ADS


Breaking News

5 เรื่องต้องรู้ก่อนสาย : ไข้เลือดออก ภัยเงียบคนเมือง

จากซ้าย ศ.พญ.อุษา ทิสยากร และ นายแพทย์เมธิพจน์ ชาตะเมธีกุล

     คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้เลือดออกหรือไม่ แม้คุณจะมีร่างกายแข็งแรง อยู่ในตัวเมือง ซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่สะอาด ลองทำความเข้าใจกับ 5 เรื่องต่อไปนี้ ก่อนที่จะบอกว่า คุณไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคไข้เลือดออก
  1. เมืองใหญ่แห่งแสงสี ยุงลายชอบยิ่งนัก
     ไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่ มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ทำให้โรคนี้มีการระบาดรวดเร็วที่ เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรโลกมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไข้เลือดออก และทุกปีพลเมืองทั่วโลกราว 390 ล้านคน ติดเชื้อไข้เลือดออกเฉพาะในประเทศไทยเพียงประเทศเดียว มีผู้ที่ติดเชื้อไข้เลือดออก 144,952 ราย ในปี พ.ศ. 2558   ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการแพร่ระบาดและมีการขยายพื้นที่เกิดโรคออกไปอย่างกว้างขวาง ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือมีชุมชนเมืองเพิ่มมากขึ้น มีการเคลื่อนไหวของประชากร และมียุงลายมากขึ้น ตามการเพิ่มของภาชนะขังน้ำ ที่คนทำขึ้น การคมนาคมที่สะดวกขึ้น ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกี่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ยุงลายก็มีเพียง 2 สกุลเท่านั้นที่นำโรคไข้เลือดออก คือยุงลายบ้าน ส่วนใหญ่ก็อาศัยอยู่บริเวณบ้าน ซึ่งเป็นพาหะหลักในการนำโรค เพาะพันธุ์ในภาชนะน้ำใส นิ่ง และยุงลายสวน ซึ่งส่วนใหญ่ก็อยู่ในป่า สวน เพาะพันธุ์ตามกายไม้ ใบไม้ ตอไม้ที่มีน้ำฝนมาตกค้างอยู่ ยุงลายชอบกัดคนในเวลากลางวัน ช่วงเวลาที่ชอบออกหากินมากที่สุด 2 ช่วงคือ 9.00-11.00 น และ 13.00-15.00 น. ยุงลายเป็นยุงสะอาดที่ชอบอยู่อาศัยบริเวณบ้าน เพาะพันธุ์ตามภาชนะที่มีน้ำใส นิ่ง ไม่ใช่ยุงที่อยู่ตามท่อระบายน้ำ หรือน้ำเน่าเสีย
นายแพทย์เมธิพจน์ ชาตะเมธีกุล ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

