ADS


Breaking News

ทางรอดของนักสูบ เหตุใดถึงถูกปิดกั้น

องค์การอนามัยโลกเพิกเฉยต่อทางเลือกของผู้บริโภค แม้หลักฐานยืนยันชัด บุหรี่ไฟฟ้าความเสี่ยงน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา
     เป็นที่น่าแปลกใจที่องค์การอนามัยโลก (WHO) รวมถึงอีกหลายๆ ประเทศไม่ได้ให้ความสนใจกับผลการวิจัยที่ระบุว่าบุหรี่ไฟฟ้าอาจเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าสำหรับผู้สูบพันกว่าล้านคนและจะช่วยประหยัดรายค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขทั่วโลกได้กว่า 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพราะประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ ครั้งที่ 7 (COP7) ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา แม้ WHO จะระบุว่ารับฟังความคิดเห็นจากประเทศสมาชิกทั้ง 2 แง่มุม ในเรื่องความกังวลว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะเป็นเพียงกลยุทธ์ทางการตลาดที่บริษัทบุหรี่ยกเอาประเด็นสุขภาพขึ้นมาอ้าง ในอีกแง่หนึ่งก็กล่าวว่า บุหรี่ไฟฟ้าในรูปแบบต่างๆ ควรมีการควบคุมการใช้ภายใต้กฎหมายระดับชาติเหมือนที่บังคับใช้กับยาและผลิตภัณฑ์ยาสูบ อย่างไรก็ตาม WHO ได้ออกมาสรุปหลังการประชุมว่า กลุ่มผู้ประชุมขอความร่วมมือให้ทุกฝ่ายลดอคติต่อผลการประชุม และให้แต่ละประเทศพิจารณาแนวทางในการควบคุมบุหรี่ตามสมควร

     กลุ่มผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าซึ่งถูกกีดกันไม่ให้เข้าร่วมการประชุม โจมตี WHO ว่าเร่งรีบดำเนินการแบนบุหรี่ไฟฟ้าภายใต้กรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (FCTC) โดยไม่ฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่แท้จริง เพิกเฉยต่อหลักฐานที่บ่งชี้ว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา และเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยนักสูบเลิกบุหรี่มานับไม่ถ้วน ซึ่ง WHO ควรยึดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อศึกษาผลกระทบทางสุขภาพในระยะยาวของบุหรี่ไฟฟ้า พร้อมแสดงความกังวลใจเกี่ยวกับสถานการณ์ในเอเชีย ซึ่งพยายามปิดกั้นข้อมูลและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา และมีกฎหมายการแบนบุหรี่ไฟฟ้าที่เข้มงวด สิงคโปร์ห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้าที่มีส่วนประกอบของนิโคติน ขณะที่ประเทศไทยมีกฎหมายที่จำคุกผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าถึง 5 ปี ส่วนฮ่องกงมีนโยบายที่จะแบนการนำเข้า ผลิต ขาย จำหน่ายและ โฆษณาบุหรี่ไฟฟ้า

ที่มา: http://www.atimes.com/article/accused-rushing-ban-e-cigarettes-advocates/