Faster Future | SCB FinTech Forum งานครั้งสำคัญผลักดันระบบนิเวศแห่งนวัตกรรมการเงินไทย
ธนา เธียรอัจฉริยะ (ที่สี่จากซ้าย) รักษาการ Chief Marketing Officer ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด พลภัทร อัครปรีดี (ที่สามจากซ้าย) กรรมการผู้จัดการ หน่วยงานทุนองค์กร บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด ภิมลภา สันติโชค (ที่สามจากขวา) รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด Multi-Corporate Segment ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และสารัชต์ รัตนาภรณ์ (ที่สี่จากขวา) รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด Corporate Segment ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยวิทยากรรับเชิญ Jeffrey Paine (ขวา) ผู้ร่วมก่อตั้งและหุ้นส่วนผู้จัดการกองทุนโกลเดนเกต เวนเจอร์ส Wei Hopeman (ที่สองจากซ้าย) กรรมการผู้จัดการกองทุน อาร์เบอร์ เวนเจอร์ส Oscar Ramos (ซ้าย) ผู้อำนวยการโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพแห่ง Chinaccelerator และ Grace Yun Xia (ที่สองจากขวา) ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์องค์กรและการลงทุน เท็นเซ็นต์
ในยุคปฏิวิตดิจิทัลที่ธุรกิจหลายอย่างกำลังพลิกผันอย่างรวดเร็ว ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับ ดิจิทัล เวนเจอร์ส บริษัทผู้พัฒนาฟินเทคในเครือธนาคารฯ เล็งเห็นความสำคัญในการเสริมความแกร่งให้ภาคธุรกิจ ไทยเตรียมพร้อมรับมือกับโลกธุรกิจและการเงินยุคใหม่ จึงจัด ‘Faster Future | SCB FinTech Forum’ ขึ้น เพื่อนำเสนอแนวโน้มด้านเทคโนโลยีและฟินเทคที่น่าจับตามองในปี 2560 ในเอเชีย (2017 Tech Trend in Asia) การเติบโตของประเทศจีนสู่การเป็นศูนย์กลางแห่งนวัตกรรม (China is the New Silicon Valley) โอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ จากการลงทุนในเวนเจอร์แคปปิตอล (Business Opportunity through Corporate Venture Capital) โดยวิทยากรรับเชิญจากวงการเทคโนโลยีและฟินเทคระดับโลก พร้อมการนำเสนอธุรกิจจาก สตาร์ทอัพดาวรุ่งไทยและต่างประเทศในหลากหลายอุตสาหกรรม (Tech Startups to Watch)
เปิดเวทีสัมมนาด้วย ธนา เธียรอัจฉริยะ รักษาการ Chief Marketing Officer ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด ซึ่งเน้นย้ำถึงจุดยืนของไทยพาณิชย์ ที่มุ่งสนับสนุนลูกค้าองค์กรและธุรกิจไทยในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจโลก ทั้งต้องการให้เวทีนี้เป็นโอกาสสำคัญสำหรับนักธุรกิจไทยได้พบปะสร้างเครือข่าย และสนทนาเกี่ยวกับ โอกาสทางธุรกิจกับกลุ่มทุนเวนเจอร์แคปิตอลชั้นนำของเอเชีย
กล่าวต้อนรับ โดย ธนา เธียรอัจฉริยะ รักษาการ Chief Marketing Officer ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด
การบรรยายพิเศษ หัวข้อ “2017 Tech Trend in ASIA” โดย เจฟฟรี่ เพน ผู้ร่วมก่อตั้งและหุ้นส่วนผู้จัดการกองทุน โกลเดนเกต เวนเจอร์ส (Golden Gate Ventures) กองทุนสตาร์ทอัพชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพยิ่งใหญ่ของภูมิภาคที่กำลังเป็นความหวังใหม่ของเศรษฐกิจโลกด้วยจำนวนประชากรเกือบ 500 ล้าน มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 252 ล้านคน เพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 650,000 คนต่อเดือน ระบบนิเวศสตาร์ทอัพ ของภูมิภาคนี้กำลังมีการเติบโต มีสตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นตัวเด่น ๆ อย่างเช่น Grab บริการแท็กซี่, Lazada และ Reebonz ออนไลน์ช็อปปิ้ง และ PropertyGuru สื่ออสังหาฯออนไลน์ คาดว่าจะมีการลงทุนมูลค่า 40,000 ล้านดอลล่าร์ในช่วง 10 ปีข้างหน้า
ภิมลภา สันติโชค รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด Multi-Corporate Segment ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
สารัชต์ รัตนาภรณ์ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด Corporate Segment ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
Wei Hopeman กรรมการผู้จัดการกองทุน อาร์เบอร์ เวนเจอร์ส
Oscar Ramos ผู้อำนวยการโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพแห่ง Chinaccelerator
ดีลของเวนเจอร์ด้านเทคโนโลยีมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วง 4 - 5 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบัน สตาร์ทอัพที่อยู่ ในระยะเริ่มต้นมีประมาณ 400 กว่าราย ขณะที่ระดับซีรีย์ A มีประมาณ 150 ราย ซีรีย์ B อยู่ที่ประมาณเกือบ 50 ราย ส่วนซีรีย์ C และที่เหนือกว่านั้นอยู่ที่ 20 กว่าราย
Jeffrey Paine ผู้ร่วมก่อตั้งและหุ้นส่วนผู้จัดการกองทุนโกลเดนเกต เวนเจอร์ส
เจฟฟรี่เสริมว่าความท้าทายของอาเซียน คือเป็นภูมิภาค มีความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรม ตลอดจนกฏระเบียบข้อบังคับในการดำเนินธุรกิจ และมีอัตราการแข่งขันจากธุรกิจต่างชาติค่อนข้างสูง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดเศรษฐกิจใหม่ที่กำลังเติบโตของเอเชียอย่างจีน และอินเดียยังมีความเป็นหนึ่งเดียว ในด้านต่าง ๆ และการแข่งขันทางธุรกิจยังอยู่ในระดับภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่ขณะเดียวกัน ก็เป็นโอกาสของเวนเจอร์แคปิตอล ทั้งในด้านการใช้เงินลงทุนที่น้อยกว่า พื้นที่ของแต่ละประเทศ ไม่กว้างใหญ่มากจึงสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง ระดับการแข่งขันก็ต่ำกว่า ทั้งหมดจึงเป็นปัจจัย ส่งเสริมให้การลงทุนคืนทุนและสร้างการเติบโตได้เร็ว
วิทยากรทั้ง 5 ท่าน พลภัทร อัครปรีดี (กลาง) กรรมการผู้จัดการ หน่วยงานทุนองค์กร บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด, Jeffrey Paine (ที่สองจากซ้าย) ผู้ร่วมก่อตั้งและหุ้นส่วนผู้จัดการกองทุนโกลเดนเกต เวนเจอร์ส Wei Hopeman (ที่สองจากขวา) กรรมการผู้จัดการกองทุน อาร์เบอร์ เวนเจอร์ส Oscar Ramos (ซ้าย) ผู้อำนวยการโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพแห่ง Chinaccelerator และ Grace Yun Xia (ขวา) ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์องค์กรและการลงทุน เท็นเซ็นต์
สำหรับกลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพในการลงทุนในปี 2560 จำแนกออกได้เป็น 8 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่ม 1 อีคอมเมอร์ซ แบบ B2B เช่นซัพพลายเชน การขายสินค้าออนไลน์ หรือโมบายอีคอมเมอร์ซ กลุ่ม 2 ฟินเทค เช่น Big Data แพล็ตฟอร์มทางการเงินใหม่ ๆ โมบายออนไลน์แบ็งค์กิ้ง การขายประกันแบบออนดีมานด์ และบล็อกเชน กลุ่ม 3 ธุรกิจบันเทิง เช่น สื่อบันเทิง บริการไลฟ์สตรีมมิ่ง วีดิโอ สื่อโฆษณาแบบผสมผสาน แชทบอต หรือโซเชียลเพย์เมนต์ กลุ่ม 4 ยานยนต์ ได้แก่ แอปหรือระบบบริหารจัดการที่จอดรถ ระบบเชื่อมโยงระหว่างยานพาหนะและสาธารณูปโภค กลุ่ม 5 เฮลธ์แคร์ เช่น ระบบวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ ระบบเซนเซอร์หรือฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมโยงกับอุปกรณ์ IoT ในโรงพยาบาล กลุ่ม 6 Enterprise SAAS ได้แก่ ซอฟต์แวร์ด้านรักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ ระบบวิเคราะห์ช้อมูลทางธุรกิจ กลุ่ม 7 การขนส่ง เช่น ระบบยานพาหนะไร้คนขับ แอปด้านซัพพลายเชนที่ใช้บล็อกเชน และกลุ่ม 8 เทคโนโลยีการเกษตร เช่น บริการการเกษตร Big Data เพื่อการเพิ่มผลผลิตการเกษตร บริการการเงินเพื่อเกษตรกร เป็นต้น
ช่วงเสวนาหัวข้อ “China is the New Silicon Valley” โดย
Wei Hopeman กรรมการผู้จัดการกองทุน Arbor Ventures
Oscar Ramos ผู้อำนวยการโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพ จาก Chinaccelerator
Grace Yun Xia ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์องค์กรและการลงทุน จาก Tencent
ดำเนินรายการโดย พลภัทร อัครปรีดี กรรมการผู้จัดการ หน่วยงานทุนองค์กร บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด
ต่อด้วยเสวนาหัวข้อ “China is the New Silicon Valley” ที่รวมเอากูรูของวงการเทคโนโลยี และสตาร์ทอัพ อย่าง เวย์ โฮปแมน กรรมการผู้จัดการกองทุน อาร์เบอร์ เวนเจอร์ส (Arbor Ventures) กองทุนด้านฟินเทค ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ออสก้า รามอส ผู้อำนวยการโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพ แห่ง Chinaccelerator โครงการ Accelerator รายแรกของจีน เกรซ หยุน เซีย ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์องค์กรและการลงทุน บริษัท เท็นเซ็นต์ (Tencent) บริษัทลงทุน และพัฒนาสินค้าและบริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่จากประเทศจีน มาเล่าถึงกรณีศึกษาว่าด้วยเส้นทางการเติบโตของประเทศจีนสู่การเป็นศูนย์กลางแห่งนวัตกรรมของโลก ด้วยปัจจัยหลักๆ ที่เกื้อหนุน 3 ข้อ คือ
- ความสามารถในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของสตาร์ทอัพต่างๆ เพราะสตาร์ทอัพต่างๆ เกิดขึ้นจากไอเดียความคิดที่มองเห็นถึงช่องว่างทางธุรกิจ การเกิดช่องว่างต่างๆ เหล่านี้ในประเทศจีน ทำให้สตาร์ทอัพจีนเติบโตเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าในช่องว่างหนึ่งช่องนั้นจะมีคู่แข่งหลายราย แต่สุดท้ายผู้ที่อยู่รอด จะกลายเป็นผู้นำตลาดในทันที
- การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ด้วยประเทศจีนมียักษ์ใหญ่ที่สนใจในการลงทุนกับสตาร์ทอัพ ด้านเทคโนโลยีอย่าง เท็นเซ็นต์ อาลีบาบา (Alibaba) ไบดู (Baidu) ที่มองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ มาเพิ่มพูนความสามารถในการแข่งขันของบริษัทนั้นๆ ทำให้สตาร์ทอัพต่างๆ ตื่นตัวที่จะพัฒนาสินค้า หรือบริการเข้ามา เพื่อเป็นพันธมิตรกับยักษ์ใหญ่เหล่านั้นเป็นอย่างมาก
- เงื่อนไขของตลาดที่เอื้อต่อการแข่งขันของเทคโนโลยีนั้นๆ เมื่อพิจารณาถึงประเทศจีนที่เป็น ประเทศที่มีประชากรจำนวนมากที่สุดในโลก และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ทำให้เมื่อมีเทคโนโลยีอะไรออกใหม่มา ก็มีผู้ใช้รองรับอยู่เสมอ อีกทั้งการเข้าถึง เทคโนโลยีต่างๆ ของประเทศจีนเป็นไปได้ง่ายดาย เพราะมีต้นทุนต่ำ เช่น ในกรณีของโทรศัพท์มือถือ ที่มีหลากหลายยี่ห้อ ราคาไม่แพง ทำให้ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ โดยไม่ต้องใช้ความพยายามจนเกินตัว
นอกจากนี้นวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากบริษัทต่างๆ ก็จะสามารถกระจายออกไปยังประเทศต่างๆ ภายนอกได้อย่างไม่ยากเย็น เพราะประชากรคนจีนมีอยู่ทั่วทุกมุมโลก ทำให้บริษัทจีนต่างๆ สามารถหาบุคลากรที่เป็นคนท้องถิ่นในแต่ละประเทศ และสร้างพันธมิตรหรือเข้าซื้อกิจการ บริษัทท้องถิ่นในประเทศนั้นๆ โดยง่าย ซึ่งเป็นผลดีกับการเจริญเติบโตด้านนวัตกรรม อย่างไม่หยุดยั้งของประเทศจีน
