ADS


Breaking News

ดีแทค แอคเซอเลอเรท ปี 5 ผงาดขึ้นเบอร์ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดโกลบอลแทรคเฟ้นหาสตาร์ตอัพไทยป้อนตลาดโลก ขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลเต็มตัว

พร้อมจับมือพันธมิตรระดับโลก Google Developers, Facebook, 500 Tuk Tuk และองค์กรใหญ่ เมืองไทยประกันชีวิต ไทยวา นำเทคโนโลยีเสริมพลังธุรกิจ
     2 มีนาคม 2560 – ดีแทค แอคเซอเลอเรท ปี 5 เริ่มเปิดโครงการรับสมัครแล้ว ปีนี้ขอยกระดับมาตรฐานโครงการบ่มเพาะสตาร์ตอัพของไทย ขึ้นเป็นเบอร์ 3 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดรับสมัครกลุ่ม Global Expansion Track เฟ้นหาสตาร์ตอัพรุ่นเฮฟวี่เวท เข้าเวทีตลาดโลก พร้อมเปิดตัวพันธมิตรระดับเวิร์ดคลาสทั้ง Google Developers, Facebook และพันธมิตรนักลงทุนจากองค์กรใหญ่ หรือ CVC (Corporate Venture Capital) จากเมืองไทย ประกันชีวิต และ ไทยวา ที่จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีจากสตาร์ตอัพดีแทค แอคเซอเลอเรท มาช่วยผลักดันธุรกิจให้ได้ผลประโยชน์ร่วมกันไปสู่ลูกค้า สังคม และประเทศชาติ เพื่อก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 นอกจากนี้ดีแทค แอคเซอเลอเรท ปี 5 ยังคงอัดแน่น เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพของหลักสูตร การเป็นสตาร์ตอัพที่ประสบความสำเร็จ จากกูรูสตาร์ตอัพระดับโลก มาเป็นโค้ชอย่างใกล้ชิดแบบตัวต่อตัวกับสตาร์ตอัพ ที่หาเรียนที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว ผสมผสานเข้ากับเมนเทอร์สตาร์ตอัพปรมาจารย์ระดับสุดยอด และเป็นที่ยอมรับในวงการสตาร์ตอัพไทย
     นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “ดีแทคในฐานะผู้ให้บริการดิจิทัล เห็นเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นก่อนใคร ตั้งแต่ปี 2013 โดยการจัดตั้งบริษัท ดีแทค แอคเซอเลอเรท โครงการบ่มเพาะให้ความรู้และป้อนสตาร์ตอัพสู่ตลาดโลก ดีแทค แอคเซอเลอเรทในปีที่ 5 เติบโตอย่างรวดเร็วเป็นบริษัทที่แข็งแกร่ง และมีความหมายต่อดีแทค ที่จะขับเคลื่อนให้ดีแทคบรรลุเป้าหมายในการเป็นดิจิทัลแบรนด์อันดับ 1 ของไทย ด้วยนวัตกรรมสินค้าและบริการที่เชื่อมต่อไปถึงลูกค้าดีแทค 25 ล้านรายในไทย ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา มีสตาร์ตอัพกว่า 1,000 รายสมัครเข้ามาและเราได้คัดเลือก 21 ทีมเข้าสู่โครงการ โดยทั้ง 21 ทีม ได้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจถึงกว่า 2,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา สร้างงานแล้วกว่า 10,000 ตำแหน่ง และการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) แล้วกว่า 150 ล้านบาท จากความสำเร็จของสตาร์ตอัพดีแทค แอคเซอเลอเรท สะท้อนให้เห็นถึงความหมายที่แท้จริงของสตาร์ตอัพ นั่นคือการ scale-up หรือการเติบโต ที่ไม่ใช่โตแค่ปีละ 2 หลัก แต่โตเป็นหลายเท่าหรือ 3 หลัก นั่นเป็นเพราะการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการตอบโจทย์ลูกค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กว้างขึ้น และเข้าถึงมากขึ้น โดยมีเป้าหมายของดีแทค แอคเซอเลอเรทในปี 2020 คือ
  • มูลค่าสตาร์ตอัพในโครงการจะมีมูลค่าถึง 5,000 ล้านบาทหรือสามเท่าจากปัจจุบัน  
  • ก้าวสู่การเป็นผู้บ่มเพาะสตาร์ตอัพอันดับ 1 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้การสนับสนุน 5 กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่ เงินทุน การให้คำปรึกษา การอบรมจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลก พื้นที่ทำงาน และการสนับสนุนด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์ ไปสู่กลุ่มลูกค้า
  • สตาร์ตอัพในโครงการจะได้ เข้าถึงลูกค้ากว่า 214 ล้านคนทั่วโลกในกลุ่มเทเลนอร์ ที่ดำเนินธุรกิจใน 13 ประเทศทั่วโลก
  • ดีแทคต้องการสร้างเทคยูนิคอร์น (tech unicorn) สัญชาติไทยหรือสตาร์ตอัพที่มีมูลค่ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์ขึ้นไป
     นายแอนดริว กวาลเซท รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มดิจิทัล บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด มหาชน หรือดีแทค กล่าวว่า “ดีแทค แอคเซอเลอเรท เป็นโครงการบ่มเพาะสตาร์ตอัพอันดับ 1 ของไทย และอันดับ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอันดับ 1 สิงคโปร์ และอันดับ 2 อินโดนีเซีย ซึ่งวัดจากการได้รับเงินลงทุนต่อเนื่อง (Follow-on funding) 70% จากนักลงทุน มีมูลค่ารวมของ 21 บริษัทในโครงการ 1,700 ล้านบาท และมีอัตราการเติบโตถึง 500% ต่อปี และที่สำคัญคือ ความร่วมมือในการเป็น strategic partner ที่ดีแทคได้ร่วมกับสตาร์ตอัพในโครงการนำนวัตกรรมและส่งเสริมการทำตลาดของสตาร์ตอัพแต่ละบริษัทไปสู่ลูกค้าของดีแทค เช่น การนำเสนอแพ็กเกจสินค้าและบริการของ Skootar, Fastwork, GizTix ไปสู่ลูกค้า SMEs ของดีแทค การเสนอส่วนลดและมอบสิทธิพิเศษให้ลูกค้า ดีแทค รีวอร์ด และบลูเมมเบอร์ จาก Fabbrigade, Piggipo, Skootar มอบส่วนลดพิเศษจาก Take Me Tour ให้กับนักท่องเที่ยวที่ใช้ ดีแทค ทัวริสต์ซิม ผ่านช่องทางออนไลน์ และการจองตั๋วท่องเที่ยวเดินทางในไทย จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการลงทุนจาก Finnomena ให้กับกลุ่มลูกค้าดีแทคบลู เมมเบอร์ เป็นต้น
     ในปีที่ผ่านมาดีแทค แอคเซอเลอเรท ยังได้นำโมเดลโครงการบ่มเพาะสตาร์ตอัพ ไปเป็นแม่แบบให้กับบริษัทในกลุ่มเทเลนอร์ อีก 7 ประเทศคือ มาเลเซีย เมียนมา บังคลาเทศ ปากีสถาน ฮังการี เซอร์เบีย และนอร์เวย์ และสนับสนุนการสร้างจิตวิญญาณของความเป็นสตาร์ตอัพในหมู่พนักงาน โดยการขับเคลื่อนให้เกิดความรู้สึกเป็น ‘ผู้ประกอบการภายใน (Intrapreneur)’ ด้วยโปรแกรม “Telenor Ignite Incubator” ชวนพนักงานสร้างนวัตกรรมในรูปแบบเดียวกับดีแทค แอคเซอเลอเรท ซึ่งทีมดีลส์ทูโก (Dealstogo) ตัวแทนของประเทศไทยจากบรรดาหลากหลายไอเดียที่ยอดเยี่ยม ได้รับรางวัลชนะเลิศจากงาน Demo Day Ignite Incubator ที่จัดที่เทเลนอร์ด้วย”
     นายสมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายดีแทค แอคเซอเลอเรท กล่าวว่า “ปีนี้มีการตื่นตัวของหลายธุรกิจในการนำเทคโนโลยี และสตาร์ตอัพมาต่อยอด ในการสร้างสรรค์สินค้าและบริการในรูปแบบดิจิทัล เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคมากขึ้น ทั้งสถาบันการเงิน ธนาคาร ประกันภัย บริษัทอสังหาริมทรัพย์ ต่างก็มองหาสตาร์ตอัพมาเป็นพันธมิตร ซึ่งสตาร์ตอัพจากดีแทค แอคเซอเลอเรท ก็ได้รับเลือกจาก ยักษ์ใหญ่ของวงการประกันภัย บริษัทเมืองไทย ประกันชีวิต ลงทุนใน Health at Home และบริษัทไทยวา ผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลังรายใหญ่ของไทย ลงทุนใน Freshket นับเป็นความภาคภูมิใจของดีแทค ในเวลาเพียง 4 ปี ที่ผ่านมาเราได้รับการยอมรับจากองค์กรใหญ่ในการลงทุนเป็น Corporate Venture Capital พร้อมๆกันถึง 2 ราย นอกจากนี้ยังมีพันธมิตรทางด้านเทคโนโลยีที่จะช่วยสนับสนุนทางด้านซอฟแวร์และโปรแกรมเมอร์ในการทำงาน อาทิ Google Developers, Facebook, IBM, Microsoft, AWS, และพันธมิตรด้านอื่นๆอาทิเช่น TechSauce, Getlinks, Lean in, Pheromone, Redlab และอื่นๆอีกมากมาย
     ปีนี้ดีแทค แอคเซอเลอเรท batch 5 ได้ยกระดับมาตรฐานการเฟ้นหาสตาร์ตอัพให้ยิ่งใหญ่ขึ้นไปอีก โดยเปิดโอกาสให้กับผู้ที่สนใจ 3 กลุ่มคือ กลุ่มแรก Incubation Track ที่มีไอเดียแล้วแต่ยังไม่มีผลงาน มีแผนโมเดลธุรกิจ มีทีมงานที่มี Passion ที่จะสร้างสรรค์ผลงานให้สำเร็จ กลุ่มที่สอง กลุ่ม Acceleration Track มีผลงานและเริ่มมีโมเดลทางธุรกิจที่ชัดเจน  แต่ต้องการปรับปรุง พัฒนาและผลักดันให้ผลิตภัณฑ์เติบโตมากขึ้นแบบก้าวกระโดด และกลุ่มที่สาม คือ Global Expansion Track สตาร์ตอัพที่ประสบความสำเร็จแล้ว และอยากขยายตลาดไปในระดับภูมิภาคจนถึงระดับโลก โดยใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกสตาร์ตอัพเข้าโครงการ จากอะไรก็ตามที่ผ่านมือถือ อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตและอะไรก็ได้ที่ว้าว (Anything Mobile, Anything Internet, Anything Awesome) 
     ดีแทค แอคเซอเลอเรท batch 5 เปิดรับสมัครผลงานตั้งแต่วันนี้ - 31 มีนาคม 2560 ผู้ที่สนใจสามารถส่งผลงานนำเสนอแนวคิด หรือเข้ามาดูรายละเอียดและกรอกใบสมัครได้ที่  http://accelerate.dtac.co.th/ พบกิจกรรมพิเศษ Pitch Clinic ให้คำแนะนำในการเตรียม proposal ในวันที่ 25 มีนาคม 2560  โดยจะมีการคัดเลือกผลงาน 20 ทีมที่ผ่านรอบแรก ในวันที่ 11 เมษายน 2560 หลังจากนั้นจัดนำเสนอผลงานต่อหน้าคณะกรรมการเพื่อคัดทีมที่ได้เข้าสู่ Intensive Bootcamp (Pitch day)  ในวันที่ 24  เมษายน 2560 และจะเริ่มคอร์สอบรม Intensive Bootcamp ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2560 และนำเสนอผลงานรอบสุดท้ายประกาศผลในวัน Demo day ในเดือนสิงหาคมนี้ 

เกี่ยวกับ dtac accelerate batch 5
โอกาสที่สตาร์ตอัพจะได้รับจากดีแทค แอคเซอเลอเรท
     ได้เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะสตาร์ตอัพที่ต่อเนื่องและดีที่สุดในประเทศไทย ด้วยความแข็งแรงของหลักสูตรการสอนในบูธแคมป์ระดับโลก จากกูรูแถวหน้า ซิลิคอน วัลเล่ย์ ที่บินมาสอน และแนะนำเป็นโค้ชอย่างใกล้ชิดแบบตัวต่อตัวกับสตาร์ตอัพ เช่น
  • เนีย อียาล (Nir Eyal) ผู้เขียนหนังสือ “Hooked : How to Build Habit-Forming Products” หนังสือขายดีอันดับที่ 1 ในหมวดหมู่ออกแบบในเว็บ amazon.com
  • แอช มายูยะ (Ash Maurya) ผู้เขียนหนังสือ “Scaling Lean” และ “Running Lean” หนังสือที่ได้รับการยอมรับในวงการผู้ประกอบการทางเทคโนโลยี รวมถึงเป็นผู้สร้าง “Lean Canvas”
  • บียอน ลี ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Growth Hacking
  • กระทิง เรืองโรจน์ พูนผล นักลงทุน จาก 500 Startups และผู้ก่อตั้ง Disrupt Technology Venture
  • การัณย์ ผู้ร่วมก่อตั้ง UX Academy
  • กุลวัฒน์ วงศาโรจน์ กรรมการผู้จัดการและ โค้ช Agile บริษัท Lean in Consulting
เงินทุนจากดีแทค แอคเซอเลอเรท
     ดีแทคช่วยสนับสนุน การทำธุรกิจเชิงพาณิชย์ รวมมูลค่าถึง 100 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากปีที่แล้ว
เมนเทอร์ขั้นเทพ
     มีเมนเทอร์สตาร์ตอัพปรมาจารย์ระดับสุดยอด และเป็นที่ยอมรับในวงการสตาร์ทอัพไทย เช่น
  • คุณอริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไลน์ ประเทศไทย
  • คุณหมู ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง อุ๊คบี
  • คุณแจ็ค กิตตินันท์ อนุพันธ์ ซีอีโอ และผู้ก่อตั้งเคลมดิ
  • คุณโบ๊ท ไผท ผดุงถิ่น BUILK
  • คุณทิวา ยอร์ค  KAIDEE
  • คุณจูน จุฑาศรี คูวินิชกุล อดีตผู้ร่วมก่อตั้งธุรกิจ Grab แอปเรียกแท็กซี่ในไทย
  • คุณชาริณี กัลยาณมิตร หรือที่ใครหลายคนคุ้นหูในชื่อ “แชนนอน” ผู้ก่อตั้ง MOXY และปัจจุบันเธอดำรงตำแหน่งเป็น Regional Chief Marketing Officer แห่ง Orami อีคอมเมิร์ซที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ซีอีโอ การีนา ออนไลน์ (ประเทศไทย)
  • สมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี ผู้จัดการ PayPal ประจำประเทศไทย
พันธมิตรระดับโลก
  • พันธมิตรกับ Disrupt University ซึ่งเป็นเอ็กซ์คลูซีฟพาร์ทเนอร์ ของ 500 สตาร์ทอัพจากซิลิคอน วัลเล่ย์ ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของสตาร์ตอัพแคมป์ที่ดีที่สุดของโลก
  • พันธมิตรทางด้านเทคโนโลยีที่จะช่วยสนับสนุนทางด้านซอฟแวร์และโปรแกรมเมอร์ในการทำงาน อาทิ Google Developers, Facebook, IBM, Microsoft, AWS, และพันธมิตรด้านอื่นๆอาทิเช่น TechSauce, Getlinks, Lean in, Pheromone, Redlab และอื่นๆอีกมากมาย
  • พันธมิตรกับ แบล็คบ็อกซ์ BlackBox ซึ่งเป็นบูธแคมป์ที่ได้รับความนิยมท๊อป 5 สูงสุดจากสตาร์ตอัพทั่วโลก ที่ต้องการรับความรู้และประสบการณ์การทำธุรกิจสตาร์ตอัพโดยตรงที่ซิลิคอน วัลเล่ย์ โดยส่งทีมที่ชนะเลิศ ที่มีความสามารถเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ และมีไอเดียที่ดีที่สุดจากประเทศไทยไปเรียนรู้ และได้ทำความรู้จักกับ เจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ และนักลงทุนผู้มากด้วยประสบการณ์ และแหล่งของทรัพยากรที่จะเร่งให้ประสบความสำเร็จขยายต่อไปในระดับโลก
รางวัลที่สตาร์ตอัพใฝ่ฝัน
  • รางวัลร่วมบูธแคมป์ BlackBox ที่ซิลิคอนวัลเล่ย์
  • รางวัลจาก Google Developers Launchpad ที่กูเกิล ซิลิคอนวัลเล่ย์
  • รางวัลร่วมงาน Tech Crunch Disrupt 2017
###


dtac Accelerate Batch 5 : Experts & Mentors
Experts:
หัวข้อ

Nir Eyal
  1. Nir Eyal, ผู้เขียนหนังสือ “Hooked : How to Build Habit-Forming Products” หนังสือขายดีอันดับที่ 1 ในหมวดหมู่ออกแบบในเวบ amazon.com

เนียร์จบการศึกษาและสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด รวมถึงเป็นที่ปรึกษาให้กับ Tech Startup ระดับโลกมาหลายที่ เช่น Facebook, Instagram, Twitter และ Linkedin เป็นต้น

เนียร์มีประสบการณ์มากมายในวงการวิจัยและให้คำปรึกษา รวมถึงประสบการณ์ในการเขียนหนังสือการสร้างผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่นิยม เขาบอกว่า โปรดักส์ที่จะประสบความสำเร็จต้องสามารถดึงดูดความสนใจนักลงทุน ประกอบด้วย มีศักยภาพในการเติบโต สร้างความผูกพันระหว่างผลิตภัณฑ์กับผู้ใช้ และทำเงินได้จากฐานลูกค้าที่มี นอกจากนี้ต้องเข้าใจและเข้าถึงพฤติกรรมผู้บริโภคให้ได้
การออกแบบผลิตภัณฑ์: ในคลาสจะสอนโดยวิธีการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคชอบโดยวิธีที่เรียกว่า “HOOKED” ที่เนียร์เป็นคนคิดค้นขึ้นนั่นเอง
Ash Maurya
2. Ash Maurya, ผู้เขียนหนังสือ “Running Lean” และ “Scaling Lean” ผู้สร้าง Lean Canvas

เริ่มคิดค้น Lean Canvas ตั้งแต่ปี 2009 ตั้งแต่ได้ฟังการบรรยายของ Steve Blank และติดตาม Lean Startup ของ Eric Ries หลังจากนั้นก็พัฒนาออกมาเป็นหนังสือเล่มแรก “Running Lean” ซึ่งขายเป็น e-Book ได้ถึง 10,000 ฉบับ

แอชนำประสบการณ์ที่เคยทำและขายธุรกิจมาก่อน ผสมกับ Lean Canvas ให้คำปรึกษาแนะนำกับบริษัทมากมาย ปัจจุบันแอชเดินทางไปทั่วโลกเพื่อช่วยเหลือและให้ความรู้ผู้ประกอบการในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

แอชยังเคยเป็น Mentor ให้กับ Accelerator หลายที่อีกด้วย เช่น Mozilla Foundation, Year One Labs, MARs, Ideally

การนำเทคนิค Lean Startup มาประยุกต์ใช้ในการทำ Startup และนำ Lean Canvas ที่แอชเป็นคนคิดค้นมาใช้
Bjorn Lee

3. Bjorn Lee ผู้ชำนาญการด้าน Growth Hacking
บียอร์นเคยทำงานให้บริษัท Startup ชื่อดังอย่าง Zendesk และมีประสบการณ์เพิ่มฐานลูกค้าจากศุนย์เป็นหลายแสนคนในระยะเวลาอันรวดเร็วและใช้งบการตลาดไม่มาก
นอกจากนั้นบียอร์นยังมีประสบการณ์ในการพัฒนาสินค้าให้แก่ Startup อื่นๆ เช่น Zopim, Stickery รวมถึงเคยเป็นผู้ก่อตั้งยุคแรกๆของ e27 หรือ “TechCrunch ของ South East Asia” นั่งเอง
การนำเทคนิค Growth Hacking มาใช้ในการทำการตลาด ซึ่งเป็นประสบการณ์โดยตรงของบียอร์น
Experts:
หัวข้อ

4. กุลวัฒน์ วงศาโรจน์ กรรมการผู้จัดการและ โค้ช Agile บริษัท Lean in Consulting
กุลวัฒน์ วงศาโรจน์คือโค้ชด้าน Agile ที่ดีที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทยด้วยประสบการณ์มากกว่า 15 ปี

นอกจากนี้ยังเคยก่อตั้งสตาร์ทอัพของตัวเองและเป็นที่ปรึกษาบริษัทชั้นนำอีกมากมาย

อีกทั้งยังเป็นคนเผยแพร่ Agile ในประเทศไทยอีกด้วย
อไจล์ (Agile) หรือการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยแนวคิดแบบอไจล์ (Agile Software Development) ซึ่งเริ่มเป็นที่รู้จักกันในฝั่งตะวันตกตั้งแต่ปี 2001 และได้เริ่มเป็นที่แพร่หลายกันมากขึ้นในเมืองไทย ตั้งแต่ปี 2010

5. Jeffrey Paine นักลงทุนจาก Golden Gate Ventures
เจฟฟรีหนึ่งในหุ้นส่วนร่วมก่อตั้ง Golden Gate Ventures ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้การสนับสนุนเงินลงทุนให้กับ startups ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  Jeffrey มีความคุ้นเคยใกล้ชิดกับบุคคลใน Silicon Valley เป็นอย่างดี
เขาเป็นผู้ใฝ่รู้และสนใจในกระบวนการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ การพัฒนาระบบนิเวศน์และการวิจัยกระบวนความคิด
แชร์ประสบการณ์ลงทุนและทำงานคู่กับผู้ประกอบการจำนวนมากมาเป็นระยะเวลานาน มุมมองสิ่งที่นักลงทนมองหาให้ในตัว Tech Startup ว่าบริษัทไหนคุ้มค่าแก่การลงทุน

6. “กระทิง” เรืองโรจน์ พูนผล หรือ “เจ้าพ่อ Startup เมืองไทย”

กระทิงเป็นคนไทยคนแรกๆที่ให้การสนับสนุนวงการ Tech Startup อย่างจริงจัง เคยทำงานที่ Silicon Valley และ เขียนหนังสือเกี่ยวกับประสบการณ์ทำงานในองค์กรระดับโลดอย่าง Google และเป็นแรงบัลดาลใจให้คนรู่นใหม่หันมาสนใจการทำ Tech Startup

กระทิงเป็นผู้ก่อตั้ง Disrupt University ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนคนไทยให้เริ่มทำ Startup อย่างถูกวิธีเพื่อให้ประสบความสำเร็จในวันข้างหน้า และยังเป็นอดีตผู้ก่อตั้ง dtac accelerate อีกด้วย
การนำแนวคิดและวิธีการเริ่มต้นทำธุรกิจ Tech Startup จาก Silicon Valley มาใช้
7. กรัณย์ วระพงษ์สิทธิกุล หรือ “เจ้าพ่อ UX/UI แห่งเมืองไทย”

กรัณย์มีประสบการณ์ในการออกแบบสินค้ามากมาย รวมถึงเป็นที่ปรึกษาด้าน UX/UI แก่บริษัท Startup ในเมืองไทยอีกหลายบริษัท รวมถึงยังได้ร่วมงานกับ dtac และ dtac accelerate ในหลายๆปีที่ผ่านมาอีกด้วย

นอกจากนี้ยังเป็นคนไทยคนเดียวที่ได้รับ Certificate จาก Google ด้าน UX/UI อีกด้วย
การนำแนวคิดด้าน User Experience และ User Interface (UX/UI) มาใช้ในการพัฒนาสินค้าและบริการ


Mentors :
1. กิตตินันท์ อนุพันธ์

CEO บริษัท Anywhere to go และ CEO ของแอฟ Claim Di ทีมที่ได้รางวัล  Digital Winner จากโครงการ Dtac Acccelarate  2014 และได้เป็นตัวแทนทีมไปแข่งขันต่อที่ประเทศนอร์เวย์

กิตตินันท์เริ่มบริษัทของตัวเองตั้งแต่เมื่อ 14 ปีที่แล้วและตอนนี้เป็นหนึ่งในสตาร์ทอัพจากประเทศไทยที่ได้รับการจับตามองจากต่างชาติมากที่สุดทีมหนึ่ง
2. ไผท ผดุงถิ่น

Evangelist จาก builk.com และ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ลองกอง สตูดิโอ จำกัด ปัจจุบันลักษณะงานของพี่โบ๊ท คือ Evangelist เดินสายสอนคณะวิศวกรรมทั่วประเทศ คุยกับผู้ประกอบการก่อสร้างทั่วประเทศให้เห็นประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีไปเปลี่ยนธุรกิจ และปัจจุบันยังดำรงตำแหน่งประธานสมาคมสตาร์ทอัพแห่งประเทศไทยอีกด้วย

คุณไผทพา Builk ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพจากประเทศไทยทีมแรกที่ได้เข้าร่วมโครงการจาก 500Startups ซึ่งอยู่ที่ Silicon Valley เป็นระยะเวลา 3 เดือน

นอกจากนี้ยังพา Builk ชนะการแข่งขัน Echelon 2012 ซึ่งได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเวที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
3. ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์

หมู ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ มีประสบการณ์ก่อตั้งและทำธุรกิจในสายงานเทคโนโลยีในเมืองไทยมากว่า 12 ปี

ปัจจุบัน คุณหมูเป็นผู้ก่อตั้งและผู้บริหารของบริษัท Ookbee ซึ่งเป็นร้านหนังสือ e-Magazine และ e-book ที่ใหญ่ที่สุดใน Southeast Asia แอพพลิเคชั่นของ Ookbee ถูกดาวโหลดไปมากกว่า 8.5 ล้านครั้ง มีผู้ใช้งานมากกว่า 6.5 ล้านคน และมีผู้ใช้งานใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่า 10,000 คนต่อวัน  นอกจากนี้คุณหมูยังเป็นผู้บริหาร กองทุน 500 tuktuks ซึ่งเป็นกองทุน VC ของ 500 Startups หนึ่งในกองทุนที่มีชื่อเสียงที่สุดใน Silicon Valley โดย 500 tuktuks เป็นกองทุนขนาด 450 ล้านบาทที่มุ่งเน้นลงทุนใน Startups ไทย


Mentors :
4. คุณจูน จุฑาศรี คูวินิชกุล อดีตผู้ร่วมก่อตั้งธุรกิจ Grab แอปเรียกแท็กซี่ในไทย

Mentor หน้าใหม่ไฟแรงของโครงการในปีนี้ จูนเป็นอดีตผู้ก่อตั้ง GrabTaxi กับเพื่อนในชั้นเรียนที่ Harvard Business School และเป็นผู้เริ่มต้นนำ GrabTaxi เข้ามาในประเทศไทยเป็นคนแรก ซึ่งปัจจุบัน Grab ได้กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าระดับหลายพันล้านไปแล้ว

