ผลการศึกษา PLANET เผยอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ป่วยโรคเส้นเลือดโป่งพองใต้จอตา (PCV) แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการใช้ยากลุ่ม Anti-VEGF เพียงอย่างเดียว (monotherapy) โดยไม่ต้องใช้ร่วมกับเลเซอร์เย็น (PDT)
กรุงเทพ, 13 ธันวาคม 2559 – จากผลการศึกษาล่าสุดของโครงการ PLANET แสดงให้เห็นว่ายาฉีดเข้าลูกตากลุ่ม Anti-VEGF เพียงอย่างเดียว (monotherapy) ใช้ได้ผลในการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องใช้ร่วมกับเลเซอร์เย็น (PDT) ในผู้ป่วยโรคเส้นเลือดโป่งพองใต้จอตา (PCV) ซึ่งเป็นโรคชนิดย่อยของโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก (wet AMD) การวิจัยนี้ยังประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการรักษาด้วยยากลุ่มนี้ โดยทำการเปรียบเทียบระหว่างการรักษาด้วยยากลุ่ม Anti-VEGF เพียงอย่างเดียว และ การรักษาด้วยยา Anti-VEGF ร่วมกับการใช้เลเซอร์เย็น
ผลการศึกษาของ PLANET แสดงให้เห็นว่าหลังจากการให้ยาเป็นเวลา 52 สัปดาห์ ในผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม Anti-VEGF เพียงอย่างเดียว ผู้ป่วยมีค่าการมองเห็นที่เพิ่มขึ้น 10.7 ตัวอักษรเมื่อเทียบกับก่อนการรักษา ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม Anti-VEGF ร่วมกับการใช้เลเซอร์เย็นมีค่าการมองเห็นที่เพิ่มขึ้น 10.8 ตัวอักษรเมื่อเทียบกับก่อนการรักษา ผลการศึกษานี้ได้ถูกนำเสนอเป็นครั้งแรก ในที่ประชุมใหญ่สมาคมจอประสาทตาแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 10 ประจำปี 2559
ผลการศึกษาของ PLANET แสดงให้เห็นว่าหลังจากการให้ยาเป็นเวลา 52 สัปดาห์ ในผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม Anti-VEGF เพียงอย่างเดียว ผู้ป่วยมีค่าการมองเห็นที่เพิ่มขึ้น 10.7 ตัวอักษรเมื่อเทียบกับก่อนการรักษา ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม Anti-VEGF ร่วมกับการใช้เลเซอร์เย็นมีค่าการมองเห็นที่เพิ่มขึ้น 10.8 ตัวอักษรเมื่อเทียบกับก่อนการรักษา ผลการศึกษานี้ได้ถูกนำเสนอเป็นครั้งแรก ในที่ประชุมใหญ่สมาคมจอประสาทตาแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 10 ประจำปี 2559
โรคเส้นเลือดโป่งพองใต้จอตา หรือ PCV (Polypoidal Choroidal Vasculopathy)
เป็นโรคชนิดย่อยของโรคจอตาเสื่อมแบบเปียก หรือ wet AMD (Age-related Macular Degeneration) โดยเป็นโรคทางตาที่สำคัญชนิดหนึ่งที่มักตรวจไม่พบในตอนแรก โรคเส้นเลือดโป่งพองใต้จอตามีลักษณะเฉพาะคือการเติบโตที่ผิดปกติของเส้นเลือดจนก่อให้เกิดเลือดออกบริเวณหลังดวงตา และมักนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นอย่างเฉียบพลัน แม้โรคจอตาเสื่อมแบบเปียก (wet AMD) พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยเป็นภาวะเสื่อมสภาพของจุดรับภาพจอตา ทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นบริเวณตรงกลาง และเป็นสาเหตุสำคัญของการตาบอดในผู้สูงอายุ สาเหตุของโรคเชื่อว่าเป็นขบวนการเสื่อมสภาพของร่างกาย
อาการของโรค
แตกต่างกันในคนไข้แต่ละคน และยากต่อคนไข้ที่จะสังเกตความผิดปกติในการมองเห็นเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรก โดยเฉพาะถ้าตาอีกข้างหนึ่งยังมองเห็นได้ดี คนไข้อาจไม่สังเกตถึงความผิดปกติไปหลายปี แต่ถ้ามีจอประสาทตาเสื่อมเกิดขึ้นในตาทั้ง 2 ข้าง คนไข้จะรู้สึกถึงความผิดปกติในการมองเห็นอย่างรวดเร็ว เช่น มองตรงกลางภาพไม่ชัด ส่วนกลางของภาพที่มองขาดหายไป หรือมืดดำไป หรือภาพที่เห็นดูบิดเบี้ยวไป คนเอเชียพบเกิดโรคเส้นเลือดโป่งพองใต้จอตา (PCV) นี้มากกว่าคนผิวขาว เช่น พบอุบัติการณ์เกิดโรคนี้ในประชากรที่ได้รับการวินิจฉัยโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียกในญี่ปุ่น 23-55% ไต้หวัน 49% เกาหลี 22-25% และจีน 22-25%
การรักษา
ในปัจจุบัน มีทั้ง 1.การฉีดยากลุ่มanti-VEGF เข้าตาเพียงอย่างเดียว 2.การรักษาด้วยเลเซอร์เย็น PDT 3.การรักษาด้วยเลเซอร์เย็น PDT ร่วมกับการฉีดกลุ่มanti-VEGF เข้าตา และ 4.การผ่าตัด Submacular surgery
อย่างไรก็ดีการรักษาด้วยการใช้เลเซอร์เย็นนั้นมีข้อจำกัดเรื่องของประสิทธิภาพในระยะยาวและอาจทำลายจอประสาทตาได้ นอกจากนี้ยังต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ และราคาของการใช้เลเซอร์เย็นเอง
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิชัย ประสาทฤทธา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญและหัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าว “ผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก (wet AMD) มีแนวโน้มที่จะมีโรคเส้นเลือดโป่งพองใต้จอตาร่วมด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรเอเชีย ผลการศึกษาของ PLANET ในครั้งนี้ จึงเป็นข่าวดีอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ที่จะมีทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคเส้นเลือดโป่งพองด้วยยากลุ่ม anti-VEGF เพียงอย่างเดียว
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิชัย ประสาทฤทธา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญและหัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าว “ผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก (wet AMD) มีแนวโน้มที่จะมีโรคเส้นเลือดโป่งพองใต้จอตาร่วมด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรเอเชีย ผลการศึกษาของ PLANET ในครั้งนี้ จึงเป็นข่าวดีอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ที่จะมีทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคเส้นเลือดโป่งพองด้วยยากลุ่ม anti-VEGF เพียงอย่างเดียว