ส่วนการบรรยายพิเศษหัวข้อ “Business Opportunity through Corporate Venture Capital” พลภัทร อัครปรีดี กรรมการผู้จัดการ หน่วยงานทุนองค์กร บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด กล่าวถึงภาวะการลงทุนในเวนเจอร์ แคปิตอลทั่วโลกว่ากำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น มีอัตราการเติบโตของมูลค่าการลงทุนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่าน โดยเฉพาะระหว่างปี 2556 - 2559 ซึ่งโตเกือบเท่าตัวจากระดับ 65 พันล้านดอลล่าร์สู่ 127 พันล้านดอลล่าร์ โดยในจำนวนนี้มีสัดส่วนการลงทุนที่อยู่ในเอเชียถึง 31% คิดเป็นมูลค่า 36 พันล้านดอลล่าร์ ด้วยจำนวนดีลถึง 1,742 ดีล แนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นคือองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ของโลกต่างหันมาให้ ความสนใจกับการลงทุนในเวนเจอร์แคปิตอลมากขึ้น เห็นได้จากสถิติล่าสุด 75% ของบริษัท ยักษ์ใหญ่ของโลกใน Fortune 100 แทบทุกภาคอุตสาหกรรมล้วนมีการลงทุนในเวนเจอร์แคปิตอลทั้งสิ้น สำหรับประเทศไทย การลงทุนแบบเวนเจอร์เริ่มตื่นตัวในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา และกำลังค่อย ๆ ก่อร่างสร้างระบบนิเวศของสตาร์ทอัพให้เกิดขึ้น เริ่มจากภาคอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ตามมาด้วย ภาคการเงินการธนาคาร และกำลังขยายตัวสู่ภาคธุรกิจอื่น ๆ ทั้ง อุตสาหกรรมการผลิต พลังงาน อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ
บรรยายพิเศษ “Business Opportunity through Corporate Venture Capital”
โดย พลภัทร อัครปรีดี
พลภัทรชี้ว่าผลดีของกลยุทธ์การลงทุนแบบเวนเจอร์แคปิตอลมีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นอิสระจากการ ใช้เงินทุนของตัวเอง การสร้างผลตอบแทนทางการเงินจากขยายพอร์ตธุรกิจ โอกาสในการนำธุรกิจ ไปจดทะเบียนเพิ่มทุนในตลาดหลักทรัพย์ในอนาคต รวมทั้งผลตอบแทนในด้านการสร้างจุดแข็งใหม่ ๆ ให้กับบริษัท ทั้งในด้านความรู้ในเทคโนโลยี Know-how ใหม่ ๆ การสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ รวมถึงการควบรวมธุรกิจกับสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ
นอกจากนี้ในงานยังมีการนำเสนอผลงานของสตาร์ทอัพที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 10 ทีมจาก Digital Ventures Accelerator (DVA) และพิเศษด้วยอีก 5 ทีมจากพันธมิตรที่ธนาคารไทยพาณิชย์ได้เข้าร่วมทุน เพื่อให้ลูกค้าองค์กรได้เล็งเห็นศักยภาพและการสร้างโอกาสทางธุรกิจร่วมกับธุรกิจคลื่นลูกใหม่เหล่านี้ในอนาคต
ภาพบรรยากาศภายในงาน
งานครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในภารกิจของดิจิทัล เวนเจอร์ส ซึ่งได้เริ่มสร้างรากฐานและเครือข่ายธุรกิจ การลงทุน และเทคโนโลยี ในระบบนิเวศด้านฟินเทคในต่างประเทศจากการดำเนินงานในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา และเล็งเห็นถึงโอกาสที่จะได้นำความรู้เหล่านี้กลับมาส่งต่อให้กับธนาคารไทยพาณิชย์ ตลอดจน ลูกค้าองค์กรของธนาคารในภาคธุรกิจไทยให้พร้อมก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลไปพร้อมกัน
เกี่ยวกับ ดิจิทัล เวนเจอร์ส (Digital Ventures)
ดิจิทัล เวนเจอร์ส คือบริษัทผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงินในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2559 ตามกลยุทธ์ในการก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) ของทางธนาคารฯ ดิจิทัล เวนเจอร์ส มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมธนาคารผ่านการลงทุน การค้นคว้านวัตกรรม รวมถึงการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้เติบโตร่วมไปกับธนาคารฯ เบื้องต้น ดิจิทัล เวนเจอร์ส มีเงินลงทุนใน Financial Technology จำนวน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1,760 ล้านบาท ข้อมูลเพิ่มเติม www.dv.co.th