หอการค้าไทยเตรียมจัดสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศปลายเดือนนี้ กำหนดกรอบสัมมนา ยกระดับประเทศ สู่ “Thailand Trade and Service 4.0”
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สนับสนุนนโยบายการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในด้านการปฏิรูปการศึกษา การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา การกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจอนาคต และการพัฒนาคลัสเตอร์ของอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยให้แรงจูงใจให้เกิดการลงทุนในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
นายอิสระ กล่าวว่า หอการค้าไทยได้กำหนดจัดสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 34 ขึ้น ในระหว่างวันที่ 25 – 27 พฤศจิกายน 2559 ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยในปีนี้ หอการค้าไทย เห็นว่า เพื่อการพัฒนาและยกระดับไปสู่ประเทศไทย 4.0 รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทางด้านการค้า การลงทุน การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี
รวมทั้ง การยกระดับประสิทธิภาพแรงงานคุณภาพและมาตรฐานการผลิต ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และการเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ภาค กลุ่มจังหวัด และจังหวัด จึงได้มีการกำหนด THEME ของการจัดสัมมนาในปีนี้ว่า “นวัตกรรม ทำจริง สู่ประเทศไทย 4.0 หรือ Executing Innovation toward Thailand 4.0” โดยจะเสริมสร้างแรงบันดาล ใจให้กับสมาชิกและผู้ประกอบการของไทย เปลี่ยน Mindset ตั้งใจที่จะเรียนรู้และปรับตัว และนำไปสู่การปฏิบัติจริง เพื่อมุ่งสู่ประเทศไทย 4.0
นายกลินท์ สารสิน รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า การค้าขายในยุค Trade 4.0 แตกต่างจากการค้าในยุคที่ผ่านมา ก็คือ การค้าขายสินค้าและบริการ บนระบบการค้าอัจฉริยะ (Smart Trade Platform)
ประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 4 ประการคือ
1. นวัตกรรม มีการพัฒนานวัตกรรมและนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในส่วนต่างๆ ตั้งแต่ตัวสินค้าและบริการ ที่เป็น Smart Product หรือ Smart Service ซึ่งเป็นสินค้าและบริการที่เน้นคุณภาพ มีมูลค่าเพิ่มสูง (High Value Added) หรือมีประสิทธิภาพในการผลิตที่ดี รวมถึงการนำฐานข้อมูล Big Data มาใช้วิเคราะห์และคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า และเพื่อให้การตอบสนองเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
2. เทคโนโลยีดิจิตอล มีการนำเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาใช้ในกระบวนการค้าขายขั้นตอนต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
3. อารมณ์และความรู้สึก (Emotional) การค้าขายในยุคใหม่ อารมณ์และความรู้สึกจะกลายเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจเลือกสินค้าและบริการ ดังนั้น การทำให้ลูกค้าเกิดความผูกพันกับตัวสินค้าและบริการ จึงเป็นสิ่งจำเป็น และตราสินค้า จะยิ่งทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น และ
4. การค้าขายแบบไร้พรมแดน ผู้ซื้อและผู้ขาย สามารถเข้าถึงและแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าและบริการได้จากมุมใดของโลกโดยสะดวก ไม่จำกัดสถานที่ วันและเวลา ส่งผลให้โอกาสทางการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นมากเป็นเท่าทวีคูณ
ประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 4 ประการคือ
1. นวัตกรรม มีการพัฒนานวัตกรรมและนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในส่วนต่างๆ ตั้งแต่ตัวสินค้าและบริการ ที่เป็น Smart Product หรือ Smart Service ซึ่งเป็นสินค้าและบริการที่เน้นคุณภาพ มีมูลค่าเพิ่มสูง (High Value Added) หรือมีประสิทธิภาพในการผลิตที่ดี รวมถึงการนำฐานข้อมูล Big Data มาใช้วิเคราะห์และคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า และเพื่อให้การตอบสนองเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
2. เทคโนโลยีดิจิตอล มีการนำเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาใช้ในกระบวนการค้าขายขั้นตอนต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
3. อารมณ์และความรู้สึก (Emotional) การค้าขายในยุคใหม่ อารมณ์และความรู้สึกจะกลายเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจเลือกสินค้าและบริการ ดังนั้น การทำให้ลูกค้าเกิดความผูกพันกับตัวสินค้าและบริการ จึงเป็นสิ่งจำเป็น และตราสินค้า จะยิ่งทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น และ
4. การค้าขายแบบไร้พรมแดน ผู้ซื้อและผู้ขาย สามารถเข้าถึงและแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าและบริการได้จากมุมใดของโลกโดยสะดวก ไม่จำกัดสถานที่ วันและเวลา ส่งผลให้โอกาสทางการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นมากเป็นเท่าทวีคูณ
สำหรับปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ ที่จะรองรับให้การค้าแบบ Trade 4.0 เกิดขึ้นได้ ก็คือ
1. มาตรฐานสินค้าและบริการต่างๆ จำเป็นต้องมีมาตรฐานที่ตรงกับมาตรฐานที่ตลาดกำหนด รวมถึงตรงกับความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้ มาตรฐานของบรรจุภัณฑ์ก็เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นในการส่งมอบสินค้า เนื่องจากการขนส่งสินค้าจะกว้างไกลมากขึ้น
2. ความสะดวกทางการค้า ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะรองรับการพัฒนาของ Trade 4.0 โดยกฎระเบียบต่างๆ จะต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องและรองรับกระบวนการค้าขายในรูปแบบใหม่ๆ ให้มีความคล่องตัว อาทิ การจดทะเบียนและรองรับการค้าขายสำหรับผู้ประกอบการใน e-Market Place
1. มาตรฐานสินค้าและบริการต่างๆ จำเป็นต้องมีมาตรฐานที่ตรงกับมาตรฐานที่ตลาดกำหนด รวมถึงตรงกับความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้ มาตรฐานของบรรจุภัณฑ์ก็เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นในการส่งมอบสินค้า เนื่องจากการขนส่งสินค้าจะกว้างไกลมากขึ้น
2. ความสะดวกทางการค้า ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะรองรับการพัฒนาของ Trade 4.0 โดยกฎระเบียบต่างๆ จะต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องและรองรับกระบวนการค้าขายในรูปแบบใหม่ๆ ให้มีความคล่องตัว อาทิ การจดทะเบียนและรองรับการค้าขายสำหรับผู้ประกอบการใน e-Market Place
อย่างไรก็ตามการค้าขายในยุค Trade 4.0 ซึ่งดำเนินการผ่านระบบการค้าอัจฉริยะ (Smart Trade Platform) จะทำให้เกิด ความสะดวก รวดเร็ว สร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อ และที่สำคัญช่วยลดต้นทุนในการค้าขายให้กับผู้ค้าขายได้อีกด้วย
นายกลินท์ กล่าวว่า Thailand Services 4.0 ในยุคนี้การบริการจะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น โดยประเทศที่พัฒนาแล้ว จะมีสัดส่วนของบริการเพิ่มมากขึ้น เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกามีสัดส่วนการบริการต่อ GDP เท่ากับ 80% ประเทศ สิงคโปร์มีสัดส่วนต่อ GDP เท่ากับ 76% ประเทศญี่ปุ่นมีสัดส่วนต่อ GDP เท่ากับ 72% ในส่วนของประเทศไทยมีสัดส่วนต่อ GDP เท่ากับ 52%
สำหรับ Thailand Service 4.0 มีองค์ประกอบสำคัญประกอบด้วย
1. ความคิดสร้างสรรค์ มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อมูลและองค์ความรู้ รวมถึงการออกแบบ ก่อให้เกิดรูปแบบการบริการที่สร้างสรรค์ หรือรูปแบบการทำธุรกิจ ใหม่ๆ ซึ่งการบริการแบบ 4.0 นั้น จะมีรูปแบบที่เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น สามารถตอบสนองได้อย่างทันท่วงที (Interactive / Responsive) รวมถึงสามารถให้บริการได้ด้วยตนเอง ผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ
2. วัฒนธรรม จะต้องมีอัตลักษณ์ท้องถิ่นแบบไทย ให้บริการจากใจ รวมถึงความเป็นไทย ก่อให้เกิดความแตกต่าง ในการให้บริการของไทย ซึ่งสร้างคุณค่าและประสบการณ์ที่ดีกับผู้รับบริการ และ
3. มีการนำเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามายยกระดับให้บริการ ทำให้สามารถมีบริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
1. ความคิดสร้างสรรค์ มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อมูลและองค์ความรู้ รวมถึงการออกแบบ ก่อให้เกิดรูปแบบการบริการที่สร้างสรรค์ หรือรูปแบบการทำธุรกิจ ใหม่ๆ ซึ่งการบริการแบบ 4.0 นั้น จะมีรูปแบบที่เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น สามารถตอบสนองได้อย่างทันท่วงที (Interactive / Responsive) รวมถึงสามารถให้บริการได้ด้วยตนเอง ผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ
2. วัฒนธรรม จะต้องมีอัตลักษณ์ท้องถิ่นแบบไทย ให้บริการจากใจ รวมถึงความเป็นไทย ก่อให้เกิดความแตกต่าง ในการให้บริการของไทย ซึ่งสร้างคุณค่าและประสบการณ์ที่ดีกับผู้รับบริการ และ
3. มีการนำเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามายยกระดับให้บริการ ทำให้สามารถมีบริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทั้งนี้ ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ ที่จะรองรับให้การบริการแบบ 4.0 เกิดขึ้นได้ ก็คือ มาตรฐาน การบริการจำเป็นที่จะต้องมีมาตรฐานในการให้บริการ รวมถึงการให้บริการที่รวดเร็ว (Speed) และถูกต้องแม่นยำ (Correct)
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดการการรักษาไว้ซึ่งคุณค่าอันเกิดจากวัฒนธรรมของไทยในการบริการนั้นๆ อันจะนำมาซึ่งความยั่งยืน บุคคลากร (Human Resource) และผู้ประกอบการ (Entrepreneur) จำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อรองรับการให้บริการแบบ Services 4.0 โดยจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่า Continuous Professional Development (CPD) รวมถึงพัฒนาบุคลลากรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และมีธรรมาภิบาล อันจะทำให้ผู้ประกอบการมีความเข้มแข็งและพร้อมเข้าสู่ Services 4.0 ดังนั้น Service 4.0 สำหรับประเทศไทย จึงอาจเรียกได้ว่าเป็น Innovative on Thai Services
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดการการรักษาไว้ซึ่งคุณค่าอันเกิดจากวัฒนธรรมของไทยในการบริการนั้นๆ อันจะนำมาซึ่งความยั่งยืน บุคคลากร (Human Resource) และผู้ประกอบการ (Entrepreneur) จำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อรองรับการให้บริการแบบ Services 4.0 โดยจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่า Continuous Professional Development (CPD) รวมถึงพัฒนาบุคลลากรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และมีธรรมาภิบาล อันจะทำให้ผู้ประกอบการมีความเข้มแข็งและพร้อมเข้าสู่ Services 4.0 ดังนั้น Service 4.0 สำหรับประเทศไทย จึงอาจเรียกได้ว่าเป็น Innovative on Thai Services
นายกลินท์ กล่าวว่า ว่าหัวใจสำคัญของ Trade และ Services 4.0 ของประเทศไทย คือ การดำเนินการภายใต้หลักการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) กล่าวคือ ความมีเหตุผล ความพอประมาณ มีภูมิคุ้มกัน และใช้ความรู้ควบคู่กับคุณธรรม รวมทั้ง การมีส่วนร่วมของชุมชนและทุกภาคส่วน จะนำพาให้การค้าและการบริการของไทย ก้าวไปสู่ยุคใหม่ ได้อย่างยั่งยืน
ดร.เดช เฉิดสุวรรณรักษ์ กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงรายละเอียดการสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ว่า การจัดงานในครั้งนี้ จะมีการ สัมมนา Young Entrepreneur Chamber of Commerce (YEC) โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่จะมีการกำหนดกรอบการทำงานร่วมกัน เพื่อพัฒนาต่อยอดธุรกิจการค้าและสร้างเครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งมีการชี้แจงแนวปฏิบัติการเป็นสมาชิก YEC และการขับเคลื่อน YEC ปี 2560 การทบทวนโครงการ YEC ที่ผ่านมา และยังมีการประชุม เรื่อง “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาค 5 ภาคและแนวโน้มเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ ยังได้กำหนดให้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อต่าง ๆ ที่มีความสำคัญต่อการเพิ่มขีดความสามารถ พร้อมด้วยกรณีศึกษาจากประสบการณ์จริงของผู้ประกอบการ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เรื่อง “การเชื่อมโยงธุรกิจในภูมิภาค CLMVT+” (CLMVT + : Regional Value Chain Linkage)
กลุ่มที่ 2 เรื่อง “องค์กรที่ประสบผลสำเร็จในสภาวะเศรษฐกิจยุคใหม่” (Successful Enterprise for Modern Environment) และ
กลุ่มที่ 3 เรื่อง “การสร้างเศรษฐกิจจากวัฒนธรรม” (Thai Cultural Economy in Thailand 4.0)
อย่างไรก็ตาม การสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ จะเป็นการระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน เพื่อนำเสนอเป็นแนวทางให้กับภาครัฐในเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและการค้าของประเทศ เพื่อมุ่งสู่ Thailand 4.0
กลุ่มที่ 1 เรื่อง “การเชื่อมโยงธุรกิจในภูมิภาค CLMVT+” (CLMVT + : Regional Value Chain Linkage)
กลุ่มที่ 2 เรื่อง “องค์กรที่ประสบผลสำเร็จในสภาวะเศรษฐกิจยุคใหม่” (Successful Enterprise for Modern Environment) และ
กลุ่มที่ 3 เรื่อง “การสร้างเศรษฐกิจจากวัฒนธรรม” (Thai Cultural Economy in Thailand 4.0)