ปัจจุบันจูนดำเนินธุรกิจ Startup ของตัวเองและยังช่วยดำเนินธุรกิจของที่บ้านอีกด้วย
5. อริยะ พนมยงค์ ‎กรรมการผู้จัดการ LINE ประเทศไทย

อริยะมีประสบการณ์ในด้านการบริหาร และการพัฒนาธุรกิจในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและโทรคมนาคมกว่า 18 ปี เคยดำรงตำแหน่ง Country Head คนแรกของ Google Thailand และ Chief Commercial Officer ที่ True Corporation นอกจากนี้อริยะยังมีประสบการณ์การทำงานในธุรกิจโทรคมนาคมจากต่างประเทศ โดยรับผิดชอบในด้านการบริหารลูกค้าสัมพันธ์และการพัฒนาเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจที่ Netonomy และ Genesyslab (Alcatel-Lucent) ประเทศฝรั่งเศส รวมทั้งที่ Orange ประเทศโรมาเนีย
6. ทิวา ยอร์ค, ประธานกรรมการบริหาร, เว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ kaidee.com

ทิวา มีประสบการณ์ทำงานในแวดวงธุรกิจดิจิตอลเป็นเวลากว่า 19 ปี เขาเคยทำงานเป็น Platforms Director ของบริษัท  Omnicom Media Group มีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างบริการดิจิตอลให้กับบรรดาบริษัทเอเจนซี่ในประเทศไทย ก่อนหน้านั้นระหว่างปี 2004 ถึง 2010 เขาทำงานในหลายตำแหน่งกับบริษัท  DMS Group of companies อาทิเช่น ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการให้กับ Admax Network ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและพัฒนาธุรกิจของ DMS Group และตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ New Media
ทิวาเริ่มการทำงานในตำแหน่งผู้จัดการผลิตภัณฑ์ให้กับบริษัท Medicalogic/Medscape ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท GE Medical Systems และ WebMD ตามลำดับ
7. ชาริณี กัลยาณมิตร “แชนนอน” ผู้ก่อตั้ง MOXY และปัจจุบันเธอดำรงตำแหน่งเป็น Regional Chief Marketing Officer แห่ง Whatsnew

อีกหนึ่ง Mentor หน้าใหม่ปีนี้ แชนนอนมีประสบการณ์ในวงการ e-Commerce มามากมาย รวมถึงเคยเป็นผู้บริหารยุคแรกๆของ Lazada ในช่วงที่พึ่งเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย

นอกจากนี้ แชนนอนยังสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวกับ “Women Entrepreneur” เพื่อสนับสนุนให้ผู้หญิงออกทำธุรกิจให้มากขึ้นอีกด้วย
8. มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ซีอีโอ การีนา ออนไลน์ ประเทศไทย

Mentor หน้าใหม่ไฟแรงคนที่ 3 ของโครงการในปีนี้ นั่งแท่นผู้บริหารสูงสุดของบริษัทเกมออนไลน์อันดับต้นๆของประเทศไทยและมีมูลค่าหลายพันล้านบาทในเวทีโลก

มณีรัตน์จบ MBA ที่มหาวิทยาลัย Stanford มีโอกาสสัมผัสชีวิตและโลก Startup ที่ Silicon Valley และได้เห็นธุรกิจที่เกิดขึ้นมาอย่างมากมายที่นั่น นอกจากนี้มณีรัตน์ยังเป็นผู้ให้คำปรึกษาและนำ Garena เข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี 2012 อีกด้วย
9. สมหวัง เหลืองไพบูลย์ศรี ผู้จัดการ Paypal ประจำประเทศไทย

สมหวังเป็นคนไทยคนแรกๆที่เริ่มต้นทำธุรกิจด้าน FinTech ในประเทศไทย อดีตผู้ก่อตั้ง Paysbuy คนนี้มีประสบการณ์อย่างมากมายในวงการ e-commerce และ online payment

ตอนนี้นอกจากจะช่วย Paypal ให้เติบโตในไทยแล้ว สมหวังยังมีส่วนช่วยสนับสนุนให้อุตสาหกรรม FinTech เติบโตในประเทศไทยอีกด้วย