2.คนเราสามารถเป็นไข้เลือดออกได้ถึง 4 ครั้ง
     ผู้คนส่วนใหญ่คิดว่าไวรัสไข้เลือดออกมีเพียงชนิดเดียวแต่ในความเป็นจริงแล้วมีถึง 4 ชนิดซึ่งแตกต่างกัน หลังจากติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกชนิดหนึ่ง ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสชนิดนั้น แต่บุคคลนั้นยังสามารถติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกอีก 3 ชนิดได้[2] และเป็นไปได้ที่ในคนๆ เดียวจะติดเชื้อได้ถึง 4 ครั้งซึ่งเป็นเชื้อต่างชนิดกัน[2] และโอกาสที่อาการป่วยจากไข้เลือดออกจะรุนแรงขึ้นหลังจากที่เคยติดเชื้อครั้งแรก
  1. ติดเชื้อครั้งแรก ก็อาจเป็นไข้เลือดออกขั้นรุนแรงได้
     ทุกปีประชากรโลกกว่าครึ่งล้านคนได้รับเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจากการเป็นไข้เลือดออกชนิดรุนแรง  และมีราว 12,500 คนที่ต้องเสียชีวิตลง เด็กและผู้ที่เคยเป็นโรคไข้เลือดออกมาแล้ว จะอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงที่โรคจะพัฒนาไปสู่โรคไข้เลือดออกขั้นรุนแรง แต่ทุกคนล้วนมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไข้เลือดออกทั้งสิ้น คุณเองก็สามารถเป็นโรคไข้เลือดออกขั้นรุนแรงได้ตั้งแต่การติดเชื้อครั้งแรก
ศ.พญ.อุษา ทิสยากร นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งเอเชีย
  1. รู้ได้อย่างไรว่าเป็นไข้เลือดออก
     หากคุณติดเชื้อไข้เลือดออก  ให้สังเกตุอาการที่สำคัญคือ
           1. ไข้สูงลอย  พบว่าอาการไข้จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและไม่ค่อยลดลง
           2. ปวดศีรษะ คลื่นไส้  อาเจียน  เบื่ออาหาร  
           3. หน้าแดง  อาจพบจุดเลือดที่ผิวหนัง  เจ็บชายโครงด้านขวา  
           4. มักจะไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก  ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจากการเป็นหวัดที่จะมีน้ำมูกร่วมด้วย เว้นแต่จะเป็นไข้ทั้งสองชนิดในเวลาเดียวกันอาจจะมีอาการทั้งไอและมีน้ำมูก ด้วย              
    หากสงสัยเป็นไข้เลือดออกรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และหากเป็นไข้เลือดออกแล้ว ช่วงที่ไข้ลดลงในวันที่ 3-4 แต่ผู้ป่วยซึมลงกินดื่มไม่ได้ให้รีบกลับมาหาแพทย์เพื่อรักษาให้ทันท่วงที หากจำเป็นต้องใช้ยา ควรใช้ยาลดไข้พาราเซตามอลเท่านั้น ห้ามใช้ยาแอสไพริน หรือกลุ่มยาเอ็นเสด เช่น ไอบูโปรเฟน เพราะจะทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้ง่ายมากขึ้น ให้อาหารอ่อน งดอาหารที่มีสีคล้ายเลือด เช่น แตงโม (เมื่ออาเจียนจะแยกไม่ออก)
จากซ้าย ศ.พญ.อุษา ทิสยากร และ นายแพทย์เมธิพจน์ ชาตะเมธีกุล

4. จะป้องกันตัวเองอย่างไรเพื่อลดความเสี่ยง
     ไข้เลือดออกไม่มีทางรักษา แต่มีวิธีช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ  คือ ระวังไม่ให้ยุงกัด และช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ยุงลายทุกตัว รวมถึงตัวที่เป็นพาหะนำโรค มักชอบบินมากัดทางด้านหลังข้อเท้าและข้อศอก โดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นจึงต้องคอยระมัดระวังป้องกันยุงกัด ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด โดยใช้ยาทากันยุงกัด ที่ใช้สเปรย์ฉีดยุงชนิดกระป๋องกำจัดยุงในบ้าน  ใช้ไม้ตียุง ยาจุดกันยุง หรือนอนมุ้งเพื่อป้องกันยุงกัด การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เป็นวิธีที่ได้ผลในการลดจำนวนยุงพาหะ เป็นวิธีที่ง่าย ได้ผลดี ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ทุกคนสามารถทำได้ โดยปิดภาชนะให้มิดชิด เทน้ำทิ้งเมื่อไม่ใช้ หมั่นเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ ปล่อยปลากินลูกน้ำ เก็บเศษภาชนะที่ไม่ใช้ทิ้งขยะ เพื่อไม่ให้มีน้ำขัง เช่น  เทน้ำในจานรองกระถางต้นไม้ทิ้ง แจกันไม้น้ำ เปลี่ยนน้ำสำหรับสัตว์เลี้ยงสม่ำเสมอ การใช้สารเคมีกำจัดลูกน้ำควรใช้ใส่ในภาชนะที่ไม่สามารถเทน้ำทิ้ง หรือเปลี่ยนถ่ายได้บ่อยๆ  
     แหล่งข้อมูล: เว็บไซต์  www.MrDengue-TH.com   แล www .bmadcd.go.th  จัดทำโดยสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร