในภาคธุรกิจอื่นๆ ทั้งหมด แต่ที่สำคัญที่สุดของภาคธุรกิจนี้คือการนำ IoT มาใช้เพื่อติดตามดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะในธุรกิจดูแลสุขภาพสมัยใหม่
  • 8 ใน 10 ของผู้ถูกสัมภาษณ์นั้นได้ใช้ IoT เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และ 73% กล่าวว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้
     ภาคธุรกิจค้าปลีกสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ดีขึ้น และเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีระบุตำแหน่งภายในอาคาร:
  • มีเพียง 49% ของธุรกิจค้าปลีกเท่านั้นที่ใช้งานเทคโนโลยี IoT แต่ 81% ของธุรกิจเหล่านี้รายงานว่าสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กับเหล่าลูกค้าได้สำเร็จ ซึ่งประสบการณ์ที่ดีขึ้นของลูกค้าเหล่านี้ก็ส่งผลกระทบในเชิงบวกเป็นอย่างมากต่อความภักดีของลูกค้าและที่สำคัญสูงสุดนั้นคือรายได้ด้วยเช่นกัน
  • บริการระบุตำแหน่งภายในร้านค้านั้นได้สร้างประสบการณ์ส่วนตัวให้กับลูกค้าพร้อมทั้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แก่ผู้ที่มาจับจ่าย และกรณีการใช้งานนี้ก็ได้ถูกยกให้เป็นอันดับหนึ่งของการใช้ IoT ในธุรกิจค้าปลีก ตามมาด้วยการตรวจสอบและซ่อมบำรุง 4 ใน 10 ของเหล่าธุรกิจค้าปลีกนี้ได้ยกให้การรักษาความปลอดภัยด้วยกล้องวงจรปิดเป็นกรณีการใช้งานมากที่สุดเป็นอันดับสาม
     ภาครัฐยังคงตามหลังในการนำ IoT ไปใช้ ยังติดขัดเพราะครอบครองเทคโนโลยีที่ล้าสมัยอยู่ แต่ได้ใช้ในการลดค่าใช้จ่ายได้สำเร็จ:
  • ภาครัฐนี้ถือเป็นกลุ่มที่นำ IoT ไปใช้งานจริงช้าที่สุดจากการสำรวจ โดยมีเพียง 42% ของเทศบาลเมืองเท่านั้นที่ได้เริ่มติดตั้งใช้งานอุปกรณ์ IoT และเซ็นเซอร์ต่างๆ แล้ว โดย 1 ใน 3 (35%) ของเหล่าผู้มีสิทธิ์ตัดสินใจทางด้าน IT นี้ได้อ้างว่าผู้บริหารของตนไม่มีความเข้าใจในเรื่อง IoT ถือเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด  ข้อสังเกตคือ การขาดความรู้เป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดในการนำ IoT มาใช้ในภาคนี้
  • ในขณะที่เกือบครึ่ง (49%) ของฝ่าย IT ในภาครัฐยังคงติดขัดเนื่องจากเทคโนโลยีที่ล้าสมัย แต่ 7 ใน 10 ของหน่วยงานที่เริ่มใช้ IoT แล้วนั้นก็ได้รายงานถึงการประหยัดค่าใช้จ่าย และความสามารถในการตรวจสอบในระดับองค์กรได้เป็นประโยชน์หลักที่ได้รับ
The Data Context and Security Challenge
ความท้าทายด้านข้อมูลแวดล้อมและความมั่นคงปลอดภัยของระบบ

     นอกเหนือจากผลประโยชน์เชิงบวกที่ได้รับแล้วการศึกษาครั้งนี้ยังได้เปิดเผยถึงอุปสรรคจำนวนหนึ่งที่เหล่าผู้นำทางด้าน IT รู้สึกว่าเป็นตัวขัดขวางไม่ให้ IoT สร้างผลกระทบในเชิงบวกได้เท่าที่ควร องค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคนี้ได้ระบุว่าค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง (53%), ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา (52%) และความยากในการผสานระบบรวมกับเทคโนโลยีสมัยเก่า (47%) นั้นเป็นปัญหาหลักๆ ซึ่งเหล่าธุรกิจทั่วโลกนั้นต่างก็ให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน

     อีกประเด็นที่น่าสนใจมากที่สุดคือ ช่องโหว่ทางด้านความปลอดภัยนั้นถูกพบในการติดตั้งใช้งาน IoT จำนวนมากทั่วโลก ในการศึกษาครั้งนี้พบว่า 88% ขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคนั้นเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการถูกโจมตีทางช่องโหว่ด้านความปลอดภัยบนระบบที่เกี่ยวข้องกับ IoT อย่างน้อย 1 ครั้ง ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับทั้งโลก โดยเกินกว่าครึ่งของเหล่าผู้ถูกสัมภาษณ์ได้อธิบายว่าการโจมตีจากภายนอกนั้นเป็นอุปสรรคหลักในการนำกลยุทธ์ทางด้าน IoT มาใช้ และประเด็นนี้ก็ช่วยยืนยันได้เป็นอย่างดีว่าการมีกลยุทธ์ด้านการเสริมความปลอดภัยให้กับระบบ IoT ที่ครอบคลุมทุกด้านบนระบบควบคุมการเข้าถึงเครือข่ายและการบริหารจัดการนโยบายการรักษาความปลอดภัยที่เข้มแข็งนั้น จะไม่เพียงแต่ช่วยปกป้ององค์กรเท่านั้นแต่ยังจะช่วยให้การรักษาความปลอดภัยนั้นง่ายขึ้นสำหรับฝ่าย IT ด้วย

     คุณแอชตันได้อธิบายถึง IoT ในมุมของความสามารถในการบันทึกข้อมูลและนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่สำคัญของเหล่าองค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค โดยองค์กรเกือบทั้งหมด (98%) ที่ได้นำ IoT ไปใช้งานจริงแล้วนั้นอ้างว่าสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นได้ แต่ผู้ถูกสัมภาษณ์จำนวนเดียวกันนี้ก็ยอมรับด้วยว่าความท้าทายคือการสร้างคุณค่าใหม่ๆ จากข้อมูลเหล่านี้ขึ้นมาให้สำเร็จ โดยเกินกว่า 1 ใน 3 (35%) ของเหล่าองค์กรธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกนั้นไม่ได้มีการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลภายในระบบเครือข่ายขององค์กร ทำให้ขาดองค์ความรู้ที่อาจช่วยเสริมในการตัดสินใจเชิงธุรกิจให้แม่นยำได้มากขึ้น

     คุณโคซุปได้ให้ความเห็นเอาไว้ว่า “ในขณะที่การติดตั้งระบบ IoT กำลังเติบโตขึ้นนี้ การเพิ่มขยายระบบ, ความซับซ้อน, วิธีการที่เหมาะสมในการรักษาความปลอดภัยเพื่อปกป้องระบบเครือข่ายและอุปกรณ์ และที่สำคัญที่สุดข้อมูลและองค์ความรู้ที่ได้รับมานั้นจะต้องก้าวตามให้ทันการติดตั้งระบบ IoT ด้วย ถ้าหากธุรกิจต่างๆ ไม่เริ่มก้าวถัดไปเพื่อให้สามารถมองเห็นและจำแนกสิ่งที่ IoT กำลังทำภายในสถานที่ทำงานได้ ธุรกิจเหล่านี้ก็กำลังมีความเสี่ยงที่จะเปิดให้มีการกระทำที่อาจเป็นอันตรายเกิดขึ้นได้ อรูบ้ากำลังช่วยให้เหล่าลูกค้าองค์กรสามารถประเมินความปลอดภัยในการติดตั้งใช้งาน IoT ภายในอาคารสถานที่ทำงาน และตรวจสอบเสาะหาภัยคุกคามแฝงที่อาจปรากฎอยู่ให้พบได้”
คุณแอชตันกล่าวสรุป “ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของมันเมื่อปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) Internet of Things นี้เป็นแนวคิดที่ถูกพูดถึงอย่างขำขัน, ถูกวิจารณ์ และถูกเข้าใจผิดมาโดยตลอด แต่ตอนนี้มันก็เป็นจริงขึ้นมาแล้ว ภายในเวลาเพียงไม่ถึง 2 ทศวรรษถัดมา เราก็อยู่ในโลกที่องค์กรหลายหมื่นแห่งกำลังลดค่าใช้จ่ายและสร้างรายได้หลายร้อยล้านดอลลาร์จาก Internet of Things ตั้งแต่การใช้รถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง, สถานีรถไฟใต้ดินที่รับรู้ได้ว่ามีผู้โดยสารมาเยือน, อัลกอริธึมที่ตรวจสอบโรคระบาดร้ายแรงได้จากโทรศัพท์ และเทคโนโลยีอื่นๆ อีกมากมายที่ไม่เคยคิดฝันว่าจะเป็นจริงขึ้นมาได้ ในอนาคตจะยังมีสิ่งที่น่าทึ่งเกิดขึ้นอีกมากมาย การตัดสินใจที่สำคัญที่สุดของคุณในเวลานี้ก็คือคุณจะเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวเหล่านี้ได้อย่างไร”

Additional Resources

Research methodology
ระเบียบวิธีวิจัย
     ผู้มีสิทธิ์ตัดสินใจทางไอทีและธุรกิจจำนวนทั้งสิ้น 3,100 คนได้ถูกสัมภาษณ์ระหว่างเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมปี 2016 ผู้ถูกสัมภาษณ์เหล่านี้มาจากธุรกิจองค์กรที่มีพนักงานจำนวน 500 คนเป็นอย่างน้อย โดยมาจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนซึ่งคัดเลือกเฉพาะกลุ่มภาคอุตสาหกรรมการผลิต, ภาครัฐ, ธุรกิจค้าปลีก, ธุรกิจด้านสาธารณสุข, ภาคการศึกษา, ธุรกิจก่อสร้าง, ธุรกิจการเงิน และธุรกิจด้านไอที/เทคโนโลยี/โทรคมนาคม การสัมภาษณ์นี้เกิดขึ้นทั้งบนช่องทางออนไลน์และทางโทรศัพท์ด้วยการใช้กระบวนการในการคัดกรองหลายขั้นตอนเพื่อให้มั่นใจว่าจจะมีเพียงผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเท่านั้นที่จะได้รับโอกาสให้เข้าร่วมในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ ผู้ถูกสัมภาษณ์นี้ถูกสัมภาษณ์ภายในสหราชอาณาจักร, อิตาลี, เยอรมนี, ฝรั่งเศส, เนเธอร์แลนด์, สเปน, สวีเดน, นอร์เวย์, ตุรกี, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ซาอุดิอาระเบีย, สหรัฐอเมริกา, สิงคโปร์, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, อินเดีย, บราซิล, เม็กซิโก, จีน และเกาหลีใต้

เกี่ยวกับอรูบ้าบริษัทหนึ่งในเครือฮิวเล็ตแพ็กการ์ด

     อรูบ้าเป็นหนึ่งในเครือบริษัทฮิวเลตต์แพคการ์ด เอ็นเตอร์ไพรส์และเป็นผู้นำในการจัดหาโซลูชั่นระบบเครือข่ายที่ล้ำสมัยสำหรับองค์กรทุกขนาดทั่วโลก บริษัทเป็นผู้ผลิตโซลูชั่นด้านไอทีที่ช่วยเพิ่มพลังให้องค์กรในการให้บริการแก่ผู้ใช้รุ่นใหม่ที่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์พกพาผู้ซึ่งใช้ apps ต่าง ๆ ทางธุรกิจที่วางอยู่บนคลาวด์ในทุก ๆ ขั้นตอนของการดำเนินชีวิตทั้งในที่ทำงานและเรื่องส่วนตัว     

     คุณพัทรธา นาราสิมฮัน (Partha Narasimhan) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยี (Chief Technology Officer) ที่ HPE Aruba  เขาเข้าร่วมงานกับ อรูบ้า เน็ตเวิร์คส์ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทในปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) และยังคงร่วมทำงานกับอรูบ้าอย่างต่อเนื่องเมื่อถูกควบกิจการโดย HP ในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

     ที่อรูบ้า เขาเป็นผู้นำในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไร้สายในส่วนวิศวกรรมและต่อมาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีของแผนกระบบเครือข่ายสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ (enterprise networking) หลังจากถูกควบรวมเป็นต้นมาเขายังคงดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีของแผนกระบบเครือข่ายสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ (enterprise networking) แต่ย้ายมาสังกัด ฮิวเลตต์ แพคการ์ด เอ็นเตอร์ไพรส์ (HPE)
เขาเป็นผู้นำทีมงานที่รับผิดชอบในส่วนการกำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์สำหรับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ครอบคลุมระบบเครือข่ายของสาขา  (campus) ไปจนถึงศูนย์ข้อมูลกลาง (datacentre) ตลอดชีวิตการทำงานของเขาหลังจากได้รับปริญญาเอกจาก Rutgers University เขาได้มีส่วนร่วมทำงานในโครงการพัฒนาเทคโนโลยีสำคัญ ๆ หลายโครงการและเขาเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมในกระบวนการกำหนดมาตราฐาน (standardization process) ให้กับ IEEE 802.11 และ IETF