กรมการท่องเที่ยว ชู กูเม่ร์ทริปส์ (Gourmet Trips) เข้าถึงแหล่งผลิต เติมเต็มรสชาติความเป็นไทย ดึงนักท่องเที่ยวเรียนรู้วัฒนธรรมไทยผ่านอาหาร
กรมการท่องเที่ยว
ร่วมผลักดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวผ่านวัฒนธรรมอาหาร
หวังชวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกสัมผัสศิลปะการปรุงอาหารโดยวัตถุดิบชั้นเลิศจากโครงการพระราชดำริ
ส่งเทียบเชิญสื่อมวลชนไทยและต่างชาติร่วมทริป ณ
โครงการหลวงและสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง จ.เชียงใหม่
ชิมฝีมือเซเลบริตี้เชฟชั้นนำของเมืองไทย ระหว่างวันที่ 14-17 กุมภาพันธ์ 2560
นางกอบกาญจน์
วัฒนวรางกูร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวถึง
โครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้านอาหารไทย หรือ Gastronomy Tourism 2017 (แกสโตรโนมี ทัวริสซึม 2017) ว่า ในฐานะที่ประเทศไทยเป็น gastronomy
hub หรือ ศูนย์กลางด้านวิทยาการอาหารของโลก เมื่อนักท่องเที่ยวมาเที่ยวในประเทศไทย
นอกจากจะได้สัมผัสความสวยงามและน่าสนใจของสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ แล้ว
การส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้วัฒนธรรมของคนไทยผ่านอาหารไทยซึ่งมีกรรมวิธีการปรุงที่เป็นเอกลักษณ์
มีความหลากหลายทั้งรสชาติและการใช้วัตถุดิบ ก็ถือเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญ
เพราะประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบด้านอาหารชั้นเยี่ยม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุดิบจากโครงการพระราชดำริต่าง ๆ เช่น
โครงการหลวงและสถานีเกษตรหลวงอ่างข่าง ซึ่งเกิดขึ้นจากแนวพระราชดำริ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงมีความห่วงใยราษฎรในพื้นที่สูงทางภาคเหนือของประเทศ
ทรงริเริ่มที่จะหาอาชีพทดแทนให้กับราษฎรที่ยากจน และอยู่ในพื้นที่ห่างไกล
เพื่อลดการปลูกฝิ่น การทำไร่เลื่อนลอยและแก้ปัญหาปากท้องของประชาชนอย่างยั่งยืน
จึงทรงส่งเสริมให้มีการปลูกพืช ผัก ดอกไม้เมืองหนาว รวมถึงการเลี้ยงสัตว์ให้แก่ราษฎรในพื้นที่
เน้นการทำเกษตรกรรมที่ลดการใช้สารเคมีเพื่อให้ผลผลิตที่ได้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ซึ่งวันนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าการทำการเกษตรตามแนวพระราชดำริส่งผลให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกของโครงการหลวงมีกินมีใช้อย่างพอเพียง
และมีอาชีพอย่างยั่งยืน
จากสถานีเกษตรก็ได้พัฒนามาเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองไทย
สมดังพระราชปณิธาน
นางสาววรรณสิริ
โมรากุล
อธิบดีกรมการท่องเที่ยว ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวว่า
กรมการท่องเที่ยวขานรับนโยบายรัฐเร่งส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้านอาหารไทยจึงได้จัดโครงการในลักษณะกูเม่ร์ทริปส์
( Gourmet
Trips) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ซึ่งได้นำสื่อมวลชน รวมถึงเชฟชื่อดัง
และไลฟสไตล์กูรูต่างชาติ มาเที่ยวชมความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยว เช่น
วัดเจดีย์หลวง ปางช้างแม่สา โครงการหลวงและสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวเชิงเกษตรจากกรมการท่องเที่ยว
พร้อมรับประทานอาหารมื้อพิเศษจากฝีมือเซเลบริตี้เชฟชั้นนำของเมืองไทยและต่างชาติ
ที่มาร่วมรังสรรค์เมนูพิเศษเฉพาะทริปนี้
ปรุงจากวัตถุดิบซึ่งเป็นผลผลิตของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ระหว่างวันที่ 14 - 17
กุมภาพันธ์ 2560 โดยได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
มาพบปะและพูดคุยกับเชฟและสื่อมวลชนในงานเลี้ยงรับประทานอาหารค่ำ อาทิ เชฟวิชิต มุกุระ , เชฟชุมพล
แจ้งไพร, เชฟสุรกิจ เข็มแก้ว, เชฟก้องวุฒิ
ชัยวงศ์ขจร, เชฟธนัญญา วิลคินสัน, เชฟนูรอ
โซ๊ะมณี สเต็ปเป้, เชฟเฮนริค อูล แอนเดอร์เซน, เชฟนิค
วิพิทธิจักษ์ พิทยานนท์, และเชฟคิม ยูอา ซึ่งกรมการท่องเที่ยวมุ่งหวังว่า
การที่เชฟชื่อดังได้มีโอกาสใช้วัตถุดิบคุณภาพเยี่ยมจากโครงการหลวงในการปรุงอาหารจะส่งผลให้เลือกใช้วัตถุดิบจากโครงการหลวงในอนาคต
ขณะเดียวกัน นักท่องเที่ยวก็จะมีทางเลือกในการเดินทางมากขึ้น รู้จัก
และเลือกรับประทานอาหารไทยที่ปรุงด้วยวัตถุดิบชั้นเลิศผ่านกิจกรรมต่างๆ
ที่สื่อมวลชนนำเสนอมากยิ่งขึ้น
สำหรับวันที่ 16 กุมภาพันธ์ รองศาสตราจารย์.ดร.ชวนี
ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมชมและชิมในกิจกรรมการสาธิตการทำอาหารจากผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายของโครงการหลวงโดยเซเลบริตี้เชฟชั้นนำได้ไปเยี่ยมชม
กระบวนการปลูกและเก็บผลผลิตมาตลอดระยะเวลา
3 วันของโครงการ
เชฟชุมพล แจ้งไพร เชฟและกูรูอาหารไทยชื่อดังระดับนานาชาติ กล่าวว่า การปรุงอาหารไทยให้ได้รสชาติดีนั้น
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับฝีมือการปรุงรสของคนทำเท่านั้น
เพราะการทำอาหารต้องใช้ศาสตร์และศิลป์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารไทยมีกรรมวิธีการปรุงที่เป็นแบบแผน อะไรใส่ลงไปก่อนหลัง
สิ่งสำคัญคือ การเลือกวัตถุดิบที่มีความสดใหม่ มีคุณภาพ ก็เป็นหัวใจที่จะทำให้อาหารจานนั้นๆ
อร่อยมากขึ้น อย่างเช่น ผักจากโครงการหลวง ซึ่งปลูกแบบเกษตรอินทรีย์
จึงเป็นวัตถุดิบชั้นดีสำหรับการปรุงเมนูอาหารทุกชาติ
อีกทั้งการใช้วัตถุดิบจากโครงการหลวงยังเป็นการสนับสนุนส่งเสริมเกษตรกรไทยให้มีความกินดีอยู่ดีอย่างยั่งยืนรวมถึงการได้เดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่โครงการหลวงทำให้ได้เรียนรู้ถึงการทำเกษตรแบบยั่งยืนที่ถูกต้อง
ได้สนับสนุนการท่องเที่ยวในพื้นที่ให้มีความคึกคักกระจายรายได้ให้กับผู้ประกอบการชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย
“โครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่อ
Post Comment